วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2568

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๘-๔




Models of Lockheed Martin F-16 Block 70/72 Fighting Falcon, Lockheed Martin C-130J Super Hercules, Textron Aviation Defense Beechcraft AT-6TH Wolverine and Korea Aerospace Industries (KAI) FA-50TH Fighting Eagle for Royal Thai Air Force (RTAF) were displayed at Wing 6 Don Muang RTAF base, Bangkok, Thailand for Royal Thai Air Force 88th Anniversary Air Show on 7-8 March 2025. (My Own Photos)
Saab is eyeing to finalise contract for the Gripen E/F fighter with Thailand in this year (2025).

สหรัฐฯเล็งขาย C-130J ให้ทอ.ไทย ...ไม่ขวาง Gripen E/F …หลังจากที่ประธานาธิบดีทรัมป์ประกาศจะขึ้นภาษีประเทศไทยเป็น 36% อันจะกระทบกระเทือนการส่งสินค้าออกของไทยไปยังสหรัฐฯและรัฐบาลกำลังจะเจรจาต่อรองด้านการค้ากับสหรัฐฯในเร็วๆนี้ สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือการที่รัฐบาลได้ให้เหล่าทัพต่างๆไปพิจารณาเรื่องการจัดซื้ออาวุธจากสหรัฐฯเพิ่มเติม 
ส่วนที่มีการกังวลว่าสหรัฐฯจะบีบให้ไทยหันมาซื้อ F-16 Block 70 หรือไม่ ...ซึ่งเรื่องนี้ทางสหรัฐฯโดยเฉพาะบริษัท Lockheed Martin ได้ยอมรับการตัดสินใจของทอ.ไทยที่ได้มีการเลือก Gripen E/F ไปแล้ว และอยู่ระหว่างการร่างสัญญาและข้อตกลงซื้อขายโดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในราวเดือน มิ.ย.-ก.ค. นี้ ซึ่งเรื่องนี้ทอ.และ Saab ก็น่าจะสบายใจได้ ไม่น่าจะมีการพลิกโผแต่อย่างใด…
แต่โอกาสของ F-16 Block 70 ก็ยังมีอยู่ในการจัดหาเครื่องบินรบใหม่ฝูงที่ 2 ที่จะมีขึ้นในอนาคต ...โดยในเวลานี้ สหรัฐฯได้หันมาให้ความสนใจที่จะขายเครื่องบินลำเลียง ขนส่งทางยุทธวิธี C-130J Super Hercules ของ Lockheed Martin ให้กับทอ.ไทย อีกครั้ง และยังสอดคล้องกับความต้องการของทอ.ที่ต้องการ C-130 มาเพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอต่อภารกิจในปัจจุบัน 
แต่ที่ผ่านมาไม่สามารถจัดหาใหม่ได้เนื่องจากยังไม่มีงบประมาณที่เพียงพอ …C-130J Super Hercules เป็นเครื่องบิน ลำเลียง ขนส่งทางยุทธวิธีที่ใช้งานในกองทัพอากาศทั่วโลก  และยังมีขีดความสามารถที่หลากหลาย เช่น ปฏิบัติการพิเศษ การเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ การดับเพลิง การสนับสนุนทางอากาศในระยะใกล้ การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมหลังเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ การค้นหาและกู้ภัย และอื่นๆ 
ปัจจุบัน Lockheed Martin ขายและส่งมอบ C-130J ให้ลูกค้าไปแล้วกว่า 560 เครื่อง มีชั่วโมงบินรวมแล้วกว่า 3 ล้านชม. จากกองทัพ 23 ประเทศทั่วโลก นับว่าเป็นเครื่องบินลำเลียงที่ได้รับความนิยมและความเชื่อถือสูงที่สุด  ...C-130J ภายนอกนั้นดูคล้ายกับ Hercules รุ่นคลาสสิกโดยรวมแล้ว เครื่องบินรุ่น J นั้นมีเทคโนโลยีที่ปรับปรุงใหม่มากพอสมควร 
ความแตกต่างเหล่านี้ได้แก่เครื่องยนต์เทอร์โบพร็อพ Rolls-Royce AE 2100 D3 ใหม่ ใบพัดแบบดาบโค้ง Dowty R391 หกใบ ที่มีปลายใบพัดกวาด 35 องศา ระบบอิเล็กทรอนิกส์การบินแบบดิจิทัล (รวมถึงจอแสดงผล (HUD) สำหรับนักบินแต่ละคน) และข้อกำหนดของลูกเรือที่ลดลง การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้นกว่ารุ่นก่อนอย่าง C-130E/H 
เช่น พิสัยการบินเพิ่มขึ้น 40% ความเร็วสูงสุดเพิ่มขึ้น 21% และระยะบินขึ้นสั้นลง 41% เป็นต้น ... C-130J จึงถือเป็น “ม้างาน” สำหรับเครื่องบินลำเลียง ขนส่งทางทหารอย่างแท้จริง และยังมีความปลอดภัยในการบินสูงสุดด้วย ...แนวความคิดการขาย C-130J ให้ไทยในครั้งนี้ น่าจะเป็นทางออกและทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดทางหนึ่ง เพราะ Win Win ด้วยกันทั้งคู่ 
ทอ.ไทยไม่ซื้อ F-16  แต่ก็อยากได้ C-130J เป็นทุนอยู่แล้ว และหันมาซื้อ C-130J จาก Lockheed Martin ...ซึ่งเรื่องนี้ก็ขึ้นอยู่กับทอ.และรัฐบาลไทยว่าจะมีความคิดเห็นพ้องด้วยแค่ใหน...ลองไปตัดสินใจดูครับ

การขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศของสหรัฐฯที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯ Donald Trump ประกาศเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ในฐานะ "ภาษีวันปลดปล่อย"(Liberation Day tariffs) ที่รัฐบาลสหรัฐฯหวังผลจะขจัดการเอาเปรียบชาวอเมริกันจากต่างชาติ ได้สร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาและประเทศรายได้ปานกลางที่เป็นผู้ส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐฯ
ในกลุ่มชาติ ASEAN สหรัฐฯได้กำหนดอัตราภาษีนำเข้าใหม่สำหรับประเทศไทยที่ร้อยละ๓๖(36%) ขณะที่กัมพูชาอยู่ที่ 49% ลาวอยู่ที่ 48% เวียดนามอยู่ที่ 46% พม่าอยู่ที่ 45%(แม้ว่าสหรัฐฯจะคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อพม่าหลังการรัฐประหารปี 2021 เป็นต้นมาโดยห้ามและจำกัดการนำเข้าสินค้าจากพม่าก็ตาม) อินโดนีเซียอยู่ที่ 32% บรูไนอยู่ที่ 24% มาเลเซียอยู่ที่ 24% ฟิลิปปินส์อยู่ที่ 17% และสิงคโปร์อยู่ที่ 10%
ขณะที่จีนตอบโต้โดยขึ้นอัตราภาษีนำเข้า 84% สหรัฐฯได้ตอบโต้กลับโดยขึ้นอัตราภาษีนำเข้าเป็นถึง 125% และจีนก็โต้กลับที่อัตรา 125% ประเทศในกลุ่มชาติ ASEAN ได้ตั้งคณะทำงานที่จะเจรจากับสหรัฐฯหาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อลดผลกระทบลงซึ่งสหรัฐฯได้เลื่อนการบังคับใช้อัตราภาษีนำเข้าใหม่แก่ชาติ ASEAN ไปอีก ๙๐วัน แต่ตัวแทนในรัฐบาลสหรัฐฯก็กล่าวว่าชาติเหล่านี้ไม่อยู่ในฐานะที่จะต่อรองอะไรกับสหรัฐฯได้

