Indonesia inks deal with Turkiye for two I-class Frigates
Turkish Navy’s first I-class frigate TCG Istanbul. (Photo courtesy of Cem Dogut, used with his permission)
Signing ceremony for the procurement of two I-class frigates by Indonesia during IDEF 2025. SSB picture.
อินโดนีเซียลงนามข้อตกลงกับกลุ่มบริษัท TAIS Shipyards ตุรกีผู้สร้างเรือสำหรับการจัดซื้อจัดจ้างเรือฟริเกตชั้น Istanbul(เรือฟริเกตชั้น I/เรือฟริเกต Istif) จำนวน 2ลำสำหรับกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut)
ข้อตกลงได้รับการลงนามเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2025 ระหว่างงานแสดงอุตสาหกรรมป้องกันประเทศนานาชาติ International Defence Industry Fair(IDEF) 2025 ที่จัดขึ้นในมหานคร Istanbul ระหว่างวันที่ 22-27 กรกฎาคม 2025
ข้อตกลงได้ถูกประกาศครั้งแรกโดยสำนักงานอุตสาหกรรมกลาโหมตุรกี(Secretariat of Defence Industries, SSB: Savunma Sanayii Başkanlığı) บนสื่อสังคม online "ณ งาน IDEF 2025 โดยการมีส่วนร่วมของประธานสำนักงานอุตสาหกรรมกลาโหมตุรกี Prof.Dr. Haluk Görgün บริษัท TAIS Shipyards ตุรกีได้ลงนามสัญญากับกระทรงกลาโหมอินโดนีเซียสำหรับเรือฟริเกตชั้น MİLGEM Istiif จำนวน 2ลำ
นี่เป็นเครื่องหมายถึงการส่งออกแรกของทูร์เคียของเรือชั้น MİLGEM แก่อินโดนีเซียและแสดงถึงเหตุการณ์ที่มีนัยสำคัญในความร่วมมือยุทธศาสตร์ทางเรือ, การนำความภาคภูมิใจมาสู่ชาติของเรา เราหวังว่าความร่วมมือนี้จะรวบรวมการแบ่งปันวิสัยทัศน์การป้องกันประเทศทางทะเลของสองชาติพันธมิตร จะเป็นประโยชน์สำหรับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง"
ชุดภาพถ่ายแสดงให้เห็นว่าหัวหน้าฝ่ายสำนักงานสิ่งอำนวยความสะดวกทางกลาโหมของกระทรงกลาโหมอินโดนีเซีย พลอากาศเอก Yusuf Jauhari และรัฐมนตรีกลาโหมอินโดนีเซีย Sjafrie Sjamsoeddin ได้มีส่วนในพิธีลงนามสัญญา ผู้อำนวยการบริหารของ PT PAL รัฐวิสาหกิจผู้สร้างเรือของอินโดนีเซีย Dr.Kaharuddin Djenod และผู้อำนวยการบริหารของกลุ่มบริษัท TAIS ตุรกียังปรากฎตนในพิธีลงนามสัญญาด้วย
รายละเอียดต่างของข้อตกลงที่ได้รับการลงนามได้รับการเปิดเผยในขณะนี้ ตามที่มีบันทึกรายงาน PT PAL อินโดนีเซียและ TAIS ตุรกีบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) เกี่ยวกับเรือฟริเกตชั้น Istanbul ได้มีขึ้นในเดือนมิถุนายน 2025 ระหว่างนิทรรศการและการประชุมการป้องกันประเทศ Indo Defence 2025 ในนครหลวง Jakarta ระหว่างวันที่ 11-14 มิถุนายน 2025
อย่างไรก็ตามมีความเป็นได้ว่าเรือฟริเกตชั้น Istanbul ที่จะถูกส่งมอบให้อินโดนีเซียเป็นเรือที่อยู่ในการต่อเรือที่ตุรกีแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2025/01/istanbul-f-516-tcg-izmir-f-517-tcg-izmit.html) แทนที่จะถูกส่งมอบให้แก่กองทัพเรือตุรกี(Turkish Navy) เรือฟริเกตสองลำจะถูกส่งมอบให้กองทัพเรืออินโดนีเซียโดยตรง
