วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๔-๗






10th Years Commissioning at Wing 7 Surat Thani Royal Thai Air Force (RTAF) base for Saab Gripen C/D 701st Squadron and Saab 340 AEW (Airborne Early Warning Radar)/B ERIEYE in 7 July 2021. (https://www.facebook.com/wing7RTAF/)



ดูเหมือนเวลาผ่านไปเพียงไม่นาน โดยเมื่อวันที่ ๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) เครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ และเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่๑ บ.ค.๑ SAAB 340 AEW/B Erieye ฝูงบิน๗๐๒ ก็เข้าประจำการในกองบิน๗ ครบ๑๐ปีแล้ว
จากโครงการ Peace Suvarnabhumi จำนวน ๑๒เครื่องเหลือ ๑๑เครื่องในปัจจุบันแบ่งเป็น บ.ข.๒๐ Gripen C ที่นั่งเดี่ยว ๗เครื่อง และ บ.ข.๒๐ก Gripen D สองที่นั่ง กองทัพอากาศไทยมีแผนจัดหาเพื่อชดเชยเครื่องที่สูญเสียไป ๑เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html)
รวมถึงการปรับปรุงขีดความสามารถด้วยมาตรฐานชุดคำสั่ง MS20(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/gripen-cd-ms20.html) อย่างไรก็ตามแผนการทั้งหมดถูกเลื่อนออกไปจากการตัดงบประมาณกลาโหมเพราะ Covid-19 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html)


Royal Thai Air Force's T-50TH of 401st Squadron, Wing 4 Takhli. (https://www.facebook.com/photo?fbid=4185721821455459&set=g.441463545871708)

โครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ Korea Aerospace Industries(KAI) T-50TH Golden Eagle ระยะที่๔ จำนวน ๒เครื่อง วงเงิน ๒,๓๖๐,๖๗๑,๘๗๕บาท($72,254,783.76) ที่มีการประกาศผู้ชนะเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔ ใน Website กรมยุทธการทหารอากาศนั้น
ก็เป็นโครงการต่อเนื่องถูกเลื่อนมาจากการตัดงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๓(2020) เพราะ Covid-19(https://aagth1.blogspot.com/2020/04/t-50th.html) ซึ่งการจัดหานี้จะทำให้ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลี มี บ.ขฝ.๒ KAI T-50TH ครบ ๑๔เครื่องจากที่มีประจำการแล้ว ๑๒เครื่อง
นอกจากอัตราฝูงบินขับไล่โจมตีที่ปัจจุบันเหลือที่ ๑๒-๑๔เครื่องต่อฝูงบินแล้ว บ.ขฝ.๒ T-50TH ของกองทัพอากาศไทยยังเป็นรุ่นส่งออกที่ก้าวหน้ามากในตระกูล โดยจะได้รับการติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T รวมถึงขีดความสามารถการเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย datalink ด้วยครับ




A screengrab from video footage released by SpaceX on 30 June showing the launch from Cape Canaveral of a Falcon 9 rocket carrying 88 satellites, including the RTAF's second Earth-observation satellite. (SpaceX)

การส่งดาวเทียมสำรวจโลก 'NAPA-2'(นภา-๒) ของกองทัพอากาศไทยเข้าสู่วงโคจรในอวกาศด้วยจรวด SpaceX Falcon 9 เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔(ตามเวลาไทย) เป็นความสำเร็จที่ต่อเนื่องจากดาวเทียม NAPA-1(นภา-๑) ที่ส่งเข้าสู่วงโคจรเมื่อวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
ตามที่กองทัพอากาศไทยเป็นหน่วยงานความมั่นคงของไทยที่รับผิดชอบด้านอวกาศ ทั้งดาวเทียม NAPA-1 และ NAPA-2 จะถูกใช้ในภารกิจช่วยเหลือประชาชนทั้งการสำหรับยทรัพยากรน้ำและคุณภาพอากาศ และการบรรเทาภัยพิบัติทางธรรมชาติเช่น ไฟไหม้, น้ำท่วม, แผ่นดินไหว และแผ่นดินถล่ม
มีผู้ไม่หวังดีต่อชาติเยาะเย้ยแนวคิดที่คนไทยจะไปอวกาศหรือดวงจันทร์ว่าไร้สาระเพราะถนนยังพังอยู่เลย ซึ่งในความเป็นจริงประเทศที่มีศักยภาพทั่วโลกได้มองแล้วว่าเผ่าพันธุ์ของตนจะไม่สามารถอยู่รอดต่อไปในอนาคตได้ถ้าไม่ไปอวกาศ ซึ่งการที่ไทยมีโครงการอวกาศก็ด้วยเหตุผลนั้นเช่นกันครับ




