วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2567

กองทัพอากาศไทยเปิดตัวเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH สาธิตการบินรบติดอาวุธครั้งแรก










Royal Thai Air Force (RTAF) Beechcraft AT-6TH Wolverine serial "41102" and "41104" light attack aircrafts of 411th Squadron, Wing 41 Chiang Mai RTAF base with FN HMP-400 .50cal gun pods and LAU-131/A 7-round 70mm rocket pods in flight formation for combat patrol role demonstration during the opening ceremony of Air Tactical Operations Evaluation 2025 at Chandy range, Lopburi Province, Thailand on 12 December 2024. (Sittiphong Charoenkhan, Chittapon Kaewkiriya)


Seen here AT-6TH Wolverine serial "41105",so far 5 from 8 of ordered AT-6TH have delivered to 411th Squadron, Wing 41 RTAF in November 2024. (Tango Squadron Air Museum foundation)



เครื่องบินโจมตีเบาแบบ Beechcraft AT-6TH Wolverine
ประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ กองทัพอากาศไทย (RTAF: Royal Thai Air Force)
ปีแรกที่ไปดู พิธีเปิด ที่ชัยบาดาล

Welcome home 'Thunder'
Beechcraft AT-6TH Wolverine
Royal Thai Air Force

กองทัพอากาศ จัดพิธีเปิดการทดสอบและประเมินค่าการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี  ประจำปี 2568 
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม 2567 พลเอก ณัฐพล นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีฯ พร้อมด้วย พลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ  ร่วมพิธีเปิดการทดสอบและประเมินค่าการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี  ประจำปี 2568 ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี 
โดยภายหลังพิธีเปิดการแข่งขันฯ กองทัพอากาศได้จัดให้มีการสาธิตการใช้กำลังทางอากาศของฝูงบิน หน่วยรบ และส่วนสนับสนุน เพื่อให้หน่วยเกี่ยวข้องและประชาชนได้ประจักษ์ถึงคุณลักษณะ และขีดความสามารถของกำลังทางอากาศ ในการปฏิบัติภารกิจเพื่อความมั่นคงของชาติ ตลอดจนการบรรเทาสาธารณภัย 
โดยมีการจำลองการปฏิบัติภารกิจที่สำคัญ อาทิ การบินตอบโต้ทางอากาศเชิงรุกและเชิงรับ, การบินลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศร่วมกับการปฏิบัติการทางไซเบอร์, การกดดันการป้องกันภัยทางอากาศของข้าศึก, การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด, การลำเลียงทางอากาศ, การควบคุมไฟป่าร่วมกับการปฏิบัติการทางอวกาศ, 
การค้นหาช่วยชีวิตและการลำเลียงผู้ป่วยทางอากาศ ซึ่งปฏิบัติงานร่วมกับชุด Medical Emergency Response Team : MERT ของศูนย์ปฏิบัติการแพทย์ทหารอากาศในการช่วยเหลือประชาชนกรณีประสบภัยพิบัติ 
นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งชุดสั่งการและควบคุมการปฏิบัติทางอากาศเคลื่อนที่ (C2 Mobile) ขึ้นในพื้นที่สนามฝึกฯ เพื่อบูรณาการและแสดงผล ประกอบการตัดสินใจสั่งการและควบคุมด้วยแนวคิดการบัญชาการและควบคุมที่ใช้เครือข่ายเป็นศูนย์กลาง ทำให้มีวงรอบการตัดสินใจที่ถูกต้อง รวดเร็ว ทันต่อเหตุการณ์ 
อีกทั้งยังได้จัดหน่วยมิตรประชากองทัพอากาศ ให้บริการทางการแพทย์ มอบชุดยาและเวชภัณฑ์ ผ้าห่มกันหนาว และอุปกรณ์กีฬาให้แก่โรงเรียนและประชาชนโดยรอบพื้นที่สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาลอีกด้วย
สำหรับการทดสอบและประเมินค่าการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี เป็นกิจกรรมที่กองทัพอากาศจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยได้พัฒนาปรับปรุงรูปแบบจากการแข่งขันใช้อาวุธทางอากาศในอดีต ซึ่งเป็นกิจกรรมสำคัญที่สุดอย่างหนึ่งของกองทัพอากาศทั่วโลก เป็นการทดสอบและประเมินขีดความสามารถการใช้อาวุธ และการปฏิบัติภารกิจของนักบิน ตลอดจนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นรายบุคคล หมู่บิน ฝูงบิน หรือหน่วยรบ 
โดยในปัจจุบันได้เพิ่มเติมรูปแบบให้สอดคล้องครอบคลุมภารกิจของกองทัพอากาศมากยิ่งขึ้น ทั้งการปฏิบัติการทางทหาร และการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม ในส่วนของพิธีเปิดการทดสอบและประเมินค่าการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี  ประจำปี 2568 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 11 พฤศจิกายน 2567 ถึง วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2568 
ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล, พื้นที่การฝึก กองบิน 1, 2, 4, 5, 6, 46 และโรงเรียนการบิน โดยแบ่งการแข่งขันออกเป็น 2 ประเภท 15 ชนิด ดังนี้ 
- ประเภทที่ 1 การแข่งขันทั่วไป จำนวน 7 ชนิด ได้แก่ การใช้อาวุธแบบกระสวนขั้นมูลฐาน การใช้อาวุธทางอากาศยุทธวิธีประเภทระเบิด การบินค้นหาและช่วยชีวิต การบินลาดตระเวนถ่ายภาพทางอากาศ การบินรับ-ส่งข่าวสาร การบินรับ-ส่งบุคคลสำคัญ และการประเมินค่าเจ้าหน้าที่สนับสนุนการบิน 
- ประเภทที่ 2 จำนวน 8 ชนิด ได้แก่ การบินลำเลียงทางอากาศยุทธวิธี การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด การบินควบคุมไฟป่า การบินแจ้งเตือนในอากาศ การบินปฏิบัติการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ การประเมินค่าเจ้าหน้าที่ต่อสู้อากาศยาน การประเมินค่าเจ้าหน้าที่ชุดควบคุมการรบ และการปฏิบัติการอากาศยานไร้คนขับยุทธวิธี 
กองทัพอากาศตระหนักในหน้าที่อันสำคัญยิ่งในการรักษาอธิปไตยเหนือน่านฟ้าไทย โดยได้ดำรงความพร้อมของกำลังทางอากาศ และพัฒนาศักยภาพของกองทัพอากาศในทุกมิติ โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาคน ข้อมูลข่าวสาร และกำลังรบทางอากาศที่มีคุณภาพ อีกทั้งยังเตรียมความพร้อมในการนำยุทโธปกรณ์และขีดความสามารถทางทหารไปปรับใช้ในภารกิจช่วยเหลือประชาชนอีกด้วย

วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.50 น. คณะลูกเสือและเนตรนารีชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ ได้เข้าเยี่ยมชมและศึกษาความรู้เกี่ยวกับประวัติความเป็นมาด้านอากาศยานไทย ณ ฝูงบิน 411 กองบิน 41 และชมรมอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทยฯ กองบิน 41 
ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของโครงการฝึกอบรมลูกเสือ-เนตรนารีเหล่าอากาศ ประจำปี 2568 ณ กองบิน 41 
โดยมีคณะนักบิน เจ้าหน้าที่จากฝูงบิน 411 กองบิน 41, หน่วยบิน 2033, แผนกกิจการพลเรือน และ น.ท.คำรณ ร้องกาศ รองประธานชมรมอนุรักษ์และพัฒนาอากาศยานไทย กองบิน 41,  พ.อ.อ. สาคร วงษ์ภาคำ ผู้ช่วยประธานชมรมฯ, ร.ต.พนัส สุขุมาลิน, นายนพรันต์ อนุวงศ์, นายสมมาตร์ ฟุ้งวิทยา พร้อมด้วยสมาชิกอาสาสมัครชมรมฯ ให้การต้อนรับ และเป็นวิทยากรบรรยายความรู้ 
พร้อมกับให้ผู้เยี่ยมชมได้สัมผัสอากาศยาน อาทิเช่น เครื่องบินโจมตีแบบที่ 8 (บ.จ. ๘) Beechcraft AT-6TH Wolverine, เฮลิคอปเตอร์แบบที่ 11 (ฮ.๑๑) Airbus Helicopters H225M และอากาศยานในความดูแลของชมรมฯ อย่างใกล้ชิด

พิธีเปิดการทดสอบและประเมินค่าการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๘(Air Tactical Operations Evaluation 2025) ที่มีขึ้น ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๗(2024) ซึ่งกองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ได้จัดการแสดงการสาธิตการใช้กำลังทางอากาศให้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐบาลไทย กองทัพไทย และประชาชนที่ร่วมงานรับชมนั้น
เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นเครื่องบินโจมตีแบบที่๘ บ.จ.๘ Beechcraft AT-6TH Wolverine ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ จำนวนสองเครื่อง หมายเลข "41102" ติดกระเปาะปืนกลอากาศ FN HMP-400 สองกระเปาะ และหมายเลข "41104" กระเปาะปืนกลอากาศ HMP-400 สองกระเปาะ และกระเปาะจรวด LAU-131/A ความจุ ๗นัด สองกระเปาะ ทำการบินในรูปแบบการลาดตระเวนรบทางอากาศระหว่างการสาธิต