ประเด็นนี้ได้นำมาสู่แนวคิดของรัฐบาลไทยที่จะให้กองทัพไทยไปทบทวนหรือศึกษาว่าจะจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯเพื่อชดเชยอัตราภาษีนำเข้าใหม่หรือไม่ ข้อเท็จจริงประการหนึ่งคือนั่นเป็นเรื่องที่ไม่เกี่ยวกัน ต่อให้กองทัพไทยจะจัดหาอาวุธจากสหรัฐฯมากเท่าไรก็ไม่ได้มีผลต่อการตัดสินใจของรัฐบาลสหรัฐฯในการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าไทยโดยพิจารณาจากผลลัพธ์ทางเศรษฐกิจเป็นหลักที่ไม่เกี่ยวอะไรกับการทหาร
ตามที่สหรัฐฯยังคงผลักดันการเสนอเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 70/72 ในฐานะการทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16A/B ADF ฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช ว่า "F-16 ควรที่จะต้องแทนที่ด้วย F-16" โดยในงานแสดงการบินครบรอบ ๘๘ปีกองทัพอากาศไทยวันที่ ๗-๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ ตัวแทนของบริษัท Lockheed Martin สหรัฐฯที่มาจัดแสดงที่ท่าอากาศยานทหาร๒ กองบิน๖ กล่าวกับผู้เขียนประมาณว่า
"ก็ใช่ที่พวกเขา(กองทัพอากาศไทย)เลือกแล้วและเราเคารพการตัดสินใจ แต่มันยังไม่มีการบรรลุผล(finalized)ใดๆตอนนี้ เรายังมองเห็นโอกาสอยู่(ในอนาคต)" ด้านกองทัพอากาศไทยยังคงยืนยันการเลือกเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ข/ค Gripen E/F ๑๒เครื่องของตนอยู่โดยหวังจะลงนามจัดหาในปี ๒๕๖๘ นี้ ขณะที่บริษัท Saab สวีเดนเองก็ให้ความโปร่งใสว่าเครื่องบินขับไล่ Gripen รุ่นส่งออกว่าไม่มีการลดขีดความสามารถจากรุ่นที่สวีเดนใช้เอง(https://aagth1.blogspot.com/2025/04/saab-gripen.html)

เช่นเดียวกับที่ Lockheed Martin สหรัฐฯยังคงนำเสนอเครื่องบินลำเลียง C-130J Super Hercules ของตนในฐานะการทดแทนเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ว่า "C-130 ควรที่จะต้องแทนที่ด้วย C-130" ซึ่งเข้าใจว่ากองทัพอากาศไทยได้มอง C-130J สหรัฐฯและเครื่องบินลำเลียง Embraer C-390 Millennium ในฐานะตัวเลือกเครื่องลำเลียงทางยุทธวิธีทดแทน บ.ล.๘ C-130H ที่เป็นไปได้ในอนาคต
อากาศยานจากสหรัฐฯแบบอื่นๆที่เป็นไปได้ยังรวมถึงเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ Beechcraft AT-6TH Wolverine เพิ่มเติมที่จะเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ เพิ่มหรืออีกฝูงบินอื่น หรือการทดแทนเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ข/ค Northrop F-5E/F TH Super Tigris ด้วยเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ KAI T-50TH(ในรุ่นเครื่องบินขับไล่โจมตีเบา FA-50TH) แม้จะเป็นเครื่องบินที่สร้างโดยสาธารณรัฐเกาหลี
แต่บริษัท Lockheed Martin เองก็เป็นผู้ร่วมออกแบบ T-50 และกำลังนำเสนอ FA-50 แก่กองทัพเรือสหรัฐฯในชื่อ TF-50N ทดแทนเครื่องบินฝึกไอพ่น T-45 Goshawk เช่นเดียวกับที่บริษัท Saab ได้ให้ความมั่นใจกับโคลอมเบียที่เลือกเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F ทดแทนเครื่องบินขับไล่ Kfir(https://aagth1.blogspot.com/2025/04/gripen-ef-kfir.html) ว่าสหรัฐฯจะไม่มีการห้ามส่งออกสิทธิบัตรเครื่องยนต์ไอพ่น General Electric F414-GE-39E(GKN RM16) แก่สวีเดน

ยังมีการเปิดประเด็นว่ากองทัพอากาศไทยน่าจะพิจารณาการขอให้สหรัฐฯอนุมัติขายเครื่องบินขับไล่ F-35A Lightning II ให้อีกรอบถ้าจะถูกกดดันให้เปลี่ยนจากการจัดหา Gripen E/F เป็น F-16 Block 70/72 แต่เรื่องนี้มองว่าสหรัฐฯได้พิจารณาแล้วว่าไทยยังไม่มีความพร้อมที่จะใช้ F-35 ในขณะนี้ ซึ่งถ้ามีสถานการณ์ที่จำเป็นใช้ขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่ยุคที่ห้าสหรัฐฯหรือสิงคโปร์ในอนาคตสามารถจะนำมาวางกำลังในไทยได้
(สหรัฐฯมีมุมมองของตนที่ว่าพวกตนเป็นคนสร้างกองทัพอากาศไทยในสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สองขึ้นมา ตั้งแต่ยุคที่ได้รับมอบเครื่องบินฝึกใบพัด บ.ฝ.๘ T-6 Texan ในปี พ.ศ.๒๔๙๑(1948) และเครื่องบินฝึกไอพ่น บ.ฝ.๑๑ T-33A ในปี พ.ศ.๒๔๙๙(1956) สหรัฐฯจึงรู้ดีที่สุดว่าอะไรเป็นสิ่งที่เหมาะสมกับกองทัพอากาศไทย ซึ่งขัดกับหลักความเป็นอิสระทางอธิปไตยและการปฏิบัติของชาติลูกค้าที่ Saab สวีเดนนำเสนอ)
ซึ่งความไม่แน่นอนด้านการต่างประเทศและเศรษฐกิจในรัฐบาลประธานาธิบดีสหรัฐฯ Trump เองก็ทำให้มีบางประเทศที่เลือกจะจัดหาเครื่องบินขับไล่ F-35A สหรัฐฯไปแล้วเช่นแคนาดา(https://aagth1.blogspot.com/2023/01/f-35a.html) หรือโปรตุเกส(https://aagth1.blogspot.com/2023/12/f-35a-f-16ambm.html) กำลังมองที่จะพิจารณาตัวเลือกอื่นคือ Gripen E/F ที่ Saab เปิดเผยว่าทั้งสองประเทศกำลังพูดคุยกับตน

อย่างไรก็ตามเช่นเดียวกับในอดีตช่วงปี1970s ที่เครื่องบินขับไล่ Viggen สวีเดนไม่สามารถส่งออกให้อินเดียได้เพราะสหรัฐฯไม่อนุญาตสิทธิบัตรเครื่องยนต์ที่เป็นวิทยาการของตนให้ทำให้เครื่องบินรุ่นนี้หาลูกค้าไม่ได้อีกเลยจนปลดประจำการไปในปี 2007 ตามที่ Gripen มีการติดตั้งระบบที่เป็นของสหรัฐฯหลายอย่างถ้าสหรัฐฯจะขัดขวางสวีเดนโดยการไม่อนุมัติการส่งออกระบบที่ตนเป็นเจ้าของก็ย่อมจะยังมีความเป็นไปได้อยู่
ขณะที่ Saab สวีเดนยังคงสร้างความมั่นใจแก่โคลอมเบีย รวมถึงการขอการอนุมัติจากรัฐบาลและรัฐสภาสวีเดนให้ขายเครื่องบินขับไล่ Gripen E/F แก่เปรูว่าจะไม่มีปัญหาในการที่สหรัฐฯจะไม่ส่งออกสิทธิบัตรเครื่องยนต์ให้แก่ตน อีกแนวทางที่ Saab สวีเดนมองเป็นทางเลือกคือการนำเครื่องยนต์ไอพ่นแบบอื่นที่ไม่ได้เป็นสิทธิบัตรของสหรัฐฯมาใช้ติดตั้งในครื่องบินขับไล่ Gripen E/F รุ่นส่งออกแทน
โดยในขั้นการพัฒนานั้น Saab มีตัวเลือกเครื่องยนต์ไอพ่น Eurojet EJ230 ยุโรปที่เป็นรุ่นหนึ่งของเครื่องยนต์ไอพ่นตระกูล EJ200 ที่ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ Eurofigiter Typhoon ยุโรป แต่ด้วยคุณลักษณะและมิติขนาดที่ต่างกันแม้จะเล็กน้อยการเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่อาจจะต้องใช้เวลาทดสอบสักระยะ ทำให้ถ้ามองในแง่ร้ายผลที่ตามมากองทัพอากาศไทยจะยังไม่มีเครื่องบินใหม่ใดๆมาทดแทน บ.ข.๑๙ F-16 เลยในอนาคตไปอีกนานก็ได้ครับ
(ซึ่งก็ตรงตามความต้องการของผู้ไม่หวังดีต่อชาติที่ไม่ว่ากองทัพไทยจะเลือกจัดหาอาวุธจากประเทศก็ตามใดก็จะต้องขัดขวางไม่สำเร็จให้ได้เพื่อมีผลให้ชาติไทยพินาศย่อยยับให้ได้มากที่สุดโดยไม่สนวิธีการ อย่างการทำ campaign ต่างๆโจมตี Gripen ที่ผ่านมาโดยเฉพาะการนำเสนอว่าสวีเดนซึ่งเป็นประเทศที่มีธรรมาภิบาลสูงที่สุดประเทศหนึ่งในโลกว่าทุจริตในโครงการกับบราซิล แอฟริกาใต้ สาธารณรัฐเช็ก และฮังการีเป็นต้น 
แต่ถ้ากองทัพอากาศไทยเลือกเครื่องบินขับไล่ F-16 พวกนี้ก็จะทำ campaign โจมตีอยู่ดีว่าเป็นการเลือกข้างประเทศมหาอำนาจที่ให้ข้อเสนอเงินกู้และสินบนที่สร้างหนี้สินระยะยาวแก่ประเทศ และเลือกเครื่องบินมีสายการผลิตให้ลูกค้าต่อแถวยาวและมีวิทยาการที่ล้าสมัยยุค ๕๐ปีที่แล้วสำหรับกองทัพอากาศชั้นล่างอยู่ดี สรุปคือที่พูดต่างๆนานาไม่ได้เพราะหวังดีต่อชาติใดๆทั้งนั้น แต่พวกนี้แค่อยากเห็นทหารอากาศไทยไปตาย!)




