วันศุกร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564

กองทัพเรือไทยทำการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๔ ที่ทะเลอันดามัน














CVH-911 HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier embark with Sikorsky SH-60B Seahawks and Leonardo Super Lynx 300 helicopters, FFG-442 HTMS Taksin, FF-442 HTMS Sukhothai and OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan 
sailing from Gulf of Thailand to Andaman Sea for Royal Thai Navy (RTN)'s Naval Exercise Fiscal Year 2021, Include Royal Thai Air Force (RTAF)'s Saab Gripen C/D 701st Squadron and Saab 340B ERIEYE AEW&C 702nd Squadron, Wing 7 Surat thani.




























Royal Thai Navy's FFG-442 HTMS Taksin, FF-457 HTMS Kraburi, FF-442 HTMS Sukhothai, OPV-551 HTMS Krabi, OPV-552 HTMS Prachuap Khiri Khan, PC-543 HTMS Sriracha, Tor.992 and YO-836 HTMS Matra at Cape Panwa, Phuket province in 22-23 March 2021.

Clip: RTAF Gripen C/D and Saab 340 ERIEYE over HTMS Chakri Naruebet training task force.

Clip: FFG-442 HTMS Taksin was live firing RGM-84D Harpoon Block 1C to target at Andaman sea in 25 March 2021

กองบิน 7 จัดเครื่องบิน GRIPEN จากฝูงบิน 701 และ SAAB 340 AEW จากฝูงบิน 702 เข้าร่วมการฝึกกับชุดเรือเฉพาะกิจในการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2564 บริเวณอ่าวไทย เมื่อวันที่ 19 มี.ค.64
การฝึกที่สำคัญ ได้แก่ การสนับสนุนการป้องกันภัยทางอากาศให้กับกองเรือ, การฝึกควบคุมอากาศยานกองทัพอากาศโจมตีเป้าหมายผิวน้ำโดยเจ้าหน้าที่ควบคุมของเรือ ตลอดจนการบินลาดตระเวนควบคุมและแจ้งเตือนระยะไกล 
ตามแนวทางการปฎิบัติการที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง (Network Centric Operations) ระหว่าง กำลังทางอากาศกับกำลังทางเรือ ด้วยการแลกเปลี่ยนภาพสถานการณ์ในพื้นที่ปฏิบัติการผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactical Data Link ) 
ระหว่างเครื่องบิน SAAB 340AEW กองเรือ ส่วนบัญชาการและควบคุม และเครื่องบิน GRIPEN ได้อย่างสมบูรณ์

ทั้งนี้ การฝึกร่วมดังกล่าวจะทำให้กำลังทางเรือและกำลังทางอากาศ สามารถปฏิบัติการร่วมได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย เพิ่มขีดความสามารถในการปกป้องผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และห้วงอากาศเหนืออาณาเขตทางทะเล 
พร้อมในการต่อสู้กับภัยคุกคามต่าง ๆ เพื่อปกป้องอธิปไตยและบูรณภาพของราชอาณาจักรไทยสืบไป

