New Destroyers and Export Frigates by Hanwha Ocean at MADEX 2025
Hanwha Ocean 4,000-ton export frigate at MADEX 2025.
Mistral SIMBAD-RC as CIWS.
Hanwha Ocean 4500-ton frigate at MADEX 2025.
CIWS, 20mm RCWS, UAV Antenna and (Torpedo Acoustic Counter Measure) TACM above
the hangar.
Hanwha Ocean's Future destroyer.
Hanwha Ocean's 8,200-ton destroyer.
The destroyer design features a large mission bay for UAVs and USVs, as well
as conformal anti-ship missile launcher that flush with the superstructure
when not in firing position.
บริษัท Hanwha Ocean
สาธารณรัฐเกาหลีผู้สร้างเรือได้จัดแสดงแบบเรือพิฆาตใหม่และแบบเรือฟริเกตสำหรับส่งออกใหม่ต่างๆ
ณ นิทรรศการทางเรือนานาชาติ MADEX 2025 ที่ศูนย์จัดแสดง BEXCO Exhibition Center
ในมหานคร Busan สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 28-31 พฤษภาคม 2025 ที่ผ่านมา
ในงาน MADEX 2025 บริษัท Hanwha Ocean
ได้จัดแสดงแนวคิดแบบเรือผิวน้ำแบบเรือผิวน้ำล่าสุดต่างๆของตนเพื่อเน้นย้ำความแข็งแกร่งของกลุ่มบริษัท
Hanwha Group
สาธารณรัฐเกาหลีในฐานะผู้มอบแนวทางแก้ไขปัญหาความมั่นคงทางทะเลแบบเบ็ดเสร็จ
บนพื้นฐานขีดความสามารถบูรณาการต่างๆในการสร้างเรือ, ระบบตรวจจับ
และระบบขับเคลื่อน
โดยผสมผสานความเชี่ยวชาญการสร้างเรือที่ได้รับการพิสูจน์แล้วของ Hanwha Ocean
สาธารณรัฐเกาหลีด้วยระบบตรวจจับขั้นก้าวหน้าต่างๆจากบริษัท Hanwha Systems
สาธารณรัฐเกาหลี และระบบขับเคลื่อนและพลังงานจากบริษัท Hanwha Aerospace
สาธารณรัฐเกาหลี
แบบเรือผิวน้ำใหม่ต่างๆเป็นตัวอย่างขีดความสามารถของกลุ่มบริษัท Hanwha Group
ที่จะส่งมอบระบบที่ได้รับการปรับแต่และมีความเข้ากันได้ในการทำงานร่วมกันให้เหมาะสมสำหรับความต้องการต่างๆของผู้ใช้งานทั่วโลก(https://aagth1.blogspot.com/2025/06/hanwha-ocean-ghost-commander-ii.html)
"เรือพิฆาตอนาคต"(Future Destroyer) ของบริษัท Hanwha Ocean
ที่เปิดตัวเป็นครั้งแรกในงาน MADEX 2025 เป็นแบบเรือที่ได้รับการ
"การปรับแต่งสำหรับคุณลักษณะตรวจจับได้ยาก stealth อย่างสูงสุด
และการปฏิบัติการระบบไร้คนขับต่างๆ"
เรือพิฆาตอนาคต Hanwha Ocean Future Destroyer มีความยาวเรือที่ 180m
ระวางขับน้ำเต็มที่ที่ 8,200tons ติดตั้งปืนรางแม่เหล็กไฟฟ้า Railgun ขนาด 5"
แท่นยิงแนวดิ่ง VLS(Vertical Launching System) 88ท่อยิง, ระบบป้องกันระยะประชิด
CIWS(Close-in Weapon System) แบบ Laser,
ระบบตรวจจับแบบแนบไปกับลำตัวเรือ(เรียบเสมอกับดาดฟ้ายก)
แนวคิดแบบเรือเรือพิฆาตอนาคตนี้มีคุณลักษณะการเป็นเรือแม่สำหรับระบบไร้คนขับต่างๆอย่างมาก
ตามที่เรือสามารถวางกำลังอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial Vehicle),
ยานใต้น้ำไร้คนขับ(UUV: Unmanned Underwater Vehicle) และยานผิวน้ำไร้คนขับ(USV:
Unmanned Surface Vehicle) ต่างๆ
เช่นเดียวกับอาวุธนำวิถีร่อนทางยุทธวิธี(Loitering Munition)
ขีดความสามารถทีมมีคนบังคับ-ไร้คนขับ(MUM-T: Manned-Unmanned Teaming)
ต่างๆของแบบเรือมีความก้าวหน้าอย่างมากและยกประโยชน์จากองค์ความรู้ของบริษัท
Hanwha Systems ในด้านนี้มาใช้
ในช่วงเวลานั้น บริษัท Hanwha Ocean ได้เปิดแบบจำลองแนวคิด
3แบบเรือควบคุมไปหนึ่งแบบเรือยุคอนาคต การจัดแสดงนำโดยแบบเรือพิฆาต Hanwha Ocean
Destroyer 8000 ขนาดระวางขับน้ำ 8,200tons ความยาวเรือ 156.3m ความกว้างเรือ
18.8m และกินน้ำลึก 9.9m
เรือพิฆาต Ocean 8000 สามารถทำความเร็วได้ถึง 29knots
และนำระบบขับเคลื่อนไฟฟ้าบูรณาการเต็มรูปแบบ(IFEP: Integrated Full Electric