Thai firm ATIL displayed its DP9A tandem helicopter Unmanned Aerial Vehicle (UAV) and DP18A Unmanned Combat Aerial Vehicle (UCAV) at Wing 6 Royal Thai Air Force (RTAF) base during RTAF 88th Anniversary Air Show on 7-8 March 2025. (My Own Photos)

บริษัท ATIL ไทยและสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI ได้สาธิตอากาศยานรบไร้คนขับ DP18A UCAV และเฮลิคอปเตอร์ไร้คนขับ DP9A VTOL UAV ติดตั้งกระเปาะบรรจุสารดูดความชื้นทำฝนเทียม, กระเปาะโปรยน้ำแข็งแห้งเพื่อลดภาวะมลพิษฝุ่น, และลูกระเบิดบรรจุสารเคมีดับเพลิง ให้แก่ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  
ณ สนามบินแสงตะวัน ตำบลคลองสี่ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๘ เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นเฮลิคอปเตอร์ไร้คนขับ DP9A ซึ่งเปิดตัวต่อาธารณะเป็นครั้งแรกงานแสดงการบินนานาชาติ RTAF88 ระหว่างวันที่ ๗-๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ ซึ่งยังได้มีการแสดงผลิตภันธ์ของบริษัท ATIL ที่รวมถึงอากาศยานรบไร้คนขับ DP20, อากาศยานรบไร้คนขับ DP18A,
และกระเปาะบรรจุสารดูดความชื้น กระเปาะโปรยน้ำแข็งแห้ง และลูกระเบิดบรรจุสารเคมี ด้วย กระทรวงกลาโหมไทยและรัฐบาลไทยยังคงสนับสนุนนโยบายการส่งเสริมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ(S-Curve 11) ซึ่งบริษัท ATIL เป็นกลุ่มร่วมทุนระหว่างบริษัท Beihang จีน(ปัจจุบัน NORINCO จีน) กับ DTI ไทย และบริษัท PYN INTERNATIONAL ไทย ที่ยังคงพัฒนาผลิตภัณฑ์อากาศยานไร้คนขับของตนอย่างต่อเนื่องครับ




As part of Royal Thai Armed Forces (RTARF)'s "Operation Mandalay 82", the Royal Thai Air Force (RTAF) Lockheed Martin C-130H Hercules of 601st Squadron, Wing 6 Don Muang participated  International Humanitarian Assistance and Disaster Relief (HADR) missions for Myanmar earthquake 2025. (Royal Thai Air Force) 
8.2 Richter magnitude scale Sagaing Fault earthquake on 28 March 2025 effected to major cities of Myanmar include includes Mandalay, Naypyidaw, Sagaing, Yangon, and Meiktila. The casualties report now more than 5,000.

กองทัพไทยและกองทัพอากาศ ร่วมส่งกำลังพลชุดที่ 2 ภายใต้ 'ยุทธการมัณฑะเลย์ 82' มุ่งหน้าสู่เมียนมา โดยใช้อากาศยานแบบ C-130 เพื่อบรรเทาภัยพิบัติแผ่นดินไหว สะท้อนบทบาทผู้นำด้านมนุษยธรรมของไทยในภูมิภาค
พลเอก ทรงวิทย์ หนุนภักดี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด และพลอากาศเอก พันธ์ภักดี พัฒนกุล ผู้บัญชาการทหารอากาศ ร่วมส่งกำลังพล 55 นาย ณ ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 ดอนเมือง กรุงเทพฯ สู่เมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งประสบความเสียหายหนักจากเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคมที่ผ่านมา
ผู้บัญชาการทหารสูงสุดให้โอวาทแก่กำลังพล โดยเน้นย้ำถึงภารกิจ 'ยุทธการมัณฑะเลย์ 82' ที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ โดยไม่แบ่งแยกพรมแดนหรือเชื้อชาติ และชื่นชมกำลังพลทุกนายจากทั้งกองทัพไทยและกองทัพอากาศ 
โดยเฉพาะหน่วยแพทย์ฉุกเฉิน MERT ที่ปรับเป็น Mobile Clinic เพื่อเข้าถึงพื้นที่ห่างไกล หน่วยช่างโยธา หน่วยค้นหาและช่วยเหลือ หน่วยขนส่ง และหน่วยสื่อสาร ที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มกำลังด้วยการทำงานเป็น 'One Team'
ภารกิจครั้งนี้ตอกย้ำบทบาทผู้นำด้านความมั่นคงเชิงมนุษยธรรมของกองทัพไทยและกองทัพอากาศ และความตั้งใจของประเทศไทยในการสร้างมิตรภาพที่ยั่งยืนกับเพื่อนบ้าน

การปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่พม่าต่อเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ระดับ 8.2 Richter ที่รอยเลื่อนสะกาย(Sagaing Fault) เมื่อวันที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘ ที่ผ่านมา ซึ่งตั้งแต่นั้นกองทัพไทยได้ส่งกำลังพลและสิ่งอุปกรณ์และปัจจัยต่างๆไปเข้าร่วมกับหน่วยกู้ภัยนานาชาติที่พม่า รวมถึงกองทัพอากาศไทยที่ได้ส่งเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ไปกลับที่พม่าหลายเที่ยวบินในเดือนเมษายน ๒๕๖๘
อย่างไรก็ตามภารกิจการช่วยเหลือแผ่นดินไหวพม่าของไทยนี้ได้ทำให้เกิดเสียงวิจารณ์ในสื่อสังคม online ของไทย เช่นว่า "ไทยไม่ควรจะเปลืองภาษีช่วยชาติไร้ค่าอย่างพม่า" รวมถึงคนงานพม่าและกลุ่มชาติพันธุ์ที่ติดอยู่ในตึกสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน สตง.(State Audit Office) ที่กำลังก่อสร้างและถล่มลงมาในวันที่เกิดเหตุ ก็ไม่ทราบว่าพวกนี้ไม่ได้มองชาวพม่าหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่เดือดร้อนล้มตายเป็นมนุษย์ด้วยกันเลยหรือ?
หรือคำถามประหลาดๆอย่าง "พม่ากำลังมีสงคราม ถ้าเจ้าหน้าที่กู้ภัยไทยถูกยิงขึ้นมาใครจะรับผิดชอบ!" ข้อเท็จจริงคือชุดปฏิบัติงานเฉพาะในส่วนของกองทัพอากาศไทยจะมีชุดคุ้มกันจากกรมปฏิบัติการพิเศษ อากาศโยธิน ปพ.อย.ไปด้วยแล้ว และพื้นที่ปฏิบัติงานจะอยู่ในเมืองสำคัญโดยเฉพาะ Mandalay เมืองใหญ่อันดับสองของพม่าที่ไม่ใช่พื้นที่สู้รบ แต่ก็เข้าใจได้ว่านี่เป็นส่วนหนึ่งของการทำลายความน่าเชื่อถือทหารไทยครับ




