K200 KIFV (Korean Infantry Fighting Vehicle) of Republic of Korea Army (RoKA)
during field exercise. (Republic of Korea Armed Forces)
General Songwit Noonpakdee, Chief of Defence Forces of the Royal Thai Armed
Forces (RTARF) of Thailand and officers participated a briefing from Hanwha
Aerospace with Mr.Tanee Sangrat, Ambassador of Thailand to the Republic of
Korea during formal visited to the Republic of Korea on 5-7 February 2025.
(Royal Thai Armed Forces)
Ambassador Tanee witnesses MOU Signing Ceremony Between Thai Defense
Industry (TDI) and Hanwha Aerospace of the ROK
On 27 August 2024, H.E. Mr. Tanee Sangrat, Ambassador of Thailand to the ROK,
witnessed the signing ceremony of the Memorandum of Understanding (MOU)
between Thai Defense Industry (TDI), under the Defense Technology Institute
(DTI), and Hanwha Aerospace
to develop an upgraded and modernised version of the K200 Infantry Fighting
Vehicle (IFV) for the Royal Thai Army and for other countries in the future.
This joint venture is also implemented in partnership with Chaiseri Metal and
Rubber Co., Ltd.
Ambassador Tanee underlined not only the symbolic significance of the MOU, but
its reflection of the longstanding and close cooperation and relations between
Thailand and the ROK, which date back to the Korean War.
The Ambassador further expressed his hope that both countries will continue to
seek opportunities for collaboration and cooperation in elevating their
respective defence industries in the future.
เอกอัครราชทูตธานีฯ ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม MOU ระหว่างบริษัท Thai
Defense Industry (TDI) กับบริษัท Hanwha Aerospace ของสาธารณรัฐเกาหลี
เมื่อวันที่ ๒๗ ส.ค. ๒๕๖๗ นายธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูต ณ กรุงโซล
ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างบริษัท Thai Defense
Industry (TDI) ภายใต้สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศกับบริษัท Hanwha Aerospace
โดยมีบริษัทชัยเสรีเม็ททอลแอนด์รับเบอร์ จำกัดร่วมลงทุน
เพื่อพัฒนาปรับปรุงยานเกราะสายพานรุ่น K200 Infantry Fighting Vehicle
(IFV)ให้กับกองทัพไทย และสามารถพัฒนาให้กับประเทศอื่น ๆ ในอนาคต
เอกอัครราชทูตฯ ย้ำว่า ความร่วมมือภายใต้ MOU ดังกล่าว
นอกจากจะมีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์แล้ว
ยังสะท้อนถึงความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี
ซึ่งมีมาตั้งแต่ทั้งสองประเทศร่วมรบในสงครามเกาหลี
และหวังว่าทั้งสองประเทศจะร่วมกันหาโอกาสเพื่อขยายความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในอนาคตต่อไป
ในระหว่างการเดินทางเยือนสาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) อย่างเป็นทางการของ
พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด เมื่อ 5-7 กุมภาพันธ์ 2568
นั้น ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและคณะ ได้เดินทางไปยัง หน่วยบัญชาการไซเบอร์
กองทัพเกาหลีใต้ (Cyber Operations Command) โดยมี พลตรี Jo, Won-Hui (โซ
วอนฮี) ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการไซเบอร์ ให้การต้อนรับ
โดยทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านไซเบอร์
และการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ทั้งเชิงรับและเชิงรุก ทั้งนี้
หน่วยบัญชาการไซเบอร์ เกาหลีใต้
ให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงทางไซเบอร์
และการสร้างความร่วมมือกับชาติพันธมิตร
เพื่อรับมือกับภัยคุกคามทางไซเบอร์ในทุกมิติ
ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกองทัพไทยที่มีการจัดตั้งหน่วยบัญชาการไซเบอร์
