วันพุธที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ตรวจเงินแผ่นดินญี่ปุ่นเปิดเผยอัตราความพร้อมที่ต่ำของเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-1

Audit reveals low availability rate of Japan P-1 fleet





An audit has found that the JMSDF's Kawasaki P-1 patrol aircraft fleet has been beset with low availability due to engine-related corrosion, a lack of spare parts, and the malfunctioning of critical avionics. (Damon Coulter/SOPA Images/LightRocket via Getty Images)

การตรวจสอบหน้าสถานที่(on-site) ของเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล Kawasaki P-1 จำนวน 35เครื่องในประจำการกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force)
ได้พบว่า "มีเครื่องบินจำนวนจำกัดเท่านั้น" ที่มีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติการ ตามรายงานโดยคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(Board of Audit) ญี่ปุ่นกล่าว(https://aagth1.blogspot.com/2023/09/kawasaki-p-1.html)

ตามข้อมูลจากรายงานของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินญี่ปุ่น การผสมผสานของหลายๆปัจจัย เช่น ปัญหาเครื่องยนต์, การทำงานล้มเหลวของระบบ avionic ต่างๆประจำเครื่องบินต่างๆ, และการขาดแคลนอะไหล่ต่างๆ
ได้แสดงผลให้ "สถานะการปฏิบัติการ" ของฝูงบินเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-1 MPA(Maritime Patrol Aircraft) อยู่ในสถานะ "ย่ำแย่"(poor)(https://aagth1.blogspot.com/2018/05/kawasaki-p-1.html)

ขณะที่รายงานของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินญี่ปุ่นไม่ได้ระบุว่ามีเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-1 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นจำนวนกี่เครื่องที่ไม่สามารถใช้ปฏิบัติงานได้(ด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง)
รายงานกล่าวว่าเครื่องยนต์ไอพ่น turbofan แบบ IHI F7-10 ของฝูงบินเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-1 จำนวนหนึ่งได้มีสภาพ "ไม่สามารถใช้งานได้" เนื่องจากการกัดกร่อนของน้ำเกลือ(saltwater corrosion)ในทะเล

นอกเหนือจากนี้ ระบบ avionic ประจำเครื่องบินบางส่วนที่ถูกใช้สำหรับ "การรวบรวมข้อมูล" อยู่ในสถานะที่ไม่สามารถใช้ปฏิบัติงานได้ "อย่างต่อเนื่อง" รายงานของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินญี่ปุ่นกล่าว
คณะผู้ตรวจสอบได้ถือว่าเป็นข้อบกพร่องในการออกแบบของเครื่องบิน(ถูกพบระหว่างการพัฒนาของระบบ) โดยได้มีส่วนเสริมต่อ "การล้มเหลวของระบบประจำเครื่อง" ผ่านผลกระทบทางกายภาพคือ "การสั่นและเสียงรบกวน"

อีกสาเหตุคือ "การยึดเกาะของวัสดุเปลือกโลก(crustal material)" ต่อส่วนประกอบทางไฟฟ้า ซึ่งได้สร้างความเสียหายต่อระบบต่างๆ รายงานของคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินญี่ปุ่นกล่าว การขาดแคลนชิ้นส่วนต่างๆยังจำกัดความพร้อมของฝูงบิน 
"คลังสิ่งอุปกรณ์ทางอากาศ(Air Supply Depot) ซึ่งจัดหาชิ้นส่วนทดแทนต่างๆสำหรับเครื่องบิน ไม่สามารถจะทำความเข้าใจความยาวนานของช่วงเวลาระหว่างการวางคำสั่งจัดหาและส่งมอบได้เสมอ" รายงานกล่าว

เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-1 เป็นองค์ประกอบหลักของขีดความสามารถการลาดตระเวนทางทะเลทางอากาศ, สงครามต่อต้านเรือผิวน้ำ(ASuW: Anti-Surface Warfare) และสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare) ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น 
เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล P-1 ติดตั้งระบบการรบขั้นก้าวหน้า และระบบตรวจจับต่างๆ และยังสามารถจะติดตั้งอาวุธยิงทางอากาศได้หลากหลายแบบรวมถึง อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น, torpedo, ระเบิดลึก และทุ่นระเบิดได้ครับ