วันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564

กองทัพอากาศไทยปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ F-16A ADF และ F-16B และเครื่องบินขับไล่และฝึก L-39ZA/ART

RTAF decommissions two F-16, last five L-39ZA aircraft















The RTAF held a decommissioning ceremony for the last five L-39ZA/ART on 31 March. (RTAF)








The RTAF held a decommissioning ceremony for an F-16A and an F-16B on 30 March. (RTAF)

Clip: Farewell L-39 Albatros



กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ได้ปลดประจำการเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙ บ.ข.๑๙ Lockheed Martin F-16A Block 15 ADF และเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙ก บ.ข.๑๙ก Lockheed Martin F-16B Block 15 OCU รวม ๒เครื่อง
และเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ บ.ขฝ.๑ Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatross จำนวน ๕เครื่องสุดท้าย(https://aagth1.blogspot.com/2021/03/l-39zaart.html) ในสิ้นเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) ที่ผ่านมา

กองทัพอากาศไทยประกาศเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ผ่านบัญชี Facebook ว่าตนได้ปลดประจำการเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A Block 15 ADF หมายเลข 10207 ฝูงบิน๑๐๒ และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ก F-16B Block 15 OCU หมายเลข 10321 ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ แล้ว
ไม่มีเหตุผลสำหรับการปลดประจำการที่ได้รับการเปิดเผย แต่น่าจะเพราะว่าโครงสร้างอากาศยานของเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B ที่สองเครื่องมีปัญหาความล้าจนหมดอายุการใช้งานแล้ว

บ.ข.๑๙ F-16A Block 15 ADF หมายเลข 10207 เป็นเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) มาก่อน และ บ.ข.๑๙ก F-16B Block 15 OCU หมายเลข 10321 เป็นเครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force)
ตามรายงานจากสื่อท้องถิ่นของไทย เครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก F-16A/B ทั้งในฝูงบิน๑๐๒ และฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช จะถูกปลดประจำการเพิ่มเติมในระยะเวลาอันใกล้(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html)

วันต่อมาเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔ กองทัพอากาศไทยได้ปลดประจำการเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ๕เครื่องสุดท้าย ที่ประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ หลังประจำการมาเป็นเวลามากกว่า ๒๗ปี
พิธีปลดประจำการถูกจัดขึ้น ณ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ และได้เชิญพลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ ผู้บัญชาการทหารอากาศ กองทัพอากาศไทยเป็นประธาน

ตามข้อมูลจาก Janes World Air Forces เดิมกองทัพอากาศไทยได้จัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART รวมจำนวน ๔๐เครื่อง โดยเครื่องแรกถูกส่งมอบในปี พ.ศ.๒๕๓๖(1993) และมีพิธีบรรจุเข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) 
และปรับปรุงเครื่องให้ระบบมาตรฐานตะวันตกโดยบริษัท Elbit อิสราเอลที่ทันสมัยในยุคนั้น รวมถึงอื่นๆ เช่น ระบบห้ามล้อด้วยมือแบบเดิมซึ่งติดตั้งที่คันบังคับ ให้เป็นระบบห้ามล้อที่ใช้เท้าเหมือนที่เครื่องบินที่กองทัพอากาศไทยใช้อยู่

ในเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๘(2015) กองทัพอากาศไทยได้เลือกเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ Korea Aerospace Industries T-50TH Golden Eagle สำหรับโครงการทดแทน บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ระยะที่๑
เครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ KAI T-50TH ระยะที่๑ ชุดแรกจำนวน ๔เครื่องถูกส่งมอบในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๑ โดยเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/t-50th.html)

ซึ่งก่อนหน้านั้นในปลายปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ฝูงบิน๔๐๑ ได้โอนย้าย บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART ที่มีอยู่ของตนไปรวมกับฝูงบิน๔๑๑ เป็นฝูงเดียวเป็นฝูงสุดท้ายจำนวน ๒๔เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2017/10/kai-t-50th.html)
บ.ขฝ.๒ T-50TH ระยะที่๒ เพิ่มเติม ๘เครื่องได้รับการสั่งจัดหาในปี ๒๕๖๐ และถูกส่งมอบครบแล้ว บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลียังมองที่จะได้รับการสั่งจัดหาระยะที่๓ อีก ๒เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/t-50th.html)