Liaoning aircraft carrier inducted in Dalian in September 2012(wikipedia.org)
China Begins Building Second Aircraft Carrier
http://www.wsj.com/articles/china-begins-building-second-aircraft-carrier-1451554003
หนังสือพิมพ์ The Wall Street Journal รายงานข่าวว่า ทางการรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนได้แถลงข้อมูลยืนยันอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2015 ว่า
จีนกำลังก่อสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สองเพื่อเข้าประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชน ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินที่จีนออกแบบเองและต่อเองทั้งหมดในประเทศลำแรก
ก่อนหน้านี้มีรายงานภาพถ่ายดาวเทียมและภาพแอบถ่ายจากอู่ต่อเรือ Dalian ในช่วงปี 2015 เป็นบางส่วนว่าเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ของกองทัพเรือปลดปล่อยประชนจีนได้เริ่มการสร้างมาระยะหนึ่งแล้ว
ตามการแถลงของโฆษกกระทรวงกลาโหมจีน พันเอกอาวุโส Yang Yujun กล่าวว่า "การออกแบบอย่างอิสระและงานก่อสร้าง(ของเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สอง)กำลังดำเนินการอยู่"
แม้ว่าจะไม่ได้ให้รายละเอียดข้อมูลมากนักแต่เรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ที่จีนกำลังสร้างเองนั้นคาดว่าจะมีระวางขับน้ำประมาณ 50,000tons และใช้ระบบขับเคลื่อนตามแบบไม่ได้เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินพลังงานนิวเคลียร์เหมือนของกองทัพเรือสหรัฐฯ
เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินยังคงเป็นเครื่องบินขับไล่แบบ J-15 ซึ่งมีพื้นฐานจากเครื่องบินขับไล่ Su-33 ของรัสเซีย เช่นเดียวกับที่ปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-16 Liaoning ซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน
โดยจีนได้ซื้อเรือบรรทุกเครื่องบิน Varyag ต่อจากยูเครนซึ่งเป็นเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Admiral Kuznetsov ที่อยู่ในสภาพยังต่อไม่เสร็จในปี 1998 มาทำการศึกษาและปรับปรุงเพิ่มเติมจนเสร็จสมบูรณ์ใช้ปฏิบัติการได้
รวมถึงจัดหาเครื่องบินขับไล่ต้นแบบ T-10K-3 ซึ่งเป็นเครื่องต้นแบบของเครื่องบินขับไล่ Su-33 จากยูเครนในปี 2001 เพื่อนเป็นต้นแบบศึกษาในการพัฒนาเครื่องบินขับไล่ J-15 หลังจากที่ไม่ประสบความสำเร็จในการจัดหา Su-33 โดยตรงจากรัสเซีย
ยังไม่แน่ชัดในเรื่องระบบส่งของเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่ของจีน แต่คาดว่าน่าจะยังเป็นระบบ STOBAR (Short Take-Off But Arrested Recovery) ที่ใช้ Ski-Jump วิ่งงขึ้นเช่นเดียวกับเรือบรรทุกเครื่องบิน Liaoning
อย่างไรก็ตามพันเอกอาวุโส Yang ไม่ได้ระบุว่าเรือบรรทุกเครื่องบินลำใหม่นี้จะมีกำหนดปล่อยลงน้ำเมื่อไร โดยระบุเพียงว่าเรือจะมี Technology ติดตั้งใช้ในตัวเรือมากกว่าเรือ Liaonning ที่ประจำการในปัจจุบัน
มีการวิเคราะห์ว่ากองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนมีความต้องการจัดหาเรือบรรทุกเครื่องอย่างน้อย 3ลำเพื่อเข้าประจำการในแต่ละกองเรือคือ กองเรือทะเลเหนือ กองเรือทะเลตะวันออก และกองเรือทะเลใต้
แม้ว่าจำนวนและขนาดพร้อมอากาศยานที่บรรทุกไปได้ของเรือบรรทุกเครื่องบินจีนจะเทียบไม่ได้กับเรือบรรทุกเครื่องบินสหรัฐฯที่มีเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Nimitz 10ลำ และจะมีชั้น Gerald R. Ford ที่ลำแรก CVN-78 USS Gerald R. Ford เข้าประจำการในปี 2016 มาแทนในอนาคต
แต่หลังจากที่เรือบรรทุกเครื่องบิน Liaoning เข้าประจำการในกองเรือทะเลใต้ กองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนตั้งแต่ปี 2012 เป็นต้นมา รวมถึงแผนการขยายขนาดกำลังทางเรือ อากาศยาน และฝึกกำลังพลในส่วนต่างเพิ่มเติมจำนวนมากในปัจจุบันและอนาคต
ทำให้จีนมีขีดความสามารถในการครองน่านน้ำและน่านฟ้าในเขตมหาสมุทรแปซิฟิคมากขึ้น ซึ่งจะเป็นภัยคุกต่อประเทศที่มีข้อพิพาททางทะเลกับจีน ทั้งในกลุ่ม ASEAN เช่น เวียดนาม ฟิลิปปินส์ รวมถึงญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย ที่เป็นพันธมิตรกับสหรัฐฯมากขึ้นครับ