Hyundai discloses further details of Philippine Navy's new frigates
Computer generated image of the Philippine Navy's new frigate released by Hyundai Heavy Industries on the occasion of the programme's contract signing in October 2016. Source: Hyundai Heavy Industries
http://www.janes.com/article/64864/hyundai-discloses-further-details-of-philippine-navy-s-new-frigates
บริษัท Hyundai Heavy Industries(HHI) หนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างเรือรายใหญ่ของสาธารณรัฐเกาหลี ได้เปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมของเรือฟริเกตใหม่ 2ลำที่จะมีการสร้างสำหรับกองทัพเรือฟิลิปปินส์
รายละเอียดดังกล่าวถูกเปิดเผยต่อสื่อเมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมาตามการประกาศการลงนามสัญญาการสร้างเรืออย่างเป็นทางการโดยรัฐมนตรีกลาโหมฟิลิปปินส์ Delfin Lorenzana
ซึ่ง HHI เกาหลีใต้ได้รับสัญญาวงเงิน 15,744,571,584 Philippine Peso($311 million) จากกระทรวงกลาโหมฟิลิปปินส์เมื่อต้นปี 2016
ตามรายงานก่อนหน้านี้ของบริษัท HHI แบบเรือฟริเกตเอนกประสงค์ HDF-3000 ที่ชนะในโครงการเรือฟริเกตใหม่กองทัพเรือฟิลิปปินส์มีความยาวตัวเรือรวม 114.3m โดยมีพื้นฐานจากเรือฟริเกตติดอาวุธปล่อยนำวิถีชั้น Incheon(FFX-I) ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี
HHI เปิดเผยข้อมูลต่อสื่อว่าเรือฟริเกตใหม่ของกองทัพเรือฟิลิปปินส์จะมีความยาวตัวเรือ 107m ระวางขับน้ำปกติ 2,600tons มีสามารถปฏิบัติการและอยู่รอดต่อความคงทนทะเลในระดับคลื่มลม Sea State 5
เรือฟริเกตจะใช้เครื่องยนต์ CODAD(Combined Diesel and Diesel) สามารถทำความเร็วได้สูงสุด 25knots มีพิสัยทำการไกลสุด 4,500nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 15knots ซึ่งสืบทอดคุณสมบัติการออกแบบหลักจากเรือฟริเเกตชั้น Incheon แม้จะมีระวางขับน้ำเบากว่า
HHI ไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดระบบอาวุธของเรือฟริเกตใหม่ของฟิลิปปินส์แต่กล่าวเพียงว่าเรือฟริเกตจะติดตั้ง "อาวุธหนักซึ่งมีทั้งอาวุธปล่อยนำวิถี, Torpedo, ปืนเรือ และระบบตรวจจับ"
โดยเรือฟริเกตจะมีขีดความสามารถในการต่อต้านอากาศยาน, ต่อต้านเรือผิวน้ำ, ต่อต้านเรือดำน้ำ และสงคราม Electronic
อย่างไรก็ตามจากภาพ 3D CG ที่นำมาประกอบแสดงให้เห็นว่าเรือฟริเกตมีระบบแท่นยิงแนวดิ่ง VLS(Vertical Launching System) 8ท่อยิงที่ด้านหน้าเรือ และติดอาวุธหลักที่น่าจะเป็นปืนใหญ่เรือขนาด 76mm มีอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้่ำ 8นัด และ Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ แท่นยิงแฝดสาม 2ระบบ ท้ายเรือมีปืนใหญ่กลเหนือโรงเก็บและลานจอดเฮลิคอปเตอร์รองรับ ฮ.AW159 ที่กองทัพเรือฟิลิปปินส์สั่งจัดหาครับ
DSME launches 2nd submarine for Indonesia
Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering (DSME) officials pose with Indonesian Navy officers during a ceremony to launch a second submarine built for the Southeast Asian country at DSME's shipyard on Geoje Island, South Gyeongsang Province.
/ Courtesy of DSME
http://www.koreatimes.co.kr/www/news/biz/2016/10/123_216676.html
บริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลีได้ทำพิธีปล่อยเรือดำน้ำลำที่สองที่ได้รับสัญญาสร้างจากกองทัพเรืออินโดนีเซีย(TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut)
เรือดำน้ำแบบ DSME1400 ลำที่สองของกองทัพเรืออินโดนีเซียหมายเลข 404 ชื่อ KRI Ardadedali ได้ทำพิธีปล่อยลงน้ำที่อู่ต่อเรือของบริษัท DSME ที่เกาะ Geoje จังหวัด Gyeongsang ใต้เมื่อวันที่ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจะเข้าประจำการได้ในราวเดือนตุลาคมปี 2017
โดยเรือดำน้ำแบบ DSME1400 ลำแรกของกองทัพเรืออินโดนีเซียหมายเลข 403 ชื่อ KRI Nagapasa ได้ทำพิธีปล่อยลงน้ำเมื่อวันที่ 24 มีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการทดลองเรือคาดว่าจะเข้าประจำการได้ในเดือนมีนาคมปี 2017
เมื่อเดือนธันวาคมปี 2011 รัฐบาลอินโดนีเซียได้ลงนามสัญญาจัดหาวงเงิน 1.3 trillion Korean Won($1.1 billion) กับบริษัท DSME เกาหลีใต้ในการจัดหาเรือดำน้ำจำนวน 3ลำสำหรับกองทัพเรืออินโดนีเซีย
ทั้งนี้เรือดำน้ำแบบ DSME1400 ลำที่สามกำลังดำเนินการก่อสร้างที่ PT PAL รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือของรัฐบาลอินโดนีเซียใน Surabaya โดยการถ่ายทอด Technology จาก DSME เกาหลีใต้
ซึ่งเรือดำน้ำลำที่สามได้ทำการวางกระดูกงูเรือไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา และคาดว่าจะทำการปล่อยเรือได้ในธันวาคมนี้ ซึ่งคาดว่ากองทัพเรืออินโดนีเซียจะได้รับมอบเรือเข้าประจำการในปี 2018ครับ