วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2565

เครื่องบินขับไล่ Gripen กองทัพอากาศไทยแสดงสมรรถนะในวันสถาปนากองบิน๗ ครบรอบ ๔๐ปี































40 Yeras of Pride Wing 7 Speed Up Development to the Future
Royal Thai Air Force (RTAF) Saab Gripen C/D of 701st Squadron and Saab 340 Erieye AEW&C(Airborne Early Warning and Control) of 702nd Squdron show their performance at 40th anniversary of founding Wing 7 Surat Thani
alongside with static ground displayed of historic retired aircrafts North American Rockwell OV-10C Bronco and Northrop F-5E Tiger II on 15 September 2022. (Wing 7, Royal Thai Air Force)

กองบิน 7 จัดพิธีวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 40 ปี
นาวาอากาศเอก พุทธพงศ์  ผลชีวิน ผู้บังคับการกองบิน 7 พร้อมด้วย คุณธนภร  ผลชีวิน ประธานชมรมแม่บ้านทหารอากาศ กองบิน 7, อดีตผู้บังคับการกองบิน 7, ข้าราชการ, ลูกจ้าง, พนักงานราชการ, ทหารกองประจำการ และสมาชิกชมรมแม่บ้านทหารอากาศ กองบิน 7 
ร่วมพิธีวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ 40 ปี กองบิน 7 โดยมีการบินแสดงสมรรถนะของเครื่องบินขับไล่แบบที่ 20/ก (Gripen 39 C/D) และเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือน แบบที่ 1 (Saab 340 AEW)  
พิธีสักการะพระบิดากองทัพอากาศไทย และพิธีสมโภชพระพุทธมหาเมตตา โดยมี นายสุทธิพงษ์  คล้ายอุดม รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุราษฎร์ธานี 
พร้อมด้วย พลตำรวจตรี สาธิต  พลพินิจ ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสุราษฎร์ธานี, นายวิสูตร  อินทรกำเนิด นายอำเภอพุนพิน, หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจและเอกชนภายในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้นำชุมชนท้องถิ่น และคณะครู-นักเรียนในพื้นที่บริเวณใกล้เคียง กองบิน 7 
ร่วมเป็นเกียรติในพิธีฯ ณ กองบิน 7 ตำบลมะลวน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2565

แรกเริ่มกองบิน๗ ถูกจัดตั้ง ณ อ่าวจุดเสม็ด อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๙๔(1951) มีการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพอากาศใหม่เป็น กองบินน้อยที่๗ เมื่อวันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๔๙๔ ต่อมามีการยุบเลิกกองบินภาคและจัดตั้งกองบินยุทธการขึ้นโดยมีกองบินน้อยที่๗ เป็นหน่วยขึ้นตรง
ต่อมาปี พ.ศ.๒๕๐๖(1963) กองบินน้อยที่๗ เปลี่ยนชื่อเป็นกองบินที่๗ ต่อมามีการกำหนดให้สนามบินม่วงเรียงซึ่งเป็นสนามบินเก่าที่กองทัพญี่ปุ่นสร้างไว้ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง พ.ศ.๒๔๘๖(1943) อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นที่ตั้งใหม่ของกองบิน๗๑ ที่ตั้งขึ้นใหม่ในชื่อสนามบินหัวเตย
กองบินที่๗ เปลี่ยนนามหน่วยเป็นกองบิน๗๑ และย้ายมาเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๕(1982) ซึ่งเป็นที่ตั้งปัจจุบันจึงถือวันนี้เป็นวันสถาปนาหน่วย โดยมีประจำการด้วยเครื่องบินโจมตีแบบที่๕ บ.จ.๕ North American Rockwell OV-10C Bronco จำนวน ๑๑เครื่อง ในฝูงบิน๗๑๑ กองบิน๗๑

ในปี พ.ศ.๒๕๓๓(1990) กองทัพอากาศไทยได้ปรับภารกิจของกองบิน๗๑ จากกองบินสนับสนุนทางอากาศยุทธวิธีเป็นกองบินขับไล่ยุทธวิธี จึงมีการย้ายเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘ข/ค บ.ข.๑๘ข/ค Northrop F-5E/F Tiger II จากฝูงบิน๑๐๒ กองบิน๑ โคราช มายังฝูงบิน๗๑๑ 
โดยเครื่องบินโจมตี บ.จ.๕ OV-10C ในฝูงบิน๗๑๑ ทั้งหมดถูกโอนย้ายไปรวมที่ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ ในปี พ.ศ.๒๕๓๔(1991) ต่อมาเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๘/ก F-5A/B ฝูงบิน๒๓๑ กองบิน๒๓ อุดรธานี ถูกโอนย้ายมารวมที่ฝูงบิน๗๑๑ เพิ่มเติมในปี พ.ศ.๒๕๔๑(1998)
วันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ.๒๕๔๒(1999) ได้มีคำสั่งยกฐานะกองบิน๗๑ ที่มีฝูงบินเดียว เป็นกองบิน๗ ที่มีสองฝูงบิน และตั้งโครงการจัดหาเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ ๑๒เครื่องในปี พ.ศ.๒๕๔๖(2003) ปลด บ.ข.๑๘/ก F-5A/B และโอนย้าย บ.ข.๑๘ข/ค F-5E/F ไปฝูงบิน๒๑๑ กองบิน๒๑ อุบลราชธานี
 
มีการนำเครื่องบินขับไล่แบบที่๒๐ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen C/D ประจำการในฝูงบิน๗๐๑ และเครื่องบินควบคุมและแจ้งเตือนทางอากาศแบบที่๑ บ.ค.๑ Saab 340 Erieye AEW&C และเครื่องบินลำเลียงแบบที่๑๗ บ.ล.๑๗ Saab 340B ประจำการในฝูงบิน๗๐๒ ในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) จนถึงปัจจุบัน
เครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐/ก Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ ล่าสุดได้เข้าร่วมการฝึกผสมทางอากาศทวิภาคี Falcon Strike 2022 กับกองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) ระหว่างวันที่ ๑๔-๒๔ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ที่กองบิน๒๓ ที่ผ่านมา
พิธีวันคล้ายวันสถาปนาครบรอบ ๔๐ปี กองบิน๗ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๖๕ เป็นเวลา ๖เดือนให้หลังจากวันคล้ายวันสถาปนาจริง ๑๕ กุมภาพันธ์ ที่น่าจะมีเหตุผลเรื่องความเหมาะสมด้านความพร้อม จึงเป็นการแสดงถึงประวัติความเป็นมาและขีดความสามารถของกองบิน๗ ในปัจจุบันได้อย่างดีครับ