วันอาทิตย์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

กองทัพเรือไทยสาธิตอากาศยานไร้คนขับ MARCUS-B รุ่นใหม่ในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๘




Royal Thai Navy (RTN) held opening ceremony of Naval Exercise Fiscal Year 2025 at Laem Thian Pier, Sattahip Port, Sattahip Naval Base, Chonburi province, Gulf of Thailand on 13 February 2025.
involved demonstration of Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System (MARCUS) "MARCUS-B" (2024) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) Unmanned Aerial Vehicle (UAV), serial production domestic Naval Research & Development Office (NRDO), RTN with Thailand companies B.J.Supply 2017, Oceanus Research and Development and X-Treme Composites;












the demonstration also include Royal Thai Marine Corps (RTMC) new domestic Chaiseri AWAV (Armoured Wheeled Amphibious Vehicle) 8x8 and upgraded Chaiseri AAV7A1 RAM/RS; 








Royal Thai Naval Air Division (RTNAD) Airbus Helicopters H145M and Sikorsky SH-60B Seahawk helicopters; domestic Marsun Por.51-class Special Operations Craft and Naval Special Warfare Command((NSWC) known as RTN SEALs team operators. (Royal Thai Navy, Royal Thai Marine Corps, Sompong Nondhasa)







MARCUS B เป็นอากาศยานไร้นักบินที่ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ หรือ สวพ.ทร. พัฒนามาเป็นเวลาหลายปี โดยได้รับเงินสนับสนุนทั้งจากงบประมาณของ สวพ.ทร. สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และภาคเอกชน ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์จากคณะกรรมการมาตรฐานยุทโธปกรณ์กองทัพเรือเป็นที่เรียบร้อยแล้ว 
นอกจาก สวพ.ทร. แล้ว โครงการ MARCUS B ยังมีบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมโครงการคือบริษัท BJ Supply 2017 จำกัด ในฐานะผู้ให้เงินทุนสนับสนุน ผู้จัดการห่วงโซ่อุปทาน และคู่สัญญากับกองทัพเรือ บริษัท Oceanus Research and Development จำกัด ในฐานะผู้พัฒนา Software และระบบอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ และบริษัท X-Treme Composite เป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนและโครงสร้างของอากาศยาน
MARCUS B รุ่น 2024 ที่เข้าประจำการในกองทัพเรือนั้น มีความยาว 2.8 เมตร ความกว้างขณะกางปีก 4.8 เมตร น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 50 กิโลกรัม ความเร็วเดินทาง 50-70 น็อต เพดานบินสูงสุด 5 กิโลเมตรเหนือระดับน้ำทะเล ติดตั้งกล้องตรวจการณ์ EO/IR กำลังขยาย 30x รองรับการเชื่อมต่อกับระบบ C4ISR ของกองทัพเรือ
ใน 1 ระบบ จะประกอบด้วยอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง 2 ลำ เป็นรุ่นปฏิบัติการระยะไกล 1 ลำ และรุ่นปฏิบัติการระยะใกล้ 1 ลำ กล้องตรวจการณ์ 2 ชุด สถานีควบคุมภาคพื้นดิน 1 ชุด การซ่อมบำรุงส่วนใหญ่สามารถดำเนินการได้ในประเทศไทย ทำให้มี Down time ต่ำ และสามารถสนับสนุนการปฏิบัติงานทางเรือได้
ทั้งนี้ หลังจากส่งมอบแล้ว กองทัพเรือมีแผนที่จะกำหนดให้ฝูงบิน 104 ของกองการบินทหารเรือวางกำลัง MARCUS B ไว้ที่หน่วยปฏิบัติการที่สำคัญตามชายฝั่งทะเล เพื่อปฏิบัติการลาดตระเวนจากฐานบินบนบก ซึ่ง MARCUS B สามารถบินขึ้นลงบนเรือได้เช่นเดียวกันโดยใช้การบังคับด้วยมือ แต่ในอนาคตมีแผนที่จะพัฒนาระบบขึ้นลงอัตโนมัติเพื่อให้การปฏิบัติงานง่ายขึ้น 
ซึ่งกองทัพเรือวางแผนให้ MARCUS B ปฏิบัติงานบนหน่วยปฏิบัติการบนเกาะที่สำคัญตามแนวชายแดน 5 แห่ง และเรือ 18 ลำที่มีประจำการในกองทัพเรือ โดย MARCUS B ได้ทดสอบการขึ้นลงบนเรือหลวงจักรีนฤเบศรในขณะที่ปฏิบัติงานทางทะเล แล้ว โดยในอนาคตกองทัพเรือจะจัดหาเข้าประจำการเพิ่มเติม ถือเป็นความสำเร็จในการพัฒนาและเพิ่งพาตนเองของกองทัพเรือ

