วันพฤหัสบดีที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๔-๓







Royal Thai Navy (RTN) was formal hand on ceremony of new 2 Coastal Patrol Craft T.114-class (T.114 and T.115) from Marsun Thailand at Laem Thian Pier, Sattahip naval base, Chonburi Province in 29 March 2021.

เมื่อวันที่ ๒๙ มี.ค.๖๔ พล.ร.อ.ชาติชาย ศรีวรขาน ผบ.ทร. เป็นประธานในพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง เรือ ต.๑๑๔ และ เรือ ต.๑๑๕ ณ ท่าเรือแหลมเทียน ฐานทัพเรือสัตหีบ อ.สัตหีบ จว.ชลบุรี ในการนี้ พล.ร.ท.รณรงค์ สิทธินันทน์ ผบ.นย. ร่วมเป็นเกียรติในพิธี

ในวันนี้ กองทัพเรือได้ทำพิธีรับมอบเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุด เรือ ต.114 จำนวน 2 ลำ ประกอบด้วย เรือ ต.114 และ เรือ ต.115 
เรือทั้งสองลำเป็นเรือที่ต่อขึ้นด้วยการออกแบบและต่อเรือโดยบริษัท มาร์ซัน จำกัด ซึ่งเป็นอู่ต่อเรือของคนไทย 100% 
โดยทั้งนี้ เรือทั้งสองลำจะเข้าสังกัดในกองเรือยามฝั่ง กองเรือยุทธการ เพื่อทดแทนเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุด เรือ ต.10 และ เรือ ต.91 ที่ทยอยปลดประจำการจนใกล้ครบทุกลำแล้วในเวลานี้
สิ่งที่แตกต่างออกไปจากเดิมคือ เรือ ชุด ต.111 นั้น ติดตั้งปืนหลัก ขนาด 20 มม. GI-2 แต่ในเรือ ชุด ต.114 นั้นได้เปลี่ยนไปใช้ปืนหลัก ขนาด 30 มม. MSI DS-30 A2 ซึ่งใช้ระบบควบคุมการยิงของ MSI เอง 
(ที่ผ่านมาเรือที่ใช้ปืน 30 มม. ของบริษัท MSI จะใช้ ระบบควบคุมการยิงแบบ Mirador ประกอบกับ CMS แบบ TACTICOS) ครับ

กองทัพเรือไทยประจำการด้วยเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.991 จำนวน ๓ลำ(เรือ ต.991, ต.992 และ ต.993) ,เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.994 จำนวน ๓ลำ(เรือ ต.994, ต.995 และ ต.996) และเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.111 จำนวน ๓ลำ(เรือ ต.111, ต.112 และ ต.113)
เมื่อรวมกับเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.114 จำนวน ๒ลำล่าสุดคือ เรือ ต.114 และเรือ ต.115 จะรวมเป็น ๑๑ลำ ในการทดแทนเรือ ตกฝ.เก่าคือเรือตรวจการณ์ใกล้ชุดเรือ ต.๑๐ และเรือตรวจการณ์ใกล้ชุดเรือ ต.๙๑(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/91-94-95.html)
กองทัพเรือไทยยังมีความต้องการเรือ ตกฝ.อีก ๒ลำคือคือเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งชุดเรือ ต.997 จำนวน ๒ลำคือ เรือ ต.997 และเรือ ต.998(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/997-998.html) โดยคาดว่าจะปล่อยเรือลงน้ำได้ในปี ๒๕๖๔ นี้ครับ 


Thailand and the Philippines have signed an agreement to collaborate on defence production. The accord could support Thailand’s proposed export to its Southeast Asian neighbour of the BAE Systems’ designed Krabi-class OPV.

BMT has been awarded a contract to support the RTN's new midget submarine programme. The UK is looking to expand defence exports to the Asia-Pacific in line with its newly published Integrated Review.

Thailand and China are discussing plans to set up a facility to support Chinese-made military vehicles in Thailand, such as the VT4 MBT.