Propulsion) มาใช้ มอบการเพิ่มขยายการตรวจจับได้ยาก stealth
ผ่านการแพร่สัญญาณเสียที่ต่ำ
เรือพิฆาต Ocean 8000
มีคุณลักษณะการออกแบบให้มีหัวเรือกลับด้านและดาดฟ้ายกแบบปิดคลุมเต็มรูปแบบเพื่อลดภาคตัดขวาง
radar(RCS: Radar Cross Section) รวมถึงแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น(SSM:
Surface-to-Surface Missile) ที่ยกขึ้นเข้าออกในตัวเรือได้
และระบบที่ได้รับการบูรณาการอื่นๆ
เรือตืดตั้งเสาเรือบูรณาการของบริษัท Hanwha Systems
ที่เดิมได้รับการพัฒนาสำหรับโครงการเรือพิฆาต KDDX
และสายอากาศสื่อสารดาวเทียมวงโคจรต่ำ(LEO: Low-Earth Orbit satellite)
ทำให้มีการสื่อสารหลายย่านความถี่สำหรับการบัญชาการและควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ
ถูกออกแบบด้วยในความคิดการปฏิบัติการต่างๆในอนาคต
รวมถึงห้องภารกิจที่สามารถวางกำลังอากาศยานไร้คนขับ UAV และยานผิวน้ำไร้คนขับ USV
ได้ ระบบอาวุธประกอบด้วยปืนเรือขนาด 5inch ที่หัวเรือ, ระบบป้องกันระยะประชิด
CIWS-II ที่ท้ายเรือ(https://aagth1.blogspot.com/2020/06/ciws.html)
และเป็นไปได้ที่จะบูรณาการด้วยอาวุธพลังงานตรง(DEW: Directed Energy Weapon)
ที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยระบบขับเคลื่อนไฟฟ้า IFEP
แท่นยิงแนวดิ่ง VLS ต่างๆรวมถึงแท่นยิงแนวดิ่งแบบ KVLS-I 32ท่อยิง
และแท่นยิงแนวดิ่งแบบ KVLS-II 16ท่อยิง
ขณะที่ถูกพัฒนาสำหรับตาลดในประเทศกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic of
Korea Navy) เรือพิฆาต Ocean 8000
บูรณาการด้วยวิทยาการหลักต่างๆจากสามกิจการป้องกันประเทศหลักของ Hanwha Group
วางตำแหน่งของตนในฐานะผู้เข้าแข่งขันที่แข็งแกร่งสำหรับตลาดส่งออกนานาชาติในอนาคต
แบบเรือต่อไปคือเรือฟริเกตสำหรับส่งออกเป็นหลักที่มีพื้นฐานจากเรือฟริเกตชั้น
Chungnam(FFX Batch-III) ของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(https://aagth1.blogspot.com/2025/01/ffx-batch-iv.html) เรือฟริเกต Hanwha Ocean Frigate 4500
แบบเรือฟริเกต Frigate 4500 มีระวางขับน้ำเต็มที่ที่ประมาณ 4,500tons ความยาวเรือ
130m ความกว้างเรือ 16m และกินน้ำลึก 7.6m
ติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ดีเซล-ไฟฟ้าและ gas turbine รูปแบบ
CODLOG(Combined Diesel-Electric or Gas) และสามารถทำความเร็วได้สูงสุดที่
29knots
ระบบตรวจจับหลักรวมถึง AESA(Active Electronically Scanned Array) Multi-Function
Radar(MFR) และระบบ sonar TASS(Towed Array Sonar System) สายอากาศ UAV
อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถูกติดตั้งที่ท้ายเรือเพื่อสนับสนุนการปฏิบังานของระบบไร้คนขับต่างๆ
ภายในตัวเรือศูนย์บัญชาการสงครามอสมมาตร(asymmetric warfare)
ได้รับการติดตั้งซึ่งนำพลังของระบบปัญญาประดิษฐ์(AI: Artificial Intelligence)
มาใช้ในการตรวจการณ์ 360-degree แบบเวลาจริงเพื่อตรวจจับภัยคุกคามแบบอสมมาตรต่างๆ
เช่น เรือขนาดเล็กหรือ UAV
radar แบบ MFR ที่เพิ่มขยายสมรถนะผสมผสานระบบก่อกวน Jammer
ที่ถูกติดตั้งบนเรือเพื่อจัดตั้งขีดความสามารถระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ(C-UAS:
Counter-Unmanned Aerial System) ที่แข็งแกร่ง
เรือฟริเกต Frigate 4500 ติดตั้งอาวุธที่ปรากฎว่าเป็นปืนเรือ Leonardo 76mm,
แท่นยิงปืนกล remote (RCWS: Remote-Controlled Weapon Station) ขนาด 20mm,
ระบบป้องกันระยะประชิด CIWS, แท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่พื้น SSM,
