วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2567

คณะกรรมาธิการการทหารรัฐสภาไทยดูงานอู่เรือ Hanwha Ocean เกาหลีใต้

Thai Parliamentary Defense Committee Praises Hanwha Ocean’s Shipbuilding Expertise 



Royal Thai Navy frigate FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej (US Navy and Royal Thai Navy photos)


Thai Parliamentary members at Hanwha facilities (Hanwha Ocean photo)

วันที่ ๒๑ พ.ย.๖๗ เวลา ๑๑๐๐ - ๑๕๐๐ 
ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช กองเรือฟริเกตที่ ๑ กองเรือยุทธการ ร่วมกับ แผนกอาชีวอนามัย กองเวชกรรมป้องกัน รพ.อาภากรเกียรติวงศ์ ฐท.สส. ทำการตรวจด้านอาชีวะอนามัยบนเรือ เช่น ความสว่างของสถานที่ปฏิบัติงานบนเรือ เสียงดังจากการทำงานของเครื่องยนต์ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะกับการปฏิบัติงาน เพื่อให้กำลังพลสามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย ป้องกันอันตรายจากความเสี่ยงต่างๆ
กิจกรรมดังกล่าว เป็นไปตามแผนการดำเนินโครงการ Better Home Better Health ด้าน Good Health เพื่อดูแลกำลังพลของกองเรือยุทธการ การป้องกันการบาดเจ็บ การเจ็บป่วยจากการทำงาน ตลอดจนส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ปฏิบัติงานบนเรือ พัฒนาศักยภาพหน่วยกำลังรบทางเรือ ให้กำลังพลมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

วันนี้โอกาสดี เจอพี่น้องแรงงานคนไทยที่มาทำงานต่อเรือรบของ Hanwha Ocean และได้เจอพี่น้อง คนเมืองกาญจน์ ด้วยกัน ส่งพลังใจให้กัน ฝีมือแรงงานไทยไม่แพ้ชาติใด
ศึกษาดูงานด้านการจัดสวัสดิการกำลังพลและการส่งเสริมสร้างศักภาพกองทัพ คณะกรรมาธิการการทหาร

เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) คณะตัวแทนของคณะกรรมาธิการการทหารรัฐสภาไทยนำโดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ประธานคณะกรรมาธิการการทหาร ได้เดินทางเยือนอู่เรือบริษัท Hanwha Ocean สาธารณรัฐเกาหลี
เพื่อสังเกตการณ์ความก้าวหน้าขีดความสามารถการสร้างเรือของสาธารณรัฐเกาหลี การเดินทางเยือนของอู่เรือ Hanwha Ocean มีขึ้นตามที่บริษัทเดินหน้าที่จะแสดงผลงานที่มีมาอย่างต่อเนื่องในการส่งออกเรือฟริเกตแก่กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)

คณะกรรมาธิการการทหารไทยได้แสดงความสนใจอย่างยิ่งในระบบการสร้างเรือที่ครอบคลุมของบริษัท Hanwha Ocean ซึ่งขยายจากการออกแบบเรือสู่ระบบหุ่นยนต์อัตโนมัติในการนำมาประยุกต์ใช้ในวิทยาการการสร้างต่างๆ
คณะของคณะกรรมาธิการการทหารไทยได้ยกย่องขีดความสามารถที่ได้รับการพิสูจน์แล้วของบริษัท Hanwha Ocean เป็นพิเศษที่ได้ให้ความเชื่อมั่นที่จะส่งมอบตามกำหนดการในโครงการทางเรือทั่วโลก และความมุ่งมั่นของตนต่อการถ่ายทอดวิทยาการในการปฏิบัติการนานาชาติ

ในการเดินทางเยือนอู่เรือ Hanwha Ocean ตัวแทนคณะกรรมาธิการการทหารไทยได้เน้นย้ำความสำเร็จของโครงการเรือฟริเกตสมรรถนะสูง เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช หนึ่งในความสำเร็จการส่งออกของ Hanwha Ocean สาธารณรัฐเกาหลี
คณะกรรมาธิการการทหารไทยเน้นย้ำถึงความปรารถนาของพวกเขาสำหรับความร่วมมืออันแข็งแกร่งในโครงการเรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชลำต่อไปที่จะมีตามมา ซึ่งคาดว่าจะมีความสำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งขีดความสามารถการปฏิบัติการต่างๆของกองทัพเรือไทย

มากไปกว่านั้นคณะกรรมาธิการการทหารไทยได้แสดงการมองในเชิงบวกเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมที่เป็นไปได้ของกระบวนการการผลิตที่ก้าวหน้าและระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพสูงของบริษัท Hanwha Ocean เพื่อปรับปรุงความทันสมัยภาคอุตสาหกรรมการต่อเรือในประเทศของไทย
ในการตอบสนองต่อเรื่องนี้ Hanwha Ocean สาธารณรัฐเกาหลีได้เสนอยุทธศาสตร์ที่จะยกระดับขีดความสามารถการสร้างเรือต่างๆของไทยโดยความร่วมมือกับอู่เรือต่างๆภายในประเทศของไทย(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-marsun-tkms-meko.html)

