Russia orders 50 Su-35S multirole fighters
Russia is understood to have ordered 50 more Su-35S fighter aircraft from UAC. Source: IHS/Patrick Allen
http://www.janes.com/article/57187/russia-orders-50-su-35s-multirole-fighters
สำนักข่าว TASS รัสเซียรายงานว่า กองทัพอากาศและอวกาศรัสเซีย(VKS) ได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Sukhoi Su-35S (NATO กำหนดรหัส Flanker E) เพิ่มเติมจำนวน 50เครื่อง เมื่อปลายเดือนธันวาคม 2015
ตามแหล่งข้อมูลการสั่งจัดหาชุดใหม่นี้มีวงเงินมากกว่า 60 billion Ruble ($788 Million) และโรงงานอากาศยาน Komsomolsk-on-Amur(KnAAZ) ซึ่งเป็นหนึ่งในโรงงานสร้างอากาศยานของ Sukhoi จะเป็นผู้สร้าง Su-35S ส่งมอบจนถึงปี 2020
ในส่วนคำสั่งจัดหา Su-35S เพิ่มเติมนั้น ทางบริษัทกำลังรอการอนุมัติการจัดหาจากจีน จำนวน 24เครื่อง และหวังที่จะให้อินโดนีเซียลงนามสัญญาจัดหาจำนวน 12เครื่องในเร็วๆนี้
ซึ่งจะทำให้ยอดสายการผลิตเครื่องขั้นต้นที่จะได้รับการสร้างของโรงงานมี 72เครื่อง และถ้าอินโดนีเซียลงนามสัญญาก็จะรวมเป็น 134เครื่องที่จะส่งมอบให้ลูกค้าได้ภายในก่อนปี 2020
ตามแหล่งข้อมูลของ United Aircraft Corporation (UAC) กลุ่มบริษัทอุตสาหกรรมอากาศยานรัสเซีย รัสเซียกำลังมีการเจรจากับแอลจีเรียในขายเครื่องบินขับไล่ทิ้งระเบิด Sukhoi Su-32 ซึ่งเป็นรุ่นส่งออกของ Su-34 (NATO กำหนดรหัส Fullback)
การเจรจากับแอลจีเรียมีความคืบหน้าเป็นอย่างดี โดยกองทัพอากาศอาจจะจัดหา Su-32 ถึง 40เครื่อง
กองทัพอากาศรัสเซียได้สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Su-35S จำนวน 48เครื่อง ตั้งแต่ปี 2009 ซึ่งปัจจุบันได้รับมอบประจำการแล้วประมาณ 40เครื่อง
ซึ่งกองทัพอากาศรัสเซียได้นำ Su-35S เข้าประจำการในกรมบินขับไล่ประจำภาคทหารตะวันออกตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม 2015 โดยอีกกรมบินขับไล่ในภูมิภาค Primorsky จะได้รับมอบเครื่องภายในปี 2016
Su-35S เป็นเครื่องบินขับไล่ที่พัฒนาจากเครื่องบินขับไล่ยุคที่4 Su-27 โดยมีการปรับปรุงขีดความสามารถหลักด้วย Technology เครื่องบินขับไล่ยุคที่5หลายอย่าง
ทั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan Saturn 117S (AL-41F1S) แบบปรับทิศทางแรงขับท่อไอพ่นสามมิติ (3D thrust vectoring nozzle), Irbis-E passive phased array radar สมรรถนะสูง
ห้องนักบินแบบ Glass Cockpit, ระบบ Avionic ระบบอำนวยการรบ และระบบจัดการข้อมูลแบบ Digital, รองรับระบบอาวุธอากาศสู่อากาศและอากาศสู่พื้นที่มีความแม่นยำสูงได้เป็นจำนวนมาก
ทำให้ Su-35S เป็นเครื่องขับไล่เอนกประสงค์ที่มีความคล่องตัวในการบินสูงสุด และมีประสิทธิภาพการรบทางอากาศและการโจมตีภาคพื้นดินสูงสุดที่ประจำการในกองทัพอากาศและอวกาศรัสเซียปัจจุบันครับ
Russia 'freezes' India out of MTA project, to proceed alone as Il-214