ในรูปแบบเดียวกับที่บริษัท Fincantieri อิตาลีดำเนินการกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งอเนกประสงค์ PPA จำนวน 2ลำที่เดิมมีกำหนดจะส่งมอบให้กองทัพเรืออิตาลี(Italian Navy, Marina Militare) นี่ทำใหสามารถส่งมอบเรือแก่ลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว(https://aagth1.blogspot.com/2025/07/ppa-kri-brawijaya.html) แต่สร้างความล่าช้าในการฟื้นฟูกำลังทางเรือสำหรับกองทัพเรือของชาติผู้ขายเช่นกัน(https://aagth1.blogspot.com/2025/07/fincantieri-ppa-2.html)
โครงการเรือฟริเกตชั้น I ของตุรกีได้ถูกเริ่มต้นเพื่อการสร้างเรือฟริเกตใหม่จำนวน 4ลำเพื่อทดแทนเรือฟริเกตชั้น YAVUZ ที่มีอายุการใช้งานมานานของกองทัพเรือตุรกีในกลางปี 2020s ได้รับการพัฒนาภายใต้โครงการเรือรบภายในประเทศ MILGEM
เรือฟริเกตชั้น Istanbul เป็นแบบเรือที่มีขนาดใหญ่ขึ้นของเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำชั้น Ada(https://aagth1.blogspot.com/2024/08/mazepa-f212-hetman-ivan-vyhovskyi.html) เรือมีความจุเชื้อเพลิงและระยะปฏิบัติการ/เดินเรือเพิ่มขึ้นราวร้อยละ50 เมื่อเปรียบเทียบกับเรือคอร์เวตขั้น Ada
เรือฟริเกตชั้น Istanbul ได้ถูกพัฒนาสำหรับสงครามปราบเรือดำน้ำ(ASW: Anti-Submarine Warfare) และสงครามต่อต้านเรือผิวน้ำ(ASuW: Anti-Surface Warfare), สงครามทางอากาศ, การลาดตระเวน, การตรวจการณ์, การตรวจจับเป้าหมาย, การพิสูจน์ทราบ, การตรวจพบและแจ้งเตือนล่วงหน้า
เรือฟริเกตชั้น Istanbul มีความยาวเรือที่ 113m และความกว้างที่ 14.4m เรือลำแรกเรือฟริเกต F-515 TCG İSTANBUL ถูกสร้างที่อู่เรือ Istanbul Naval Shipyard(https://aagth1.blogspot.com/2024/01/istanbul.html) และติดตั้งด้วยระบบขั้นก้าวหน้าต่างๆที่ตุรกีพัฒนาในประเทศ
รวมถึงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้นต่อต้านเรือผิวน้ำ ATMACA ที่ตุรกีพัฒนาในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2025/03/atmaca.html) และแท่นยิงแนวดิ่ง(VLS: Vertical Launch System) แบบ MİDLAS(https://aagth1.blogspot.com/2024/03/f-515-tcg-istanbul-hisar-d-midlas-vls.html) ที่พัฒนาโดยบริษัท Roketsan ตุรกี
ระบบป้องกันระยะประชิด(CIWS: Close-in Weapon System) แบบ Gökdeniz และ AESA(Active Electronically Scanned Array) radar แบบ Cenk-S ที่พัฒนาโดยบริษัท ASELSAN ตุรกี และระบบอำนวยการรบ(CMS: Combat Management System) แบบ ADVENT ที่พัฒนาโดยบริษัท HAVELSAN ตุรกีภายใต้การกำกับของกองบัญชาการกองเรือ(Naval Forces Command) กองทัพเรือตุรกี
มีบริษัททั้งหมด 220บริษัทที่มีส่วนร่วในโครงการเรือฟริเกตชั้น Istanbul รวมผู้รับสัญญารอง 80รายที่กำลังทำงานในการส่งมอบอีกมากกว่า 150ระบบ งานการสร้างเรือฟริเกตชั้น MİLGEM I ลำที่หก, ลำที่เจ็ด และลำที่แปด
สำหรับกองทัพเรือตุรกีซึ่งจะเป็นเรือน้องสาวของเรือฟริเกต F-515 TCG İSTANBUL เรือฟริเกตลำแรกที่ตุรกีออกแบบและสร้างในประเทศได้ถูกเริ่มต้นขึ้นในความเป็นหุ้นส่วนกับบริษัท STM ตุรกีและกลุ่มบริษัท TAİS ในปี 2023
คุณลักษณะเรือฟริเกตชั้น Istanbul
ความยาวเรือรวม: 113.2m
ความยาวตัวเรือที่แนวน้ำ: 105.2m
ความกว้างเรือสูงสุด: 14.4m
กินน้ำลึก: 4.05m
ระวางขับน้ำ: 3,000tons