ระหว่างการเยี่ยมชมอู่เรือของ Hanwha Ocean ใน Geoje สาธารณรัฐเกาหลี คณะกรรมาธิการการทหารไทยได้เยี่ยมชมศูนย์การฝึกทางเทคนิค(Technical Training Center) ของบริษัท Hanwha Ocean ที่ซึ่งพวกเขาพบกับผู้ฝึกงานชาวไทยที่ขณะนี้กำลังได้รับการศึกษาเฉพาะทาง
คณะกรรมาธิการการทหารไทยได้รับทราบความยอดเยี่ยมของโครงการการฝึกศึกษาที่มอบให้โดย Hanwha Ocean สาธารณรัฐเกาหลี เน้นย้ำคุณค่าของความพยายามของบริษัทที่จะอบรมการสร้างแรงงานที่มีทักษะ

Steve SK Jeong หัวหน้าฝ่ายธุรกิจเรือกองทัพนานาชาติของ Hanwha Ocean กล่าวว่า "ผ่านการมาเยือนของบุคลากรระดับสูงจากสภาผู้แทนราษฎรไทยนี้ เราได้มีโอกาสที่จะแบ่งปันความมุ่งมั่นของ Hanwha Ocean และวิสัยทัศน์ในฐานะหุ้นส่วนที่น่าเชื่อถือ
ท่ามกลางภูมิทัศน์ความมั่นคงทางทะเลที่พัฒนาอย่างรวดเร็วของไทย โดยการได้รับสัญญาจัดหาเรือฟริเกตใหม่ตามมา เรามุ่งเน้นไม่เพียงแต่ที่จะส่งมอบเรือรบชั้นนำระดับโลกเท่านั้น แต่ยังจะเพิ่มขยายขีดความสามารถด้านอุตสาหกรรมต่างๆภายในไทย มีส่วนร่วมที่จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของไทย"

Hanwha Ocean(เดิมบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering, DSME สาธารณรัฐเกาหลี) ได้รับสัญญาในปี พ.ศ.๒๕๕๖(2013) ที่จะส่งมอบเรือฟริเกตแบบ DW3000H ขนาดระวางขับน้ำ 3,600ton แก่ไทย และประสบความสำเร็จในการเสร็จสิ้นโครงการในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
บริษัทระบุว่าการเดินทางเยือนของคณะกรรมาธิการการทหารไทยนี้ได้เสริมความแข็งแกร่งเพิ่มเติมของความน่าเชื่อถือและความร่วมมือซึ่งกันและกันระหว่าง Hanwha Ocean สาธารณรัฐเกาหลีและไทย ปูทางไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนที่แข็งแกร่งกว่ายิ่งขึ้นในอนาคต

ความเห็นวิเคราะห์
พลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือไทยกล่าวต่อสื่อไทยในต้นเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗ ว่า กองทัพเรือไทยมองที่จะได้รับการอนุมัติงบประมาณจากรัฐบาลไทยในการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงใหม่จำนวน ๔ลำ ซึ่งถูกระบุในสมุดปกขาวกองทัพเรือ พ.ศ.๒๕๖๖ Royal Thai Navy White Paper 2023 ที่เผยแพร่ในเดือนตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๖(2023) ซึ่งถูกเลื่อนจากการร้องขอในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๘(2025)
โดยแบ่งเป็นสองระยะสำหรับเรือฟริเกตใหม่จำนวน ๒ลำในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๙(2026) และอีก ๒ลำในในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๗๐(2027) ซึ่งใช้งบประมาณผูกพันข้ามปีสำหรับเรือฟริเกต ๒ลำที่จะสร้างในไทยโดยการถ่ายทอดวิทยาการที่วงเงินราว ๓๕,๐๐๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($1,026,588,850) หรือลำละราว ๑๗,๕๐๐,๐๐๐,๐๐๐($513,294,425) รวมทั้งหมด ๔ลำ วงเงินราว ๘๐,๔๐๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท($2,357,253,228)

แม้ว่าจะยังไม่มีการออกเอกสารขอข้อมูล(RFI: Request for information) หรือเอกสารขอข้อเสนอ(RFP: Request for Proposals) จากกองทัพเรือไทยอย่างเป็นทางการเพื่อเริ่มต้นขั้นตอนการแข่งขันคัดเลือกแบบ นอกจาก Hanwha Ocean สาธารณรัฐเกาหลีที่เสนอแบบเรือฟริเกตชุด ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช แล้วผู้เข้าแข่งขันที่เป็นไปได้รายอื่นๆยังรวมถึง
บริษัท thyssenkrupp Marine Systems(tkMS) เยอรมนีร่วมกับบริษัท Marsun จำกัด(มหาชน) ไทยที่เสนอแบบเรือฟริเกต MEKO A-100, บริษัท Babcock International สหราชอาณาจักรที่เสนอแบบเรือฟริเกต Arrowhead 140 และบริษัท Damen เนเธอร์แลนด์ที่เสนอแบบเรือฟริเกต SIGMA ซึ่งต่างพร้อมมองหาหุ้นส่วนในไทยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2023/11/defense-security-2023-babcock-damen.html)