วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2560

ภาพเครื่องบินขับไล่ JF-17 กองทัพอากาศพม่าเครื่องชุดแรกทำการบินครั้งแรก




first photos of Myanmar Air Force JF-17 Fighter test flight with Russian RD-93 Turbofan Engine at Chengdu Aircraft Corporation(CAC) facility in china (fyjs.cn and sina.com)
https://www.facebook.com/Strategical.journal/photos/a.328760253961142.1073741828.328693710634463/648445705325927/
https://www.facebook.com/Strategical.journal/posts/648936238610207

ภาพล่าสุดที่เผยแพร่ในสื่อสังคม Online จีนได้เปิดเผยเครื่องบินขับไล่ JF-17 กองทัพอากาศพม่าเครื่องแรกที่ประกอบเสร็จจากโรงงาน Pakistan Aeronautical Complex(PAC) ปากีสถานทำการทดสอบบินครั้งแรกแล้วที่โรงงาน Chengdu Aircraft Corporation(CAC) สาธารณรัฐประชาชนจีน
จากภาพที่ปรากฎในส่วนท้ายของเครื่องเห็นได้ว่า JF-17 ของกองทัพพม่าน่าจะติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น Turbofan แบบ RD-93 ของรัสเซีย ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับที่ใช้ในเครื่องบินขับไล่ MiG-29B และ MiG-29SE ที่มีประจำการในกองทัพอากาศพม่าอยู่แล้ว
โดยลายพรางเครื่องที่ปรากฎของ JF-17 ของกองทัพอากาศพม่าหมายเลข 1702(น่าจะเป็นเครื่องลำดับที่2)นั้นก็เป็นสีพรางโทนฟ้า-น้ำเงิน รูปแบบเดียวที่ใช้กับเครื่องบินขับไล่ MiG-29 และเครื่องบินฝึกไอพ่น Yak-130 รัสเซียที่เพิ่งจะได้รับมอบมาล่าสุดด้วย

MiG-29SE Myanmar Air Force

Myanmar Air Force receives its first three Yak-130 jet Trainer form Russia(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/yak-130.html)

ปัจจุบันกองทัพอากาศพม่านอกจากเครื่องบินขับไล่ MiG-29 รัสเซียที่ประกอบด้วยรุ่นที่นั่งเดียวคือ MiG-29B 20เครื่อง และ MiG-29SE 6เครื่อง และรุ่นฝึกสองที่นั่ง MiG-29UB 6เครื่อง (มี MiG-29 ตกจากอุบัติเหตุ 1เครื่องในปี 2014) รวม 31เครื่องแล้ว
กองทัพอากาศพม่ายังมีความต้องการในการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่ทดแทนเครื่องบินขับไล่ เครื่องบินขับไล่ F-7M 36เครื่อง และเครื่องบินโจมตี A-5C 24เครื่อง ที่จัดหามาจากจีนช่วงปี 1990-2000
โดยกองทัพอากาศพม่าได้เป็นลูกค้ารายแรกที่จัดหาเครื่องบินขับไล่ JF-17 Block 2 ที่มีสายการผลิตจากโรงงานอากาศยานของ PAC ปากีสถานในรหัส Ruby จำนวน 16เครื่องในปี 2015 วงเงินเครื่องละ $16 million โดยคาดว่าจะมีการส่งมอบภายในปี 2017 นี้

เครื่องบินขับไล่ JF-17 Thunder ปากีสถาน หรือ FC-1 Xiaolong(Fierce Dragon) จีน เป็นโครงการพัฒนาร่วมกันระหว่าง CAC จีน และ PAC ปากีสถาน ซึ่งมีผู้ใช้งานหลักคือกองทัพอากาศปากีสถานที่ปัจจุบันมีเครื่องบินขับไล่ JF-17 อย่างน้อย 70เครื่องที่เข้าประจำการในปี 2009
ซึ่ง JF-17 Block 2 ในสายการผลิตปัจจุบันนั้นได้รับการปรับปรุงให้มีขีดความสามารถในการเติมเชื้อเพลิงกลางอากาศและมีระบบ Avionic และอุปกรณ์ที่มีสมรรถนะสูงขึ้น คาดว่าปากีสถานจะนำ JF-17 จำนวนมากถึง 150เครื่องเข้าประจำการในอีกหลายปีต่อไปข้างหน้า
โดยล่าสุดพม่ากำลังเจรจากับปากีสถานเพื่อขอจัดซื้อสิทธิบัตรสายการผลิตเครื่องบินขับไล่ JF-17 Block 3 รุ่นใหม่ที่จะปรับปรุงสมรรถนะให้สูงขึ้นเช่นติดตั้ง AESA radar ให้ดำเนินการประกอบเครื่องภายในพม่า ซึ่งจะเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญในการเพิ่มขีดความสามารถอุตสาหกรรมความมั่นคงของพม่าครับ(http://aagth1.blogspot.com/2017/02/jf-17.html)