การที่ไทยได้ให้สัตยาบันกับฟิลิปปินส์สำหรับการลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) ด้านความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงเมื่อต้นเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) นั้นเป็นหนึ่งการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย
โดยที่ฟิลิปปินส์ต้องการที่จะให้ความเป็นได้ในการซื้ออาวุธกับไทยอยู่ในการขายรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ตามที่สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.กับ บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด(Bangkok Dock) และ บริษัท ช ทวี จำกัด (มหาชน)(CHO THAVEE PLC) มีการลงนามร่วมในปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
ที่จะส่งเสริมการเสนอเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ แก่กองทัพเรือฟิลิปปินส์(PN: Philippine Navy) จำนวน ๖ลำ เช่นเดียวกับที่ DTI รวมกับ บริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ในการเสนอรถหุ้มเกราะล้อยาง First Win II 4x4

การทบทวนอย่างบูรณาการของนโยบายความมั่นคง, กลาโหม, การพัฒนา และการต่างประเทศของสหราชอาณาจักที่เผยแพร่เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔ นั้นกล่าวรวมถึงไทยในการเสริมสร้างการค้าด้านกลาโหมและการมีส่วนร่วมด้านอุตสาหกรรมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก
ซึ่งนี่จะสอดคล้องต่อการสนับสนุนโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ในข้างต้นที่ และโครงการวิจัยและพัฒนาสร้างเรือดำน้ำขนาดเล็ก(Midget Submarine) ของกองทัพเรือไทยด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/bmt.html)
เช่นเดียวกับความคืบหน้าการจัดตั้งศูนย์ MRO(Maintenance, Repair and Overhaul) ไทย-จีน ที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยในการผลิตชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อสนับสนุนยุโธปกรณ์จีนที่มีประจำการในกองทัพไทยและกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อย่างรถถังหลัง VT4 ด้วยครับ


Office of the Permanent Secretary for Defence, Ministry of Defense of Thailand with Royal Thai Armed Forces (RTARF) Royal Thai Army (RTA), Royal Thai Navy (RTN) and Royal Thai Air Force (RTAF) was signed Memorandum of Understanding (MOU) for support domestic Defense industries in 9 March 2021. MOD 963 5.56x45mm based-on NARAC556 assault rifle series by Thailand company NRC Defence was displayed at ceremony.

สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมกับ กองบัญชาการกองทัพไทย และเหล่าทัพ  ลงนามบันทึกข้อตกลง การสั่งซื้อ-สั่งจ้าง ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ

พลเอก ณัฐ อินทรเจริญ ปลัดกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วย ผู้แทน ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ประกอบด้วย 
พลเรือเอก ช่อฉัตร กระเทศ รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด พลเอกธรรมนูญ วิถี ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก พลเรือเอก สิทธิพร มาศเกษม รองผู้บัญชาการทหารเรือ พลอากาศเอก ปราโมทย์ ศิริธรรมกุล และ พลเอก สราวุธ รัชตะนาวิน ผู้อำนวยการศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ 
ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) การสั่งซื้อ-สั่งจ้างผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ โดยเป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ร่วมกับ กองบัญชาการกองทัพไทย กองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ ณ สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม พื้นที่ศรีสมาน 
ซึ่งการจัดทำบันทึกข้อตกลงดังกล่าว เป็นก้าวสำคัญในการผนึกกำลังร่วมกันของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ  ที่สามารถผลิตขึ้นใช้ได้เอง สะท้อนการพึ่งพาตนเอง ลดการนำเข้ายุทโธปกรณ์ จากต่างประเทศ 
เป็นการวางรากฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ ด้วยการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้มีความก้าวหน้า รวมทั้งต่อยอดนวัตกรรมที่ทันสมัย อาทิ  

