Royal Thai Marine Corps (RTMC) include AAV7A1 of Marine Assault Amphibious Vehicle Battalion, Royal Thai Marine Corps Division was conducted amphibious landing operation at Ban Thon beach, Chulabhorn camp, Narathiwat province, Gulf of Thailand during Royal Thai Navy (RTN)'s Naval Exercise Fiscal Year 2021 in 31 March 2021.
เมื่อวันที่ ๓๑ มี.ค.๖๔ พล.ร.อ.ชาติชาย ศรีวรขาน ผบ.ทร. ตรวจการฝึกการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การฝึก ทร.๖๔ โดยมี พล.ร.ต.สรไกร สิริกรรณะ รอง ผบ.นย. ร่วมให้การต้อนรับ ณ หาดบ้านทอน ค่ายจุฬาภรณ์ ต.โคกเคียน อ.เมือง จว.นราธิวาส
เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2564 เวลา 07.30 น. กองอำนวยการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2564 ได้จัดให้มี การฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก ณ หาดบ้านทอน ค่ายจุฬาภรณ์ อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส
โอกาสนี้ พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทางเรือ ได้เดินทางมาตรวจเยี่ยมและสังเกตการณ์การฝึก อย่างใกล้ชิด
การฝึกภาคทะเล นั้น เป็นการฝึกของกำลังทางเรือในการควบคุมทะเล และขยายอำนาจจากทะเลสู่ฝั่ง ตามแนวทางการใช้กำลังของกองทัพเรือ และแผนป้องกันประเทศในแต่ละด้าน โดยจัดตั้งกองเรือเฉพาะกิจปฏิบัติการระยะไกล ซึ่งเป็นกำลังเชิงรุก มีกำลังสำคัญ ประกอบด้วย
หมวดเรือเฉพาะกิจโจมตีหมวดเรือเฉพาะกิจปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก และหมวดเรือสนับสนุน โดยหมวดเรือเฉพาะกิจปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก ที่จัดให้มีการยกพลขึ้นยกในวันนี้ จัดกำลังประกอบด้วย
หมู่เรือลำเลียง ได้แก่ เรือหลวงอ่างทอง เรือหลวงสีชัง และเรือหลวงสุรินทร์ หมู่บินลาดตระเวนและลำเลียง ได้แก่ เครื่องบินตรวจการณ์ชายฝั่ง เครื่องบินลาดตระเวน เฮลิคอปเตอร์ลำเลียง และ เฮลิคอปเตอร์ตรวจการณ์ผิวน้ำ
กำลังรบยกพลขึ้นยก ได้แก่ ยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) ยานเกราะล้อยาง (BRT) รถฮัมวี่ (HMMWV) ปืนใหญ่ ขนาด 105 มม. พร้อมกำลังทหารนาวิกโยธิน จำนวน 700 นาย
นอกจากนั้น ยังมีกำลังในส่วนอื่น ๆ อาทิ ชุดปฏิบัติการพิเศษ ชุดปฏิบัติการชายหาด และชุดแพทย์โรงพยาบาลสนาม
สำหรับ การฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก มีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบการปฏิบัติตามหลักนิยมในการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก พ.ศ.2564 ทดสอบแนวทางการใช้กำลังของกองทัพเรือ พ.ศ.2563 และทดสอบความพร้อมกำลังทางเรือและกำลังรบยกพลขึ้นบกนาวิกโยธิน
ในการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบกโดยในการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก จำเป็นจะต้องได้มาซึ่งการควบคุมทะเลและครองอากาศในพื้นที่ปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก
ซึ่งห้วงเวลาที่กำหนดการค้นหาและลิดรอนทำลายกำลังทางเรือของข้าศึก ทั้งเรือผิวน้ำและเรือดำน้ำไม่ให้เป็นภัยคุกคามเป็นภารกิจหนึ่งในการควบคุมทะเล โดยการปฏิบัติการในวันนี้เริ่มด้วย
- เฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำ ทำการค้นหาและกำหนดตำบลที่เรือดำน้ำ เพื่อใช้อาวุธในการโจมตีทำลาย ในขณะเดียวกันเครื่องบินตรวจการณ์ชี้เป้าได้บินตรวจการณ์ และชี้เป้าหมายเรือข้าศึกเพื่อให้กำลังทางเรือใช้อาวุธทำลายจนได้การควบคุมทะเล
