วันอาทิตย์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2564

ระบบสื่อสารโทรศัพท์ใต้น้ำที่ขัดข้องขัดขวางการกู้ภัยเรือดำน้ำเรือดำน้ำ KRI Nanggala 402 อินโดนีเซีย

Communications malfunction hampers rescue of missing Indonesian submarine



KRI Nanggala seen here during a sail pass off Surabaya in 2014. The boat was reported as missing on 21 April. (Alex Widojo/Anadolu Agency/Getty Images)







ความพยายามจากนานาชาติที่จะค้นหาที่ตั้งและกู้ภัยลูกเรือของเรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้า(SSK) ชั้น Cakra(Type 209/1300) ของกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) 
คือเรือดำน้ำ KRI Nanggala หมายเลขเรือ 402 ที่หายสาบสูญไป(https://aagth1.blogspot.com/2021/04/kri-nanggala-402-bali.html) ได้ถูกขัดขวางระบบสื่อสารที่ขัดข้องภายในตัวเรือ

เรือดำน้ำ KRI Nanggala 402 ได้ถูกรายงานว่าหายสาบสูญไป และได้ถูกถือว่าตกอยู่ในสถานการณ์อันตรายร้ายแรงหลังจากที่ขาดการติดต่อรายงานตามที่วางกำหนดการไว้กับกองทัพเรืออินโดนีเซีย
ที่เวลาประมาณ 0300 (ตามเวลาท้องถิ่น) เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2021 ขณะที่เรือดำน้ำได้กำลังเตรียมการสำหรับปฏิบัติการฝึกยิงอาวุธ Torpedo ในทะเล Bali

Janes ได้รับการยืนยันโดยแหล่งข่าวสองรายภายในกองทัพเรืออินโดนีเซียว่า ระบบโทรศัพท์ใต้น้ำ(UWT: Underwater Telephone) หลายความถี่ของเรือดำน้ำ KRI Nanggala ได้มีข้อขัดข้องตลอดปฏิบัติการฝึกนี้ 
และนั้นทำให้เรือดำน้ำ KRI Nanggala ต้องทำการติดต่อกลับผ่านคลื่นวิทยุทางเรือย่านความถี่ VHF และ UHF สำหรับการสื่อสารที่จำเป็นขณะที่เรือลอยลำอยู่ผิวน้ำ

"การขาดระบบโทรศัพท์ใต้น้ำนี้ขัดขวางเรือดำน้ำจากการสื่อสารกับกองกำลังบนผิวน้ำ และนี่เป็นการขัดขวางความพยายามของเราถ้าจะลงมือในตอนต้นเท่าที่จะทำได้
เพื่อจะช่วยเหลือลูกเรือที่ประสบภัยในช่วงความพยายามที่จะกู้ภัย" หนึ่งในแหล่งข่าวกล่าว ซึ่งเขาพูดในสถานะที่ไม่เป็นที่เปิดเผยตัวตน

แหล่งข่าวยังร้องขออีกว่า รายละเอียดเพิ่มเติมต่างๆเกี่ยวกับระบบสื่อสารต่างๆเหล่านี้จะถูกละเว้นตามที่จะไม่มีการผ่อนปรนการรักษาความลับของอุปกรณ์ที่ติดตั้งบนเรือพี่สาวของเรือดำน้ำ KRI Nanggala คือเรือดำน้ำ KRI Cakra 401 ซึ่งเป็นเรือดำน้ำลำแรกของชั้น
เรือดำน้ำชั้น Cakra ทั้งสองลำถูกสร้างโดยเยอรมนีและเข้าประจำการในกองทัพเรืออินโดนีเซียตั้งแต่ปี 1981 และได้รับการปรับปรุงโดยบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) สาธารณรัฐเกาหลีในปี 2012

การดำเนินการช่วยเหลือที่ได้รับการพิจารณาโดยกองทัพเรืออินโดนีเซียรวมถึงการนำกระเปาะพยุงชีพฉุกเฉินตัวถัง aluminium มาติดเข้ากับตัวเรือดำน้ำ
กระเปาะพยุงชีพดังกล่าวจะถูกส่งไปยังเรือดำน้ำผ่านยานใต้น้ำควบคุมจากระยะไกล(ROV: Remotely Operated Vehicle) จากเรือสำรวจ KRI Rigel 933 ครับ