Royal Thai Air Force (RTAF) concluded comprehensive exercise for testing air power for fiscal year 2025 during 20-27 April 2025. (Royal Thai Air Force)

กองทัพอากาศไทยได้เสร็จสิ้นการทดสอบใช้กำลังทางอากาศ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๘ โดยการฝึกในช่วงสัปดาห์ที่สี่ของเดือนเมษายน พ.ศ.๒๕๖๘ ได้เห็นการวางกำลังที่ตั้งหน่วยในพื้นที่ภาคใต้ของไทยที่รวมถึง กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี, ท่าอากาศยานหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และกองบิน๕๖ หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ของเครื่องบินขับไล่หลากหลากแบบและหลายฝูงบิน และกำลังอากาศโยธินประจำกองบินต่างๆ
ตั้งแต่เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗, เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 OCU/ADF ฝูงบิน๑๐๓ กองบิน๑, เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙/ก F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ตาคลี และเครื่องบินขับไล่และฝึก บ.ขฝ.๒ T-50TH Golden Eagle ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ รวมถึงการบูรณาการการฝึกกับกองทัพบกไทยและกองทัพเรือ
ที่รวมสถานการณ์ฝึกจำลองการป้องกันหมู่เกาะ ที่เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๘ ที่จัดกำลังทางเรือประกอบด้วยเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศร, เรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเรือฟริเกตเรือหลวงนเรศวร เป็นต้น แสดงถึงความพร้อมปฏิบัติการร่วมระหว่างเหล่าทัพ และเป็นการโต้แย้งข่าวลือที่ว่าทั้ง ร.ล.จักรีนฤเบศร และ ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช จอดเสียอยู่ฐานทัพเรือสัตหีบตลอดครับ




Royal Thai Navy (RTN) and People's Liberation Army Navy (PLAN) concluded Blue Strike 2025 joint Naval exercise from 26 March to 2 April 2015 as part of  Royal Thai Naval Academy (RTNA) oversea sea phase training on 24 February to 11 April 2025. (Royal Thai Navy)

“การฝึกสถานีพ่วงจูง“ เป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินในทะเล เมื่อต้องเผชิญกับเรือที่เกิดข้อขัดข้อง ทำให้ นนร.ได้เรียนรู้ขั้นตอนปฏิบัติจริง ฝึกความชำนาญในการใช้เรือดี (เรือจูง) ทำการลากเรือเสีย (เรือพ่วง) เสริมสร้างทักษะและความมั่นใจ เพื่อให้พร้อมเผชิญทุกความท้าทายในภารกิจทางทะเล 

Highlight: Naval Cadet Sea Training
ทะเลที่ราบเรียบ มิอาจสร้างนักเดินเรือที่ยิ่งใหญ่

กองทัพเรือไทยละกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) ได้เสร็จสิ้นการฝึกผสมทางทะเลรหัส Blue Strike 2025 ระหว่างวันที่ ๒๖ มีนาคม-๒ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๘ ที่จัดขึ้นทุกสองปีและสลับเป็นเจ้าภาพระหว่างไทยและจีน โดยการฝึก Blue Strike 2025 ปีนี้เป็นครั้งแรกที่กองทัพเรือไทยส่งหมู่เรือฝึกนักเรียนนายเรือชั้นปีที่ ๑-๔ ประจำปีการศึกษา พ.ศ.๒๕๖๗(2024) 
ประกอบด้วยเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุดเรือหลวงกระบี่ เรือหลวงประจวบคีรีขันธ์, เรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา ร.ล.เจ้าพระยา และเรือหลวงกระบุรี และเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย เรือหลวงอ่างทอง พร้อมหน่วยฝึกนาวิกโยธินไทย ไปฝึกที่เมือง Zhanjiang มณฑล Guangdong สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งหมู่เรือฝึกกองทัพเรือไทยเพิ่งจะเดินทางกลับถึงไทยแล้วเมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๘ ที่ผ่านมา
นอกจากจะเป็นส่วนหนึ่งการการฝึกภาคทะเลต่างประเทศของนักเรียนนายเรือไทย กองทัพเรือไทยยังได้ส่งกำลังพลจาก กองเรือดำน้ำ กดน.(Submarine Squadron) กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) ร่วมการฝึกศึกษาด้านเรือดำน้ำที่จีนด้วย แม้ว่าโครงการเรือดำน้ำ S26T จีนจะไม่มีความคืบหน้าการตัดสินใจเกี่ยวกับเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD620 ที่ยืดเยื้อมานานครับ




The joint operation exersice Royal Thai Navy (RTN) and Royal Thai Air Force (RTAF) as part of sea phase field training exercise (FTX) of Naval Exercise Fiscal Year 2025 on 22-23 April 2025, 
CVH-911 HTMS Chakri Naruebet helicopter carrier conducted live firing of its Mistral surface-to-air missile from Sadral launcher to Banshee aerial targets at Gulf of Thailand on 25 April 2025. (Royal Thai Navy)