Royal Thai Navy ready to protect Andaman Sea 
ภาพการรวมกำลังของเรือต่าง ๆ ในกองทัพเรือ ในการแสดงศักยภาพเตรียมพร้อมพิทักษ์พื้นที่ทะเลฝั่งอันดามัน  ในการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2564 ณ กลางทะเลพื้นที่แหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต
ตามที่กองทัพเรือได้จัดการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (FTX) ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปีงบประมาณ 2564 ในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน ซึ่งในห้วงระหว่างวันที่ 22 – 23 มีนาคม 2564 เป็นการฝึกการป้องกันพื้นที่ทางทะเล 
โดยกำลังทัพเรือภาคที่ 3 รับมอบภารกิจในการป้องกันพื้นที่ชายฝั่งทะเลอันดามันและปฏิเสธการใช้ทะเลของกำลังทางเรือฝ่ายข้าศึก และมีเรือที่เข้าร่วมการฝึกป้องกันพื้นที่ ประกอบด้วย 
ร.ล.ตากสิน ร.ล.กระบุรี ร.ล.สุโขทัย ร.ล.กระบี่ ร.ล.ประจวบคีรีขันธ์ ร.ล.ศรีราชา เรือ ต.992 และ ร.ล.มาตรา ซึ่งได้เดินทางมาเข้าจอดทอดสมอ ณ กลางทะเลพื้นที่แหลมพันวา จังหวัดภูเก็ต เพื่อเตรียมการฝึกในครั้งนี้ 
วัตถุประสงค์ในการฝึกครั้งนี้ เพื่อทดสอบขีดความสามารถในการอำนวยการยุทธ์ การบังคับบัญชา การทดสอบความสามารถในการปฏิบัติตามแนวความคิดการใช้กำลังของกองทัพเรือในการป้องกันพื้นที่ 
และการดำเนินยุทธวิธีเพื่อตรึงกำลังข้าศึกและปฏิเสธการใช้ทะเลด้านฝั่งทะเลอันดามัน เพื่อให้มีความพร้อมรบขั้นสูงสุดตามแผนป้องกันประเทศ
นับว่าการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2564 ในครั้งนี้ เป็นการฝึกครั้งสำคัญที่มีการบูรณาการกำลังของทุกหน่วยงานในกองทัพเรือ เข้าร่วมการฝึก ณ พื้นที่ฝั่งทะเลฝั่งอันดามัน 
ซึ่งนับว่าเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในศักยภาพของกองทัพเรือไทย ที่พร้อมจะปกป้องอธิปไตย รักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และดูแลพี่น้องประชาชนให้ปลอดภัยในทะเล ให้สมกับที่เป็นกองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ

อาวุธปล่อยนำวิถีฮาร์พูน  ชนเป้า ....   ในการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น แบบ HARPOON BLOCK 1C  โดยเรือหลวงตากสิน (ภาพโดย ทีมงานสารคดีกองทัพเรือ คณะกรรมการจัดทำสารคดีและสื่อโทรทัศน์ กองทัพเรือ)

วันนี้กองทัพเรือมีการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Harpoon Block 1C  (ฮาร์พูนบล็อกวันชาลี) ครั้งประวัติศาตร์โดยได้กำหนดพื้นที่ยิงในทะเลอันดามันห่างจากเกาะภูเก็ตไปทางทิศตะวันตกประมาณ 130 ไมล์ทะเล หรือประมาณ  240 กิโลเมตร 
ยิงอาวุธปล่อยต่อเป้าที่ระยะ 55 ไมล์ทะเล หรือประมาณ 100 กิโลเมตร นับเป็นการยิงไกลสุดที่เคยทำการยิงมาในภูมิภาคอาเซียน โดยใช้หัวระเบิดจริง ซึ่งกองทัพเรือดำเนินการเองโดยไม่พึ่งพาประเทศเจ้าของอาวุธปล่อย หรือต่างชาติแต่อย่างใด 
การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Harpoon Block 1C นี้ เป็นการยิงลูกอาวุธปล่อยจากที่เคยจัดหามาเป็นระยะเวลานานพอสมควร และยัังอยู่ในอายุการใช้งาน จากการยิงในครั้งนี้อาวุธปล่อยสามารถวิ่งชนเป้าได้อย่างแม่นยำ 
นับเป็นความสำเร็จของกองทัพเรือไทยที่ไม่น้อยหน้าใครในภูมิภาค และเป็นสร้างความชำนาญ องค์ความรู้ทางการยุทธการให้มีความต่อเนื่องเป็นหลักประกันของชาติทางทะเลได้อย่างคุ้มค่า เพราะอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Harpoon ถือได้ว่าเป็นอาวุธทางยุทธศาสตร์ป้องปราม. 