Directorate of Operations, Royal Thai Air Force announced to bid for one of Short-Range Air-Defence (SHORAD) system on 9 July 2021, middle price bidding from UNITED DEFENSE TECHNOLOGY, Datagate and Chankasem International, No further detail provide.

สำหรับโครงการจัดซื้อระบบการป้องกันภัยทางอากาศระยะใกล้ พร้อมติดตั้ง และการฝึกอบรม จำนวน ๑ ระบบ วงเงิน ๙๔๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($28,673,412) ของกองทัพอากาศไทยที่ประกาศไปเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๔ จนถึงขณะนี้ยังไม่ทราบรายละเอียดว่าเป็นระบบลักษณะใด
ตามที่มียกเลิกสัญญาเก่าที่มีผู้เสนอราคากลางสองรายคือ บริษัท Datagate ไทย และบริษัท RV Connex ไทย ในเดือนพฤษาคม ๒๕๖๔ ได้เปลี่ยนเป็นสามรายใหม่คือ บริษัท UNITED DEFENSE TECHNOLOGY, Datagate และบริษัท Chankasem International ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวแทนจำหน่าย
เนื่องจากไม่มีการให้รายละเอียดข้อกำหนดความต้องการ ระบบที่เป็นไปได้ว่าจะมีการเสนอจึงหลากหลายตั้งแต่ MBDA Mistral และ VL MICA ฝรั่งเศส, Diehl IRIS-T SL เยอรมนี, Igla-S Gibka-S Pantsir-S รัสเซีย หรือ HQ-17AE จีน หรืออาจจะเป็นอะไรที่ต่างออกไปจากที่คาดไว้ครับ




Strategic Airborne Operation
23 July 2021, Paratroopers from across the Division conducted a jump alongside their Allies in the Royal Thai Army and conducted a wing exchange! The 82nd Airborne Division never fights alone and training like this enhances our Airborne Interoperability!




Royal Thai Army's Airbus Helicopters H145 (EC145T2) of 41st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center in medical mission.

RTA enhances the capacity of military aircraft for medical
missions and is procuring the Biosafety Vehicles for the proactive COVID-19 test.                                      
According to the policy of General Narongpan Jittkaewtae, RTA Commander-in-Chief, emphasizing the use of military equipment, he has approved the guidelines for the use of the aircraft to support medical missions, both in normal situations and in the fields, 
by improving and modifying 4 Helicopters EC-145T2.Since they were originally used for general administrative practice, the RTA will develop their capabilities for the Air Medical Services. 
In addition, they are the standard aircrafts which are suitable to be converted for emergency medical rescue and services due to their small size, mobility and the ability to install medical accessories. 
For example, defibrillators with wireless patient monitoring, ventilators, sputum suction machines, emergency resuscitation equipment bags, Intravenous fluid regulators and stretchers for transporting patients.
The RTA is expected to be completed by the end of this year. Then they are going to be distributed to each region to help people. 
Meanwhile, RTA  emphasizes on   surveillance and proactive search for infected people to prevent the spread of COVID-19. 
As a result, RTA  has prepared a plan to procure 10 Biosafety Vehicles for COVID-19 Test and 5 Mobile Analytical Laboratory Vehicle with necessary medical equipment for the Armed Forces Research Institute Of Medical Sciences
and the Army Hospitals in all Army Areas. 
This is to support the proactive search for infected people in the risky areas of COVID-19 as well as being used in medical missions to detect other emerging diseases that may occur in the future. 
In conclusion, this is in accordance with the intention of the RTA Commander-in-Chief to use the available budget and resources wisely, for the maximum benefit of the people and the nation, along with strengthening the security potential of the country as a whole. 
2 July 2021

กองทัพบกเพิ่มขีดความสามารถอากาศยานเน้นเสริมภารกิจด้านการแพทย์  พร้อมเตรียมจัดหารถตรวจเชื้อชีวนิรภัยเพื่อค้นหาผู้ติดเชื้อโควิดเชิงรุก
จากนโยบายของ พลเอกณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้ ผู้บัญชาการทหารบก ได้เน้นย้ำในการนำยุทโธปกรณ์ของกองทัพมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ล่าสุด ได้อนุมัติแนวทางการใช้อากาศยานของ ทบ. ในการสนับสนุนภารกิจส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศ ทั้งในยามปกติ และในสนาม  ด้วยการปรับปรุงและดัดแปลงอากาศยานเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไปขนาดเบา ฮ.ท.145 จำนวน 4 เครื่อง ที่เดิมใช้สำหรับการปฏิบัติทางธุรการทั่วไป  มาพัฒนาขีดความสามารถให้เป็นเฮลิคอปเตอร์พยาบาล  ซึ่ง ฮ.ท.145 เป็นอากาศยานมาตรฐานที่มีความเหมาะสมในการนำมาดัดแปลงเป็น เฮลิคอปเตอร์สำหรับบริการทางการแพทย์ฉุกเฉิน การค้นหาและกู้ภัย เนื่องจากมีขนาดเล็ก คล่องตัว และสามารถติดตั้งอุปกรณ์เสริมทางการแพทย์ได้ อาทิ เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าพร้อมระบบติดตามผู้ป่วยแบบไร้สาย, เครื่องช่วยหายใจ, เครื่องดูดเสมหะ, กระเป๋าพร้อมอุปกรณ์ช่วยชีวิตฉุกเฉิน, เครื่องควบคุมการให้ยาและสารละลายทางหลอดเลือดดำและเปลกู้ภัยสำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปลายปี64 นี้ โดยกองทัพบกจะดำเนินการแบ่งมอบให้แต่ละกองทัพภาค เพื่อนำไปใช้ในการช่วยเหลือประชาชนสำหรับการส่งกลับสายแพทย์ทางอากาศต่อไป
ขณะเดียวกันกองทัพบกให้ความสำคัญกับการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด19 ในการเฝ้าระวังและค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก  โดยได้เตรียมแผนการจัดหารถตรวจหาเชื้อชีวนิรภัย จำนวน 10 คัน และรถห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์เคลื่อนที่ จำนวน 5 คัน พร้อมอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่จำเป็น ให้กับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทหาร และโรงพยาบาลสังกัดกองทัพบกในทุกกองทัพภาค  เพื่อสนับสนุนการค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุกในพื้นที่ที่พบการระบาด การตรวจคัดกรองประชาชน กำลังพลและบุคลากรกลุ่มเสี่ยง เพื่อยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคโควิด19 ตลอดจนสามารถนำไปใช้ในภารกิจทางการแพทย์ตรวจหาเชื้อหรือโรคอุบัติใหม่อื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้
ทั้งนี้ การจัดหารถตรวจเชื้อชีวนิรภัยและการเพิ่มขีดความสามารถอากาศยาน ฮ.ท. 145 เพื่อบริการทางการแพทย์เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้บัญชาการทหารบกในการใช้งบประมาณและทรัพยากรที่มีอยู่ให้เป็นไปอย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ  ควบคู่กับการเสริมสร้างความเข้มแข็งและศักยภาพความมั่นคงของประเทศในภาพรวม
2 กรกฎาคม 2564










Kamov Ka-32 firefighting helicopters of Thailand's Department of Disaster Prevention and Mitigation (DDPM) are operated by Royal Thai Army Aviation Center crews, RTA pilots from the 41st Aviation Battalion AAC have been flying KA-32 helicopters to spray the chemical flame retardant foams at the chemical factory in Samut Prakan to alleviate the fire situation.



