วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Safran ฝรั่งเศสประสบความสำเร็จในการทดสอบระบบนำร่อง Sigma 40 กับอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon สำหรับกองทัพเรือไทย


Royal Thai Navy's DSME DW3000H Frigate and Second Krabi class Offshore Patrol Vessel to integration with Safran Sigma 40 inertial navigation system for Harpoon II Anti-Ship Missiles.(My Own Photo)

Safran’s Sigma 40 inertial navigation system aces integration tests with AGM-84 Harpoon antiship missile system
http://www.safran-electronics-defense.com/media/safrans-sigma-40-inertial-navigation-system-aces-integration-tests-agm-84-harpoon-antiship-missile-system-20161019

งานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ทางเรือ Euronaval 2016 ที่จัดขึ้นที่ศูนย์จัดแสดง Le Bourget ใน Paris ระหว่างวันที่ ๑๗-๒๑ ตุลาคมที่ผ่านมานั้น
บริษัท Safran Electronics & Defense ฝรั่งเศสได้ประกาศความสำเร็จในการบูรณาการติดตั้งทดสอบระบบนำร่องประจำเรือผิวน้ำแบบ Sigma 40 เชื่อมโยงกับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing AGM-84 Harpoon Block II
เพื่อสำหรับนำมาใช้งานกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ ที่กำลังดำเนินการสร้างในไทย และเรือฟริเกตสมรรถนะสูงที่กำลังดำเนินการสร้างที่สาธารณรัฐเกาหลี ของกองทัพเรือไทย

การทดสอบนี้เป็นไปตามสัญญาที่ลงนามไว้ระหว่างบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลีเจ้าของแบบเรือฟริเกต DW3000H(มีพื้นฐานจากเรือพิฆาต KDX-I) ร่วมกับบริษัท Boeing สหรัฐฯผู้รับสัญญาหลักของอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon Block II
ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัท DSME เกาหลีใต้ซึ่งเป็นผู้ได้รับสัญญาในการสร้างเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำแรกให้กองทัพเรือไทยได้เลือกระบบนำร่องเข็มทิศ Laser Gyro แบบ Raytheon Anschutz MINS-II 4000 สำหรับติดตั้งในเรือฟริเกตไทย
แต่ทางบริษัท Boeing สหรัฐฯได้แนะนำให้เปลี่ยนเป็นระบบนำร่องเข็มทิศ Laser Gyro แบบ Safran Sigma 40 แทน เนื่องจากเข็มทิศไยโร MINS-II 4000 นั่นไม่สามารถส่งค่าข้อมูลให้ Harpoon II ได้ครบทุกค่าซึ่งจะลดทอนขีดความสามารถของระบบอาวุธปล่อยนำวิถี
ดังนั้นทาง DSME จึงได้มีการมีการปรับเปลี่ยนสัญญาในส่วนงบประมาณและระยะเวลาให้กองทัพเรือไทยเห็นชอบในการเปลี่ยนมาใช้ระบบนำร่อง Safran Sigma 40 กับเรือตั้งแต่วันที่ ๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๖(2013) แล้ว

นอกจากเรือฟริเกตสมรรถณะสูงที่กำลังต่อที่อู่ต่อเรือ Okpo-Dong ของ DSME นั้น กองทัพเรือไทยจะมีการติดตั้งระบบนำร่อง Sigma 40 กับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ ซึ่งกำลังดำเนินการก่อสร้างในไทยด้วย
โดยโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝรั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ นั้นยังคงใช้แบบเรือ 90m OPV(Offshore Patrol Vessel) ตามสิทธิบัตรของบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร ที่บริษัทอู่กรุงเทพ(Bangkok Dock) ไทยจัดซื้อมา
ซึ่งเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒นี้ มีการปรับปรุงแบบเพิ่มเติมจาก ร.ล.กระบี่ ที่สำคัญคือการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Boeing RGM-84 Harpoon Block II จำนวน ๘นัดบนเรือ
ทั้งนี้จากความสำเร็จในการบูรณาการทดสอบ ระบบนำร่อง Sigma 40 นั่นมีประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือสูง ง่ายต่อการติดตั้ง โดยพร้อมที่จะถูกนำมาติดตั้งใช้งานบนเรือรบของกองทัพเรือไทยได้ทุกลำ

Sigma 40: laser gyro technology inertial navigation system
http://www.safran-electronics-defense.com/file/download/d1492e_sigma_40_sai.pdf

Safran Sigma 40 เป็นระบบนำร่องแรงเฉื่องแบบเข็มทิศไยโร Laser(RLG: Ring Laser Gyro) ซึ่งมีความแม่นยำและยืดหยุ่นสูง มีขนาดกะทัดรัดพร้อมส่วนอุปกรณ์และชุดคำสั่งที่ปรับเปลี่ยนได้ สำหรับการนำร่องเรือและรักษาเสถียรภาพระบบตรวจจับและระบบอาวุธบนเรือ
ระบบนำร่องแรงเฉื่อยในตระกูล Sigma ได้ถูกนำไปติดตั้งบนเรือรบของกองทัพเรือชั้นนำหลายประเทศทั่วโลกแล้วมากกว่า ๕๐๐ลำ เช่น เรือบรรทุกเครื่องบิน Charles de Gaulle กองทัพเรือฝรั่งเศส, เรือฟริเกตชั้น Horizon และเรือฟริเกตแบบ FREMM กองทัพเรือฝรั่งเศสและกองทัพเรืออิตาลี,
เรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบชั้น Ula กองทัพเรือนอร์เวย์, เรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าตามแบบชั้น Collins กองทัพเรือออสเตรเลีย เรือดำน้ำดีเซล-ไฟฟ้าแบบ Scorpene และเรือดำน้ำโจมตีพลังงานนิวเคลียร์ชั้น Barracuda กองทัพเรือฝรั่งเศส เป็นต้นครับ