The Royal Thai Air Force (RTAF), the United States Air Force (USAF) and the Republic of Singapore Air Force (RSAF) held closing ceremony of the exercise Cope Tiger 2025 at Wing 1 Korat RTAF base on 28 March 2025. 31st iteration of the exercise was concluded during 16 to 28 March 2025. (RTAF, RSAF, and USAF)
พิธีปิดการฝึกผสม COPE TIGER 2025
วันศุกร์ที่ 28 มีนาคม 2568 พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ พร้อมด้วย Major General Kelvin Fan ผู้บัญชาการทหารอากาศสาธารณรัฐสิงคโปร์ และ Major General Christopher J. Sheppard ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศสหรัฐอเมริกา ภาคพื้นแปซิฟิก ด้านการป้องกันประเทศทางอากาศ ร่วมเป็นประธานในพิธีปิดการฝึกผสม COPE TIGER 2025 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา
การฝึกผสมโคปไทเกอร์ (Multi-Lateral Exercise Cope Tiger) ถือได้ว่าเป็นการฝึกผสมทางอากาศ ที่มีการสนธิกำลังทางอากาศใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการนำกำลังทางอากาศจาก 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย สาธารณรัฐสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการฝึก มีการพัฒนารูปแบบการฝึกให้เข้ากับสถานการณ์การสู้รบในปัจจุบันให้ทันสมัย โดยมีการสมมติสถานการณ์เสมือนจริง
ทั้งด้านการควบคุมและสั่งการ การฝึกยุทธวิธีการรบระหว่างเครื่องบินรบต่างแบบ การฝึกโจมตีทางอากาศต่อเป้าหมายภาคพื้นดินที่มีการต่อต้านจากอาวุธของหน่วยต่อสู้อากาศยานภาคพื้น การฝึกด้านการข่าวกรองยุทธวิธีโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ และการให้การสนับสนุนของหน่วยสนับสนุนต่าง ๆ
โดยมีวัตถุประสงค์ในการฝึกครั้งนี้ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถของหน่วยบิน รวมถึงหน่วยต่อสู้อากาศยานที่เข้าร่วมการฝึกฯ และเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศผสม และเพิ่มทักษะของผู้เข้าร่วมการฝึกฯ ไม่ว่าจะเป็นด้านยุทธวิธีและการสื่อสาร รวมไปถึงการดำเนินกลยุทธ์ โดยเฉพาะการวางแผนทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างมิตรประเทศที่เข้าร่วมการฝึกอีกด้วย
การฝึกผสมโคปไทเกอร์ 2025 ในครั้งนี้มี นาวาอากาศเอก กฤษณะ เปี่ยมศรี ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม COPE TIGER 2025 กองทัพอากาศ, COL.Lee Yew Chern Benjamin ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม COPE TIGER 2025 กองทัพอากาศสาธารณรัฐสิงคโปร์ และ Lt.Col.Daniel Trueblood ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม COPE TIGER 2025 ฝ่ายกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา
และในการฝึกฯ ครั้งนี้ นอกจากกำลังพลและยุทโธปกรณ์จากกองทัพอากาศแล้ว ยังมีกำลังพลจากกองทัพบก กองทัพเรือ ร่วมทั้งเจ้าหน้าที่จาก บริษัทวิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด (บวท.) และสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) กระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการฝึกฯ
นอกจากนี้ ยังได้จัดให้มีกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้เข้าร่วมการฝึกทั้ง 3 ประเทศ และประชาชนในพื้นที่การฝึกฯ ได้แก่ การสร้างและปรับปรุงโรงอาหาร การให้บริการด้านการแพทย์ โดยคณะแพทย์จากทั้ง 3 ประเทศ ในการตรวจรักษาโรคทั่วไป การบริการตรวจทันตกรรม การบริการตรวจวัดสายตา บริการตัดผม การมอบอุปกรณ์การศึกษาและอุปกรณ์กีฬา
การแสดงเครื่องบินบังคับวิทยุ อีกทั้งยังการแสดงดนตรีของวงดุริยางค์ทหารอากาศร่วมกับวงดุริยางค์กองทัพสิงคโปร์ ณ โรงเรียนบ้านเขาขวาง ตำบลโคกสลุง อำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2568 และโรงเรียนบ้านโป่งแมลงวัน ตำบลโคกกรวด อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2568
รวมถึงการลงพื้นที่ของกองอำนวยการฝึกผสมทั้ง 3 ชาติ เพื่อพบปะและจัดกิจกรรมร่วมกับประชาชน รอบที่ตั้ง กองบิน 1 พร้อมทั้งมอบอุปกรณ์การศึกษา และกล่องยาสามัญประจำบ้าน ให้โรงเรียน และนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และประชาชนในชุมชน
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การฝึกผสม COPE TIGER ได้พิสูจน์แล้วว่าเป็นส่วนสำคัญในการเสริมสร้างความพร้อมรบและการทำงานร่วมกันของทั้ง 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย สาธาณรัฐสิงคโปร์ และสหรัฐอเมริกา กองทัพอากาศขอขอบคุณ ประชาชน และหน่วยงานของรัฐที่ให้การสนับสนุนกองทัพอากาศในการฝึกฯ เพื่อเสริมขีดความสามารถในการปกป้องอธิปไตย เสมอมา
