วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2564

เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant อินเดียที่สร้างในประเทศลำแรกเริ่มทดลองเรือในทะเลครั้งแรก

COMMENCEMENT OF SEA TRIALS OF INDIGENOUS AIRCRAFT CARRIER (IAC(P71)) ‘VIKRANT’






The Indian Navy's future aircraft carrier, Vikrant , left the southwestern port of Kochi on 4 August to embark on its maiden sea trials. (Indian Navy )



เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำแรกของกองทัพเรืออินเดีย(IN: Indian Navy) ในโครงการ Indigenous Aircraft Carrier(IAC) ได้ออกเรือเพื่อทดลองเรือในทะเลครั้งแรกเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2021 จากท่าเรือใน Kochi รัฐ Kerala ฝั่งตะวันตกของตอนใต้อินเดีย
INS Vikrant ได้รับการออกแบบโดยกองออกแบบเรือ(DND: Directorate of Naval Design) และถูกสร้างโดยอู่เรือ Cochin Shipyard Limited(CSL) รัฐวิสาหกิจของกระทรวงการขนส่งทางเรืออินเดีย(MoS: Ministry of Shipping)

โครงการ IAC เป็นตัวอย่างชั้นนำของการแสวงหาของชาติอินเดียตามคำขวัญ "Atma Nirbhar Bharat" โดยมีส่วนประกอบที่สร้างภายในประเทศมากกว่าร้อยละ76
นี่เป็นความพยายามครั้งแรกของกองทัพเรืออินเดียและอู่เรือ Cochin ที่จะออกแบบและสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2018/07/blog-post_14.html, https://aagth1.blogspot.com/2015/06/ins-vikrant.html)

เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant ระวางขับน้ำปกติราว 40,000tonnes มีความยาว 262m, กว้างในส่วนที่กว่างสุด 62m และสูง 59m เมื่อรวมส่วนดาดฟ้ายก ตัวเรือมีทั้งหมด 14ชั้นดาดฟ้าในทุกส่วนรวมถึงส่วนดาดฟ้ายก 5ชั้น
เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant มีห้องมากกว่า 2,300ส่วน ออกแบบสำหรับลูกเรือประมาณ 1,700นาย รวมถึงห้องพักและใช้งานพิเศษที่รองรับนายทหารและกำลังพลที่เป็นสุภาพสตรี

เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant ได้รับออกแบบด้วยระบบอัตโนมัติชั้นสูงมากสำหรับการปฏิบัติการเครื่องจักร, การนำร่องเรือ และความอยู่รอด มีความเร็วสูงสุดที่ราว 28knots และมีความเร็วมัธยัสถ์ที่ 18knots โดยมีพิสัยปฏิบัติการราว 7,500nmi
เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant สามารถรองรับทั้งอากาศปีกตรึงและอากาศยานปีกหมุนจำนวน 40เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/hal-tedbf.html, https://aagth1.blogspot.com/2020/12/fa-18ef-ski-jump.html)

เรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant มีกำหนดจะวางกำลังด้วยเครื่องบินขับไล่ MiG-29K, เฮลิคอปเตอร์แจ้งเตือนทางอากาศ Ka-31 AEW(Airborne Early Warning), เฮลิคอปเตอร์ MH-60R(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/lockheed-martin-mh-60r.html)
และเฮลิคอปเตอร์ Dhruv ALH(Advanced Light Helicopter) ที่อินเดียพัฒนาในประเทศ อย่างไรก็ตามคาดว่าเรือจะเข้าประจำการโดยปราศจากระบบสิ่งอำนวยความสะดวกอากาศยาน(AFC: Aviation Facility Complex) ซึ่งระบบของสำนักออกแบบ Nevskoe รัสเซียจะถูกติดตั้งภายหลัง

เช่นเดียวกับเรือบรรทุกเครื่องบิน R33 INS Vikramaditya ที่กองทัพเรืออินเดียประจำการในปัจจุบันลำเดียว(เดิมคือเรือลาดตระเวนบรรทุกเครื่องบินชั้น Kiev รัสเซียชื่อ Admiral Gorshkov)(https://aagth1.blogspot.com/2020/01/tejas-mk1-lca-navy-ins-vikramaditya.html
INS Vikrant เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ STOBAR(Short Takeoff But Arrested Recovery) ที่ใช้ระบบส่งอากาศยานขึ้นบินด้วยทางวิ่ง ski-jump ที่หัวเรือ และรับอากาศยานกลับลงจอดด้วยการใช้ตะขอเกี่ยวลวดบนดาดฟ้าบินท้ายเรือ