ความเร็วสูงสุด: 29+knots
ความเร็วเดินทาง: 14knots
ระยะปฏิบัติการ: 5,700nmi ที่ความเร็วมัธยัสถ์ 14 knots
ระบบขับเคลื่อน: รูปแบบ CODAG(Combined Diesel and Gas) เครื่องยนต์ดีเซล MTU สองเครื่อง+เครื่องยนต์ gas turbine General Electric LM2500 หนึ่งเครื่อง สองเพลาและใบจักร CPP
เครื่องกำเนิดพลังงาน: เครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้ากำลัง 560kw สี่เครื่อง
ระบบอำนวยการรบ CMS: HAVELSAN ADVENT
ชุดระบบตรวจจับ:
-3D radar ตรวจการณ์สามมิติ (น่าจะเป็น Aselsan CENK-S AESA)
-radar นำร่อง (น่าจะเป็น Aselsan ALPER-P LPI)
-radar ควบคุมการยิง FCR: Fire Control Radar (2xAKR-D FCR)
-ระบบตรวจจับ EO System (น่าจะเป็น ASELFLIR-300T, PIRI KATS, และ AHTAPOT)
-sonar ตัวเรือ FERSAH
-ระบบมตรการต่อต้าน Torpedo(TCM: Torpedo Countermeasures System) HIZIR
-ระบบแจ้งเตือนการตรวจจับด้วย Laser
-ระบบตรวจจับการแพร่สัญญาณไฟฟ้า(ESM: Electronic Support Measures)/ระบบมาตรการต่อต้าน elctronic(ECM: Electronic Countermeasures) ตระกูล ASELSAN ARES
การจัดกำลังทางเรือในอนาคตของกองทัพเรืออินโดนีเซีย
ในอนาคตอันใกล้เรือหลักใหม่ของกองทัพเรืออินโดนีเซียจะประกอบด้วยเรือสมัยใหม่หลายชั้นจากหลากหลายแหล่งที่มา(แต่เรือแต่ละชั้นประกอบด้วยเรือหลายลำ)
เรือฟริเกตชั้น Raden Eddy Martadinata จำนวน 2ลำ (แบบเรือ SIGMA 10514 จากบริษัท Damen เนเธอร์แลนด์)
เรือเร็วโจมตีทรง trimaran ความยาวเรือ 62m จำนวน 1ลำ เรือเร็วโจมตี KRI Golok (688) ออกแบบโดยบริษัท North Sea Boats อินโดนีเซีย
เรือฟริเกตชั้น Merah Putih จำนวน 2ลำ (แบบเรือฟริเกต Arrowhead 140 จากบริษัท Babcock สหราชอาณาจักร สร้างในประเทศโดย PT PAL อินโดนีเซีย ติดตั้งระบบจากตุรกีจำนวนมาก)(https://aagth1.blogspot.com/2024/06/merah-putih.html)
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น Brawijaya จำนวน 2ลำ(เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งอเนกประสงค์ PPA สร้างโดย Fincantieri อิตาลี)
เรือฟริเกตชั้น Istanbul จำนวน 2ลำ
เรือเร็วโจมตี KCR-70M จำนวน 2ลำ(แบบเรือบริษัท Sefine Shipyard ตุรกี)
เรือเร็วโจมตี KCR-60M ชั้น Sampari จำนวน 6ลำ, ชั้น Belati จำนวน 3ลำ และชั้นใหม่กำลังสร้าง 1ลำ(หลากหลายแบบจากหลายอู่เรือในอินโดนีเซีย)
นอกเหนือจากนี้กองทัพเรืออินโดนีเซียจะปฏิบัติการด้วยเรือดำน้ำชั้น Nagapasa(DSME 209/1400) สามลำที่สร้างโดยสาธารณรัฐเกาหลี และเรือดำน้ำแบบ Scorpene Evolved สองลำของบริษัท Naval Group ฝรั่งเศสที่จะสร้างโดย PT PAL อินโดนีเซียในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2025/07/scorpene-evolved-2.html)
และกำลังพิจารณาการจัดหาเรือบรรทุกเครื่องบิน Giuseppe Garibaldi ที่เคยประจำการในกองทัพเรืออิตาลี(https://aagth1.blogspot.com/2025/07/fincantieri-giuseppe-garibaldi.html) ขณะที่ความหลากหลายแบบเรือเช่นนี้แสดงข้อได้เปรียบบางประการ มันยังแสดงถึงความท้าทายที่แท้จริงในแง่การฝึก และการส่งกำลังบำรุงและการสนับสนุนด้วยครับ