พลเรือเอก จิรพล  ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี 2568 เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568โดยมี ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพเรือ พร้อมกำลังพลที่เข้ารับการฝึก เข้าร่วมในพิธี ณ ท่าเรือแหลมเทียนกลางท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี 
ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้ร่วมชมการสาธิตการปฏิบัติการทางเรือและอากาศยาน ซึ่งกองเรือยุทธการ เป็นหน่วยรับผิดชอบในการจัด และเยี่ยมชม การแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ที่จะใช้ในการฝึกกองทัพเรือในปีนี้ 
การฝึกกองทัพเรือประจำปี ถือเป็นการฝึกที่มีความสำคัญสูงสุดของกองทัพเรือ โดยใช้แนวความคิดในการฝึกว่า “รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น” ซึ่งในปีนี้เป็นการฝึกป้องกันประเทศโดยกำหนดสถานการณ์ตั้งแต่ในขั้นปกติสถานการณ์วิกฤตไปถึงขั้นป้องกันประเทศ ซึ่งมีการทดสอบและสร้างความคุ้นเคยทางด้านแนวความคิดหลักการ หลักนิยม ไปจนถึงขีดความสามารถของกำลังรบในแต่ละประเภทโดยส่วนต่าง ๆ ของกองทัพเรือ
ทั้งในกองอำนวยการฝึก และหน่วยรับการฝึกทุกหน่วยได้มีการเตรียมและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอย่างเต็มกำลังความสามารถโดยนำวัตถุประสงค์การฝึกและหัวข้อการทดสอบที่กองทัพเรือกำหนด ไปกำหนดเป็นวัตถุประสงค์เฉพาะตามภารกิจของหน่วย และนำไปทดสอบในการฝึกปัญหาที่บังคับการ (CPX ) และการฝึกภาคสนาม (FTX) เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายคำสั่งและวัตถุประสงค์การฝึกที่ได้กำหนดไว้ต่อไป
 
สำหรับการฝึกในปีนี้ได้ทำการฝึกแผนป้องกันประเทศ ในพื้นที่ทัพเรือภาคที่ 2 ประกอบด้วย การฝึกปัญหาที่บังคับการ และ การฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล โดยในส่วนของการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเลในปีนี้ มีหัวข้อการฝึกที่สำคัญคือ การฝึกปฏิบัติการทางเรือของกองเรือเฉพาะกิจปฏิบัติการระยะไกลที่ 72 โดยมีการจัดกำลังเข้าร่วมการฝึกประกอบด้วย 
เรือหลวงช้าง เรือหลวงอ่างทอง เรือหลวงสุรินทร์ และเรือหลวงมันใน เป็นหมู่เรือลำเลียง โดยมีเรือหลวงนเรศวร เรือหลวงเจ้าพระยา และเรือหลวงกระบุรี ประกอบกำลังเป็นหมู่เรือคุ้มกัน ร่วมด้วยกำลังจากอากาศยานนาวีกำลังรบยกพลขึ้นบกและกำลังสนับสนุนอีกจำนวนหนึ่ง นอกจากนั้นจะมีการฝึกที่สำคัญอื่น ๆ อาทิ 
การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Mistral ของเรือหลวงจักรีนฤเบศร การฝึกปฏิบัติการร่วมระหว่างกองทัพเรือและกองทัพอากาศ การฝึกปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การฝึกต่อต้านการก่อการร้ายบนแท่งผลิตก๊าซธรรมชาติ การฝึกให้ความช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (HADR) การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล (SAR) 
และ การขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ในทะเล (Oil and chemical spill) การฝึกเป็นหน่วยกรมผสมนาวิกโยธิน และการดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง (CALFEX) การฝึกของหน่วยวิชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งประจำพื้นที่และการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธี โดยมีการเชิญกำลังพลจากกองทัพบกกองทัพอากาศรวมถึงศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเข้าร่วมการฝึกในครั้งนี้

