วันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2565

KAI เกาหลีใต้ร่างแผนที่จะพัฒนาเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน KF-21N

DX Korea 2022: KAI outlines plan to develop carrierborne KF-21N fighter







KAI has proposed the development of the carrierborne KF-21N, a version of the KF-21 fighter aircraft that completed its first test flight in July. (Jon Grevatt/Janes)



บริษัท Korea Aerospace Industries(KAI) สาธารณรัฐเกาหลีได้เปิดเผยแผนที่จะพัฒนารุ่นประจำเรือบรรทุกเครื่องบินของเครื่องบินขับไล่ KF-21 ของตน(https://aagth1.blogspot.com/2022/07/kf-21.html
แบบจำลองของเครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกเครื่องบิน KF-21N ถูกเปิดตัวในงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ DX Korea 2022 ที่จัดขึ้นใน Goyang ระหว่างวันที่ 21-25 กันยายน 2022

บริษัท KAI กล่าวกับ Janes ว่าโครงการพัฒนาขึ้นกับแผนของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic of Korea Navy) ที่จะจัดหาเรือบรรทุกเครื่องบินขนาดใหญ่เพียงพอที่จะปฏิบัติการเครื่องบินขับไล่
อย่างไรก็ตามบริษัทกล่าวว่าควรจะมีการระบุความต้องการขึ้นมา KAI จะสามารถที่จะสร้างเครื่องบินขับไล่ KF-21N ได้ในเวลาไม่กี่ปี(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/dsme-hhi-cvx.html)

"เครื่องบินขับไล่ KF-21N จะต้องการปีกที่ใหญ่ขึ้นร้อยละ20จากเครื่องบินขับไล่ KF-21 เพื่อให้มั่นใจในความปลอดภัยและการรักษาการทรงตัวของเครื่องเมื่อกำลังบินขึ้่นและลงจอดบนเรือบรรทุกเครื่องบิน
เครื่องบินขับไล่ KF-21N จะยังต้องการการพัฒนาและการบูรณาการของระบบรางดีดส่งอากาศยานขึ้นบิน(catapult) และการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างอื่นๆ" เจ้าหน้าที่ KAI กล่าว

แบบจำลองเครื่องบินขับไล่ KF-21N ที่จัดแสดงในงาน DX Korea 2022 ยังบูรณาการด้วยอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นพิสัยไกลความเร็วเหนือเสียงสูงมาก hypersonic
ซึ่ง Janes เข้าใจว่าได้รับการพัฒนาโดยสำนักงานการพัฒนาทางกลาโหม(ADD: Agency for Defense Development) สาธารณรัฐเกาหลี KAI ไม่ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับอาวุธปล่อยนำวิถี hypersonic ณ เวลาที่เผยแพร่บทความนี้

ตามข้อมูลจาก KAI เครื่องบินขับไล่ KF-21N จะติดตั้งเครื่องยนต์ไอพ่น turbofan แบบ General Electric F414 สองเครื่อง ซึ่งยังบูรณาการเข้ากับแบบพื้นฐานเครื่องบินขับไล่ KF-21
เครื่องบินขับไล่ KF-21N ยังมีคุณสมบัติพับปีกได้ และสามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งบนเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ STOBAR(Short Take-Off But Arrested Recovery) ที่ส่งอากาศยานขึ้นบินด้วยทางวิ่ง ski-jump และรับกลับมาลงจอดด้วยการใช้ตะขอเกี่ยวลวดท้ายเรือ

และเรือบรรทุกเครื่องบินแบบ CATOBAR(Catapult Assisted Take-Off But Arrested Recovery) ที่ส่งอากาศยานขึ้นบินด้วยรางดีด catapult และรับกลับมาลงจอดด้วยการใช้ตะขอเกี่ยวลวดท้ายเรือ
เห็นได้จากแบบจำลองของเครื่องบินขับไล่ KF-21N ที่ฐานล้อลงจอดด้านหน้ามีส่วนก้านแขนยื่นออกสำหรับยึดเข้ากับกระสวยของรางดีดเมื่อจะทำการส่งขึ้นบิน และตะขอเกี่ยวลวดและฐานล้อลงจอดที่ถูกเสริมความแข็งแรง

มีรายงานในสื่อท้องถิ่นของสาธารณรัฐเกาหลีก่อนหน้าว่าโครงการพัฒนาเรือบรรทุกเครื่องบินเบา CVX สำหรับกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีได้ถูกตัดออกจากงบประมาณปี 2023 ต่อมามีรายงานว่าจะมีการปรับแผนเป็นการพัฒนาเรือบรรทุกเครื่องบินตามแบบที่มีขนาดใหญ่ขึ้น
จากเดิมที่วางแผนจะวางกำลังด้วยเครื่องบินขับไล่บินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง(STOVL: Short Take-off and Vertical Landing) อย่างเช่นเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter(JSF) จะเปลี่ยนเป็นเครื่องบินขับไล่ KF-21N ที่พัฒนาในประเทศครับ