วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

พม่าอาจจะจัดซื้อเครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130 จากรัสเซีย

Yak-130 at MAKS-2011(wikipedia.org)

http://zakupki.gov.ru/223/plan/public/plan/info/position-view.html?planId=242544&planInfoId=848748&planInfoPositionId=73957312&versioned=&activeTab=5&pos=true&epz=true
http://zakupki.gov.ru/223/plan/public/plan/info/position-view.html?planId=242544&planInfoId=848748&planInfoPositionId=73957314&versioned=&activeTab=5&pos=true&epz=true

จากการอ้างอิงสองเอกสารใน website สำนักงานจัดซื้อจัดจ้างรัฐบาลสหพันธรัฐรัสเซียข้างต้นนั้นระบุว่า บริษัท Irkut Corporation ซึ่งมีสำนักออกแบบ Yakovlev ในเครือบริษัท โดยเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมอากาศยาน United Aircraft Corporation รัสเซียนั้น
มีการลงนามสัญญาจัดซื้อเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2015 ลำดับ No P / 1510411150511 สำหรับจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130 และผู้รับมอบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินรหัส GP104 ซึ่งระบุว่าหมายถึงพม่า วงเงิน 809053.87 Euros(ต่อเครื่อง?)
ตามเอกสารยังกล่าวถึงการส่งมอบระบบเครื่องฝึกบินจำลองการรบ(Combat Training Simulator) วงเงิน $200000(ไม่เข้าใจเรื่องค่าเงิน?) ด้วย แต่ไม่มีรายละเอียดเพิ่มเติมทั้งจำนวนเครื่อง อุปกรณ์ อาวุธ และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการยืนยันข้อมูลอย่างเป็นทางการขณะนี้
แต่คาดว่าถ้าดูจากระยะเวลาในการส่งมอบเครื่อง Yak-130 ของกองทัพอากาศบังคลาเทศชุดแรก 6เครื่องในวันที่ 20 กันยายน 2015 จากที่สั่งจัดหา 16เครื่องเมื่อเดือนมกราคม 2014
จึงเป็นไปได้ว่าถ้าการจัดหานี้เป็นความจริงกองทัพอากาศพม่าจะได้รับมอบ Yak-130 และระบบที่เกี่ยวข้องภายในช่วงเดือนธันวาคมปี 2016-2017 โดยพม่านับเป็นประเทศที่สี่ที่จัดหา Yak-130 จากรัสเซียที่ส่งออกให้ แอลจีเรีย เบลารุส และบังคลาเทศ แล้ว


กองทัพอากาศพม่าปัจจุบันในส่วนของเครื่องบินฝึกไอพ่นนั้นประจำการด้วยเครื่องบินฝึกไอพ่น Hongdu K-8 จากจีน 12เครื่องที่จัดหาในปี 1998 และจัดหาเพิ่มเติมอีกในช่วงปี 2000s รวมราว 32-50เครื่อง
โดยกองทัพอากาศพม่าได้นำเครื่องบินฝึกไอพ่น K-8 ติดอาวุธปฏิบัติการในภารกิจโจมตีกองกำลังกลุ่มชาติพันธุ์ เช่นที่ปรากฏภาพในยุทธการโจมตีกองกำลังคะฉิ่น KIA ในรัฐคะฉิ่นทางตอนเหนือของประเทศช่วงปี 2012-2013
ซึ่งเดิมกองทัพอากาศพม่าได้จัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น Soko G-4 Super Galeb จากอดีตยูโกสลาเวียในช่วงปี 1991 ประมาณ 20เครื่อง ซึ่งถูกนำมาติดอาวุธโจมตีกองกำลังชนกลุ่มชาติพันธุ์เช่นกัน (ปัจจุบันน่าเหลืออยู่ 4เครื่องซึ่งไม่น่าจะทำการบินแล้วเนื่องจากขาดแคลนอะไหล่)
ทั้งนี้กองทัพอากาศพม่ากำลังอยู่ในช่วงที่จะต้องมีการจัดหาเครื่องบินขับไล่และเครื่องบินโจมตีแบบใหม่เพื่อทดแทนเครื่องรุ่นเก่าที่ล่าสมัยเช่น เครื่องบินขับไล่ F-7M 62เครื่อง และเครื่องบินโจมตี A-5M 36เครื่อง ที่จัดหามาจากจีนช่วงปี 1990-2000

Nigeria to become first JF-17 export operator
http://www.janes.com/article/57080/nigeria-to-become-first-jf-17-export-operator



ปัจจุบันกองทัพอากาศพม่ามีกำลังรบหลักเป็นเครื่องบินขับไล่ MiG-29 จากรัสเซียประกอบด้วย รุ่นที่นั่งเดียว MiG-29B 20เครื่อง และ MiG-29SE 6เครื่อง และรุ่นฝึกสองที่นั่ง MiG-29UB 6เครื่อง (มี MiG-29 ตกจากอุบัติเหตุ 1เครื่องในปี 2014) รวม 31เครื่อง
นอกจากข่าวความสนใจเครื่องบินขับไล่ CAC/PAC JF-17 Thunder หรือ FC-1 ซึ่งเป็นโครงการร่วมของปากีสถานกับจีน ซึ่งปัจจุบัน JF-17 ประจำการในกองทัพอากาศปากีสถานเท่านั้น
โดยเครื่องบินขับไล่ JF-17 ปากีสถานอาจจะกำลังมีลูกค้าที่ส่งออกได้รายแรกคือไนจีเรีย จำนวน 3เครื่องวงเงิน $25 million พร้อมเครื่องบินฝึกใบพัดขั้นประถม PAC Super Mushshak  10เครื่อง วงเงิน $10 million (ยังไม่ยืนยันในขณะนี้)
นอกจากที่กองทัพอากาศพม่าสนใจการจัดตั้งสายการประกอบเครื่องบินขับไล่ JF-17 ภายในประเทศด้วยแล้ว ถ้ามีการยืนยันว่าพม่าจะจัดหาเครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130 จริงจะนับเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนากำลังทางอากาศของกองทัพอากาศพม่าในอนาคต

Myanmar expands defence industrial production capabilities
http://www.janes.com/article/57093/myanmar-expands-defence-industrial-production-capabilities

แผนยุทธศาสตร์ความมั่นคงของรัฐบาลพม่าล่าสุดได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจเมื่อวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมาในการโอนย้ายโรงงานอุตสาหกรรมหนักที่เป็นของกระทรวงอุตสาหกรรมพม่าห้าแห่งให้เป็นของกระทรวงกลาโหมพม่า
โดยโรงงานทั้งห้าแห่งประกอบด้วย โรงงานอุตสาหกรรมหนักหมายเลข11 ย่างกุ้ง, หมายเลข12 โตนีโบ, หมายเลข13 มาเกว, หมายเลข25 เมียง และโรงงานย่อยที่มยินจาน
ทั้งนี้พม่ามีแผนจะขยายขนาดและปรับปรุงโรงงานเหล่านี้เพื่อรองรับระบบอุตสาหกรรมด้านความมั่นคงของพม่าให้มีประสิทธิภาพสูงมากยิ่งขึ้นครับ