การฝึกภาคสนาม(FTX: Field Training Exercise) ของการฝึกผสมทางอากาศ Cope Tiger 2025 ระหว่างกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force), กองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) และกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ซึ่งมีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ณ กองบิน๑ โคราช โดยดำเนินไประหว่างวันที่ ๑๖-๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘
ณ กองบิน๑ จังหวัดนครราชสีมา, กองบิน๒ โคกกระเทียม และ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี และกองบิน๒๓ จังหวัดอุดรธานี ได้เสร็จสิ้นลงแล้วตามพิธีปิดเมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ ณ กองบิน๑ โคราช ด้วยยการมีส่วนรวมของกำลังพลมากกว่า ๑,๘๔๐นาย อากาศยานกว่า ๘๔เครื่อง และระบบป้องกันภัยทางอากาศอีก ๑๙ระบบ
อากาศยานของกองทัพอากาศไทยที่เข้าร่วมการฝึก Cope Tiger 2025 ได้รวมถึง เครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16A/B Block 15 OCU และ F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ และเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี, เครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐/ก บ.ข.๒๐/ก SAAB Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี,
เครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่๑ บ.ค.๑ Saab 340 ERIEYE AEW(Airborne Early Warning) ฝูงบิน๗๐๒ กองบิน๗, เครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค Northrop F-5E/F TH Super Tigris ฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี, เครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ Korea Aerospace Industries(KAI) T-50TH Golden Eagle ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี,
เครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H/C-130H-30 Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง, และเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๑ ฮ.๑๑ EC725(Airbus Helicopters H225M) ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ ในส่วนกองทัพอากาศสหรัฐฯเป็นครั้งแรกที่นำเครื่องบินขับไล่ F-16C/D สังกัดฝูงบินขับไล่โพ้นทะเลที่77(77th Expeditionary Fighter Squadron) จากฐานทัพอากาศ Shaw AFB มลรัฐ South Carolina เข้าร่วมการฝึก
ส่วนกองทัพอากาศสิงคโปร์อากาศยานที่เข้าร่วมการฝึกรวมถึง เครื่องบินขับไล่ Boeing F-15SG Strike Eagle ฝูงบิน149(149 Squadron), เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 52 Fighting Falcon ฝูงบิน143(143 Squadron) และ F-16D Block 52+ ฝูงบิน145(145 Squadron), เครื่องบินลำเลียง C-130H Hercules ฝูงบิน122(122 Squadron),
เครื่องบินแจ้งเตือนทางอากาศ Gulfstream G550 AEW ฝูงบิน111(111 Squadron), เครื่องบินเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศและลำเลียง Airbus A330-200 MRTT ฝูงบิน112(112 Squadron), เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง Boeing CH-47F Chinook ฝูงบิน127(127 Squadron), และอากาศยานไร้คนขับ Israel Aerospace Industries(IAI) Heron 1 UAV ฝูงบิน119(119 Squadron)
การฝึก Cope Tiger 2025 ปีนี้ยังรวมถึงการฝึกหน่วยป้องกันภัยทางอากาศจากภาคพื้น(GBAD:Ground Based Air Defense) ที่บูรณาการการมีส่วนร่วมของกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) รวมถึงปืนใหญ่ต่อสู้อากาศ Oerlikon GDF-007 35mm Skyguard 3 กองพันทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๔ กรมทหารปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยานที่๒(4th Anti-Aircraft Artillery Battalion, 2nd Anti-Aircraft Artillery Regiment)
และกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ที่เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นการนำระบบอาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่ FK-3 หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.(ACDC: Air and Coastal Defence Command)(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/fk-3-kronos-radar-accs.html) เข้าร่วมการฝึกกับ ระบบอาวุธต่อสู้อากาศยาน Saab RBS 70 ของกองทัพอากาศสิงคโปร์
และระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ(C-UAS: Counter-Unmanned Aerial System) ในรูปแบบต่างๆที่สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาลระหว่างวันที่ ๒๓-๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ ด้วย การฝึกผสม Cope Tiger 2025 ระหว่างไทย, สหรัฐฯ และสิงคโปร์เป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงความสัมพันธ์ทางทหารที่แข็งแกร่งและยาวนานของทั้งสามชาติเพื่อรักษาความมั่นคงร่วมกันในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกครับ