วันพุธที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2566

กองทัพเรือไทยทดสอบระบบป้องกันภัยทางอากาศ FK-3 เชื่อมโยงกับ Kronos radar และเครือข่ายทางอากาศ ACCS
















Air and Coastal Defence Command (ACDC), Royal Thai Navy (RTN) has training and testing its FK-3 medium-range surface-to-air missile system to linked situation data from Leonardo KRONOS mobile multifunctional radar system (air serach) and Royal Thai Air Force (RTAF)'s Air Command and Control System (ACCS) on 10 April 2023. no further details provided at time published. (Royal Thai Navy)

หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ทำการฝึกและทดลองระบบอาวุธนำวิถีพื้น - สู่ – อากาศระยะปานกลาง FK-3 ร่วมกับระบบตรวจจับ
เมื่อวันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 พลเรือตรี ศุภสิทธิ์ บูรณะโอสถ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง และคณะผู้บังคับบัญชา ตรวจเยี่ยมการฝึกและทดลองระบบอาวุธนำวิถีพื้น - สู่ – อากาศระยะปานกลาง FK-3 
ณ ลานสาธิตปฏิบัติการทางทหาร หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ซึ่งการทดลองระบบอาวุธนำวิถีพื้น - สู่ – อากาศระยะปานกลางแบบเคลื่อนที่( FK-3) เป็นการทดสอบการตรวจจับและการทำงานของระบบอาวุธนำวิถีฯ 
และการเชื่อมโยงภาพสถานการณ์ทางอากาศ จากระบบเรดาร์ตรวจการทางอากาศแบบเคลื่อนที่ Kronos และจากระบบ ACCS ของกองทัพอากาศ มายังหน่วยยิง เพื่อให้หน่วยมีความพร้อม 
เริ่มตั้งแต่การรับข้อมูลเป้า การพิสูจน์ทราบ จนถึงขั้นการใช้อาวุธปล่อยนำวิถีพื้น-สู่ากาศ ระยะปลานกลางแบบเคลื่อนที่ได้(FK3) ในการโจมตีเป้าหมายทางอากาศ และสอดคล้องกับแนวทางการใช้กำลังของกองทัพเรือ 
ซึ่งการฝึกในลักษณะนี้จะเป็นการตรวจสอบความพร้อมทั้งองค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธี ของระบบป้องกันภัยทางอากาศของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง และจะมีการฝึกอย่างต่อเนื่องให้เกิดความชำนาญและความมั่นใจในการปฏิบัติการร่วมกันของหน่วย

Facebook page ของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.(ACDC: Air and Coastal Defence Command) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้เผยแพร่ชุดภาพและข้อมูลการฝึกและทดลองระบบอาวุธนำวิถีพื้นสู่อากาศระยะปานกลาง FK-3 ของตน
ในการตรวจจับและทำงานของระบบอาวุธปล่อยนำวิถี และการเชื่อมโยงกับระบบ radar ตรวจการณ์ทางอากาศแบบ Leonardo KRONOS และระบบบัญชาการและควบคุมทางอากาศ(ACCS: Air Command and Control System) ร่วมกับกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force)
ณ ลานสาธิตปฏิบัติการทางทหาร สอ.รฝ. อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๖(2023)(https://aagth1.blogspot.com/2023/02/blog-post_11.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/02/fk-3.html, https://aagth1.blogspot.com/2023/01/fk-3-igla-s.html)

ระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศอัตตาจร FK-3 ถูกนำเข้าประจำการใน หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. กองทัพเรือไทย ในปี พ.ศ.๒๕๖๕(2022)(https://aagth1.blogspot.com/2022/10/fk-3-thairung-4x4-igla-s.html
ถูกผลิตโดย China Aerospace Science and Industry Corporation Limited(CASIC) รัฐวิสาหกิจผู้ผลิตจรวดและอาวุธนำวิถีของสาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นรุ่นส่งออกของระบบป้องกันภัยทางอากาศอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลางถึงพิสัยไกลแบบ HQ-22
FK-3 มีความเร็วของอาวุธปล่อยนำวิถีสูงสุดที่ Mach 6 มีระยะยิงไกลสุดที่ 100km หนึ่งระบบประกอบด้วยรถที่บังคับการ ๑คัน, รถฐาน Radar ๑คัน และรถฐานแท่นยิงแบบยกตั้งอัตตาจร(TEL: Transporter-Erector-Launcher) ๓คัน แต่ละคันติดแท่นยิงอาวุธแนวดิ่ง ๔นัด รวมทั้งระบบ ๑๒นัด

กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาระบบ radar ตรวจการทางอากาศแบบเคลื่อนที่ KRONOS จากบริษัท SELEX Sistemi Integrati(SI) อิตาลีเครือบริษัท Finmeccanica อิตาลี(ปัจจุบันคือบริษัท Leonardo อิตาลี) วงเงิน 25 million Euros($34 million) ในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011)
โดยมีชุดภาพยืนยันว่า ศูนย์ต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ศสร.(Air and Coastal Defence Center) หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ. ได้รับมอบ radar ตรวจการทางอากาศแบบเคลื่อนที่ KRONOS ในราวปลายปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017)
KRONOS เป็นระบบ AESA(Active Electronically Scanning Array) radar หลากหลายการทำงานและพหุภารกิจ ที่มีขีดความสามารถในการตรวจจับและติดตามเป้าหมายทางอากาศขนาดเล็กจนถึงขีปนาวุธได้ในระยะ 250km โดยสามารถติดตั้งใช้งานได้บนระบบภาคพื้นดินและบนเรือผิวน้ำ

ระบบบัญชาการและควบคุมทางอากาศ ACCS มีพื้นฐานจากระบบ 9AIR C4I ของบริษัท Saab สวีเดน ได้ถูกใช้งานโดยกองทัพอากาศไทยและกองทัพเรือไทยเป็นเวลามากกว่า ๑๐ปี รวมถึงกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ที่กำลังหารือความเป็นไปได้ที่จะเข้าร่วม(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/defense-security-2022-saab-accs.html)
ACCS บูรณาการการเชื่อมโยงระบบอำนวยการรบ Saab 9LV CMS(Combat Management System) ที่ติดตั้งบนเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือฟริเกต เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ทั้ง ๒ลำคือ ร.ล.นเรศวร และเรือตากสิน ของกองทัพเรือไทย
กับเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐/ก บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D และเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่๑ บ.ค.๑ Saab 340 Erieye ของกองทัพอากาศไทย อย่างไรก็ตามการเชื่อมโยงระบบ FK-3 เข้ากับ KRONOS radar และระบบ ACCS ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมในเวลาที่เขียนนี้ครับ