วันจันทร์ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2565

เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช กองทัพเรือไทยเสร็จสิ้นการฝึกผสม Kakadu 2022 ขั้น Sea Phase ที่ออสเตรเลีย












Royal Thai Navy (RTN)'s FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej frigate has concluded Exercise KAKADU 2022 at Northern Australian Exercise area (NAXA), Darwin, Australia from 12-24 September 2022. (Royal Thai Fleet)





หน่วยเรือฝึกผสม KAKADU 2022 โดย เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช เข้าร่วมการฝึกผสม KAKADU 2022 ขั้นการฝึกในทะเล (Sea Phase) บริเวณพื้นที่ฝึก Northern Australian Exercise Area เมืองดาร์วิน เครือรัฐออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๑๕ - ๒๔ ก.ย.๖๕ 
โดยแบ่งออกเป็น ๒ ช่วงการฝึก คือ

การฝึก FIT PHASE (FLEET INTEGRATION TRAINING) ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๐ ก.ย.๖๕ เป็นการฝึกการปฏิบัติการร่วมกัน และ สร้างความคุ้นเคย ระหว่างกำลังในหน่วยฝึกให้มีความพร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจต่าง ๆ ร่วมกัน 
หัวข้อการฝึก ได้แก่ การฝึกปราบเรือดำน้ำ การฝึกการป้องกันภัยทางอากาศ การฝึกการแปรกระบวน ฝึกยิงอาวุธประจำเรือ การฝึกการปฏิบัติการร่วมอากาศยาน การฝึกรบผิวน้ำแบ่งฝ่ายประลองยุทธ์ และการถ่ายภาพกองเรือ 

และช่วงการฝึก FREE PLAY PHASE ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๔ ก.ย.๖๕ เป็นการฝึกปฏิบัติการในรูปแบบกองเรือปฏิบัติการนานาชาติ ปฏิบัติภารกิจรักษาสันติภาพ และ รักษาความสงบในภูมิภาค 
อีกทั้งระหว่างการฝึกได้มีการจัดนายทหารสังเกตุการณ์ฝึก (Observer/Sea Rider) ลงในเรือ ทร.ต่างชาติ ที่ร่วมฝึก อีกด้วย โดยมีกำลังที่เข้าร่วมการฝึกมีเรือรบกว่า ๑๕ ลำ เรือดำน้ำ ๑ ลำ อากาศยานกว่า ๓๐ เครื่อง และกำลังพลกว่า ๓,๐๐๐ นาย จาก ๒๐ ประเทศ

เรือฟริเกต เรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช สังกัด กองเรือฟริเกตที่๑(1st Frigate Squadron) กองเรือยุทธการ(RTF: Royal Thai Fleet) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy) ได้เสร็จสิ้นการฝึกผสมทางเรือ Kakadu 2022 ณ Darwin ออสเตรเลีย ระหว่างวันที่ ๑๒-๒๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
ขั้นการฝึกในทะเล(Sea Phase) ระหว่างวันที่ ๑๕-๒๔ กันยายน ๒๕๖๕ บริเวณพื้นที่ฝึก Northern Australian Exercise area(NAXA) นอกชายฝั่งเมือง Darwin ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช ได้ดำเนินการฝึกร่วมกับมิตรประเทศ ๒๐ชาติ ประกอบด้วยเรือมากกว่า ๑๕ลำ และอากาศยานกว่า ๓๐เครื่อง

เรือที่เข้าร่วมการฝึกผสม Kakadu 2022 รวมถึงเช่น กองทัพเรือออสเตรเลีย(RAN: Royal Australian Navy) เรือพิฆาตชั้น Hobart เรือพิฆาต DDG39 HMAS Hobart เรือฟริเกตชั้น Anzac เรือฟริเกต FFH157 HMAS Perth เรือตรวจการณ์ชั้น Armidale ACPB90 HMAS Broome และเรือส่งกำลังบำรุงชั้น Supply เรือส่งกำลังบำรุง A304 HMAS Stalwart, 
กองทัพเรือสหรัฐฯ(USN: US Navy) เรือ Littoral Combat Ship ชั้น Independence LCS-18 USS Charleston, กองทัพเรือฝรั่งเศส(French Navy, Marine Nationale) เรือฟริเกตชั้น Floréal เรือฟริเกต F734 Vendémiaire, 

กองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น(JMSDF: Japan Maritime Self-Defense Force) เรือพิฆาตชั้น Murasame เรือพิฆาต DD-104 JS Kirisame, กองทัพเรืออินเดีย(IN: Indian Navy) เรือฟริเกตชั้น Shivalik เรือฟริเกต F48 INS Satpura, กองทัพเรือมาเลเซีย(RMN: Royal Malaysian Navy, TLDM: Tentera Laut Diraja Malaysia) เรือฟริเกตชั้น Lekiu เรือฟริเกต FFG30 KD Lekiu,
กองทัพเรือสิงคโปร์(RSN: Republic of Singapore Navy) เรือฟริเกตชั้น Formidable เรือฟริเกต RSS Steadfast (70) และกองทัพเรืออินโดนีเซีย(Indonesian Navy, TNI-AL: Tentara Nasional Indonesia-Angkatan Laut) เรือฟริเกตชั้น Martadinata เรือฟริเกต KRI Raden Eddy Martadinata (331)

ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช กองทัพเรือไทย ได้ทำการฝึกหลายอย่างระหว่างการฝึกผสมทางเรือ Kakadu 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/09/kakadu-2022.html) รวมถึงการฝึกปราบเรือดำน้ำด้วย torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ Mark 54 ในแท่นยิงสามท่อยิงขนาด 324mm แบบ SEA,
การฝึกยิงปืนเรือ OTO Melara 76mm/62cal Super Rapid, การป้องกันภัยทางอากาศ, การแปรกระบวนเรือ, การปฏิบัติการร่วมอากาศยาน, การรบผิวน้ำแบ่งฝ่ายประลองยุทธ์ และการถ่ายภาพกองเรือ เป็นการอวดธงเพื่อแสดงศักยภาพของกองทัพเรือไทยแก่มิตรประเทศนานาชาติครั้งล่าสุดครับ