วันพฤหัสบดีที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

กองทัพอากาศไทยนำเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH ร่วมฝึกกับสิงคโปร์เป็นครั้งแรกในการฝึกผสม AIR THAISING 2025
















The Royal Thai Air Force (RTAF) Beechcraft AT-6TH Wolverine light attack aircrafts of 411th Squadron, Wing 41 Chiang Mai RTAF base involved with the Republic of Singapore Air Force (RSAF) Lockheed Martin F-16C/D/D+ Fighting Falcon for first time in the exercise AIR THAISING 2025 at Wing 1 Korat RTAF base, Thailand on 14-25 July 2025. (Royal Thai Air Force)



พิธีเปิดการฝึกผสม AIR THAISING 2025
เมื่อวันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม 2568 นาวาอากาศเอก ณัฎฐ์  คำอินทร์ รองผู้อำนวยการสำนักยุทธการและการฝึก กรมยุทธการทหารอากาศ ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม AIR THAISING 2025 ฝ่ายกองทัพอากาศ พร้อมด้วย COL Ng Han Lin ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสม AIR THAISING 2025 ฝ่ายกองทัพอากาศสิงคโปร์ 
เป็นประธานร่วมในพิธีเปิดการฝึกผสม AIR THAISING 2025 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา
การฝึกผสม AIR THAISING เป็นการฝึกผสมร่วมกันระหว่างกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศสิงคโปร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้กำลังพลของกองทัพอากาศทั้งสองประเทศได้พัฒนาขีดความสามารถของหน่วยบินและหน่วยที่เข้าร่วมการฝึก ตลอดจนพัฒนาขีดความสามารถในการปฏิบัติทางอากาศผสมของหน่วยบิน ที่มีความแตกต่างทั้งในเรื่องของภาษา แนวคิด รวมถึงวัฒนธรรม 
อีกทั้งยังเป็นการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่างกองทัพอากาศไทยและกองทัพอากาศสิงคโปร์ ให้สามารถปฏิบัติการร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สุงสุดกับทั้งสองประเทศ
การฝึกผสมในครั้งนี้กองทัพอากาศได้นำเครื่องบินแบบ บ.จ.8 (AT-6TH) จากฝูงบิน 411 กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ จัดกำลังเข้าร่วมการฝึกด้วย ถือเป็นการฝึกผสม “ครั้งแรก“ ของเครื่อง AT-6 ที่เข้าร่วมฝึกการปฏิบัติการทางอากาศร่วมกับอากาศยานต่างชาติ
โดยในช่วงเช้าของพิธีเปิด ผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสมทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันเปิดแพนหางของเครื่องบินแบบ F-16D ของกองทัพอากาศสิงคโปร์ที่ได้จัดทำลวดลายพิเศษเป็นตราสัญลักษณ์เฉลิมฉลองวาระครบรอบ 60 ปี การสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-สิงคโปร์ เพื่อเป็นการแสดงถึงมิตรภาพและความสัมพันธ์อันดีของทั้งสองประเทศที่มีมาอย่างยาวนาน 
ซึ่งผู้อำนวยการกองอำนวยการฝึกผสมทั้งสองชาติยังได้ร่วมกันเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะสานต่อมิตรภาพที่ยาวนานนี้ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นไปในระหว่างร่วมกันปลูกต้น “Friendship Tree” เพื่อเป็นสื่อสัญลักษณ์ของความเจริญเติบโต ความยั่งยืน และความสัมพันธ์ที่งอกงามของทั้งไทยและสิงคโปร์
ทั้งนี้ กองทัพอากาศไทยเริ่มต้นเข้าร่วมการฝึกกับกองทัพอากาศสิงคโปร์ครั้งแรก เมื่อปี 2526 ภายใต้รหัสการฝึก “AIR THAISING 1/83” ซึ่งครั้งนั้นได้ทำการฝึกภาคบังคับการ (Command Post Exercise – CPX) ณ ฐานทัพอากาศ PAYA LEBAR ประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 10-26 สิงหาคม 2526 
และทำการฝึกปฏิบัติภาคอากาศ (Air Maneuvering Exercise – AMX) ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา เมื่อวันที่ 19-23 กันยายน 2526 โดยกองทัพอากาศสิงคโปร์ได้ส่งเครื่องบินขับไล่โจมตีแบบ HUNTER เข้าร่วมการฝึกกับเครื่องบินแบบ F-5 ของกองทัพอากาศไทย จากนั้นได้ทำการฝึกร่วมกันรวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง โดยผลัดกันเป็นเจ้าภาพ 
คือ การฝึกที่บังคับการ (Command Post Exercise – CPX) จะทำการฝึก ณ ประเทศสิงคโปร์ ส่วนการฝึกภาคปฏิบัติ (Air Maneuvering Exercise – AMX) จะทำการฝึกที่ประเทศไทย ต่อมากองทัพอากาศทั้งสองประเทศก็ได้เข้าร่วมการฝึกอื่น ๆ มาอย่างต่อเนื่อง อาทิ การฝึกผสม Cope Thunder และการฝึกผสม Cope Tiger 
ทำให้กำลังพลของทั้งสองประเทศ ทั้งในส่วนของผู้ทำการบินและฝ่ายสนับสนุน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และสร้างความสัมพันธ์อันดีมาจนถึงปัจจุบัน
สำหรับการฝึก AIR THAISING 2025 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 14-25 กรกฎาคม 2568 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา และสนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี

AT-6TH (Wolverine) กับการฝึกผสมครั้งแรกใน AIR THAISING 2025
เมื่อวันจันทร์ที่ 14 กรกฎาคม 2568 นาวาอากาศโท ฤทธวรรณ อมรินทร์รัตน์ ผู้บังคับฝูงบิน 411 กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ ได้นำนักบินพร้อมรบ พร้อมทั้งเครื่องบินโจมตีเบาแบบ AT-6TH  จากฝูงบิน 411 กองบิน 41 จังหวัดเชียงใหม่ เข้าร่วมการฝึก AIR THAISING 2025 ณ กองบิน 1 จังหวัดนครราชสีมา
ซึ่งการฝึกในครั้งนี้นับเป็นการฝึกผสมครั้งแรกของเครื่องบินแบบ AT-6 ที่ได้เข้าร่วมการฝึกปฏิบัติการทางอากาศร่วมกับอากาศยานต่างชาติ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักบินพร้อมรบที่เพิ่งสำเร็จหลักสูตรมานั้นได้ดำรงขีดความสามารถในการปฏิบัติการทางอากาศ ทั้งยังเป็นการเพิ่มพูนศักยภาพเพื่อให้พร้อมในการปฏิบัติภารกิจได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในการปกป้องอธิปไตยของชาติ และการรักษาความมั่นคงของประเทศ
เครื่อง AT-6TH  ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับภารกิจ ได้แก่ 
- การบินสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด (Close Air Support)
- ผู้ควบคุมอากาศยานหน้า(Forward Air Control-Airborne)
- การลาดตระเวนรบติดอาวุธ (Armed Reconnaissance)
- การโจมตีทางอากาศ (Air Strike)
- การเฝ้าระวัง การข่าวกรองและการลาดตระเวน (Surveillance and Reconnaissance : ISR)
- การบินค้นหาช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ (Combat Search and Rescue)
- การสนับสนุนการบรรเทาสาธารณภัย (Disaster Area Imagery)
- การถ่ายภาพภัยพิบัติ (Disaster Area Imagery)
- การสนับสนุนปฏิบัติการบินควบคุมไฟป่า
รวมทั้งการบูรณาการความร่วมมือสนับสนุนหน่วยงานภาครัฐในภารกิจด้านความมั่งคง การรักษาผลประโยชน์แห่งชาติ และการช่วยเหลือพี่น้องประชาชน

กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) และกองทัพอากาศสิงคโปร์(RSAF: Republic of Singapore Air Force) ได้ทำพิธีเปิดการฝึกผสมทางอากาศ AIR THAISING 2025 เมื่อ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ณ กองบิน๑ โคราช จังหวัดนครราชสีมา ประเทศไทย โดยการฝึกผสม AIR THAISING 2025 ที่ดำเนินในระหว่างวันที่ ๑๔-๒๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘ 
เป็นการฝึกระดับทวิภาคีระหว่างกองทัพอากาศไทยและและกองทัพอากาศสิงคโปร์ที่ได้กลับมาจัดการฝึกอีกครั้งหลังยุติไปเมื่อเริ่มการฝึกผสมไตรภาคี Cope Tiger ครั้งแรกระหว่างไทย, สิงคโปร์ และกองทัพอากาศสหรัฐฯ(USAF: US Air Force) ในปี พ.ศ.๒๕๓๙(1996) ซึ่งหลังการฝึกผสม Cope Tiger 2025 ล่าสุดระหว่างวันที่ ๑๖-๒๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๘(https://aagth1.blogspot.com/2025/03/cope-tiger-2025.html)

กองบิน๑ โคราช ได้เป็นเจ้าภาพในอีกหลายการฝึกรวมถึงการฝึกผสมทางอากาศ ELANG THAINESIA XX/2025 ระหว่างกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศอินโดนีเซีย(Indonesian Air Force, TNI-AU: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Udara) ระหว่างวันที่ ๙-๑๙ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๘(https://aagth1.blogspot.com/2025/06/elang-thainesia-2025.html)
และการฝึกผสมทางอากาศ AIR THAMAL 33/2025 ระหว่างกองทัพอากาศไทย และกองทัพอากาศมาเลเซีย(RMAF: Royal Malaysian Air Force, TUDM: Tentera Udara Diraja Malaysia) ระหว่างวันที่ ๓๐ มิถุนายน-๑๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๘(https://aagth1.blogspot.com/2025/07/air-thamal-2025.html) ซึ่งทั้งสองการฝึกอินโดนีเซียและมาเลเซียได้นำอากาศยานของตนมาวางกำลังฝึกในไทย

ขณะที่กองทัพอากาศสิงคโปร์ได้นำเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16C/D Block 52 Fighting Falcon ฝูงบิน143(143 Squadron) และเครื่องบินขับไล่ F-16D Block 52+ ฝูงบิน145(145 Squadron)(https://aagth1.blogspot.com/2025/02/lockheed-martin-f-16cdd.html) สนับสนุนโดยเครื่องบินลำเลียง C-130H Hercules ฝูงบิน122(122 Squadron) เข้าร่วมการฝึก AIR THAISING 2025 ที่กองบิน๑ โคราช
ซึ่งมีเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง F-16D Block 52 ที่ทำลวดลายพิเศษที่แพนหางของเครื่องในโอกาสครบรอบ ๖๐ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสิงคโปร์และไทยแแล้ว ยังเป็นครั้งแรกที่กองทัพอากาศไทยได้นำเครื่องบินโจมตีแบบที่๘ บ.จ.๘ Beechcraft AT-6TH Wolverine ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ เข้าร่วมการฝึกผสมกับอากาศยานของมิตรประเทศด้วย

กองทัพอากาศไทยได้รับมอบเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH Wolverine ที่ตนสั่งจัดหาเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ ครบทั้ง ๘เครื่องในเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๘(https://aagth1.blogspot.com/2025/01/at-6th-8.html) ซึ่งได้มีการฝึกนักบินพร้อมรบและการฝึกการปฏิบัติการภารกิจต่างๆมาอย่างต่อเนื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2025/03/at-6th.html)
ในการฝึกผสม AIR THAISING 2025 ครั้งล่าสุดนี้(https://aagth1.blogspot.com/2024/07/air-thaising-2024-close.html, https://aagth1.blogspot.com/2024/07/air-thaising-2024-open.html) ยังจะรวมถึงการฝึกใช้อาวุธของเครื่องบินโจมตี บ.จ.๘ AT-6TH Wolverine ณ สนามฝึกใช้อาวุธทางอากาศชัยบาดาล จังหวัดลพบุรีด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2024/12/at-6th.html)