A model of the MTA showing the basic twin-engined design concept. Russia has decided to drop its Indian partner and to go it alone with the rest of the project, which it has designated the Il-214. Source: Paul Jackson
http://www.janes.com/article/57169/russia-freezes-india-out-of-mta-project-to-proceed-alone-as-il-214
อีกรายงานจากสื่อสำนักข่าว TASS รัสเซียเมื่อวันที่ 13 มกราคมคือ รัสเซียกำลังมองแนวทางการดำเนินงานโครงการเครื่องลำเลียงเอนกประสงค์ IL-214 MTA(Multirole Transport Aircraft) ต่อด้วยตนเอง
หลังจากที่ Ilyushin ผู้ออกแบบเครื่องประกาศยุติความร่วมมือในโครงการร่วมกับอินเดีย โดยการออกแบบเบื้องต้นของเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีสองเครื่องยนต์ไอพ่นแบบใหม่นี้ยังไม่เสร็จสิ้นทั้งหมด
ทั้งนี้ทาง UAC ต้องการจะดำเนินขั้นตอนการออกแบบรายละเอียดของ IL-214 ให้เป็นที่รู้เฉพาะภายในรัสเซียเท่านั้น
รวมถึงการผลิตอากาศยานทางรัสเซียจะดำเนินการโดยที่ Hindustan Aeronautics Limited (HAL) ที่เป็นอุตสาหกรรมอากาศยานของอินเดียจะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยอีก
"โครงการร่วมระหว่างรัสเซีย-อินเดียนี้ถูกระงับแล้ว" Sergey Velmozhkin ผู้อำนวยการบริหารของ Ilyushin กล่าวต่อสื่อ
ขณะที่ยังไม่มีรายงานการให้เหตุผลของโครงการในตอนนี้ แต่จากรายงานเมื่อเดือนธันวาคม 2015 นั้น UAC รัสเซีย และ HAL อินเดีย ไม่สามารถหาข้อตกลงกันได้ในเรื่องเครื่องยนต์ที่จะนำมาติดตั้งกับ IL-214
โดยเดิมมีการเสนอเครื่องยนต์ไอพ่นแบบ PD-14M ซึ่งพัฒนามาจากเครื่องยนต์ไอพ่นแบบ Aviadvigtel PS-90A-76 ซึ่งถูกใช้ในเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์สี่เครื่องยนต์ไอพ่น IL-76 (NATO กำหนดรหัส Candid)
และภายหลังมีความต้องการเครื่องยนต์ที่ออกแบบใหม่ทั้งหมดที่ใช้ระบบควบคุมการทำงานเครื่องยนต์แบบ Digital หรือ FADEC(Full Authority Digital Engine Control)
"เครื่องยนต์ PS-90 ไม่ได้มีระบบ FADEC แต่ความจำเป็นของระบบลักษณะนี้ไม่ได้อยู่ในข้อกำหนดทางเทคนิคเบื้องต้น มันจะถูกเพิ่มในภายหลัง ความต้องการทางเทกนิค(สำหรับประสิทธิผล) มีความเข้ากันได้เต็มที่กับเครื่องยนต์ PS-90
ดังนั้นสถานะอย่างเป็นทางการคือเราได้เสร็จสิ้นขั้นตอนการออกแบบเบื้องต้นขั้นก้าวหน้ามาเป็นปีแล้ว (และ)นั่นต้องเป็นที่ยอมรับจากทางอินเดีย เราหวังว่าพวกเขาจะยอมรับการออกแบบและก้าวต่อไปข้างหน้า" Yury Slyusar ประธาน UAC กล่าวต่อสื่ออินเดีย The Economic Times
สมรรถนะของเครื่องบินลำเลียง IL-214 คาดว่าจะสามารถบรรทุกได้หนักระหว่าง 15-20tons มีพิสัยทำการ 2,500-2,700km อยู่ในระดับเดียวกับ Lockheed Martin C-130 Hercules สหรัฐฯ (22tons) และ Embraer KC-390 บราซิล (23tons) ครับ
Russia to fill gap left by An-70 with more Il-76MD-90A airlifters
The Russian Air Force is to receive an undisclosed number of additional Il-76MD-90A airlifters to offset to gap left by the loss of the An-70, which it will not now receive as originally planned. Source: Aviastar