การดำเนินการสร้างเรือส่วนใหญ่เสร็จสิ้นแล้วและเรือได้เข้าสู่ขั้นการทดลองเรือ ความพร้อมของระบบขับเคลื่อนและอุปกรณ์กำเนิดพลังงานได้รับการทดสอบที่ท่าเรือในฐานะส่วนหนึ่งการทดสอบหน้าที่เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2020
ความคืบหน้าการสร้างเรือได้รับการตรวจสอบโดยรัฐมนตรีกลาโหมอินเดีย Rajnath Singh ระหว่างการเยี่ยมเรือเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2021 คาดว่าเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant จะเข้าประจำการในครึ่งแรกของปี 2022

แม้ว่าการเริ่มต้นการทดลองเรือในทะเลของเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant ได้ล่าช้าเนื่องจากการระบาดของ Covid-19 ระลอกสองในอินเดีย(โครงการรวมล่าช้ากว่ากำหนดการ 6ปี) ด้วยความพยายามอย่างทุ่มเทและอุทิศตนของผู้คนจำนวนมาก
ทั้งคนงาน, ผู้ผลิตที่มาดั้งเดิม, วิศวกร, ผู้ควบคุมงาน, ผู้ตรวจสอบ, นักออกแบบ และกำลังพลประจำเรือ ผู้ซึ่งได้ใส่หัวใจและจิตวิญญาณของตนมุ่งสู่ความพร้อมของเรือเพื่อการทดลองเรือในทะเล

นี่เป็นการดำเนินหลักก้าวย่างที่สำคัญและเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่ง ในฐานะที่พวกเขาบรรลุความสำเร็จนออกจากความท้าทายของโรคระบาดในปัจจุบันและสิ่งที่วัดค่าไม่ได้
ระหว่างการเดินเรือครั้งแรกของ INS Vikrant สมรรถนะของเรือรวมถึงตัวเรือ, ระบบขับเคลื่อนหลัก, ระบบกำเนิดพลังงาน(PGD: Power Generation System) และอุปกรณ์เสริมจะได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด

โดยการส่งมอบเรือบรรทุกเครื่องบิน INS Vikrant อินเดียจะเข้าร่วมกลุ่มชาติที่เลือกการมีขีดความสามารถที่ออกแบบและสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินด้วยตนเองในประเทศ ซึ่งการเป็นการยืนยันหลักฐานที่แท้จริงต่อความเชื่อถือในนโยบาย 'Make in India' ของรัฐบาลอินเดีย
การสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินเองในประเทศเป็นตัวอย่างที่เฉิดฉายในการแสวงหานโยบาย 'Atma Nirbhar Bharat' และการริ่เริ่ม 'Make in India'  

นี่ได้นำการเติบโตในขีดความสามารถการสร้างและออกแบบเรือเองในประเทศ นอกจากการพัฒนาจำนวนมากของภาคอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง โดยโอกาสการการจ้างงานสำหรับอู่เรือ CSL จำนวน 2,000ตำแหน่ง และราว 12,000ตำแหน่งในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
ส่วนประกอบภายในประเทศมากกว่าร้อยละ76 มุ่งสู่การจัดหาอุปกรณ์ นอกจากงานโดยอู่เรือ CSL และผู้รับสัญญาย่อยของพวกตนได้สร้างการลงทุนโดยตรงกลับมาสู่เศรษฐกิจของอินเดีย

ราว 550 กิจการของอินเดียรวมถึงกลุ่มธุรกิจขนาดเล็กมาก, ขนาดเล็ก และขนาดกลาง(MSME: Micro, Small and Medium Enterprises) ราว 100รายที่ขึ้นทะเบียนกับ CSL ซึ่งมอบหลายๆการบริการในการสร้างเรือบรรทุกเครื่องบินโครงการ IAC
โครงการสร้างเรือของกองทัพเรืออินเดียเป็นทิศทางที่ถูกต้องในการมอบ 'การกระตุ้นทางเศรษฐกิจ' ที่จำเป็นต้องการ ด้วยเรือและเรือดำน้ำรวม 44ลำที่ได้รับการสั่งจัดหาเพื่อสร้างในอินเดียครับ