Update..!!  เฮลิคอปเตอร์ บิน ถึงโรงงานแล้ว
เฮลิคอปเตอร์ KA-32 ทำการบินโดย นักบิน ทบ. เข้าถึงพื้นที่โรงงานหมิงตี้ เคมิคอล จำกัด จ.สมุทรปราการที่เกิดเพลิงไหม้แล้ว โดยได้ทำการบินวนรอบพื้นที่เพื่อสังเกตการณ์ และได้มีการตักน้ำเพื่อนำไปช่วยระงับเหตุเพลิงไหม้ที่กำลังทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
ขอให้ประชาชนในรัศมี 5 กม. ของโรงงาน อพยพ ออกจากพื้นที่โดยด่วน
จุดอพยพ 2 จุด ที่ได้ประสานไว้ ประชาชนสามารถเข้าไปอยู่ได้ ในเวลานี้ มี 2 จุด 
1. โรงเรียนเตรียมปริญญานุสรณ์
02- 316 7233
https://t.co/AQWeQgjwbk
2. อบต. บางพลีใหญ่
02-337 3115
https://t.co/eCBSgCelvo

กองทัพบกร่วมส่ง ทหารและยุทโธปกรณ์เข้าสนับสนุน ร่วมระงับเหตุเพลิงไหม้ โรงงานสารเคมี ที่สมุทรปราการ 
จากเหตุระเบิดและเพลิงไหม้โรงงานหมิงตี้ เคมิคอล จำกัด อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ซึ่งทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้าง หน่วยขึ้นตรงกองทัพบกจึงได้จัดกำลังพล และยุทโธปกรณ์ เพื่อเข้าช่วยเหลืออย่างเต็มที่ 
โดยแบ่งการสนับสนุนช่วยเหลือเป็นหลายภาคส่วน ดังนี้
- กองพันทหารราบ หน่วยบัญชาการรักษาดินแดน ได้เข้าร่วมในการอำนวยความสะดวกด้านการจราจร และช่วยเหลือ ณ ศูนย์อพยพ อบต.บางพลีใหญ่ พร้อมทั้งสนับสนุนการลำเลียงโฟมดับเพลิงให้กับเจ้าหน้าที่ดับเพลิง
- กองพลทหารราบที่ 11  เข้าดำเนินการอพยพประชาชนบริเวณรอบโรงงาน อำนวยความสะดวกให้การเคลื่อนย้าย ณ ศูนย์อพยพ อบต.บางพลีใหญ่ และบรรจุน้ำยาโฟมดับเพลิง ให้กับ เฮลิคอปเตอร์ในการใช้ดับเพลิง ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
- กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก ได้จัดชุดปฏิบัติการวิทยาศาสตร์  ลงพื้นที่ประเมินเตรียมการชำระล้างสารเคมีที่เกิดจากการรั่วไหล พร้อมทั้งสนับสนุนกรมความคุมมลพิษในการตรวจสอบคุณภาพอากาศ และสนับสนุนน้ำยาโฟมดับเพลิง 20,000 ลิตร
- กรมการขนส่งทหารบก ดำเนินการเคลื่อนย้ายประชาชนและสิ่งของไปยังพื้นที่ปลอดภัย พร้อมทั้งสนับสนุนการขนย้ายน้ำยาโฟมดับเพลิง และส่งนักบิน พร้อมช่างเครื่อง KA-32 6 นาย ให้กับกรมป้องกันบรรเทาสาธารณภัย
- กองพลพัฒนาที่ 1 จัดรถฉีดโฟมดับเพลิง 1 คัน สนับสนุนการดับเพลิง
- ศูนย์การบินทหารบก เตรียมพร้อมการสนับสนุน อากาศยาน และ กรมแพทย์ทหารบก ได้เตรียมการจัดตั้ง รพ.สนาม ในพื้นที่ 








Royal Thai Army's Airbus Defence and Space C295W of 21st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center. in medical mission.