ผู้บัญชาการทหารเรือ ร่วมสังเกตการณ์การทดสอบความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามทางอากาศรูปแบบใหม่ เช่น ภัยคุกคามจากอาวุธปล่อยและอากาศยานไร้คนขับ รวมทั้งทดสอบระบบการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างเรือที่ออกปฏิบัติงานร่วมกันภายในกองเรือ และการปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือ - อากาศยานของกองทัพอากาศ บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร
วันที่ 25 เมษายน 2568 เวลา 12.30 น. พลเรือเอกจิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมด้วยคณะนายทหารระดับสูงของกองทัพเรือ ร่วมสังเกตการณ์การทดสอบขีดความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามทางอากาศรูปแบบใหม่ เช่น ภัยคุกคามจากอาวุธปล่อยนำวิธีและอากาศยานไร้คนขับเป็นต้น 
การทดสอบระบบการเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธีระหว่างเรือที่ออกปฏิบัติงานร่วมกันภายในกองเรือ เพื่อหาข้อขัดข้องข้อจำกัดและแนวทางการพัฒนาในอนาคต รวมทั้งติดตามผลการฝึกปฏิบัติการร่วม ระหว่าง ทร. - ทอ. 
สำหรับการทดสอบความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามทางอากาศรูปแบบใหม่ในครั้งนี้  มีการทดสอบระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานแบบ Mistral จากระบบป้องกันตนเองระยะประชิดแบบ Sadral บนเรือหลวงจักรีนฤเบศร  โดยครั้งนี้ เป็นการทดสอบอาวุธปล่อยนำวิถีกับเป้า Banshee ซึ่งเป็นเครื่องบินบังคับวิทยุที่ถูกปล่อยขึ้นบินด้วยเครื่องดีดหรือเครื่องปล่อย 
โดยสมมุติให้เป็นอาวุธปล่อยของข้าศึกที่บินเข้าหากองเรือ โดยเรือหลวงจักรีนฤเบศรจะทำการป้องกันภัยทางอากาศและใช้อาวุธป้องกันตนเอง
อาวุธปล่อยแบบ Mistral เป็นอาวุธป้องกันภัยทางอากาศที่ติดตั้งบนเรือหลวงจักรีนฤเบศร นำวิถีด้วยระบบ Infrared passive homing โดยการฝึกยิงในวันนี้  จัดกำลังประกอบด้วยเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เป็นเรือตรวจจับและส่งค่าเป้าผ่าน Link เรือหลวงจักรีนฤเบศร เป็นเรือยิงอาวุธปล่อย และเรือหลวงนเรศวรเป็นเรือรักษาความปลอดภัยสนามยิง 
โดยการทดสอบระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้อากาศยานแบบ Mistral จากระบบป้องกันตนเองระยะประชิดแบบ Sadral ในวันนี้เป็นไปตามแผนและตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ 
การฝึกปฏิบัติการร่วม ระหว่าง ทร. - ทอ. ได้ดำเนินการระหว่าง 22 - 23 เม.ย.68 ในพื้นที่อ่าวไทย โดยกองทัพอากาศได้บูรณาการการทดสอบใช้กำลังทางอากาศประจำปี 2568 มาเข้าร่วมการฝึก โดยมีหัวข้อการฝึกที่สำคัญประกอบด้วย การฝึกป้องกันภัยทางอากาศของกองเรือ  การฝึกโจมตีกระบวนเรือ การฝึกการควบคุมอากาศยาน ทอ.โจมตีเป้าหมายเรือผิวน้ำข้าศึก และสกัดกั้นอากาศยานของข้าศึก 
รวมทั้งการฝึกแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างเรือและอากาศยาน ผ่านระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี (Tactacal Data Link : TDL) มีกำลังเข้าร่วมการฝึก ประกอบด้วย เรือรบจำนวน 9 ลำ อากาศยานจำนวน 4 เครื่อง และ กองทัพอากาศได้จัดอากาศยานแบบ F-16 จำนวน 4 เครื่อง อากาศยานแบบ Gripen จำนวน 4 เครื่อง และ อากาศยานควบคุมและแจ้งเตือน แบบ SAAB-340 จำนวน 1 เครื่อง เข้าร่วมการฝึก
การฝึกและการทดสอบฯ ครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกภาคสนาม/ทะเล ในการฝึกกองทัพเรือประจำปี 2568 ซึ่งถือเป็นการฝึกที่มีความสำคัญสูงสุดของกองทัพเรือ ทั้งยังบูรณาการทางยุทธวิธีร่วมกับกองทัพอากาศ ในการปฏิบัติการทางทะเลและทางอากาศ โดยฝึกตั้งแต่กระบวนการวางแผน การควบคุมสั่งการทางทหาร และการรบทางยุทธวิธี และใช้แนวความคิดในการฝึกว่า “รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น” 
ซึ่งในปีนี้เป็นการฝึกป้องกันประเทศ โดยกำหนดสถานการณ์ตั้งแต่ในขั้นปกติสถานการณ์วิกฤตไปถึงขั้นป้องกันประเทศ ซึ่งมีการทดสอบและสร้างความคุ้นเคยทางด้านแนวความคิดหลักการ หลักนิยม ไปจนถึงขีดความสามารถของกำลังรบในแต่ละประเภท โดยส่วนต่าง ๆ ของกองทัพเรือ ทั้งในกองอำนวยการฝึกและหน่วยรับการฝึกทุกหน่วย ได้มีการเตรียมและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอย่างเต็มกำลังความสามารถ
 อันจะนําพากองทัพเรือไปสู่ความเป็น ”กองทัพเรือที่ประชาชนเชื่อมั่นและภาคภูมิใจ“ และจะทําให้ทะเลไทยมีความมั่นคงตลอดไป

ในฐานะส่วนหนึ่งของการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๘ และการบูรณาการการปฏิบัติการร่วมระหว่างเรือ-อากาศยานของกองทัพอากาศไทยในการทดสอบใช้กำลังทางอากาศ ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๘ กับกองทัพเรือไทยระหว่างวันที่ ๒๒-๒๓ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๘ ที่รวมถึงเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศร, เรือฟริเกตเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช และเรือฟริเกตเรือหลวงนเรศวร เป็นต้น ทำการฝึกในอ่าวไทย
ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้ฝึกการทดสอบความสามารถในการป้องกันภัยคุกคามทางอากาศรูปแบบใหม่ ที่รวมการต่อต้านภัยคุกคามจากอาวุธปล่อยนำวิถีและอากาศยานไร้คนขับ รวมถึงการทดสอบระบบเชื่อมโยงข้อมูลทางยุทธวิธี(TDL: Tactacal Data Link) กับ ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช, ร.ล.นเรศวร และเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D ที่ใช้ระบบของ Saab สวีเดนร่วมกัน
ในวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๘ ร.ล.จักรีนฤเบศร ได้ประสบความสำเร็จในการยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศ MBDA Mistral จากแท่นยิง Sadral ต่อเป้าอากาศ Banshee ซึ่งไม่ได้มีการฝึกยิงจริงมานาน ตั้งแต่ที่ได้จัดหาเป้าอากาศ Banshee มากองทัพเรือไทยก็สามารถฝึกยิงระบบป้องกันภัยทางอากาศต่างๆของตนในพื้นที่ฝึกในไทยได้มากขึ้นครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/essm.html)








Royal Thai Navy (RTN) FFG-421 HTMS Naresuan, the Naresuan-class guided-missile frigateconducted PASSEX and farewell to Russian Navy Pacific Fleet’s Project 20380 Steregushchiy corvettes Rezkiy (343), Hero of the Russian Federation Aldar Tsydenzhapov (339) and Pechenga tanker at Gulf of Thailand on 27 April 2025, after visited RTN's 1st Naval Area Command at Chuk Samet Pier, Sattahip Naval Base in Chonburi province, Gulf of Thailand in April 2025. (Royal Thai Navy)

ทัพเรือภาคที่ 1 จัดเรือเข้าร่วมฝึก PASSEX กับเรือรบรัสเซีย   
วันที่ 27 เมษายน 2568 ทัพเรือภาคที่ 1 ได้จัดเรือหลวงนเรศวร ได้เข้าฝึก PASSEX (Passing Exercise) กับเรือรบรัสเซีย จำนวน 3 ลำ ได้แก่ เรือ REZKIY เรือ ALDAR TSIDENJAPOV และเรือ PECHENGA ในบริเวณอ่าวไทยตอนบน จากการที่เรือดังกล่าวได้เดินทางมาเยี่ยมประเทศไทย 
หัวข้อการฝึกประกอบด้วย การแปรกระบวน, และการนำเรือแล่นขนาน เพื่อเสริมขีดความสามารถและความร่วมมือทางทะเล หลังเสร็จสิ้นการฝึก กำลังพลทั้งสองฝ่ายได้ โบกหมวกอำลา แสดงมิตรภาพทางทหาร และอวยพรให้เดินทางโดยสวัสดิภาพ

บรรยากาศการฝึก PASSEX กับเรือรบรัสเซีย

การเดินทางเยือนไทยล่าสุดของหมู่เรือกองเรือแปซิฟิก กองทัพเรือรัสเซีย ประกอบด้วยเรือคอร์เวตชั้น Project 20380 Steregushchiy สองลำ Rezkiy (343)และ Hero of the Russian Federation Aldar Tsydenzhapov (339) และเรือส่งกำลังบำรุง Pechenga โดยได้ทำการฝึก PASSEX และอำลากับเรือฟริเกตชุดเรือหลวงนเรศวร ร.ล.นเรศวร ในพื้นที่ทัพเรือภาคที่๑ อ่าวไทย เมื่อวันที่ ๒๗ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๘
มีขึ้นตามหลังการเดินเรือฝึกในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยก่อนหน้านี้หมู่เรือเรือคอร์เวต Rezkiy เรือคอร์เวต Aldar Tsydenzhapov และเรือส่งกำลังบำรุง Pechenga ได้เสร็จสิ้นการเข้าร่วมการฝึก INDRA 2025 กับกองทัพเรืออินเดียที่ Chennai ระหว่างวันที่ ๒๖ มีนาคม ถึง ๑๐ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๘ และเดินทางเยือนมิตรประเทศต่างๆในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ก่อนเดินทางกลับที่ตั้งปกติใน Vladivostok
ก่อนหน้านี้ในห้วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๗ หมู่เรือกองทัพเรือรัสเซียที่ประกอบด้วยเรือคอร์เวตชั้น Project 20380 สามลำ Gromkiy (335), Rezkiy และ Aldar Tsydenzhapov และเรือส่งกำลังบำรุง Pechenga ก็ได้ทำการฝึก PASSEX ในอ่าวไทยกับเรือฟริเกตชุดเรือหลวงเจ้าพระยา เรือหลวงบางปะกง ในอ่าวไทย หลังเดินทางเยือนฐานทัพเรือสัตหีบ ทัพเรือภาคที่๑ เช่นกันครับ