ปืนใหญ่ขนาด 155 มิลลิเมตรอัตตาจรล้อยาง ที่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศผู้ผลิต ปัจจุบันส่งมอบให้กับกองทัพบกและกองทัพเรือนำไปทดสอบเพื่อใช้จริง 
ปืนใหญ่ขนาด 105 มิลลิเมตรอัตตาจรรอยาง ทำการผลิตขึ้นเองทั้งระบบกระบอก 
เครื่องยิงลูกระเบิดขนาด 120 มิลลิเมตรอัตราจรล้อยางได้วิจัยร่วมกับมิตรประเทศ 
ระบบดึงอัตโนมัติการผลิตกระสุนปืนใหญ่ ขนาด 105 และ 155 มิลลิเมตรแบบออโตเมชั่น 
โครงการวิจัย และพัฒนาปืนเล็กยาว ขนาด 5.56 มิลลิเมตร และปืนพกขนาด 11 มม. เพื่อเป็นปืนต้นแบบใช้ในกระทรวงกลาโหม  
โครงการวิจัยและพัฒนาสายการผลิตระบบกล้องวงจรปิดเชิงอุตสาหกรรม ด้านความมั่นคง  
รวมถึงการผลิตแบตเตอรี่เพื่อกักเก็บพลังงานในอนาคต สำหรับยานพาหนะทางยุทธวิธี 
นอกจากนั้นโรงงานเภสัชกรรมทหารได้กำหนดแผนก่อสร้างโรงงานผลิตยาแห่งใหม่เพื่อขยายความสามารถในการผลิตยาและเวชภัณฑ์ให้กับกองทัพและประชาชนตามนโยบายของรัฐบาล

สำหรับการลงนามครั้งนี้ มีกรอบความร่วมมือ 4 ปี ตั้งแต่ปี 2564 - 2567  ถือเป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ ที่กำหนดให้อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ เป็นอุตสาหกรรมเป้าหมายลำดับที่ 11 หรือ S - Curve 11 ที่เป็นการเปิดแนวคิดใหม่ในการปฏิรูปอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและห่วงโซ่การผลิต เสริมสร้างความพร้อมรบ และพัฒนาศักยภาพบุคลากรของกองทัพเพื่อให้เป็นหลักประกันความมั่นคง รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันเชิงพาณิชย์ในระดับสากลต่อไป













The prototype of domestic DTI7 personal defense weapon, 7" length barrel assault rifle developed by thai company KHT Firearms and cooperative with Defence Technology Institute (DTI) was testing on military operational standard in 2 March 2021. 







*ภาพ ณ วันที่ 02/03/64*  KHT FIREARMS
วันเปิดงานการทดสอบสมรรถนะของปืน DTI7 ขนาด5.56มม. เต็มรูปแบบตามมาตราฐานของปืนและเป็นปืนที่ผลิตโดยคนไทย บริษัทเอกชนของคนไทยโดยบริษัทKHT FIREARMS co.,ltd
ภายในงานถือเป็นเกียรติที่อย่างมาก ท่าน พล.อ.พอพล มณีรินทร์  และ ท่าน พล.อ.อ.ปรีชา ประดับมุข ได้เข้ารับเยี่ยมชมผลิตภัณฑ์ของบริษัทKHT FIREARMS และยังได้เข้าร่วมทดสอบสมรรถนะปืนDTI7เองอีกด้วย 
*กิจกรรมภายในงาน*
-โชว์การบรรยายความเป็นมาของปืนDTI7
-โชว์ศักยาภาพชิ้นส่วนในการผลิตอาวุธของคนไทย
-โชว์ศักยาภาพความแม่นยำของปืนของคนไทย
-โชว์ศักยาภาพในการใช้งานของปืนของคนไทย
-และที่สำคัญโชว์ศักยาภาพความเป็นไทยของเราด้วยครับ*

การทดสอบสมรรถนะการใช้งานของปืนตามมาตรฐานทางทหาร โครงการวิจัยและพัฒนาอาวุธปืนและกระสุน อาวุธปืนเล็ก DTI7 โดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI และบริษัท KHT Firearms ไทย เป็นความคืบหน้าที่สำคัญของการสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงของไทย
นอกจากปืนเล็กกล DTI7 แล้ว KHT Firearms ยังมีการพัฒนาปืนกลมือติดท่อลดเสียงขนาด 9x19mm ซึ่งมีพื้นฐานในรูปแบบปืนเล็กยาวตระกูล AR15 โดยทำงานในระบบลูกสูบแก๊ซช่วงชักสั้น(short stroke gas piston) เช่นกัน ซึ่งสามารถถูกใช้ในการปฏิบัติการพิเศษหรือเป็นอาวุธพลประจำรถได้
ด้วยลำกล้องขนาด 7.5" ของ DTI7 ทำให้มีขนาดเล็กเหมาะจะเป็นอาวุธป้องกันประจำบุคคล(PDW: Personal Defense Weapon) สำหรับหน่วยแนวหลัง ขณะที่ปืนเล็กยาวตระกูล MOD 963 จากบริษัท NARAC ARMS INDUSTRY ไทย ที่มีความยาวลำกล้องมากกว่าจะเหมาะหน่วยกำลังรบหลักครับ