http://www.janes.com/article/57172/russia-to-fill-gap-left-by-an-70-with-more-il-76md-90a-airlifters
กองทัพอากาศและอวกาศรัสเซียมีแผนที่จะอุดช่องว่างในส่วนกำลังเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์หลังจากที่โครงการเครื่องบินลำเลียง Antonov An-70 ที่ร่วมกับยูเครนถูกยกเลิกไป โดยการสั่งจัดหาเครื่องบินลำเลียง Ilyushin IL-76MD-90A เพิ่ม
ซึ่งจากข้อมูลของ พลอากาศโท Victor Benedictine ผู้บัญชาการกองบินลำเลียงทางทหาร ที่ได้กล่าวต่อสื่อมวลชนรัสเซียนั้น
กองทัพอากาศรัสเซียจะจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์ IL-76MD-90A เพิ่มขึ้นโดยไม่ระบุจำนวน แต่คาดว่าน่าจะอย่างน้อย 60เครื่องแทนในส่วนของ An-70 ที่มีเดิมมีแผนจะนำเข้าประจำการ โดยจะมีการส่งมอบ IL-76MD-90 มากกว่า 12เครื่องภายในปี 2020
โครงการเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์สี่เครื่องยนต์ใบพัด Antonov An-70 ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างรัสเซียและยูเครนนั้นได้ถูฏยกเลิกไปในช่วงต้นปี 2014 จากการตัดความสัมพันธ์ทางทหารระหว่างทั้งสองประเทศ
ซึ่งเป็นผลมาจากการประท้วงขับไล่อดีตประธานาธิบดียูเครน Viktor Yanukovych ออกจากตำแหน่ง ตามด้วยการที่รัสเซียผนวก Crimea เป็นส่วนหนึ่งของตนและแทรงแซงสนับสนุนกองกำลังติดอาวุธนิยมรัสเซียในเขต Donbass ของยูเครน
ซึ่งในช่วงสองปีที่ความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศไม่มีท่าทีว่าจะดีขึ้น รัสเซียจึงต้องยกเลิกการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์ An-70 และเริ่มแนวทางการปรับปรุงและจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์ของตนคือ IL-76
กองทัพอากาศรัสเซียจะได้รับมอบเครื่องบินลำเลียงทางยุทธศาสตร์ IL-76MD-90A เครื่องแรกจากที่สั่งจัดหา 30เครื่องภายในปี 2020 ซึ่งเครื่องบินลำเลียง IL-76MD-90A หรือเดิม IL-476 เป็นรุ่นปรับปรุงใหม่ของเครื่องบินลำเลียง IL-76MD ที่ใช้งานมาตั้งแต่สมัยอดีตสหภาพโซเวียต
โดย L-76MD-90A ได้ติดตั้งห้องนักบิน Digital Glass Cockpit ระบบการบิน นำร่อง และระบบสื่อสารได้รับการปรับปรุงใหม่ ปรับปรุงโครงสร้างตัวเครื่องทั้งปีกและฐานล้อลงจอดให้ดีขึ้น และใช้เครื่องยนต์ใหม่ Aviadvigatel PS-90
ทำให้ IL-76MD-90A บรรทุกได้หนักสุด 60tons (จากรุ่นก่อน 40tons) และประหยัดเชื้่อเพลิงขึ้นร้อยละ12 เพิ่มพิสัยการบินเป็น 8,500km เมื่อบรรทุกหนัก 20tons หรือ 4,100km เมื่อบรรทุกหนัก 50tons
ซึ่งสูงกว่า An-70 ที่มีพิสัยการบินที่ 6,598km เมื่อบรรรทุกหนัก 20tons และมีน้ำหนักบรรทุกสูงสุด 47tons
ทั้งนี้กองทัพอากาศและอวกาศรัสเซียมีความต้องการเครื่องในตระกูลนี้ 100เครื่อง
คือเครื่องบินลำเลียง IL-76MD-90A และเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ IL-478 อย่างละ 40เครื่อง และเครื่องบินแจ้งเตือนภัยและควบคุมทางอากาศ(AWACS: Airborne Warning And Control System) A-100 อีก 20เครื่อง
โดยขณะนี้มีการสั่งจัดหาแล้ว 30เครื่องครับ