Chief of Defence Forces of the Royal Thai Armed Forces (RTARF), General Songwit Noonpakdee and Commanders-in-chief of the Royal Thai Air Force (RTAF), Air Chief Marshal Punpakdee Pattanakul followed the security situation on the Thailand-Myanmar border in charge of Pha Muang Task Force, 3rd Army Area, Royal Thai Army (RTA) at northern of Thailand.
General Songwit Noonpakdee and Air Chief Marshal Punpakdee Pattanakul also were in rear seats of flight of three Beechcraft AT-6TH Wolverine light attack aircrafts of 411th Squadron, Wing 41 Chiang Mai RTAF base with equipped full range of weapons on border surveillance mission on 14 March 2025. (Attaporn Utsapun, Royal Thai Armed Forces)
"Woverine Fully Loaded"
นักรบล้านนาคนนี้ ดุดันไม่เกรงใจใครเลยครับ
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดบินตรวจแนวชายแดน ร่วมกับผู้บัญชาการทหารอากาศ ด้วยเครื่องบิน AT-6TH
วันที่ 14 มีนาคม 2568 พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด/ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยคุกคามที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงในพื้นที่ชายแดน (ผอ.ศอ.ปชด.) ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ความมั่นคงบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา
โดยได้รับฟังการบรรยายสรุปแผนการบิน และทำการบินตรวจแนวชายแดนร่วมกับ พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ ด้วยเครื่องบินโจมตีเบาแบบ AT-6TH เป็นเครื่องบินโจมตีเบาที่ใช้ในภารกิจการบินสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด, การควบคุมอากาศยานหน้า, การลาดตระเวนรบติดอาวุธ, การโจมตีทางอากาศ,
การเฝ้าระวัง การข่าวกรอง และการลาดตระเวน (ISR), การบินค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ รวมทั้งการบินสนับสนุนในการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย
สำหรับเครื่องบิน AT-6TH มีจุดเด่นเรื่องการตรวจการณ์ด้วยกล้อง EO/IR แบบ MX-15D ที่สามารถส่งภาพ VDO Downlink เพื่ออัพเดทภาพสถานการณ์ในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการแบบ Real time ไปยังหน่วยงานภาคพื้น รวมทั้งมีระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี หรือ Tactical Data Link ที่นอกจากจะใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างอากาศยานแล้ว ยังสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับสถานีทางภาคพื้นได้อีกด้วย
ซึ่งในอนาคตระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีนี้ สามารถขยายขีดความสามารถออกไปให้ครอบคลุมเชื่อมโยงกับกองกำลังทางภาคพื้นได้ จึงเห็นได้ว่า ระบบ VDO Down link และ Tactical Data Link นี้ จะช่วยให้การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างอากาศยานและภาคพื้น ทั้งในการป้องกันประเทศและการช่วยเหลือประชาชน เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ ในอนาคตระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีดังกล่าว จะเป็นโครงข่ายสำคัญในการปฏิบัติงานของกองทัพไทย ตามแนวคิด “oneteamทัพไทย” ที่จะช่วยสร้างความเป็นเอกภาพและความร่วมมือระหว่างเหล่าทัพ ในการดำเนินงานด้านความมั่นคงและการช่วยเหลือประชาชน ให้เป็นไปอย่างประสานสอดคล้อง และมีประสิทธิภาพสูงสุด
การติดตามสถานการณ์ความมั่นคงบริเวณแนวชายแดนไทย-พม่าทางภาคเหนือของประเทศไทย ในพื้นที่รับผิดชอบของกองกำลังผาเมือง(Pha Muang Task Force) กองทัพภาคที่๓ ทภ.๓(3rd Army Area) กองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ซึ่งเป็นพื้นที่แย่งชิง(contest area) ระหว่างกองทัพพม่า(Myanmar Armed Forces, Tatmadaw) และกองกำลังต่อต้านรัฐบาลทหารพม่าต่างๆ
พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด กองทัพไทย(RTARF: Royal Thai Armed Forces) และพลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ได้ลงพื้นที่โดยได้เดินทางเยือน ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘(2025)