Royal Thai Navy (RTN) signed contract with Navantia for procurement Combat Management System, Surveillance System, Fire Control System, Weapon Systems and Gyro system to be fitted on LPD-792 HTMS Chang, Chinese export Type 071ET landing platform dock (LPD) on 9 April 2025. (Royal Thai Navy)

พิธีลงนามในสัญญาซื้อขายระบบอำนวยการรบ ระบบตรวจการณ์ ระบบควบคุมการยิง ระบบอาวุธ และระบบไยโร พร้อมอุปกรณ์สนับสนุนที่เกี่ยวข้อง สำหรับโครงการเพิ่มขีดความสามารถระบบการรบสำหรับการปฏิบัติการทางเรือของ เรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย เรือหลวงช้าง(ลำที่๓) กับบริษัท Navantia สเปน เมื่อวันที่ ๙ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๘ ณ ห้องรับรอง กองบัญชาการกองทัพเรือไทยใน กรุงเทพฯ
เป็นความสำเร็จล่าสุดของ Navantia สเปนหลังส่งมอบเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ เรือหลวงจักรีนฤเบศร แก่กองทัพเรือไทยเมื่อกว่า ๒๕ปีก่อน นอกจากการติดตั้งระบบอำนวยการรบ CATIZ CMS(Combat Management System) และระบบควบคุมการยิง DORNA FCS(Fire Control System) บน ร.ล.ช้าง ที่จะดำเนินการที่ อู่ราชนาวีมหิดลอดุลยเดช กรมอู่ทหารเรือ อร.(Royal Thai Naval Dockyard) ในไทยแล้ว
Navantia สเปนยังมองที่จะมีความร่วมมือกับกองทัพเรือไทยเพิ่มเติมในอนาคต ที่น่าจะรวมถึงโครงการจัดหาเรือฟริเกตใหม่ ๔ลำที่จะสร้างในไทยโดยการถ่ายทอดวิทยาการซึ่งได้เห็นการนำเสนอแบบเรือรบตระกูล Avante อย่างไรก็ตามการร้องขอการอนุมัติงบประมาณสำหรับเรือฟริเกตใหม่ ๒ลำที่จะสร้างในไทยในปีงบประมาณ พ.๒๕๖๙(2026) แต่รัฐบาลไทยมองจะอนุมัติให้แค่ ๑ลำเท่านั้นหรือจะเลื่อนออกไปอีกครับ




RNO lays steel plate for construction of automated landing ships
The Royal Navy of Oman celebrated the laying of the first steel plate for the construction of four automated landing ships as part of the ‘Sawari’ project. The ceremony took place at the Marsun Company headquarters in Thailand. (Marsun)

ในวันศุกร์ที่ 25 เมษายน 2568เวลา 14.00 น. พลเอก ณัฐพล  นาคพาณิชย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม ให้การต้อนรับ นาย Mohammed bin Nasser Al Zaabi (โมฮัมเมด บิน นัซเซอร์  อัล ซาบี) ปลัดกระทรวงกลาโหมรัฐสุลต่านโอมาน ในโอกาสเดินทางเยือนไทยอย่างเป็นทางการเพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดโครงการต่อเรือระบายพลขนาดกลาง (Landing Craft Mechanized : LCM) กับบริษัท มาร์ซัน จำกัด (มหาชน)
โดย กห. มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ กห.โอมาน ให้ความเชื่อมั่นต่อศักยภาพของบริษัทมาร์ซันฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการของไทย ที่มีผลงานต่อเรือให้กลุ่มผู้ใช้งานภาคเอกชนและภาครัฐของไทย อาทิ เรือตรวจการณ์ขนาดต่าง ๆ ของ ทร. ตร.น้ำกรมประมง กรมเจ้าท่า และกรมศุลกากร 
ซึ่งนับเป็นก้าวที่สำคัญของการส่งเสริมความสัมพันธ์และการขยายความร่วมมือไปยังมิติอื่น ๆ โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศต่อไป ทั้งนี้ ขอเชิญผู้แทนของ กห.โอมาน เข้าร่วมชมงาน Defense & Security 2025 ของไทย เพื่อเยี่ยมชมอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย 
ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหมได้ชื่นชมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทยกับโอมานที่ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการค้าการลงทุน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนการเยือนระดับสูง อีกทั้งมีศักยภาพที่จะขยายความร่วมมือในด้านพลังงาน การท่องเที่ยว ประมง และการบริการทางการแพทย์  
โดยในปี 2568นี้ เป็นวาระครบ 45 ปี ของการสถาปนำความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างทั้งสองประเทศ รวมทั้ง ชื่นชมการแสดงบทบาทของโอมานในกลุ่มประเทศความร่วมมืออ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council : GCC) และองค์การความร่วมมืออิสลาม (Organisation of Islamic Cooperation : OIC) 
โดยขอขอบคุณฝ่ายโอมานที่เป็นหนึ่งในมิตรประเทศที่สนับสนุนไทยในการทำความเข้าใจกับมิตรประเทศเกี่ยวกับสถานการณ์และแนวทางในการแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้ ไทยยืนยันเจตนารมณ์ในการแก้ไขสถานการณ์  จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วยสันติวิธี และขอยืนยันว่ารัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมอาหารฮาลาล 
จึงหวังว่าจะสามารถขยายความร่วมมือกับโอมานและมิตรประเทศในตะวันออกกลางอันจะเป็นประโยชน์ในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร ตลอดจนสนับสนุนการยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องมุสลิมในไทย
ปลัดกระทรวงกลาโหมรัฐสุลต่านโอมาน ได้ขอบคุณกระทรวงกลาโหมที่ได้จัดเตรียมการต้อนรับเป็นอย่างดี รวมทั้งชื่นชมศักยภาพของบริษัทมาร์ซันฯ ซึ่งเป็นผู้ประกอบการของไทย โดยการไปเยือนศูนย์อุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหารของกระทรวงกลาโหมเมื่อวันที่ 24 เม.ย.68 ทำให้รับทราบถึงโครงสร้างและประสบการณ์อันยาวนานของหน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการภาคเอกชนของไทย 
ทั้งนี้ ขอชื่นชมขีดความสามารถของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยที่ปัจจุบันสามารถผลิตยุทโธปกรณ์ได้เอง อีกทั้งยินดีส่งเสริมความร่วมมือระหว่างทั้งสองประเทศในด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศให้เป็นรูปธรรม อาทิ การลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างทั้งสองกระทรวง รวมทั้งเชิญผู้ประกอบการไทยเดินทางไปยังโอมานเพื่อนำเสนอข้อมูลและแสดงศักยภาพอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทย

พิธีตัดเหล็กแผ่นแรกของเรือยกพลขึ้นบกขนาดกลาง(LCM: Landing Craft Mechanized) จำนวน ๔ลำสำหรับกองทัพเรือโอมาน(RNO: Royal Navy of Oman) ที่จะส่งมอบในปี พ.ศ.๒๕๗๐(2027) ณ อู่ต่อเรือบริษัท Marsun ไทยในจังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๘ เป็นความสำเร็จล่าสุดของอุตสาหกรรมต่อเรือและอุตสาหกรรมป้องกันประเทศในการส่งออกเรือแบบนี้เป็นครั้งแรกแก่ต่างประเทศ
โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยของภาครัฐของไทย กระทรวงกลาโหมไทย และภาคเอกชนของไทยที่มองจะได้รับโอกาสในการส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์เพิ่มเติมแก่โอมานและชาติในกลุ่มอ่าว Persia ตั้งแต่แบบเรืออื่นๆของบ Marsun ไทย อย่างเรือตรวจการณ์ปืนชุดเรือหลวงแหลมสิงห์(M58 Patrol Gun Boat)เข้าประจำการในกองทัพเรือไทยแล้ว รวมถึงรถหุ้มเกราะล้อยางตระกูล First Win 4x4 
และรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก AWAV 8x8 ที่ยังเห็น นพรัตน์ กุลหิรัญ(Madam Tanks) ผู้บริหารบริษัท Chaiseri ไทย ในพิธีตัดเหล็กเรือ LCM ของโอมานที่อู่เรือ Marsun จนถึงอากาศยานไร้คนขับ UAV(Unmanned Aerial Vehicle) รูปแบบต่างๆของเอกชนไทย เช่น บริษัท RV CONNEX ไทย บริษัท Pulse Science X ไทย เป็นการยืนยันถึงขีดความสามารถของอุตสาหกรรมป้องกันประเทศของไทยครับ