และเมื่อได้การควบคุมทะเลในพื้นที่ปฏิบัติการแล้ว กองเรือเฉพาะกิจสะเทินน้ำสะเทินบก จะขอรับการสนับสนุนการกำหนดช่องทางเข้า - ออกเรือเล็ก จากชุดต่อต้านทุ่นระเบิดเคลื่อนที่ เพื่อทำลายทุ่นระเบิดที่ฝ่ายข้าศึกได้วางไว้ป้องกันพื้นที่ยกพล
เมื่อชุดลาดตระเวนแทรกซึมเข้าพื้นที่ยืนยันพิกัดกำลังของฝ่ายข้าศึกได้แล้ว จะร้องขอการทำลายที่หมายด้วยปืนใหญ่เรือ เพื่อให้ข้าศึกหมดขีดความสามารถในการต่อต้านกำลังรบยกพลขึ้นบกที่จะขึ้นมาดำเนินกลยุทธ์บนฝั่ง
- เมื่อพื้นที่บนบกกำลังต่อต้านถูกทำลายแล้ว ยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) คลื่นแรก ได้เข้าปิดระยะ และขึ้นเกยหาด ตามด้วยยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) คลื่นที่สอง โดยทำการโจมตีเป้าหมายบนฝั่งอย่างต่อเนื่อง
จากนั้นเรือระบายพลแบบ LCVP จำนวน 2 ลำ ซึ่งเป็นคลื่นที่ 3 ได้เคลื่อนที่เข้าเกยหาดเพื่อทำการส่งกำลังรบดำเนินกลยุทธ์ ในขณะเดียวกันกำลังรบยกพลขึ้นบกที่บรรทุกมาบนเรือระบายพลขนาดเล็ก ได้เคลื่อนออกจากเรือ เพื่อเข้าทำลายข้าศึกบนหาด
ต่อมา กำลังรบคลื่นที่ 4 ซึ่งเป็นเฮลิคอปเตอร์แบบต่าง ๆ ของกองทัพเรือ ประกอบด้วย แบบ EZ แบบ ซูเปอร์ ลิงค์ และ แบบ เบลล์ 212 ทำการลำเลียงกำลังพลและยุทธโปกรณ์ สนับสนุนดำเนินกลยุทธ์บนฝั่ง
ตามด้วยกองร้อยยานเกราะล้อยาง ที่ลำเลียงมาจากเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ที่แล่นมาเกยหาด ได้เคลื่อนจากเรือขึ้นฝั่งเพื่อสนับสนุนกำลังรบยกพลขึ้นบก ตามด้วยการส่งกลับสายแพทย์ กรณีมีกำลังพลได้รับบาดเจ็บ อันเป็นการเสร็จสิ้นการปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบกในวันนี้
นอกจากการฝึกภาคสนามและภาคทะเลที่จัดให้มีขึ้นในวันนี้แล้ว ก่อนหน้านี้ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ที่ผ่านมา กองทัพเรือ ได้จัดให้มีการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี พื้นสู่พื้น แบบ HARPOON BLOCK 1C โดยเรือหลวงตากสิน
การฝึกปฏิบัติการร่วมระหว่างกองทัพเรือกับกองทัพอากาศ (LINK – E) และยิงอาวุธทางยุทธวิธี และยิงเป้าอากาศยาน ในพื้นที่ทะเลอันดามัน โดยมีผู้บัญชาการทหารสูงสุด พร้อมผู้บัญชาการเหล่าทัพ ร่วมสังเกตการณ์
โดยการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี พื้นสู่พื้น แบบ HARPOON BLOCK 1C ในครั้งนี้ ได้ทำการยิงอาวุธปล่อยต่อเป้าที่ระยะ 55 ไมล์ทะเล หรือประมาณ 100 กิโลเมตร
นับเป็นการยิงไกลสุดที่เคยทำการยิงมาในภูมิภาคอาเซียน โดยใช้หัวระเบิดจริง ซึ่งกองทัพเรือดำเนินการเองโดยไม่พึ่งพาประเทศเจ้าของอาวุธปล่อย หรือต่างชาติแต่อย่างใด
โดยอาวุธปล่อยสามารถวิ่งชนเป้าได้อย่างแม่นยำ นับเป็นความสำเร็จของกองทัพเรือไทย อีกทั้งเป็นการสร้างความชำนาญ และเพิ่มองค์ความรู้ทางยุทธการให้มีความต่อเนื่องเป็นหลักประกันของชาติทางทะเลได้อย่างคุ้มค่า
เพราะอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Harpoon ถือได้ว่าเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ป้องปราม
และในวันที่ 9 เมษายน 2564 กองทัพเรือ จะจัดให้มีการฝึกสนธิกำลังดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง บริเวณสนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข 16 บ้านจันทเขลม อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี โดยได้เชิญกองทัพบก และกองทัพอากาศ จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกตามรายการต่าง ๆ
