PHUKET, Thailand (Aug. 14, 2021) U.S. Navy and Thailand Maritime Enforcement Command Center (Thai MECC) personnel practice maritime tactics, techniques and procedures during Southeast Asia Cooperation and Training (SEACAT) exercise, Aug. 15, 2021.
In its 20th year, SEACAT is a multilateral exercise designed to enhance cooperation among 21 participating Southeast Asian countries and provide mutual support and a common goal to address crises, contingencies, and illegal activities in the maritime domain in support of a free and open Indo-Pacific. (U.S. Navy photo courtesy of Thailand Maritime Enforcement Command Center)
Training to stop the bad guys
US Navy and Thailand Maritime Enforcement Command Center personnel practice maritime tactics, techniques & procedures during Southeast Asia Cooperation and Training exercise.
Indo-Pacific forces from 21 partner nations kick off 20th SEACAT Exercise
ศรชล.ร่วมการฝึกผสม SEACATกับทร.สหรัฐครั้งแรก
วันนี้ (11 สิงหาคม 2564) พลเรือตรี ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) เปิดเผยว่า ศรชล. และ กองทัพเรือสหรัฐอเมริกาได้จัดให้มี การฝึกผสม SEA – CAT (South East Asia Cooperation in Anti Terrorism at Sea) ในพื้นที่จังหวัดภูเก็ต โดยมีลักษณะการฝึก เป็นการฝึกค้นหา สกัดกั้น และฝึกตรวจค้นเรือต้องสงสัยที่แสดงการขัดขืน (Non - Compliant Boarding) การฝึกอบรมการตรวจค้นเรือต้องสงสัย และการสังเกตการณ์บนเรือ / อากาศยาน ของ กองทัพเรือสหรัฐฯ
การฝึกผสม SEACAT เป็นการฝึกผสมทางเรือในลักษณะพหุภาคี ระหว่าง กองทัพเรือ ในภูมิภาคอาเซียน และ กองทัพเรือสหรัฐฯ มีวัตถุประสงค์การฝึกฯ เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการรักษาความมั่นคงทางทะเล มุ่งเน้นการป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดในทะเล
ภายใต้ขอบเขตของกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายภายในของแต่ละประเทศ ซึ่งทาง กองทัพเรือสหรัฐฯ ได้ทำการฝึกผสม SEACAT ร่วมกับกองทัพเรือไทย มาตั้งแต่ปี 2544 โดยปีนี้เป็นครั้งแรกที่ กองทัพเรือสหรัฐได้ทำการฝึกร่วมกับ ศรชล.ในพื้นที่ภาคใต้ฝั่งอันดามัน
ซึ่งทาง ศรชล.ได้มอบหมายให้ พลเรือโท เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ 3/ ผอ.ศรชล.ภาค 3 เป็นผู้จัดการฝึก การฝึกผสม SEACAT 2021 โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10 - 20 สิงหาคม 2564
ซึ่งเป็นการฝึกตามกรอบความร่วมมือเรื่องความมั่นคงทางทะเลในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ร่วมกับสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ซึ่งเป็นการขยายกรอบความร่วมมือในการป้องกันการกระทำผิดกฎหมายในทะเล
เช่น การกระทำอันเป็นโจรสลัด การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ การลำเลียงสินค้าสองวัตถุประสงค์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดแนวทางในการประสานงานขององค์กรที่รับผิดชอบความมั่นคง การรักษากฎหมาย ไม่ใช่การซ้อมรบ ซึ่งแตกต่างจากการฝึกทางทหารอื่นๆ
เดิมทีจะมีการปฏิบัติการฝึก 3 ส่วนหลักๆ ประกอบด้วย การอบรมความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่/การสัมมนาเรื่อง Maritim domain Awaness ของหน่วยงานความมั่นคงทางทะเล ผ่านระบบออนไลน์ / การฝึกแก้ปัญหาที่บังคับการ (CPX) และการฝึกปฏิบัติการในทะเล (FTX)
แต่เนื่องจากในปีนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 ทำให้ประเทศไทยปรับการฝึก โดยยกเลิกการฝึกปฏิบัติการในทะเลฯ เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์
กับได้ขอให้ทางสหรัฐฯ เพิ่มการฝึกอบรมในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น และการกู้ชีพ ฉุกเฉิน การส่งกลับสายแพทย์ทางทะเล/ ทางอากาศ ยุทธวิธีเรือเล็กในการสกัดกั้นการลักลอบเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย การตรวจค้นในทะเล
การวางแผนปฏิบัติการสำหรับการตรวจค้นและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล ซึ่งการฝึกอบรมดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่ ในการปฏิบัติงาน และสัมพันธ์กับความรับผิดชอบหลัก ที่ ศรชล. ได้รับมอบหมายให้สนับสนุนจังหวัดต่างๆ
ในการสกัดกั้นการแพร่ระบาดฯ และการให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน รองรับนโยบายของรัฐบาลในการเปิดประเทศ รับนักท่องเที่ยว ตามโครงการ Phuket Sandbox และที่กำลังจะเกิดขึ้นและขยายเป็น Andaman Sandbox ในอนาคต