Royal Thai Navy's MARCUS (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle)



Orbiter 3 Small Tactical UAS (Unmanned Aerial Systems) of 104 Naval Air Squadron, Naval Air Wing 1, Royal Thai Naval Air Division (RTNAD), Royal Thai Fleet, RTN.





ขณะที่อากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง MARCUS ที่เป็นผลงานวิจัยของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร ร่วมกับภาคเอกชนไทยคือบริษัท SDT Composites จำกัด และบริษัท Pims Technologies จำกัด(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/marcus.html)
จะมีการผลิตจำนวน ๓เครื่องเพื่อนำไปทดลองใช้งานจริง ด้านอากาศยานไร้คนขับ Orbiter 3B จำนวน ๖เครื่องที่ถูกนำเข้าประจำการก่อนหน้าในฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ โดยมีการนำไปใช้งานจริงแล้วนั้น(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/orbiter-3b-uav.html)
ก็ประจำการร่วมกับอากาศยานไร้คนขับปีกหมุน Camcopter S-100(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/schiebel-camcopter-s-100.html) ในฝูงบิน๑๐๔ เช่นกัน รวมถึงอากาศยานไร้คนขับ RQ-21 Blackjack ด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/rq-21-blackjack.html)












Target Impact! FFG-442 HTMS Taksin was live firing RGM-84D Harpoon Block 1C to target at Andaman sea during Royal Thai Navy (RTN)'s Naval Exercise Fiscal Year 2021 in 25 March 2021.

ด่วน..ได้ภาพอาวุธปล่อยนำวิถีพุ่งชนเป้าอีกกล้อง ได้ภาพลูกอาวุธปล่อยฯ กำลังจะพุ่งชนเป้า เมื่อนำมาแยกเป็นภาพนิ่งด้วยครับ

อีกภาพจากทีมเรานำมาฝากกันครับ เป็นอีกมุมของอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นแบบ Harpoon Block 1C ถูกยิงออกจากเรือหลวงตากสิน ในการฝึกกองทัพเรือ 64 เมื่อ 25 มี.ค.64

อีกหลายมุมภาพของอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นแบบ Harpoon Block 1C ถูกยิงออกจากเรือหลวงตากสิน ในการฝึกกองทัพเรือ 64 ที่ผ่านมา

ระเบิด หรือ ไม่ระเบิด
มาดูกันให้ชัดๆ จากกล้องของทีมงานสารคดีกองทัพเรือ ร่วมกับ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ นะครับ

การยิง Harpoon Block 1C เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 64 นั้น เป็นการยิง “ลูกที่ใช้ในการรบจริงๆ” เรียกง่ายๆ ว่าแบบนี้ กล่าวคือ ปกติเพื่อความปลอดภัย Harpoon สามารถถอดหัวรบ (Tactical Warhead) แล้วติดตั้งอุปกรณ์ Telemetry และ ระบบ Flight Terminate Section 
เพื่อทำลายตัวเองในกรณีที่เกิดการทำงานผิดพลาด รวมทั้งจะลดน้ำมันเชื้อเพลิงของลูกอาวุธปล่อยฯ ให้เหลือเท่าที่ระยะที่จะยิง
แต่ครั้งนี้ ไม่มีการเปลี่ยนและติดตั้งอะไรเพิ่มเติม คือ ใช้ Tactical Warhead และ ไม่ลดน้ำมัน แปลว่าถ้ามันทำงานผิดพลาด จะโคจรได้เต็มระยะ คือ 67++ ไมล์ ซึ่งอาจจะไปได้ไกลสุดถึง 75 ไมล์ 
นอกจากนั้น การยิงในครั้งที่ผ่านๆ มาของกองทัพเรือยังเป็นการยิงแบบ Direct คือ ให้ Harpoon เดินทางตรงจากเรือยิงไปถึงเป้าหมาย แต่ในครั้งนี้ มีการตั้ง Waypoint จำนวน 1 จุด (ปกติ Block 1C ตั้งได้ 3 จุด) เพื่อให้ Harpoon ได้เลี้ยว 1 ครั้ง อีกด้วย