Royal Thai Army (RTA) Stryker RTA ICV 8x8 of 112th Infantry Regiment, 11th Infantry Division, conducted Combined Arms Live-Fire Exercise (CALFEX) at RTA tactical training Artillery Center in Baan Deelang, Phatthana Nikhom District in Lopburi Province, Thailand on 21 April 2025. (Smart Soldiers Strong Army)

”ฝึกให้พร้อมต่อทุกภัยคุกคาม“
กองทัพบกโชว์ศักยภาพ กรมทหารราบเฉพาะกิจ กองพลทหารราบที่ 11 (กรม ร.ฉก.พล.ร.11) โดยการดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง (CALFEX: Combined Arms Live Fire Exercise)
21 เมษายน 2568 – กองทัพบก โดย พลเอก พนา แคล้วปลอดทุกข์ ผู้บัญชาการทหารบก พร้อมคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ ให้การต้อนรับ นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสตรวจเยี่ยมการฝึกและตรวจสอบหน่วย กรมทหารราบเฉพาะกิจ กองพลทหารราบที่ 11 (กรม ร.ฉก.พล.ร.11) ณ สนามฝึกทางยุทธวิธี ศูนย์การทหารปืนใหญ่ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี
ในการนี้ ทบ. ได้นำเสนอขีดความสามารถของยุทโธปกรณ์หลัก อาทิ รถยานเกราะล้อยาง STRYKER, รถถัง M48A5, ระบบยิงสนับสนุน และอาวุธประจำหน่วยที่ได้รับการพัฒนาให้ทันสมัย รองรับรูปแบบการรบใหม่ ก่อนเข้าสู่ไฮไลต์สำคัญของภารกิจ คือ การฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง (CALFEX: Combined Arms Live Fire Exercise) ในสถานการณ์จำลองการรบตามแบบ (Conventional Warfare) 
เพื่อทดสอบความพร้อมและการประสานการรบของหน่วยระดับกรมภายใต้แนวคิด Combined Arms Operations
การฝึกในครั้งนี้เป็นไปตามนโยบายของผู้บัญชาการทหารบก ที่มุ่งพัฒนา หน่วยรบเฉพาะกิจต้นแบบของกองทัพไทย ให้พร้อมตอบสนองภารกิจด้านความมั่นคงของชาติในทุกมิติ ด้วยศักยภาพที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ และเชื่อมต่อกับระบบปฏิบัติการของกองทัพชั้นนำในภูมิภาค
FYI: 
สำหรับหน่วยรับการฝึกกรมทหารราบเฉพาะกิจ จัดกำลังจากกรมทหารราบที่ 112 กองพลทหารราบที่ 11 เป็นหน่วยดำเนินกลยุทธ์หลัก และหน่วยต่างๆ ตามระบบปฏิบัติการในสนามรบ ประกอบด้วย กองร้อยทหารม้าลาดตระเวนที่ 1, กองพันทหารม้าที่ 4 รักษาพระองค์, กองพันทหารช่างที่ 1, กองพันเสนารักษ์ที่ 1, กองทหารพลาธิการที่ 1, กองพันทหารปืนใหญ่ที่ 11 รักษาพระองค์, กองร้อยทหารสารวัตรสนามที่ 3 
กองพันทหารสารวัตรที่ 12, กองร้อยลาดตระเวนระยะไกลที่ 1, หน่วยบัญชาการป้องกันภัยทางอากาศ, หน่วยข่าวกรองทางทหาร, กองพลทหารปืนใหญ่, ศูนย์การบินทหารบก และกรมวิทยาศาสตร์ทหารบก รวมจำนวนกำลังพลกว่า 5,000 นาย

กองทัพบกเตรียมจัดหา รถเกราะล้อยาง 8x8  Stryker ให้กรมทหารราบที่ 111 ... จากการปรับปรุงโครงสร้างส่วนกำลังรบของกองทัพบก ของกองพลทหารราบที่ 11 จากกองพลทหารราบเบา ให้มีการจัดหน่วยแบบกะทัดรัด ทันสมัยและมีสิทธิภาพ เป็นกองพลยานเกราะเบา โดยจัดให้กรมทหารราบที่ 112  เป็นต้นแบบ 
ซึ่งกองทัพบกได้มีการจัดซื้อรถเกราะล้อยาง 8x8  Stryker 37 คัน ในราคาประมาณ 2,850 ล้านบาท เป็นราคามิตรภาพ และเป็นโครงการความช่วยเหลือทางทหาร แบบ FMS โดยตรงกับสหรัฐฯ และสหรัฐฯ ได้ให้เพิ่มอีก 23 คัน รวม เป็น 60 คัน ในล็อตแรก และได้ทะยอยจัดซื้อเพิ่มเติมในเวลาต่อมา  
ในปัจจุบันกองพลทหารราบที่ 11 กำลังจะปรับปรุงให้กรมทหารราบที่ 111 ให้เป็นมาตรฐานเดียวกับกรมทหารราบที่ 112 โดยจะมีการจัดหา รถเกราะล้อยาง 8x8  Stryker มาใช้งานแทนรถสายพานลำเลียงพล M 113 ที่เก่าและใช้งานมานานแล้ว อันจะทำให้ กองพลทหารราบที่ 11 เป็นกองพล Stryker อย่างเต็มรูปแบบ 
ก็ต้องมาติดตามกันว่าการจัดหา รถเกราะล้อยาง Stryker ซึ่งกองทัพบกไทยเป็นผู้ใช้งานส่งออกรายแรกของ สหรัฐฯจะเป็นไปในรูปแบบใด เนื่องจากนโยบายลดความช่วยเหลือทางทหารของสหรัฐฯโดยประธานาธิปดีทรัมป์ที่มีต่อประเทศไทย ...

ปัจจุบันกองพลทหารราบที่๑๑ พล.ร.๑๑(11th Infantry Division) กองทัพภาคที่๑ ทภ.๑(1st Army Area) กองทัพบกไทยมีอัตราจัดเป็นกองพลทหารราบยานเกราะเบา(Light Mechanized Infantry) มีหน่วยขึ้นตรงสองกรมคือกรมทหารราบที่๑๑๒ ร.๑๑๒(112th Infantry Regiment) ที่เป็นกรมชุดรบยานเกราะล้อยาง Stryker(SRCT: Stryker Regiment Combat Team) หน่วยแรกของกองทัพบกไทย
และกรมทหารราบที่๑๑๑ ร.๑๑๑(111th Infantry Regiment) ที่ใช้รถเกราะสายพาน รสพ.M113 ที่มีอายุการใช้งานมานาน กองทัพบกไทยจึงมองที่จะจัดหายานเกราะล้อยาง Stryker RTA ICV 8x8 จากสหรัฐฯเพิ่มเติมเข้าประจำการในกรมทหารราบที่๑๑๑ จากที่ได้จัดหาแล้ว ๑๓๐คันเข้าประจำการในกรมทหารราบที่๑๑๒ เพื่อทำให้กองพลทหารราบที่๑๑ เป็นกองพลยานเกราะล้อยาง Stryker ที่สมบูรณ์ทั้งกองพล
กองทัพบกไทยยังมองที่จะจัดหายุทโธปกรณ์จากสหรัฐฯเพิ่มเติมอีกหลายโครงการเช่นเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทั่วไป ฮ.ท.๖๐ UH-60M Black Hawk เพิ่มเติม หรือเฮลิคอปเตอร์โจมตีใหม่ทดแทน ฮ.จ.๑ AH-1F Cobra คือ AH-64E Apache หรือ AH-1Z Viper ที่เลื่อนมานาน แต่นอกจากข้อจำกัดด้านงบประมาณกลาโหมแล้ว นโยบายของรัฐบาลสหรัฐฯในปัจจุบันที่ลดความสำคัญของไทยลงทำให้เรื่องเหล่านี้อาจจะยากขึ้นครับ








