Japan yet to decide on P-1 fleet size
Japan has yet to reach a firm decision on the future size of its Kawasaki Heavy Industries P-1 maritime patrol aircraft fleet, or determine whether the surveillance asset could be exported to international buyers.
Japan Maritime Self-Defence Force
https://www.flightglobal.com/news/articles/japan-yet-to-decide-on-p-1-fleet-size-448261/
ญี่ปุ่นยังไม่เข้าใกล้การตัดสินใจเกี่ยวกับขนาดกำลังฝูงบินในอนาคตของเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Kawasaki Heavy Industries P-1 ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defence Force)
หรือยังไม่ได้ตัดสินใจว่าเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Kawasaki P-1 สามารถที่จะทำการส่งออกแก่ผู้ซื้อในระดับนานาชาติได้หรือไม่
Kawasaki P-1 ได้ถูกพัฒนาภายในญี่ปุ่นเพื่อทดแทนเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลสี่เครื่องยนต์ใบพัด Lockheed P-3C Orion สหรัฐฯที่ประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นช่วงปี 1984-2017
ซึ่งบริษัท Kawasaki Heavy Industries(KHI) ญี่ปุ่นได้สิทธิบัตรการผลิตเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-3C Orion ภายในญี่ปุ่นมากกว่า 100เครื่อง
เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลสี่เครื่องยนต์ไอพ่น P-1 ญี่ปุ่นเครื่องต้นแบบทำการบินครั้งแรกในปี 2007 และเริ่มนำเข้าประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นเมื่อปี 2016
"ในฐานะเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลมันมีประสิทธิภาพที่เหนือกว่า P-3C ในทุกพื้นที่ ในอนาคตเครื่อง P-1 จำนวนที่มากกว่านี้พวกมันจะทำการบินในท้องฟ้าทั่วทุกมุมโลก" นาวาเอก Ryota Ishida ผู้จัดการโครงการ P-1 ประจำกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว
จนถึงขณะนี้กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นได้รับมอบ P-1 แล้ว 15เครื่อง และบริษัท Kawasaki ยังไม่ได้รับสัญญาจัดหา P-1 เพิ่มเติม
รัฐบาลญี่ปุ่นยังไม่กำหนดแผนค่าใช้จ่ายงบประมาณการจัดหาในระยะยาว แต่ Flight Fleets Analyzer ได้วิเคราะห์ว่ามีข้อบ่งชี้ว่าญี่ปุ่นน่าจะมีการสั่งจัดหา P-1 เพิ่มเติมรวม 58เครื่องเพื่อทดแทน P-3C สหรัฐฯแบบเต็มอัตรา
นาวาเอก Ishida ย้ำว่ากองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาการปรับปรุงบางส่วนสำหรับ P-1 ที่จะมีการจัดหาเพิ่มเติมในอนาคต แต่มันยัง "ไม่มีการระบุการกำหนดแผนในขณะนี้"
ญี่ปุ่นได้ส่ง P-1 จำนวน 2เครื่องไปปรากฎตัวในงานแสดงการบินนานาชาติ ILA 2018 ที่ Berlin ระหว่างวันที่ 25-29 เมษายนที่ผ่านมา ซึ่งหนึ่งเครื่องทำการบินแสดง และอีกหนึ่งเครื่องจอดตั้งแสดงบนพื้น
การนำเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Kawasaki P-1 ญี่ปุ่นไปแสดงที่ยุโรปนี้มีมาตั้งแต่งานแสดงการบินนานาชาติ Royal International Air Tattoo 2015 สหราชอาณาจักร และ Paris Air Show 2017 ฝรั่งเศส
อย่างไรก็ตามทางกระทรวงกลาโหทมญี่ปุ่นได้เน้นย้ำว่าการนำ P-1 ไปจัดแสดงยังต่างประเทศนั้นไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการรณรงค์การขายแต่อย่างใด เช่นที่เยอรมนีและฝรั่งเศสมีโครงการจัดหาเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเลแบบใหม่ร่วมกันอยู่
"เรานำเครื่องบินมาที่นี่เพื่อประชาสัมพันธ์ถึงวิทยาการด้านอากาศยานในระดับที่สูงมากๆของญี่ปุ่นต่อโลก เราไม่เคยมีการทำการคำนวณใดๆเกี่ยวกับเรื่องราคาต่อลูกค้าต่างประเทศ"
นาวาเอก Ishida กล่าว เขาเสริมว่าจนถึงตอนนี้กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นปัจจุบันยังไม่มีความตั้งใจที่จะผลักดันการส่งออกเครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-1
"วัตถุประสงค์ปัจจุบันคือเพื่อการส่งมอบเครื่อง P-1 และสร้างให้มันเป็นขีดความสามารถทางยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่น" สำนักงานการจัดซื้อจัดจ้าง, เทคโนโลยี และการส่งกำลังบำรุง(ATLA: Acquisition, Technology and Logistics Agency) กระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นกล่าว
โดยปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเพิ่มเติม นาวาเอก Ishida กล่าวว่า P-1 ควรจะเข้าร่วมการฝึกผสมกับผู้ปฏิบัติการรายอื่น(กองทัพต่างประเทศ)ในฐานะส่วนหนึ่งงของการวางกำลังล่าสุด ซึ่งจำเป็นต้องมีหลายประเทศร่วมกันครับ