อย่างไรก็ตาม บ.จ.๘ AT-6TH Wolverine ทั้งสองเครื่องไม่ได้มีการใช้อาวุธโจมตีเป้าหมายแต่อย่างใด การใช้อาวุธทางอากาศจริงประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่แบบที่ ๒๐/ก บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี ที่ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ IRIS-T, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ AIM-120C AMRAAM, ระเบิดนำวิถี Laser GBU-12 Paveway II และกระเปาะชี้เป้าหมาย LITENING IIIG
เครื่องบินขับไล่แบบที่ ๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก Lockheed Martin F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี ติดกระเปาะชี้เป้าหมาย Sniper ATP ทิ้งระเบิดนำวิถี Laser, บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑ โคราช ทิ้งลูกระเบิดอากาศ Mk82 500lbs เครื่องบินโจมตีแบบที่๗ บ.จ.๗ Alpha Jet TH ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี ยิงจรวดอากาศสู่พื้น CRV7 และเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ Korea Aerospace Industries(KAI) T-50TH Golden Eagle ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ยิงปืนใหญ่อากาศ 20mm เป็นต้น

บ.จ.๘ AT-6TH หมายเลข "41101", "41102" และ "41104" ที่วางกำลัง ณ กองบิน๔ ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ระหว่างการสาธิตในพิธีเปิดการทดสอบและประเมินค่าการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี ประจำปี ๒๕๖๘ ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ ถึง ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๘ ซึ่งได้มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมจากการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธี(ATOC: Air Tactical Operations Competition) ก่อนหน้า
พบว่าได้รับการติดตั้งระบบตรวจจับกล้อง electro-optic/infrared(EO/IR) แบบ WESCAM MX-15Di แล้ว ระบบอาวุธอื่นๆนอกจากกระเปาะปืนกลอากาศ HMP-400 ขนาด .50cal ความจุกระสุน ๔๐๐นัด และกระเปาะจรวด LAU-131/A ความจุ ๗นัดสำหรับจรวดอากาศอากาศสู่พื้นแบบ Hydra 70 ยังรวมถึง ระเบิดนำวิถี laser แบบ GBU-12 Paveway II ขนาด 500lbs และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114 Hellfire

กองทัพอากาศไทยได้ลงนามสัญญาจัดหาเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH จำนวน ๘เครื่องวงเงิน ๔,๓๑๔,๐๓๙,๙๘๐.๘๐บาท($143 million) เมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)(https://aagth1.blogspot.com/2021/11/at-6th.html) การจัดหาเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH ยังรวมถึงการถ่ายทอดวิทยาการแก่ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/aeronet-at-6th.html
เช่นเดียวกับเครื่องบินฝึกแบบที่๒๒ บ.ฝ.๒๒ Beechcraft T-6TH Texan II(T-6C) ของโรงเรียนการบินกำแพงแสนกองทัพอากาศไทย ที่ได้รับมอบครบจำนวน ๑๒เครื่องแล้วในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)(https://aagth1.blogspot.com/2023/08/t-6th.html) ที่มีพื้นฐานร่วมกัน โดยฝูงบิน๔๑๑ จะได้รับมอบ บ.จ.๘ AT-6TH ครบ ๘เครื่องภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๘(2025)

กองทัพอากาศไทยได้รับมอบเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH Wolverine สองเครื่องแรกของตน หมายเลข "41101" และ "41102" เข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/at-6th.html) และได้เริ่มต้นทำการฝึกบินในพื้นที่ครั้งแรกของตนเมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๗(https://aagth1.blogspot.com/2024/10/at-6th.html)
จากการพบภาพเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH Wolverine หมายเลข "41105" ในเดือนพฤศจิกายน ๒๕๖๗ บ่งชี้ว่าโครงการประกอบขั้นสุดท้าย(Final Reassembly Program) โดยโรงงานอากาศยานของ บริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) ไทย ในอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ใกล้กับ กองบิน๔ ตาคลี ได้ส่งมอบเครื่องที่ประกอบเสร็จให้ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ แล้วอย่างน้อย ๕เครื่องครับ