ส่วนที่ยาก ไม่ใช่การตั้งค่าระบบครับ
แต่เป็นการจัดการว่าทำอย่างไร หาก Harpoon ทำงานผิดพลาด แล้วจะต้องไม่มีอันตราย 
กองทัพเรือ ต้องเคลียร์พื้นที่ขนาด 90x60 ตารางไมล์ หรือ 108 x 168 ตารางกิโลเมตร ด้วยเรือจำนวนมาก ได้แก่ ร.ล.กระบุรี ร.ล.กระบี่ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ร.ล.ศรีราชา ร.ล.ทะยานชล ร.ล.ชลบุรี เรือ ต.992 เรือ ต.995 เรือ ต.996 พร้อมอากาศยานแบบ F-27 และ DO-228
 เริ่มเคลียร์พื้นที่กันตั้งแต่ วันที่ 24 มี.ค. เวลา 0600 จนถึง 25 มี.ค. เวลา 1000 เพื่อให้ปลอดภัย ในการยิง ที่ใช้เวลาโคจรเพียง 6 นาทีกว่าๆ ในระยะเดินทางของ Harpoon รวม 57 ไมล์ (ห่างจากเรือยิง 55 ไมล์ แต่โคจรมีการเปลี่ยนเข็มนะครับ) ซึ่งก็คือประมาณ 102 กม. 
การยิงที่ระยะ 57 ไมล์ หรือ 102 กม. เป็นการใช้อาวุธแบบนอกระยะสายตา และ นอกระยะเรดาร์ หรือที่เรียกว่า Over the horizon ซึ่งแปลว่า เรือยิง ไม่สามารถตรวจจับเป้าได้ด้วยตนเอง จึงต้องใช้ อากาศยานประจำเรือ ในครั้งนี้คือ Super Lynx 300 ในการ “ชี้เป้า” (Targeting) 
อีกส่วนหนึ่งที่ที่สำคัญคือ หมู่เรือบริการเป้า ได้แก่ ร.ล.ปันหยี และ เรือ ต.113 ที่ต้องลากเป้าไปวางในตำบลที่ตามแผน และ เก็บเป้า/ทำบายเป้าให้ไม่เป็นอันตรายต่อการเดินเรือหลังเสร็จภารกิจครับ

เล่าให้ฟังเพราะอยากให้ได้เห็นเบื้องหลังว่ากว่าจะถึงตอนที่อาวุธปล่อยโคจรไปโดนเป้านั้น มีอะไรมากมายเกิดขึ้น การยิงให้โดนเป้าไม่ยาก แต่การยิงให้ปลอดภัยในช่วงเวลาปกติก็ไม่ง่ายครับ โดยเฉพาะพื้นที่ประเทศไทย ที่อยู่ใกล้ช่องแคบมะละกา หนึ่งในพื้นที่ที่การจราจรทางเรือคับคั่งอย่างมาก
ภาพจาก ทีมงานสารคดีกองทัพเรือ และ กรมการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศทหารเรือ







ATMG (Autonomous Truck Mounted Gun) 155mm/52caliber wheeled self-propelled howitzer 6x6 of 4th Artillery Battalion, Marine Artillery Regiment, Royal Thai Marine Division, Royal Thai Marine Corps (RTMC) during RTN's Naval Exercise FY 2021 at Andaman sea in 25 March 2021.