ขึ้นมาใหม่
โดยมีความคิดริเริ่มที่จะร่วมมือกันในการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านไซเบอร์
ทั้งนี้
ทางหน่วยบัญชาการไซเบอร์ของเกาหลีใต้จะจัดส่งกำลังพลเข้าร่วมการฝึกด้านไซเบอร์
ระหว่างการฝึกร่วม/ผสม คอบร้าโกลด์ 2025 (CG2025) ณ ประเทศไทย
อันจะเป็นโอกาสที่ดีในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้ระหว่างกัน
จากนั้น ผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้เดินทางไปยัง บริษัท Hanwha Aerospace โดยมี
นาย ธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย
ประจำสาธารณรัฐเกาหลีเข้าร่วมรับฟังการบรรยายสรุปจากทางบริษัทด้วย
โดยบริษัท Hanwha Aerospace
ได้มีการผลิตและพัฒนาระบบอาวุธยุทธโธปกรณ์ทั้งทางบก (Land) ทางทะเล (Sea)
ทางอากาศ (Air) และทางอวกาศ (Space) เพื่อใช้ในการป้องกันประเทศ บริษัท
Hanwha Aerospace ได้มีบันทึกความเข้าใจ (MOU) ร่วมกับ บริษัท Thai Defense
Industry (TDI) ภายใต้สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ โดยมี บริษัท
ชัยเสรีเม็ททอลแอนด์รับเบอร์ จำกัด ร่วมลงทุน
เพื่อพัฒนาปรับปรุงยานเกราะสายพานรุ่น K200 Infantry Fighting Vehicle (IFV)
ให้กับกองทัพไทย ทั้งนี้ ความร่วมมือภายใต้ MOU ดังกล่าว
นอกจากจะมีความสำคัญเชิงสัญลักษณ์แล้ว
ยังสะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือและความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างไทยกับสาธารณรัฐเกาหลี
ซึ่งมีมาอย่างยาวนาน
และหวังว่าทั้งสองประเทศจะร่วมกันหาโอกาสเพื่อขยายความร่วมมือด้านอื่น ๆ
ในการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในอนาคตต่อไป
ในโอกาสที่ผู้บัญชาการทหารสูงสุดเดินทางเยือนสาธารณรัฐเกาหลีอย่างเป็นทางการนั้น
ได้ร่วมรับประทานอาหารกับนาย ธานี แสงรัตน์ เอกอัครราชทูตไทย
ประจำสาธารณรัฐเกาหลี พร้อมด้วย พันเอก อิฐ ทิพยจันทร์
ผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารไทย/โซล นาวาอากาศเอก พงษ์ชาติ พันธุ์ศรี
รองผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารไทย/โซล และ พันโท นภดล อุดมประเสริฐกุล
นายทหารติดต่อประจำกองบัญชาการสหประชาชาติ ณ กรุงโซล
พร้อมทั้งตัวแทนนักเรียนเสนาธิการทหารบก นักเรียนนายร้อย
และนักเรียนนายเรืออากาศ ของไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในเกาหลีใต้ จำนวน 7 นาย
ได้แก่
- พันโท ปรัชญาวุธ สุวรรณชาตรี เสนาธิการทหารบก เกาหลีใต้
- นักเรียนนายร้อย วีรภัทร รายะ ชั้นปีที่ 4
- นักเรียนนายร้อย ธีรภัทร แย้มมณีชัย ชั้นปีที่ 2
- นักเรียนนายร้อย ปวิณมัย โพธิ์ชัย ชั้นปีที่ 1
- นักเรียนนายเรืออากาศ ปยุต ร้อยอำแพง ชั้นปีที่ 4
- นักเรียนนายเรืออากาศ สัณหธร ชาญชญานนท์ ชั้นปีที่ 3
- นักเรียนนายเรืออากาศ อานพ บูชา ชั้นปีที่ 2
โดยในระหว่างรับประทานอาหารได้ซักถามถึงความเป็นอยู่ ระบบการเรียนการสอน
การฝึก พร้อมทั้งได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์
และให้คำแนะนำในการนำความรู้ที่ได้จากการศึกษามาต่อยอด
เพื่อพัฒนาประเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุด พร้อมทั้งได้ขอบคุณเอกอัครราชทูตไทย
ประจำสาธารณรัฐเกาหลี และคณะผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารไทย/โซล
ที่คอยดูแลนักเรียนทหารไทยที่มาศึกษา ณ เกาหลีใต้
การเดินทางเยือนเกาหลีใต้ในครั้งนี้
ได้รับการต้อนรับจากกองทัพเกาหลีใต้อย่างอบอุ่นและสมเกียรติ
แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและแน่นแฟ้นระหว่างกองทัพทั้งสอง
ซึ่งนอกจากจะเป็นการขยายกรอบความร่วมมือในด้านต่าง ๆ แล้ว
ยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกองทัพให้มีความใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น
ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงในภูมิภาคต่อไป
บริษัท Hanwha Aerospace
สาธารณรัฐเกาหลีได้บรรยายสรุปข้อมูลระบบอาวุธยุทธโธปกรณ์ต่างๆของตนแก่กองทัพไทย(RTARF:
Royal Thai Armed Forces)
ระหว่างการเดินทางเยือนสาธารณรัฐเกาหลีอย่างเป็นทางการของ พลเอก ทรงวิทย์
หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไทยและคณะนายทหารกองทัพไทยระหว่างวันที่ ๕-๗
กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ที่ผ่านมา
นอกจากผลิตภัณฑ์ที่ประสบความสำเร็จในการส่งออกแก่กองทัพไทยแล้วคือเรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลดุลยเดช
กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ที่สร้างโดยบริษัท Hanwha Ocean
สาธารณรัฐเกาหลี(เดิมบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering, DSME)
ที่มองจะได้รับการจัดหาเรือลำที่สองที่จะสร้างในไทยแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2024/12/hanwha-ocean.html)
ศูนย์ประชาสัมพันธ์กองทัพไทย กองบัญชาการกองทัพไทย ได้เผยแพร่ในช่องทางสื่อสังคม
online ทางการของตนว่าบริษัท Hanwha Aerospace ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU:
Memorandum of Understanding) กับบริษัท Thai Defense Industry จำกัด(TDI) ไทยเพื่อพัฒนารถรบทหารราบสายพาน K200 Infantry Fighting Vehicle(IFV)
รุ่นปรับปรุงสำหรับกองทัพบกไทย(RTA: Royal Thai Army) ด้วย
ก่อนหน้านี้กระทรวงการต่างประเทศไทยได้เผยแพร่ข่าวพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่าง
Hanwha Ocean สาธารณรัฐเกาหลีและ TDI ไทยเกี่ยวกับการพัฒนารถรบทหารราบ K200 IFV
รุ่นปรับปรุงความทันสมัยสำหรับกองทัพบกไทยและโอกาสเพื่อผลิตส่งออกประเทศอื่นๆว่ามีขึ้นเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) โดยมีนาย ธานี แสงรัตน์
เอกอัครราชทูตไทยประจำสาธารณรัฐเกาหลีเป็นสักขีพยาน
TDI ไทยเป็นกิจการร่วมทุน(joint venture) ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ
สปท. DTI(Defence Technology Institute) หน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมไทย
และบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co.
Ltd.) ไทย
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของเอกชนแก่ต่างประเทศในรูปแบบข้อตกลงแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล
TDI ได้ประสบความสำเร็จในการได้รับการสัญญาการส่งออกผลิตภัณฑ์ของบริษัท Chaiseri
ไทยคือยานเกราะล้อยางตระกูล First Win 4x4 แก่ต่างประเทศเป็นจำนวนมากในปี
พ.ศ.๒๕๖๗ ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2024/11/chaiseri-hisaar-4x4.html,
https://aagth1.blogspot.com/2024/10/first-win-4x4-100.html,
https://aagth1.blogspot.com/2024/05/first-win-4x4-atv-mi-47-mi-9.html)
รถรบทหารราบ K200 KIFV เป็นตระกูลรถสายพานลำเลียงพล(APC: Armoured Personnel
Carrier) ที่พัฒนาโดย สำนักงานการพัฒนาทางกลาโหม(ADD: Agency for Defense
Development) สาธารณรัฐเกาหลี และผลิตโดยบริษัท Daewoo Heavy Industries
สาธารณรัฐเกาหลี(ต่อมาเป็นบริษัท Doosan สาธารณรัฐเกาหลี และบริษัท Hanwha
Aerospace ในปัจจุบัน) โดยมีสายการผลิตตั้งแต่ปี 1985
ผู้ใช้งานหลักคือกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี(RoKA: Republic of Korea Army)
รวมมากกว่า ๒,๕๐๐คันในหลายรุ่นตั้งแต่รถสายพานลำเลียงพล K200A1 APC,
เครื่องยิงลูกระเบิดอัตตาจรสายพาน KM120 120mm และ K281 81mm,
ปืนใหญ่ต่อสู้อากาศอัตตาจร K236 20mm และรถกู้ซ่อม K288
โดยยังส่งออกให้แก่กองทัพบกมาเลเซีย(Malaysian Army, Tentera Darat Malaysia)
จำนวน ๑๑๑คันในปี 2000s
ในเดือนสิงหาคม 2024 Hanwha Aerospace ร่วมกับบริษัท Cendana Auto
มาเลเซียได้รับสัญญาจากกระทรวงกลาโหมมาเลเซียเพื่อปรับปรุง K200 IFV
ของกองทัพบกมาเลเซียที่รวมถึงการติดตั้งกล้องมองกลางวัน/กลางคืนใหม่, ป้อมปืน
RCWS(Remote-Control Weapon Station), ชุดเครื่องยนต์ใหม่ และการถ่ายทอดวิทยาการเพื่อจัดตั้งศูนย์ซ่อมบำรุง MRO(Maintenance, Repair and
Overhaul) ในมาเลเซียครับ