แท่นยิงแนวดิ่ง VLS 16ท่อยิง, และระบบต่อต้าน torpedo ทางเสียง(TACM: Torpedo Acoustic Counter Measure)
นำประโยชน์จากขีดความสามารถการตรวจจับระยะไกลของ radar แบบ MFR มาใช้ เรือฟริเกต
Frigate 4500 มีขีดความสามารถในการต่อต้านภัยคุคามจากขีปนาวุธ, อากาศยาน
และเรือผิวน้ำ เรือยังบูรณาการด้วย UAV และ USV จัดตั้งเป็นระบบ MUM-T
ที่ได้รับการปรับแต่งสำหรับการปฏิบัติการทางทะเลสมัยใหม่ต่างๆ
แบบจำลองสุดท้ายคือแบบเรือฟริเกต Frigate 4000
ที่มีพื้นฐานจากเรือฟริเกตชุดเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดชของของกองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ซึ่งบริษัท Hanwha Ocean
ได้สร้างส่งออกให้ไทยก่อนหน้า(https://aagth1.blogspot.com/2025/05/hanwha-ocean-frigate-4000.html)
ตามข้อมูลจริงของแบบจำลองที่ถูกจัดแสดง เรือฟริเกต Frigate 4000
มีระวางขับน้ำเต็มที่ที่ 3,700tons, มีความยาวตัวเรือที่ 124m, กว้างที่ 14m
และกินน้ำลึกที่ 8m
ติดตั้งระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ดีเซลและ gas turbine รูปแบบ CODAG(Combined
Diesel and Gas) เช่นเดียวกับ ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดชของกองทัพเรือไทย
และทำความเร็วได้สูงสุดที่ 27knots
บริษัท Hanwha Ocean ส่งเสริมการประชาสัมพันธ์แบบเรือฟริเกต Frigate 4000 นี้ในฐานะระบบคุณภาพสูง, ส่งมอบได้รวดเร็ว, และได้รับการพิสูจน์สมรรถนะแล้ว
โดยยกประโยชน์จากประสบการณ์การใช้ปฏิบัติงานต่างๆของกองทัพเรือไทยมาใช้(https://aagth1.blogspot.com/2025/04/rtaf2025.html)
เพื่อที่จะให้สามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วในสภาวะสนามรบที่วิวัฒนาการไป
เรือฟริเกต Frigate 4000 มีการนำการออกแบบแบบ modular มาใช้ที่สนับสนุนการปรับปรุงในอนาคต การติดอาวุธเพิ่มเติม
และการปรับเปลี่ยนรูปแบบของระบบใหม่อย่างยืดหยุ่น
การวางตำแหน่งในเรือฟริเกต Frigate 4000
เสนอพื้นที่ภายในที่เพียงพอและปรับแต่งได้เพื่อรองรับความต้องการภารกิจที่หลากหลายและการเพิ่มขยายขีดความสามารถในอนาคต
นอกเหนือจากนี้ Hanwha Ocean ได้ออกแบบระบบเรือที่จะสนับสนุนระบบอาวุธและระบบตรวจจับของต่างประเทศที่หลากหลาย
ทำให้มีรูปแบบที่เหมาะสมเหมาะสมบนพื้นฐานความต้องการและข้อจำกัดด้านงบประมาณของลูกค้า
โดยระบบอาวุธที่ได้รับการติดตั้งบนเรือยังรวมถึงแท่นยิง SIMBAD
สำหรับอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ MBDA Mistral
ในฐานะระบบป้องกันระยะประชิด CIWS(https://aagth1.blogspot.com/2025/05/mistral-brp-jose-rizal.html)
ความเห็นวิเคราะห์:
กองทัพเรือไทยมีความต้องการเรือฟริเกตสมรรถนะสูงใหม่จำนวน ๔ลำที่จะสร้างในไทย
อย่างไรก็ตามสถานการณ์ในรัฐสภาไทยหลังการปรับคณะรัฐมนตรีใหม่ที่เกิดความไม่มีเสถียรภาพในรัฐบาล
นอกจากในสิ้นเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๘(2025) ที่กระทรวงกลาโหมไทยได้เห็นชอบการแก้ไขสัญญาเรือดำน้ำ S26T
ที่ยอมรับเครื่องยนต์ดีเซลกำเนิดพลังงานไฟฟ้า CHD620 จีนแทน MTU 396 เยอรมนีที่ไม่ส่งออกให้จีน
ซึ่งยังคงเป็นประเด็นที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและรัฐสภาไทยตามลำดับตามที่เป็นข้อตกลงแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล(G-to-G:
government-to-government) แล้ว การอนุมัติงบประมาณปี พ.ศ.๒๕๖๙(2026)
สำหรับโครงการจัดหาเรือฟริเกตระยะที่๑ เป็นวงเงินราว
๑,๗๕๐,๐๐๐,๐๐๐บาท($53,796,496) เพียง ๑ลำเท่านั้น ขณะที่กองทัพเรือไทยชี้แจงว่าต้องการต่อเรือฟริเกตใหม่ ๒ลำในประเทศอย่างต่อเนื่องครับ