กองทัพบกปรับ CASA C-295 พร้อมบินส่งผู้ป่วยโควิด-19 กลับบ้าน
กองทัพบกปรับเครื่องบินลำเลียง 295 เพื่อให้พร้อมสำหรับใช้ในการส่งผู้ป่วยโควิดกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนา เพื่อลดปริมาณผู้ป่วยสะสมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยบูรณาการร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข, สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.), กอ.รมน.จังหวัด ตามนโยบายพาคนกลับบ้าน โดยสอดคล้องกับนโยบายของผู้บัญชการทหารบกที่ให้กองทัพนำทรัพยากรรวมถึงยุทโธปกรณ์ที่มีมาช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์วิกฤตโควิด-19 ทุกวิถีทางอย่างเต็มขีดความสามารถ
โดยกองทัพบกได้มีการปรับแต่งอากาศยานดังกล่าวเพิ่มเติมให้สามารถรองรับภารกิจได้ครอบคลุมทั้งเรื่องการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อ, ระบบความปลอดภัย ติดตั้งระบบควบคุมการไหลเวียนอากาศและระบบกรองอากาศ,ติดตั้งกล้องวงจรปิดเพื่อการสื่อสาร 
คำนึงถึงความสะดวกสบายของผู้ป่วย, รวมถึงความพร้อมของบุคลากร จัดทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่ นักบิน ช่างเครื่อง ให้เป็นไปตามมาตรฐานเวชศาสตร์การบิน โดยในระหว่างการเดินทางจะมีการติดตามอาการของผู้ป่วยโดยทีมแพทย์อย่างต่อเนื่อง
“เครื่องบินลำเลียงแบบ 295” ถือเป็นการนำยุทโธปกรณ์ของกองทัพบกมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งภารกิจด้านการทหารและการช่วยเหลือประชาชนในสถานการณ์ COVID-19 ซึ่งทำให้ประหยัดระยะเวลาการเดินทางในพื้นที่ห่างไกล ลดความเหนื่อยล้า 
ส่งผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ ผู้ป่วย COVID-19 (สีเขียว) ที่มีความประสงค์จะกลับไปรักษายังภูมิลำเนา สามารถประสานไปยังศูนย์ประสานงานต้านภัยโควิดกองทัพบก (กทม.) โทร. 02-270-5685-9 
เพื่อประสานงานเชื่อมโยงข้อมูลและวางแผนบริหารจัดการตามความประสงค์ต่อไปครับ









Royal Thai Army's Mil Mi-17V-5 of 41st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center in medical mission.

กองทัพบกเตรียม Mi-17 สำหรับการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิดกลับบ้าน
กองทัพบกเตรียมการปรับแต่งอากาศยาน Mi-17 เพื่อใช้สนับสนุนภารกิจในการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยโควิดกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนา เพื่อลดปริมาณผู้ป่วยสะสมในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล 
โดย Mi-17v5 ที่ ทบ.นำมาใช้ในภารกิจนี้ เป็นเฮลิคอปเตอร์ที่ใช้ในปฏิบัติการทางยุทธวิธี, ค้นหา, ช่วยเหลือ, กู้ภัย โดยมีเครื่องยนต์เทอร์โบชาฟ Isotov TV3-117VM ให้กำลังสูงสุด 2,200 แรงม้า พิสัยปฏิบัติการ 644 กิโลเมตร เพดานบิน 6,096 ม. ความเร็วสูงสุด 222 กม./ชม.
สำหรับการบรรทุกหรือลำเลียงนั้น ภารกิจปกติจะบรรทุกเต็มอัตราได้ 20 ที่ แต่ในกรณีใช้ในการรับส่งผู้ป่วยโควิด-19 จะต้องมีการปรับลดที่นั่งลงเพื่อการรักษาระยะห่างตามมาตรการโควิด-19 
โดยกองทัพบกพร้อมใช้ทุกสรรพกำลังและยุทโธปกรณ์ที่มีในการช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มขีดความสามารถ และเราจะผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปด้วยกัน 
ศูนย์ประสานงานต้านภัยโควิดกองทัพบก (กทม.) โทร 02-270-5685-9 

