วันพฤหัสบดีที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2568

ภาพเปิดเผยความคืบหน้าการปฏิบัติการบนดาดฟ้าบินเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามของจีน CV-18 Fujian

China progresses flight deck operations on third aircraft carrier





Satellite imagery showing CV 18 Fujian at Jiangnan Changxingdao Shipyard in Shanghai. Markings on the deck are indicative of fixed-wing aircraft activity during sea trials. (Map data: Google, © 2025 CNES/Airbus/© 2025 Janes)

จีนได้เริ่มต้นการปฏิบัติการต่างๆบนดาดฟ้าบินของเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามของกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAN: People's Liberation Army Navy) เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Type 003 เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian ก่อนหน้าการนำเข้าประจำการที่คาดการณ์ไว้
ชุดภาพถ่ายดาวเทียมที่บันทึกได้ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2025 บ่งชี้ว่าการปรากฏถึงรอยลื่นไถล(skid marks) ต่างๆในพื้นที่รับอากาศยานกลับลงบนเรือของส่วนดาดฟ้าบินมุมเฉียงของเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian

รอยลื่นไถลต่างๆเหล่านี้ได้ปรากฏโดยชัดเจนเฉพาะในพื้นที่ส่วนนี้ที่ซึ่งชุดสายลวดเกี่ยวตะขอ(cross-deck pendants) บนเรือบรรทุกเครื่องบินจะถูกทำงานระหว่าการปฏิบัติรับอากาศยานปีกนิ่งกลับลงเรือ
นี่ตั้งข้อสังเกตว่ากองการบินกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีน(PLANAF: People’s Liberation Army Navy Air Force) ได้ดำเนินการทดสอบการรับรองการปฏิบัติบนเรือบรรทุกเครื่องบินจากเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian

ระหว่างที่เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian ทำการทดลองเรือในทะเลครั้งที่8 ล่าสุดของตนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 2025 ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2024/05/cv-18-fujian.html)
การรับรองคุณสมบัติน่าจะดำเนินการปฏิบัติโดยรุ่นต่างๆของเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน Shenyang Aircraft Corporation(SAC) J-15(https://aagth1.blogspot.com/2024/11/j-15d.html)

เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบินตระกูล J-15 ได้ถูกนำมาวางกำลังบนเรือบรรทุกเครื่องบินสองลำที่เข้าประจำการในกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนก่อนหน้าแล้วคือ(https://aagth1.blogspot.com/2023/04/wargames.html)
เรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Type 001 เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-16 Liaoning(https://aagth1.blogspot.com/2022/05/cv-16-liaoning-100.html) และเรือบรรทุกเครื่องบินชั้น Type 002 เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-17 Shandong(https://aagth1.blogspot.com/2022/12/pentagon.html)

นอกเหนือจากรอยลื่นไถลต่างๆ ชุดภาพถ่ายดาวเทียมยังได้บ่งชี้การปรากฏของรอยไหม้(scorch marks) บนแผ่นป้องกันความร้อนจากเครื่องยนต์ไอพ่น(jet blast deflector) สำหรับรางดีดส่งอากาศยานขึ้นบิน(catapult) ตำแหน่งที่ 2 ด้วย
รอยไหม้ต่างๆเหล่านี้ตั้งข้อสังเกตว่าได้มีการนำรางดีด catapult แม่เหล็กไฟฟ้า(EMALS: Electro-Magnetic Aircraft Launch System) บนเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian อย่างน้อยหนึ่งระบบมาใช้ส่งอากาศยานปีกนิ่งขึ้นบิน

อย่างไรก็ตามรอยไหม้นี้ไม่ถูกพบเห็นบนแผ่นป้องกันความร้อนจากเครื่องยนต์ไอพ่นอื่นอีกสองตัวบนเรือ นี่จึงตั้งข้อสังเกตุว่าการปฏิบัติการส่งอากาศยานของกองการบินกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนขึ้นบินขณะนี้ถูกจำกัดที่ตำแหน่งราง catapult 2 เท่านั้น
ชุดภาพยังเห็นดาดฟ้าบินบนเรือที่มีแบบจำลองขนาดเท่าของจริง mock-up ของอากาศยานหลากหลายแบบ(https://aagth1.blogspot.com/2024/11/j-35a.html) และการทำเครื่องหมายตำแหน่งต่างๆ ซึ่งตั้งข้อสังเกตว่ากองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนกำลังเดินหน้าปรับแต่งขั้นตอนการปฏิบัติงานบนดาดฟ้าก่อนหน้าการนำเรือเข้าประจำการ

CV-18 Fujian เป็นเรือบรรทุกเครื่องบินลำที่สามและลำที่สองที่จีนสร้างในประเทศทั้งหมด(https://aagth1.blogspot.com/2022/06/type-003-cv-18-fujian.html)  และเป็นลำแรกที่ใช้ใช้แบบแผนรูปแบบการปฏิบัติการอากาศยานแบบ CATOBAR(Catapult-Assisted Take-Off But Arrested Recovery)
เรือบรรทุกเครื่องบินสองลำแรกของจีน เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-16 Liaoning และเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-17 Shandong แต่ละลำถูกสร้างโดยติดตั้งทางวิ่งขึ้น ski-jump และมีแบบแผนในรูปแบบการปฏิบัติการอากาศยานแบบ STOBAR(Short Take-Off But Arrested Recovery)

เรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian มีความยาวเรือรวมที่ประมาณ 320m และดาดฟ้าบินของเรือมีความกว้างที่ประมาณ 80m ในจุดที่กว้างที่สุด ได้รับการติดตั้งรางดีด catapult ระบบแม่แหล็กไฟฟ้าสามตำแหน่ง และสายลวดเกี่ยวหยุดอากาศยานสี่เส้นติดตั้งในตำแหน่งทางวิ่งแนวเฉียง
เครื่องบินขับไล่พหุภารกิจประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน J-15T เป็นรุ่นที่ถูกติดตั้งฐานล้อลงจอดหน้าด้วยก้านยึด(launch bar) กับรางดีด catapult สำหรับการปฏิบัติการบนเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ CATOBAR เช่นเรือบรรทุกเครื่องบิน CV-18 Fujian โดยตรงครับ