ซึ่งกองทัพเรือได้ดำเนินการต่อเนื่องและได้รับการตอบรับที่ดีจากทุกเหล่าทัพในทุกครั้ง ซึ่งจะทำให้ทราบถึงคุณลักษณะและขีดความสามารถของกำลังรบจาก เหล่าทัพต่าง ๆ
อันจะนำไปสู่การวางแผนการใช้กำลังทางทหารและการปฏิบัติการรบร่วมที่มีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลในการป้องกันประเทศในอนาคตตามวิสัยทัศน์กองทัพไทยที่ “เป็นกองทัพชั้นนำในภูมิภาค มีนวัตกรรมทันสมัย ปฏิบัติการร่วมอย่างมีประสิทธิภาพทุกมิติ”
และสร้างความสมัครสมานสามัคคี อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของกองทัพไทยในภาพรวม ตามคำขวัญของกองทัพเรือที่ว่า “พลังสามัคคี พลังราชนาวี”
กองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ
หลังพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๖๔(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/blog-post_14.html) ซึ่งได้มีการสาธิตการยกพลขึ้นบกที่สนามฝึกกองทัพเรือหมายเลข ๑๕ หาดยาวแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี
การยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84D Harpoon Block 1C โดยเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน ต่อเป้าที่ระยะ 55nmi ในทะเลอันดามันเมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/blog-post_26.html)
หมู่เรือฝึกในชื่อหมวดเรือเฉพาะกิจโจมตีและคุ้มกันที่๗๑.๑ ประกอบด้วยเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศร, ร.ล.ตากสิน, เรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินนทร์ เรือหลวงสุโขทัย และเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ พรน้อมอากาศยานประจำเรือ
ก็เดินทางกลับมายังอ่าวไทยและส่งมอบพื้นที่ปฏิบัติการให้กับหมวดเรือเฉพาะกิจสะเทินน้ำสะเทินบกที่๗๑.๒ ประกอบด้วยเรืออู่ยกพลขึ้นบกเรือหลวงอ่างทอง, เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ เรือหลวงสีชัง และเรือหลวงสุรินทร์, เรือฟริเกตเรือหลวงเจ้าพระยา, เรือหลวงรัตนโกสินทร์ และเรือฟริเกตชุดเรือหลวงตาปี เรือหลวงคีรีรัฐ
การฝึกการยุทธยกพลขึ้นบกที่ หาดบ้านทอน ค่ายจุฬาภรณ์ นราธิวาส ยังร่วมถึงรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน ที่ได้รับการปรับปรุงโดย Chaiseri ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-chaiseri-first.html)
ในอนาคตจะมีการปรับอัตราจัดโดยรวมกองพันรถถัง พัน.ถ.พล.นย เข้ากับ พัน.รนบ.พล.นย. เป็นกองพันยานเกราะสะเทินน้ำสะเทินบก และจัดหารถรบใหม่เช่น รถถังเบาสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 ของ Norinco จีน ๓คันจากความต้องการ ๖คัน(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/vn16.html)
ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 จีนจะถูกนำมาวางกำลังบนเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Type 071E LPD(Landing Platform Dock) ที่กำลังสั่งจัดหา ๑ลำ ที่กำลังสร้าง ณ อู่เรือ Hudong-Zhonghua Shipbuilding Group(HZ) จีน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก
โดยเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๖๒(2019) กองทัพเรือไทยได้ลงนามสัญญาจัดหากับ China State Shipbuilding Corporation(CSSC) รัฐวิสากิจอุตสาหกรรมสร้างเรือจีนที่อู่เรือ Hudong-Zhonghua อยู่ในเครือครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/lloyds-register-type-071e-lpd.html)