คณะกรรมการจัดทำสารคดีและสื่อโทรทัศน์กองทัพเรือ
กุมภาพันธ์ 2568

พิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๘ เมื่อวันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ณ ท่าเรือแหลมเทียนกลางท่าเรือสัตหีบ ฐานทัพเรือสัตหีบ จังหวัดชลบุรี จะได้เห็นว่ากองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) และนาวิกโยธินไทย(RTMC: Royal Thai Marine Corps) ได้นำอาวุธยุทโธปกรณ์ใหม่ที่ออกแบบพัฒนาสร้างโดยอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยร่วมการสาธิตการปฏิบัติการหลายแบบ
นี่รวมถึงอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS-B (2024) รุ่นใหม่ หรือรู้จักในชื่อว่า MARCUS-C ซึ่งเป็นอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง(VTOL UAV: Vertical Take-Off and Landing Unmanned Aerial Vehicle) ในตระกูลอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS(Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System) รุ่นที่สาม
ที่พัฒนาโดยสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.(NRDO: Naval Research and Development Office) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ร่วมกับภาคเอกชนไทยคือ บริษัท Oceanus Research and Development ไทย, บริษัท X-Treme Composites ไทย และบริษัท B.J.Supply 2017 ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2024/09/marcus-c.html)

อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS-B (2024) ความยาว 2.8m ความกว้างปีก 4.8m น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด(MTOW: Maximum Take-Off Weight) 50kg ความเร็วเดินทาง 50-70knots เพดานบินสูงสุด 5,000m เหนือระดับน้ำทะเล บินได้นาน ๔-๖ชั่วโมง มีน้ำหนักบรรทุก 8kg หนึ่งระบบประกอบด้วยอากาศยาน(airframe) ๒เครื่อง และสถานีควบคุมภาคพื้นดิน(GCS: Ground Control Station) ๑ชุด
ในพิธีเปิดการฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๘ จะได้เห็นอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS-B ทำการบินขึ้นลงจากลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือของเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงสายบุรี ปฏิบัติการร่วมกับเฮลิคอปเตอร์ไร้คนขับตรวจการณ์ชี้เป้าแบบที่๑ ฮร.ตช.๑ Schiebel Camcopter S-100 ฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ กบร.(RTNAD: Royal Thai Naval Air Division)
ชี้เป้าหมายให้ปืนใหญ่กลางกระสุนวิถีราบ Type 59-I ขนาด 130mm ของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอ.รฝ.(ACDC: Air and Coastal Defence Command) สนับสนุนชุดปฏิบัติการ หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ นสร.(NSWC: Naval Special Warfare Command/RTN SEALs) จากเรือเร็วปฏิบัติการพิเศษชุดเรือ พ.51(Marsun M18 Fast Assault Boat)

สาธิตยังรวมถึงรถหุ้มเกราะล้อยางชนิดลำเลียงพล 8x8 แบบ AWAV(Armoured Wheeled Amphibious Vehicle) และรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 RAM/RS หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน นย.(RTMC: Royal Thai Marine Corps) ที่พัฒนาสร้างและปรับปรุงโดยบริษัท ชัยเสรี เม็ททอล แอนด์ รับเบอร์ จำกัด(Chaiseri metal & rubber Co. Ltd.) ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2024/12/awav-8x8.html)
เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบที่๖ ฮ.ลล.๖ Airbus Helicopters H145M และเฮลิคอปเตอร์ปราบเรือดำน้ำแบบที่๑ ฮ.ปด.๑ SH-60B Seahawk ที่สาธิตการขจัดมลพิษทางน้ำร่วมกับเรือลากจูง เรือหลวงแสมสาร และเรือหลวงตาชัย ทั้งนี้กองทัพเรือไทยวางแผนที่จะนำ MARCUS-B VTOL UAV ปฏิบัติงานในหน่วยปฏิบัติการบนเกาะสำคัญตามแนวชายแดน ๕แห่ง และเรือ ๑๘ลำ โดยจะจัดหาเข้าประจำการเพิ่มเติมในอนาคต
การฝึกกองทัพเรือประจำปี ๒๕๖๘ ที่จะมีตามมาหลังพิธีเปิดยังรวมถึงการฝึกการดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง(CALFEX: Combined Arms Live Fire Exercise) ของนาวิกโยธินไทยและ สอ.รฝ. การฝึกภาคทะเลของกองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร จะมีการฝึกยิงจริงของอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ Mistral ที่ไม่ได้ทำการฝึกยิงมานานด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/mbda-mistral.html)