วันพุธที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2568

มาเลเซียสั่งจัดหาแท่นยิง Torpedo จาก SEA อังกฤษสำหรับเรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela

SEA to supply torpedo launchers for Malaysia's Maharaja Lela class



The second ship of the Royal Malaysian Navy's Maharaja Lela-class frigates, KD Raja Muda Nala at LUNAS Shipyard. (LUNAS)

SEA's Torpedo Launcher System, which has been selected for Malaysia's Maharaja Lela-class frigates. (SEA)



บริษัท SEA สหราชอาณาจักรผู้พัฒนาระบบการป้องกันทางเรือได้รับสัญญาที่จะจัดส่งแท่นยิง torpedo เบารูปแบบตรึงประจำที่สามท่อยิงแบบ Torpedo Launcher System(TLS)
สำหรับโครงการเรือฟริเกต Littoral Combat Ship(LCS) เรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela ของกองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut Diraja Malaysia)

ในแถลงการณ์ของตนเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2025 เพื่อประกาศถึงสัญญา บริษัท SEA เปิดเผยว่าข้อตกลงได้รับการลงนามกับบริษัท Lumut Naval Shipyard Sdn Bhd(LUNAS) มาเลเซียรัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือของรัฐบาลมาเลเซีย
เรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela ทั้งหมด 5ลำจะได้รับการติดตั้งด้วยระบบแท่นยิง torpedo เบา TLS บริษัท SEA กล่าวในแถลงการณ์ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/lcs-kd-maharaja-lela.html)

"ระบบแท่นยิง torpedo แบบ TLS เป็นระบบที่ไม่ขึ้นกับอาวุธแบบใดแบบหนึ่งโดยเฉพาะ(weapons-agnostic) ทำให้มีความเข้ากันได้กับ torpedo เบาหลากหลายแบบ ขณะที่การออกแบบที่กะทัดรัดของระบบทำให้เรียบง่ายต่อการบำรุงรักษาและยืดอายุการใช้งาน" บริษัท SEA เสริม
โครงการเรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela LCS ของกองทัพเรือมาเลเซียเดิมตั้งใจที่จะนำเรือรบขนาดเรือฟริเกตใหม่จำนวน 6ลำเข้าประจำการ(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/lunas-mou-pt-pal.html)

อย่างไรก็ตามเนื่องจากการประสบปัญหาทางการเงินและการบริหารจัดการโครงการ โครงการเรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela LCS ได้ถูกลดจำนวนเรือลงเหลือ 5ลำ(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/maharaja-lela-lcs-2026.html)
เรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela แบบเรือ Gowind ของบริษัท Naval Group ฝรั่งเศส มีความยาวเรือรวมที่ 111m และมีระวางขับน้ำที่ประมาณ 3,000tonnes(https://aagth1.blogspot.com/2023/10/maharaja-lela-lcs.html

นอกจากแท่นยิง torpedo แบบ TLS ระบบอาวุธอื่นๆที่ได้รับเลือกสำหรับเรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ Kongsberg Naval Strike Missile(NSM) นอร์เวย์(https://aagth1.blogspot.com/2025/01/nsm-lekiu.html)
ระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศป้องกันภัยทางอากาศเป็นจุด(point defence) แบบ MBDA VL MICA ฝรั่งเศส, ปืนเรือ BAE Systems 57mm Mk 3 สวีเดน และแท่นยิงปืนกล MSI-Defence Seahawk 30mm สหราชอาณาจักร

ชุดระบบตรวจจับต่างๆของเรือฟริเกตชั้น Maharaja Lela รวมถึง 3D multibeam radar แบบ Thales Nederland SMART-S Mk 2 เนเธอร์แลนด์, ระบบติดตามเป้าหมายและควบคุมการยิง(FCS: Fire-Control System) radar/electro-optical แบบ Rheinmetall TMEO Mk 2 TMX/EO เยอรมนี,
และ sonar หลายระดับความลึกความถี่ต่ำแบบ Thales Captas-2 ยุโรปสำหรับปฏิบัติการสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare) กองทัพเรือมาเลเซียคาดว่าจะได้รับมอบเรือลำแรกเรือฟริเกต KD Maharaja Lela ภายในสิ้นปี 2026 ครับ