กองทัพเรือ ได้ตระหนักในหน้าที่หลัก ด้านการเตรียมความพร้อมของกำลังรบทางเรือ เพื่อการป้องกันประเทศ โดยการพัฒนากำลังพลและระบบยุทโธปกรณ์ให้มีความพร้อมในการปฏิบัติการทางทหาร ในฐานะหน่วยงานหลักด้านความมั่นคงทางทะเลของประเทศไทย 
ในการเตรียมกำลังให้เกิดความพร้อมเพื่อปฏิบัติตามแผนป้องกันประเทศผ่านการฝึก ทั้งนี้ กองทัพเรือได้กำหนดให้หน่วยกำลังรบในทุกระดับ ดำเนินการเตรียมความพร้อมในระดับหน่วยตามความเชี่ยวชาญเฉพาะของกิจที่ได้รับ จนถึงการบูรณาการกำลังขนาดใหญ่เข้าด้วยกันเพื่อฝึกการปฏิบัติการภายใต้สถานการณ์การฝึกตามแผนป้องกันประเทศในแต่ละด้าน โดยกำหนดแนวคิดหลักอ้างอิงจากสถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นมากที่สุดไว้ในการฝึกกองทัพเรือประจำปี 
ซึ่งนอกจากจะเป็นการเตรียมความพร้อมของกำลังรบในการปฏิบัติการแล้ว การฝึกกองทัพเรือยังเป็นการทดสอบแผนการปฏิบัติ ระบบการควบคุมการบังคับบัญชา ระบบการสื่อสารและระบบการส่งกำลังบำรุงในภาพรวม ตลอดจนเป็นการทดสอบการปฏิบัติการร่วมระหว่างเหล่าทัพอีกด้วย 

สำหรับในส่วนของการฝึกภาคทะเล นั้น เป็นการฝึกของกำลังทางเรือในการควบคุมทะเล และขยายอำนาจจากทะเลสู่ฝั่ง ตามแนวทางการใช้กำลังของกองทัพเรือ และแผนป้องกันประเทศในแต่ละด้าน โดยจัดตั้งกองเรือเฉพาะกิจปฏิบัติการระยะไกล ซึ่งเป็นกำลังเชิงรุก มีกำลังสำคัญ 
ประกอบด้วย หมวดเรือเฉพาะกิจโจมตี หมวดเรือเฉพาะกิจปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก และหมวดเรือสนับสนุน โดยหมวดเรือเฉพาะกิจโจมตี ซึ่งมีกำลังประกอบด้วย เรือหลวงจักรีนฤเบศร เรือหลวงตากสิน  เรือหลวงสุโขทัย และเรือหลวงประจวบคีรีขันธ์ รวมทั้งอากาศยานประจำเรือ 
ได้ออกเดินทางจากฐานทัพเรือสัตหีบมายังพื้นที่ทะเลอันดามัน เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2564 และมีการฝึกปฏิบัติการในสาขาการรบต่าง ๆ ระหว่างการเดินทาง อาทิ การฝึกคุ้มกันกระบวนเรือที่มีคุณค่าทางยุทธการสูง ประกอบด้วย การต่อต้านเรือผิวน้ำ  การปราบเรือดำน้ำ และการป้องกันภัยทางอากาศ ซึ่งในขณะที่หมวดเรือเฉพาะกิจโจมตีเดินทางผ่านบริเวณด้านตะวันออกของเกาะสมุย กองทัพอากาศได้จัดเครื่องบินขับไล่แบบ 20 และเครื่องบินเตือนภัยทางอากาศและควบคุม จากกองบิน7  จังหวัดสุราษฎร์ธานี เข้าร่วมในการฝึกดังกล่าวด้วย     

นอกจากนั้น ยังมีการฝึกการโจมตีเป้าหมายสำคัญของฝ่ายตรงข้ามทั้งในทะเลและพื้นที่บนฝั่ง โดยกำหนดให้กองเรือเฉพาะกิจปฏิบัติการระยะไกลเป็นกำลังข้าศึกสมมุติทำการโจมตีต่อกำลังของทัพเรือภาคต่าง ๆ ในระหว่างการเดินทางผ่านพื้นที่ของทัพเรือภาคนั้น ๆ 
และจะมีการฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบกในพื้นที่เป้าหมายเพื่อสถาปนาหัวหาดและทำการยุทธ์บรรจบกับกำลังทางบกตามแผนที่กำหนดไว้ต่อไป