ตลอดช่วงเดือนกรกฎาคม ๒๕๖๔ กองทัพบกไทยได้ตกเป็นเป้าโจมตีของกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติและสื่อไร้จรรยาบรรณอย่างเนื่อง ทั้งโครงการนำเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๔๕ Airbus Helicopter H145 เป็นเฮลิคอปเตอร์พยาบาล 
นำเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ Airbus C295W และเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๑๗ Mil Mi-17V-5 มาใช้ขนส่งผู้ป่วย ก็กล่าวหาว่าจะใช้สำหรับบุคคลสำคัญ VIP เท่านั้น ซึ่งไม่เป็นความจริง หรือไม่ก็ต่อว่าว่าสิ้นเปลืองใช้อย่างอื่นแทนก็ได้
ภารกิจดับไฟไหม้จากสารเคมีโรงงานหมิงตี้ ที่นักบินของศูนย์การบินทหารบกทำการบินกับเฮลิคอปเตอร์กู้ภัย Kamov Ka-32 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ก็โจมตีว่า ทบ.แย่งความชอบจาก ปภ. พอปรากฎภาพว่าเป็นนักบิน ศบบ.จริงก็เปลี่ยนประเด็นใหม่เป็นนักบินทหารบกดับไฟไม่ได้เรื่อง

จนถึงการส่งกำลังพลจาก กรมทหารราบที่๓๑ รักษาพระองค์ฯ ไปฝึกโดดร่วมทางยุทธศาสตร์กับกองทัพบกสหรัฐฯร่วมกับกองทัพอินโดนีเซียที่สหรัฐฯ ก็สร้างข่าวเท็จว่าทหารบกหนีไปฉีด Vaccine ป้องกัน Covid-19 ที่สหรัฐฯปล่อยให้คนไทยตายอยู่ในไทย ซึ่งเป็นไม่มีอะไรที่เป็นความจริงเลย
แม้ว่าหน้าที่ของกองทัพบกที่มีภารกิจที่จะเสริมสร้างความมั่นคงของชาติ เพิ่มความร่วมมือทางทหารกับมิตรประเทศ และช่วยเหลือประชาชนในยามปกติและภาวะวิกฤติมามากเท่าใด มันก็ไม่มีประโยชน์อะไรเลยกับกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติและสื่อไร้จรรยาบรรณที่เคลื่อนไหวอย่างเนื่องในตอนนี้
ซึ่งวาระซ่อนเร้นของการเคลื่อนไหวต่อต้านกองทัพนี้ไม่ได้หวังดีที่จะให้มีการปฏิรูปกองทัพ หรือเพียงยกเลิกระบบทหารกองประจำการ หรือแค่การเลิกซื้ออาวุธเท่านั้น แต่มองไกลไปถึงขั้นการยกเลิกการมีกองทัพประจำการ(Standing Army) เลยต่างหาก พวกตนจะได้เข้ามายึดครองประเทศง่ายขึ้นครับ




China Shipbuilding and Off-shore International (CSOC) was displayed model of 2,600 ton Conventional Submarines at Defense and Security 2019 exibition in Thailand.
Ministry of Defence of Thailand has decided to again suspend procurement for Royal Thai Navy's second and third Chinese S26T submarines for fiscal year 2022 follow cut by FY2020 and FY2021 due Covid-19 pandemic.

Thai navy outlines submarine plan but procurement faces funding hurdles

พล.ท.คงชีพ ตันตระวาณิชย์ ได้ให้สัมภาษณ์ถึง กรณีการจัดหาเรือดำน้ำของ ทร.ว่า  ความจริงเรื่องนี้ กห.ได้หารือร่วมกันอย่างต่อเนื่องถึง เหตุผลความจำเป็นของการเสริมสร้างกำลังทางทะเลรับมือกับสภาพแวดล้อมภัยความมั่นคง 
โดยเฉพาะมิติใต้น้ำที่เรามีความสามารถจำกัด เพื่อรักษาดุลภาพความมั่นคงและผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเลที่มีมูลค่ามหาศาลในแต่ละปี