Royal Thai Marine Corps (RTMC) with Royal Thai Army (RTA) and Royal Thai Air Force (RTAF) conducted CALFEX (Combined Arms Live Fire Exercise) for Royal Thai Navy (RTN) annual exercise Fiscal Year 2025 at No.16 Firing Range in Ban Chan Krem, Chanthaburi Province on 28 April 2025.
The Live Fire exercise included RTMC's 7 of Chaiseri AWAV (Armoured Wheeled Amphibious Vehicle) 8x8, 6 of AAV7A1 RAM/RS amphibious assault vehicles, 3 of VN16 Tracked Amphibious Assault Vehicles, 4 of BTR-3E1 8x8 armored personnel carriers, and 4 of HMMWV 4x4 utillity trucks with TOW 2A RF anti-tank guided missile (ATGM; H145M utillity helicopter and T-337 observation aircraft of Royal Thai Naval Air Division (RTNAD); RTA 4 of Stryker RTA ICV 8x8 of 112th Infantry Regiment, 11th Infantry Division; and RTAF 2 of F-16A/B fighter aircrafts with Combat Control Team (CCT). (Royal Thai Marine Corps)

การฝึกการดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง (CALFEX) ของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (นย.) ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๘
เมื่อ ๒๘ เมษายน ๒๕๖๘ พลเรือเอก จิรพล ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พร้อมด้วยคณะนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพเรือ เดินทางตรวจเยี่ยมการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง (CALFEX) ของ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๘ โดยมี พลเรือตรี โยธิน ธนะมูล ผู้บัญชาการกองพลนาวิกโยธิน ร่วมให้การต้อนรับ  ณ สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข ๑๖ บ้านจันทเขลม อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี
การฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง(CALFEX)นั้น เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกภาคสนาม/ภาคทะเล (FTX) ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๘ ซึ่ง เป็นการฝึกปฏิบัติการจริงของหน่วยกำลังรบประเภทต่าง ๆ เพื่อสร้างความคุ้นเคยและประสบการณ์ให้กับกำลังพล 
โดยมีจุดประสงค์เพื่อทดสอบขีดความสามารถในการปฏิบัติการและทดสอบความพร้อมทั้งด้านกำลังพลและยุทโธปกรณ์ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดในการจัดการฝึกที่ว่า” รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น“
สำหรับการฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง(CALFEX)จะทำการเข้าตี ยึดครอง รักษาที่หมายและสถาปนาเส้นแนวหัวหาดพร้อมทั้งสนับสนุนการเข้าตีด้วยการยิงอาวุธสนับสนุนของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน(นย.) และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (สอ.รฝ.) รวมถึงร้องขอการโจมตีเป้าหมาย High Value Targets จากกองทัพอากาศ ซึ่งได้จำลองสถานการณ์และพื้นที่การฝึกมาที่สนามฝึก กองทัพเรือหมายเลข ๑๖
สำหรับอาวุธและยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกในส่วนของกองทัพเรือประกอบด้วย ยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก AAV จำนวน ๖ คัน ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 จำนวน ๓ คัน ยานเกราะล้อยาง BTR -3E1 จำนวน ๔ คัน ยานเกราะล้อยาง 8x8 ชนิดลำเลียงพล AWAV ๗ คัน รถยนต์บรรทุกฮัมวี่ติดเครื่องยิงจรวดต่อสู้รถถัง Tow 2A - RF  ๔ คัน
 ปืนใหญ่สนามขนาด ๑๕๕ มม.จาก นย. และ สอ.รฝ. หน่วยละ ๒ กระบอก พร้อมด้วยระบบตรวจการณ์ BOR - A560 ปืนใหญ่สนามขนาด ๑๐๕ มม. ๔ กระบอก ปืนต่อสู้อากาศยานขนาด ๔๐/๖๐ มม. ๒ กระบอก อาวุธยิงสนับสนุนภายในอัตรากองพันทหารราบ ชุดแทรกซึมทางอากาศจากกองพันลาดตระเวน  กองพลนาวิกโยธิน อากาศยานไร้คนขับแบบ M SOLAR-X ๑ ระบบ 
โดยมีอากาศยานของกองทัพเรือที่ร่วมการฝึกประกอบด้วย เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลดอร์เนียร์สำหรับการส่งชุดแทรกซึมทางอากาศ เครื่องบินตรวจการณ์ชี้เป้าแบบ T-337 สำหรับการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด (Close Air Support : CAS ) และเฮลิคอปเตอร์ลำเลียงแบบ EC-645 สำหรับการส่งกลับสายแพทย์  
ทั้งนี้ กองทัพบกได้จัดรถหุ้มเกราะติดอาวุธแบบ M1126 Stryker ICV ๔ คัน เข้าร่วมการฝึกสำหรับการดำเนินกลยุทธ์เข้าตีและยึดครองที่หมาย ในขณะที่กองทัพอากาศจัดเครื่องบินขับไล่ F-16 จำนวน ๒ เครื่อง สำหรับการขัดขวางกำลังเพิ่มเติมของฝ่ายตรงข้าม โดยมีชุดควบคุมอากาศยานโจมตี (Combat Control Team) จากกรมปฏิบัติการพิเศษหน่วยบัญชาการอากาศโยธิน แนะนำการติดต่ออากาศยานเข้าพื้นที่การปฏิบัติการ
ผลลัพธ์ที่จะได้รับจากการฝึกในครั้งนี้ นอกจากกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกจากหน่วยต่างๆ ของกองทัพเรือ กองทัพบก และกองทัพอากาศจะได้ใช้ยุทธวิธีหลักนิยมในการรบร่วม และทดสอบแนวทางการใช้กำลังของกองทัพเรือให้เป็นไปตามแผนป้องกันประเทศ เพื่อให้เกิดความรู้ความชำนาญเพิ่มขึ้นจากการฝึกจริงแล้ว ยังทำให้กองทัพเรือได้รับทราบถึงขีดความสามารถและข้อจำกัดของกำลังพลในปัจจุบัน 
รวมทั้งการปฏิบัติการร่วมกันกับเหล่าทัพต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาขีดความสามารถสำหรับการปฏิบัติภารกิจของกองทัพเรือ โดยเฉพาะในการป้องกันประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

การฝึกภาคสนามของนาวิกโยธินไทยในการฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก(AMPHIBEX: Amphibious Exercise) ณ หาดบ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๘ แล้ว การฝึกดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง(CALFEX: Combined Arms Live Fire Exercise) ณ สนามฝึกกองทัพเรือ หมายเลข๑๖ บ้านจันทเขลม จังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๘
ที่เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๘ นอกจากจะเห็นการปฏิบัติร่วมกันระหว่างรถหุ้มเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบก Chaiseri AWAV 8x8 ที่พัฒนาสร้างในไทย, ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16, รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 RAM/RS, ยานเกราะล้อยาง BTR-3E1 8x8 และรถยนต์บรรทุก HMMWV ติดอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง TOW เป็นต้นแล้ว
ยังเป็นครั้งแรกที่ได้เห็นการปฏิบัติการร่วมกับยานเกราะล้อยาง Stryker RTA ICV 8x8 กรมทหารราบที่๑๑๒ ร.๑๑๒ กองพลทหารราบที่๑๑ พล.ร.๑๑ กองทัพบกไทย และการสนับสนุนจากกองทัพอากาศไทยแสดงถึงการเน้นการปฏิบัติการรบร่วมระหว่าเหล่าทัพ รวมถึงการเปิดตัวโครงการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับตระกูล MARCUS แบบใหม่ของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.(NRDO: Naval Research and Development Office) ด้วยครับ