นอกจากการฝึกภาคสนามและภาคทะเลที่จัดให้มีขึ้นในวันนี้แล้ว  กองทัพเรือ ยังได้จัดให้มีการฝึกสนธิกำลังดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง บริเวณสนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข 16 บ้านจันทเขลม จังหวัดจันทบุรี ในวันที่ 9 เมษายน 2564  
โดยได้เชิญกองทัพบก และกองทัพอากาศ จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกตามรายการต่าง ๆ ซึ่งกองทัพเรือได้ดำเนินการต่อเนื่องและได้รับการตอบรับที่ดีจากทุกเหล่าทัพในทุกครั้ง ซึ่งจะทำให้ทราบถึงคุณลักษณะและขีดความสามารถของกำลังรบจากเหล่าทัพต่าง ๆ 
อันจะนำไปสู่การวางแผนการใช้กำลังทางทหารและการปฏิบัติการรบร่วมที่มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลในการป้องกันประเทศในอนาคต ตามวิสัยทัศน์กองทัพไทยที่ 
“เป็นกองทัพชั้นนำในภูมิภาค มีนวัตกรรมทันสมัย ปฏิบัติการร่วมอย่างมีประสิทธิภาพทุกมิติ” และสร้างความสมัครสมานสามัคคี อันจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของกองทัพไทยในภาพรวม ตามคำขวัญของกองทัพเรือที่ว่า “พลังสามัคคี พลังราชนาวี”
กองประชาสัมพันธ์  สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ

สภาพเป้าพื้นน้ำ ถูกทำลายอย่างจัง
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 ภายหลังการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Harpoon Block 1C จากเรือหลวงตากสิน ต่อเป้าหมายในทะเลที่ระยะประมาณ 100 กม. ในพื้นที่ฝั่งทะเลอันดามัน ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2564
จากการตรวจสอบพบว่าเป้าพื้นน้ำถูกทำลายตรงกลางเป้า อาวุธปล่อยนำวิถีแบบ Harpoon Block 1C สามารถวิ่งชนเป้าได้อย่างแม่นยำ

การจัดกำลังหมู่เรือฝึกเรือบรรทุกเครื่องบินเรือหลวงจักรีนฤเบศร ในห้วงเดือนมีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) จากอ่าวไทยไปยังอันดามัน นี้ย่อมเป็นเครื่องที่พิสูจน์ถึงความพร้อมปฏิบัติการของเรือ หักล้างการโจมตีซ้ำๆของผู้ไม่หวังดีต่อกองทัพเรือว่าเรือจอดอยู่แต่ท่าเรือทั้งปีไม่เคยเดินเรือได้เป็นอย่างดี
จุดเด่นสำคัญของการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๔ ในทะเลอันดามันคือการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84D Harpoon Block 1C โดยเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร เรือหลวงตากสิน โดยมีเรือคอร์เวตชุดเรือหลวงรัตนโกสินทร์ เรือหลวงสุโขทัย เป็นเรือยิงสำรอง

กองทัพเรือไทยได้ทำการฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถี Harpoon จริงมาแล้ว ๔ครั้งโดยมีการยิงในทะเลอันดามันจาก ร.ล.ตากสินเป็นครั้งที่๔ ล่าสุด คือ ครั้งที่๑ ยิงโดย ร.ล.สุโขทัย ในการฝึก SINGSIAM 2002 พ.ศ.๒๕๔๕ กับสิงคโปร์ในทะเลจีนใต้, 
ครั้งที่๒ ยิงโดย เครื่องบินต่อต้านเรือผิวน้ำแบบที่๑ บ.ตผ.๑  Fokker F27 Mk200 ในการฝึก RIMPAC 2004 พ.ศ.๒๕๔๗ ที่เกาะ Guam สหรัฐฯ และ ครั้งที่๓ ยิงโดย ร.ล.นเรศวร ในวันที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๒(2009) ที่อ่าวไทยครับ