อย่างไรก็ตามในสถานการณ์วิกฤตจากการแพร่ระบาดของโรคร้ายแรงที่เกิดขึ้น ตั้งแต่ปี 63 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นรม.และรมว.กห. ก็ได้ให้ กห.และ ทร.ไปพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการชะลอโครงการจัดหาเรือดำน้ำ หรือยืดเวลาออกไปก่อน 
โดย กห.ได้เห็นถึงปัญหาภาระงบประมาณและความจำเป็นเร่งด่วนในการบริหารจัดการงบประมาณของประเทศ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนและประเทศชาติและประชาชนภาพรวมในสถานการณ์ปัจจุบัน  
ซึ่งในปี 63 และ ปี 64 ที่ผ่านมา ทร.ได้ส่งคืนงบประมาณ จำนวน 3,375 ล้านบาท และ 3,425 ล้านบาท เพื่อให้รัฐบาล สามารถบริหารจัดการให้เกิดประโยชน์สูงสุดในภาพรวม ตามความจำเป็นเร่งด่วน

สำหรับในปี 65  กห.ได้ประเมินร่วมกันแล้วว่า สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคยังคงอยู่และมีผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้างอย่างต่อเนื่อง พล.อ.ประยุทธ์’ นรม.และ รมว.กห. ได้สั่งการไปแล้ว ให้ กห.โดย ทร.พิจารณาถอนแผนงานงบประมาณโครงการเรือดำน้ำออกไปก่อน 
โดยให้หารือกับ กห.จีน ถึงเหตุผลความจำเป็น ที่ต้องขอชะลอโครงการในปีนี้ออกไปจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

โฆษก กห.กล่าวยืนยันว่า โครงการจัดหาเรือดำน้ำของ ทร. เป็น โครงการตามข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ต่อ รัฐบาล ( G to G ) ที่ กห.ของทั้งสองประเทศมีความร่วมมือกันโดยตรงตามข้อตกลงและโปร่งใส ไม่ผ่านคนกลางหรือบริษัทนายหน้าอื่นใด 
โดยที่ผ่านมา ทร.ได้ติดต่อตรง กับ กห.และ ทร.จีน ผ่านช่องทางทางการทูตเท่านั้น  จึงขอให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับสังคมและไม่อยากให้มีการแสวงประโยชน์จากกลุ่มใดๆ หรือการใช้ประโยชน์ทางการเมือง ซึ่งอาจเกินเลยไปกระทบความเชื่อมั่นและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศได้

Clip: คำแถลง พลเรือเอก เชษฐา ใจเปี่ยม โฆษกกองทัพเรือ ตามที่ พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้แถลงต่อคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565/สภาผู้แทนราษฎร 
กรณีชะลอโครงการจัดหาเรือดำน้ำลำที่ 2 และ 3 โดยไม่ขอรับการจัดสรรงบประมาณของโครงการฯ ซึ่งปรากฏรายการอยู่ในร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565

แม้ว่ากองทัพเรือไทยจะมีหน้าที่เสนอโครงการจัดหาเรือดำน้ำ S26T จีน ระยะที่๒ และระยะที่๓ ตามความต้องการในส่วนงบประมาณของตนก็ตาม แต่ปัจจัยด้านสถานการณ์โรคระบาด สภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้แรงกดดันจากผู้ไม่หวังดีต่อชาติและสื่อไร้จรรยาบรรณที่คอยป้อนข้อมูลเท็จให้ประชาชน
ที่อย่างไรก็บีบบังคับให้กองทัพเรือไทยยอมถูกชะลอโครงการในงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๕ อีกไป ซึ่งงบประมาณกลาโหมได้ถูกตัดมาต่อเนื่องเป็นครั้งที่๓ แล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/covid-19.html) อย่างไรไทยก็ต้องตัด งป.กลาโหมไปอีกหลายๆ ปีต่อเนื่องไม่ต่ำไปอีก ๕-๑๐ปี
วิกฤติโรคระบาดและเศรษฐกิจที่ถดถอยหนักว่าปี พ.ศ.๒๕๔๐(1997) ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการจัดหาเรือดำน้ำ S26T ลำที่๒ และ๓ ที่จะไปต่อไม่ได้ และอาจรวมถึงลำแรกที่กำลังสร้างอยู่ที่อาจจะรับมอบเรือในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ไม่ได้ด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/s26t.html