เมื่อวันที่ ๒๕ มี.ค.๖๔ พล.ร.ท.รณรงค์ สิทธินันทน์ ผบ.นย. เดินทางไปตรวจเยี่ยมการฝึกซ้อมยิงอาวุธปืนใหญ่ ขนาด ๑๕๕ มม. อัตตาจร (ATMG) ร่วม นย./สอ.รฝ. ณ อุทยานแห่งชาติเขาลำปี จว.พังงา

ชมวิดีโอ... ปฏิบัติการยิงป้องกันฝั่งของ ATMG ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ขนาด 155 มม. 52 คาลิเบอร์ ของ ทหารนาวิกโยธิน... 
ATMG มีระยะยิงไกลสุด 40 กม.  อัตราการยิง 2 นัดต่อนาที บรรทุกกระสุนพร้อมยิง 18 นัด น้ำหนักรวม 26,200 กก. พลประจำปืน 6 นาย รถรองปืนแบบ 6X6 ขนาด 10 ตัน ระยะปฎิบัติการ 400 กม. 
ในอนาคตหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งจะจัดหามาประจำการด้วย ...ถ่ายทำโดยทีมงาน BATTLEFIELD DEFENSE

ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยางแบบ ATMG(Autonomous Truck Mounted Gun) 6x6 ขนาด 155mm/52caliber ได้ทำการยิงกระสุนจริง ณ สนามฝึกยิงอาวุธกองทัพเรือ (สนาม C) กองทัพเรือภาคที่๓ ที่ทะเลอันดามัน ในการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๔ วันที่ ๒๔-๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔ น่าจะเป็นครั้งแรก
ปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG ได้ถูกนำเข้าประจำการ ณ กองพันทหารปืนใหญ่ที่๔ กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน จำนวน ๖ระบบหรือ ๑กองร้องปืนใหญ่ เป็นระบบที่ประกอบสร้างในไทยโดย ศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ศอว.ศอพท.
ตามแผนนาวิกโยธินไทยมองจะจัดหา ป.อจ.ล้อยาง ATMG เพิ่มอีก ๑๒ระบบ เพื่อให้ครบ ๑กองพันปืนใหญ่ ๑๘ระบบ เมื่อรวมกับที่จัดหาโดยกองทัพบกไทยเข้าประจำการแล้ว ๑๘ระบบและจะจัดหาเพิ่มเติมอีก ๑๘ระบบ ทำให้จำนวน ATMG ที่จะผลิตในไทยจะรวมเป็นถึง ๕๔ระบบครับ








Royal Thai Air Force (RTAF) was formal decommissioning ceremony for Lockheed Martin F-16B Block 15 OCU serial 10321 of 103rd Squadron and F-16A Block 15 ADF serial 10207 of 102nd Squadron, Wing 1 Korat in 30 March 2021.

กองบิน ๑ จัดพิธีอำลาเนื่องในโอกาสปลดประจำการ บข.๑๙/ก
นาวาอากาศเอก เจริญ  วัฒนศรีมงคล ผู้บังคับการกองบิน ๑ เป็นประธานในพิธีอำลาเนื่องในโอกาสปลดประจำการ บข.๑๙/ก F-16ADF (10207), F-16 (10321) สังกัดฝูงบิน ๑๐๒ และ ฝูงบิน ๑๐๓ กองบิน ๑ 
โดยมีข้าราชการสังกัดฝูงบิน ฯ ร่วมพิธีอำลาฯ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ บริเวณลานจอดอากาศยาน สนามบินกองบิน ๑

นอกจากที่กองทัพอากาศไทยได้ทำพิธีปลดประจำการเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ บ.ขฝ.๑ Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ จำนวน ๕เครื่องสุดท้าย เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔ แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/l-39zaart.html)
ก่อนหน้านั้นหนึ่งวัน ยังได้มีพิธีปลดประจำการเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙ก บ.ข.๑๙ก F-16B Block 15 หมายเลข 10321 ฝูงบิน๑๐๓ และเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙ บ.ข.๑๙ F-16A ADF หมายเลข 10207 ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ ซึ่งน่าจะเป็นเครื่องที่หมดอายุการใช้งานชุดแรกของทั้งสองฝูง
ตามแผนสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) มีความต้องการเครื่องบินขับไล่โจมตีใหม่ ๑๒เครื่องทดแทนในส่วนฝูงบิน๑๐๒ และ ๑๒เครื่องทดแทนในส่วนฝูงบิน๑๐๓ ซึ่งควรจะเริ่มต้นได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ถ้าไม่มีการเลื่อนครับ