การดำเนินการตามที่กล่าวมานั้น อยู่บนพื้นฐานและคำนึงถึง มาตราการการป้องกันการแพร่ระบาดอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้รวมถึงการขออนุญาตและกำกับ ดูแลให้กำลังพลที่เข้าร่วมการฝึก ปฏิบัติตามมาตราการของรัฐบาล และ จังหวัดภูเก็ต ไม่มีข้อยกเว้น
โดยกำลังพลที่เข้ารับการฝึกเป็น เจ้าหน้าที่ ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบทั้ง 2 เข็ม มีการตรวจหาเชื้อแบบ RTPCR ก่อนและหลังการฝึก ในห้วงการฝึกต้องปฏิบัติตาม มาตราการ D-M-H-T-T-A โดยเคร่งครัด
สำหรับเจ้าหน้าที่ของ สหรัฐฯ เป็นผู้เชี่ยวชาญจาก Special Boat Team ของ กองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งมีความรู้ความสามารถและเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในเรื่องการปฐมพยาบาลและการส่งกลับสายแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล
โฆษก ศรชล. กล่าวว่า "ขอให้พี่น้องประชาชนเชื่อมั่นว่าเราจะคำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และเราทำหน้าที่ในการระงับยับยั้ง ป้องกัน ไม่ให้เกิดการกระทำผิดกฎหมายทุกรูปแบบ
กับมุ่งเสริมสร้างขีดความสามารถให้กับ เจ้าหน้าที่ ในการให้การช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ที่เป็นเจ้าของทะเลของไทย ให้มีความปลอดภัย ประกอบกิจการงานของท่านได้อย่างมั่นใจ"
การฝึกผสม SEACAT(Southeast Asia Cooperation and Training) 2021 ที่จัดระหว่างขึ้นวันที่ ๑๐-๒๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) โดยมี ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ศรชล.(TMECC: Thailand Maritime Enforcement Command Center) ของฝ่ายไทยเข้าร่วม
ประกอบกำลังจากหน่วยต่างๆ เช่น กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) และตำรวจน้ำ สำนักงานตำรวจแห่งชาติไทย(Marine Police, RTP: Royal Thai Police) กับกองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) เป็นส่วนหนึ่งการฝึกขนาดใหญ่ร่วมกับมิตรประเทศในเอเชียใต้และเอเชียแปซิฟิก
โดย ๒๑ประเทศที่เข้าร่วมการฝึกประกอบด้วย ออสเตรเลีย, บังคลาเทศ, บรูไน, แคนาดา, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, อินเดีย, อินโดนีเซีย, ญี่ปุ่น, มาเลเซีย, มัลดีฟส์, นิวซีแลนด์, ฟิลิปปินส์, สาธารณรัฐเกาหลี, สิงคโปร์, ศรีลังกา, ไทย, ติมอร์-เลสเต, สหราชอาณาจักร, สหรัฐฯ และเวียดนาม
การฝึกผสม SEACAT 2021 ครั้งล่าสุดนี้นับเป็นการฝึกครั้งที่นับเป็นการฝึกครั้งที่๒๐ แล้ว โดยกำลังพลจากกองทัพเรือสหรัฐฯมากว่า ๔๐๐นาย ที่ทำการฝึกในประเทศต่างตลอดภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งมีศูนย์กลางการฝึกหลักในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สิงคโปร์รวมถึง
เรือ Littoral Combat Ship(LCS) ชั้น Independence เรือ LCS-16 USS Tulsa, กองเรือพิฆาตที่7(DESRON 7: Destroyer Squadron 7), เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-8A Poseidon หมู่เรือเฉพาะกิจ Task Force 72, 73, 76 กองเรือที่7(US 7th Fleet), กองเรือแปซิฟิก(US Pacific Fleet)
อย่างไรก็ตามเนื่องด้วยสถานการณ์แพร่ระบาดของ Covid-19 การฝึกผสม SEACAT 2021 จึงมีการปรับรูปแบบการฝึกโดยมีการฝึกและการประชุมผ่านทางระบบ Online มีการตรวจคัดกรองกำลังที่เข้าร่วมการฝึก และเพิ่มหัวข้อการฝึกใหม่ๆให้เหมาะสมกับสถานการณ์
การฝึกผสม SEACAT 2021 เป็นส่วนหนึ่งของความร่วมมือด้านความมั่นคงทางทะเลระหว่าง ศรชล.ที่รวมถึงกองทัพเรือไทยกับมิตรประเทศต่างๆ เช่น สหรัฐฯ ในการรักษาความปลอดภัยด้านทางทะเลซึ่งมีความสำคัญเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามตรงข้ามกับการประชาสัมพันธ์การฝึกตามปกติ
ผู้เขียนพบว่ามีสื่อไร้จรรยาบรรณที่บริหารการทำงานโดยกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติ มีความพยายามที่จะนำเสนอข่าวการฝึกนี้ในแนวทางที่มีจุดประสงค์ในการโจมตีใส่ร้ายกองทัพเรือ โดยสื่อไร้จรรยาบรรณเหล่านี้ได้ใช้อิทธิพลในวงการสื่อสารและสื่อสังคม Online เขียนข่าวชี้นำผู้อ่านในแนวทางที่ว่า
กองทัพเรือไม่นำเสนอข่าวการฝึกเพราะไม่มีนายทหารระดับสูงร่วมงาน พอมีผู้นำ Link ข่าวจากทางการเช่นกองทัพเรือสหรัฐฯไปลงกลับถูกลบ เป็นการกระทำที่สวนทางกับที่สื่อเหล่านี้ชอบพูดว่าไทยไม่มีเสรีภาพในการแสดงออก แต่ตัวเองก็สั่งปิดปากคนอื่นที่ไม่ได้มีความเห็นตรงกับตนเช่นกันครับ