ก็ขึ้นอยู่กับว่าทางจีนว่าจะยอมผ่อนปรนตามเงื่อนไขข้อจำกัดหรือจะหมดความอดทนต่อกองทัพเรือไทยหรือไม่ เพราะแต่แรกเริ่มมีกระแสข่าวจากทั้งฝั่งจีนมาก่อนหน้าแล้วว่าทางกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนไม่ได้อยากขายเรือดำน้ำให้ไทยเท่าไรนัก
เนื่องทางกองทัพปลดปล่อยประชาชนจีนมองว่าเรือดำน้ำ S26T เป็นรุ่นส่งออกมีพื้นฐานจากเรือดำน้ำชั้น Type 039B ที่เป็นเรือดำน้ำตามแบบที่ทันสมัยที่สุดของจีนในปัจจุบัน ซึ่งการไทยยังมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหรัฐฯและชาติตะวันตก อาจจะทำให้ความลับด้านเรือดำน้ำของจีนรั่วไหลได้
แต่ทางรัฐบาลจีนมองที่ได้ให้สนับสนุนรัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมทางเรือของจีนในการส่งออกเรือรบที่ออกแบบและสร้างในจีนแก่ต่างประเทศ โดยเฉพาะขายเรือดำน้ำแก่ไทยนั้นเป็นการแสดงความไว้ใจด้านความสัมพันธ์ทางทหารและสร้างความน่าเชื่อถือของเรือในตลาดส่งออกครับ




On 24th July, HMS Richmond will enter Thailand’s territorial waters to conduct a maritime military exercise with the Royal Thai Navy's FFG-457 HTMS Kraburi, the Chao Phraya-class guided missile frigate and Sikorsky S-76B helicopter. 
This will be first engagement of the UK Carrier Strike Group with an ASEAN nation.

กองเรือหลวง Carrier Strike Group (CSG) แห่งสหราชอาณาจักรเยือนอินโด-แปซิฟิกเป็นครั้งแรก เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างสหราชอาณาจักรและภูมิภาครวมทั้งไทย
วันที่ 24 กรกฎาคม เรือหลวง HMS Richmond จากสหราชอาณาจักรจะมุ่งสู่เขตน่านน้ำประเทศไทยเพื่อทำการฝึกทางทหารร่วมกับเรือรบของกองทัพเรือไทย ประเทศไทยนับเป็นชาติแรกในอาเซียนที่ได้มีกิจกรรมร่วมกับกองเรือ Carrier Strike Group ในตารางการเยือนทั่วโลกครั้งนี้
เรือหลวง HMS Richmond เป็นส่วนหนึ่งของกองเรือ Carrier Strike Group แห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งนับเป็นการส่งกองกำลังทางน้ำและทางอากาศครั้งใหญ่ที่สุดที่ออกเดินทางจากสหราชอาณาจักรในรอบชั่วอายุคน 
นำทัพโดยเรือหลวง HMS Queen Elizabeth เรือผิวน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีกำลังสูงสุดในประวัติศาสตร์ของกองทัพเรือสหราชอาณาจักร ซึ่งเพิ่งออกเดินเรือปฏิบัติการครั้งแรก ในกองเรือประกอบไปด้วยเรือ 9 ลำ อากาศยาน 32 ลำ และเจ้าหน้าที่ทั้งหมด 3,700 นาย 
กองเรือ Carrier Strike Group ที่เดินทางมาเยือนครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าสหราชอาณาจักรกำลังหันมาให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกอย่างชัดเจน ภูมิภาคอินโด-แปซิฟิกจะเป็นใจกลางของความท้าทายครั้งใหญ่ระดับโลกมากมาย 
ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทางทะเล และการแข่งขันเชิงภูมิรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวพันกับระเบียบและมาตรฐานต่าง ๆ  
เราขอต้อนรับกองเรือหลวง Carrier Strike Group เข้าสู่น่านน้ำประเทศไทยในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ถึงความมุ่งมั่นที่เรามีร่วมกันในการสร้างภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่เสรีและเปิดกว้าง อันจะนำมาซึ่งความมั่งคั่งและมั่นคงทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลก 
* การฝึกทางทหารจะเป็นการฝึกจากบนเรือโดยไม่มีการสัมผัสใกล้ชิด ตามมาตรการป้องกันการระบาดของโควิด-19