พล.อ.ทรงวิทย์ หนุนภักดี ที่ได้รับนามเรียกขาน(Callsign)ว่า "Guardian" จาก พล.อ.อ. พันธ์ภักดี "Armstrong" พัฒนกุล ทั้งสองได้ขึ้นบินกับเครื่องบินโจมตีแบบที่๘ บ.จ.๘ Beechcraft AT-6TH Wolverine ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ ในที่นั่งหลังของหมู่บินจำนวน ๓เครื่อง(หมายเลข "41102", "41106" และ "41107") เพื่อทำการบินภารกิจตรวจแนวชายแดนไทย-พม่า อย่างไรก็ตามพื้นที่ปฏิบัติภารกิจและสนามทดสอบการใช้อาวุธได้ถูกปกปิดเป็นความลับ
ชุดภาพที่เผยแพร่ได้เห็นเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH Wolverine ติดตั้งอาวุธเต็มรูปแบบทั้งลูกระเบิดอากาศ Mk 82 ขนาด 500lbs, อาวุธกระเปาะปืนกลอากาศ HMP-400 และกระเปาะจรวด LAU-131/A ความจุ ๗นัด พล.อ.ทรงวิทย์ ได้ให้สัมภาษณ์สื่อแสดงความมั่นใจว่า บ.จ.๘ AT-6TH มีขีดความสามารถในการสนับสนุนกองกำลังภาคพื้นดิน รองรับการใช้อาวุธความแม่นยำสูง และภารกิจที่ไม่ใช่การรบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
กองทัพอากาศไทยได้นำเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH Wolverine ของตนตั้งแต่ที่ได้รับมอบสองเครื่องแรกหมายเลข "41101" และ "41102" เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024)(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/at-6th.html) และได้เริ่มต้นทำการฝึกบินในพื้นที่ครั้งแรกของตนเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/10/at-6th.html)
บ.จ.๘ AT-6TH ๒เครื่อง หมายเลข "41102" และ "41104" ที่ติดอาวุธใต้ปีกบินเปิดตัวต่อสาธารณชนครั้งแรกในพิธีเปิดการทดสอบและประเมินค่าการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๘(Air Tactical Operations Evaluation 2025) ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/12/at-6th.html)
ต่อมาเมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๘ ได้มีพิธีแสดงความยินดีกับนักบินเครื่องบินโจมตีแบบที่๘ บ.จ.๘ AT-6TH ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ ชั้นเรียนที่๑(Class I) จำนวน ๗คนที่ได้การฝึกบินเปลี่ยนแบบ(transition) และทำการบินปล่อยเดี่ยว Solo fight แรก(https://aagth1.blogspot.com/2025/01/solo-at-6th.html)
กิจกรรมวันเด็กแห่งชาติประจำปี พ.ศ.๒๕๖๘ เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๘ ยังเป็นครั้งแรกที่กองทัพอากาศไทยได้นำเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH ร่วมงานแสดงการบิน Airshow ณ กองบิน๖ ดอนเมือง(หมายเลข "41102" ตั้งแสดงภาคพื้น "41104" ทำการบินสาธิต) และกองบิน๔๑ เชียงใหม่(หมายเลข "41101" ทำการบิน "41105" ตั้งแสดงภาคพื้น) ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2025/01/at-6th.html)
ล่าสุดงานแสดงการบินนานาชาติเนื่องในโอกาสครบรอบ ๘๘ปีกองทัพอากาศไทย RTAF88 ระหว่างวันที่ ๗-๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ณ กองบิน๖ ดอนเมือง ได้มีการจัดแสดงเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH หมายเลข "41102" ร่วมกับอากาศยานแบบอื่นทั้งของกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศมิตรประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2025/03/airbus-a330-mrtt.html)
จนถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ นี้ มีภาพถ่ายและข้อมูลยืนยันได้ว่าฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ ได้รับมอบเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH อย่างน้อยถึง ๗เครื่องแล้วรวมถึงเครื่องหมายเลข "41106" และ "41107" ล่าสุด โดยตามแผนที่กำหนดไว้ฝูงบิน๔๑๑ จะได้รับมอบเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH ครบทั้ง ๘เครื่องที่สั่งจัดหาไว้ในเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๘ นี้ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2025/01/at-6th-8.html)