Thai Aviation Industries (TAI) has completed capabilities improvement programme for Royal Thai Air Force (RTAF) Lockheed Martin C-130H Hercules tactical transport aircrafts.
C-130H 60110 40th Anniversary scheme of 601st Squadron, Wing 6 Don Muang displayed in ceremony at TAI's facility in Don Mueang, Bangkok, Thailand on 26 September 2022. (Thai Aviation Industries/Royal Thai Air Force/Sompong Nondhasa/Airlinesweek)
พิธีปิดโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H)
วันนี้ (วันจันทร์ที่ 26 กันยายน 2565) เวลา 09.00 น. พลอากาศเอก นภาเดช ธูปะเตมีย์ ผู้บัญชาการทหารอากาศ มอบหมายให้ พลอากาศเอก อลงกรณ์ วัณณรถ ผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารอากาศ เป็นประธานในพิธีปิดโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H)
ณ โรงซ่อมอากาศยาน บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด ดอนเมือง โดยมีนายทหารชั้นผู้ใหญ่ของกองทัพอากาศ คณะกรรมการบริหารโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H)
นักบินและเจ้าหน้าที่ ฝูงบิน 601 กองบิน 6 ตลอดจนผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด ร่วมพิธี
ทั้งนี้ กองทัพอากาศได้มอบหมายให้ บริษัทอุตสาหกรรมการบิน จำกัด ดำเนินการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H) จำนวน 4 รายการ
ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2565 ซึ่งได้ดำเนินการเรียบร้อยแล้วตามกรอบเวลาที่กำหนด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. งานถอดเปลี่ยนจอแสดงผลในห้องนักบิน (Multi-function Display : MFD) จำนวน 8 เครื่อง เครื่องละ 4 จอ และมีจอแสดงผลไว้สำรอง จำนวน 4 จอ รวมทั้งหมด 36 จอ
2. งานปรับปรุงระบบป้องกันการชนระหว่างอากาศยาน (Traffic Alert and Collision Avoidance System Version 7.1 : TCAS7.1) และติดตั้งระบบติดตามอากาศยานอัตโนมัติ (Automatic Dependent Surveillance–Broadcast : ADS-B) จำนวน 4 เครื่อง
3. งานถอดเปลี่ยน Center Wing Upper and Lower Rainbow Fitting ทั้งด้านซ้ายและขวา จำนวน 8 เครื่อง
4. งานซ่อมใหญ่ ชุด Quick Engine Change (QEC) ให้มีความสมบูรณ์ และมีสภาพพร้อมใช้งาน จำนวน 28 ชุด
นอกจากนี้ยังมีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ของกองทัพอากาศ ให้มีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงอากาศยานอีกด้วย
ผลจากการปรับปรุงขีดความสามารถในครั้งนี้ ทำให้เครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H) มีเครื่องวัดประกอบการบินและเครื่องช่วยเดินอากาศที่ทันสมัยมากขึ้น ตอบสนองเทคโนโลยีการบินและข้อกำหนดในปัจจุบัน
อีกทั้งโครงสร้างของเครื่องบินได้รับการปรับปรุงให้มีความแข็งแรง และได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล ซึ่งกองทัพอากาศจะสามารถใช้งานเครื่องบินลำเลียงแบบที่ 8 (C-130H) ต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย ไม่ต่ำกว่า 10 ปี
พิธีปิดโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินลำเลียงแบบที่๘ บ.ล.๘ Lockheed Martin C-130H Hercules ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง ณ โรงซ่อมอากาศยาน บริษัทอุตสาหกรรมการบินจำกัด(TAI: Thai Aviation Industries) เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022)
โดยมีภาพการนำเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H หมายเลข 60110 ในลวดลายครบรอบ ๔๐ปี(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/c-130h.html) รวมถึงห้องนักบินแบบ glass cockpit, โครงสร้างอากาศยาน, ชิ้นส่วนประกอบ, อุปกรณ์ และเครื่องยนต์ต่างๆที่ได้การเปลี่ยนใหม่
กองทัพอากาศไทยไม่ได้ให้รายละเอียดว่ามี บ.ล.๘ C-130H เครื่องใดบ้างจากที่คาดว่ามีจำนวน ๘เครื่องที่เสร็จสิ้นการปรับปรุงขีดความสามารถรวมถึงเครื่องยนต์ใบพัด Turboprop แบบ Rolls-Royce T56 Series 3.5 ใหม่(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/rolls-royce-c-130h.html)
ปัจจุบัน ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ กองทัพอากาศไทยมีประจำการด้วยเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๘ C-130H จำนวนทั้งหมด ๑๒เครื่อง ประกอบด้วยเครื่องบินลำเลียง C-130H รุ่นลำตัวสั้น จำนวน ๖เครื่อง และเครื่องบินลำเลียง C-130H-30 รุ่นลำตัวยาว จำนวน ๖เครื่องคือ
C-130H หมายเลข 60101, 60102, 60103 เข้าประจำการ พ.ศ.๒๕๒๓(1980), C-130H-30 60104 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๒๖(1983), C-130H-30 60105, 60106 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๑(1988), C-130H-30 60107 และ C-130H 60108 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๓(1990)
และ C-130H 60109, 60110 และ C-130H-30 60111, 60112 เข้าประจำการปี พ.ศ.๒๕๓๕(1992) โดยมีอายุการใช้งานเฉลี่ยระหว่าง ๓๐-๓๒ปี ทั้งนี้ บ.ล.๘ C-130H อีก ๔เครื่องจะได้รับการปรับปรุงตามมาในงบประมาณปี ๒๕๖๖(2023) ซึ่งจะทำให้สามารถใช้งานได้จนถึงปี พ.ศ.๒๕๗๕(2032)
ตามสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) กองทัพอากาศไทยมีโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทดแทน บ.ล.๘ C-130H Hercules จำนวน ๑๒เครื่อง และระบบที่เกี่ยวข้อง พร้อมการฝึกอบรมสำหรับใช้ปฏิบัติภารกิจในการลำเลียงทางอากาศ
ระยะเวลาดำเนินการ ระยะที่๑ ผูกพันงบประมาณ ๔ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๕-๒๕๖๘(2022-2025) จำนวน ๔เครื่อง, ระยะที่๒ ผูกพันงบประมาณ ๔ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๗-๒๕๖๙(2024-2026) ๔เครื่อง, ระยะที่๓ ผูกพันงบประมาณ ๔ปี ปีงบประมาณ ๒๕๖๙-๒๕๗๒(2026-2029) จำนวน ๔เครื่อง
อย่างไรก็ตามการตัดลดงบประมาณกลาโหมลงจากการแพร่ระบาด Covid-19 มาหลายปีต่อเนื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/covid-19.html) ทำให้กองทัพอากาศไทยยังไม่ได้รับการจัดสรรงบประมาณที่เพียงพอสำหรับการจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ทดแทน บ.ล.๘ C-130H
การปรับปรุงขีดความสามารถ บ.ล.๘ C-130H จึงเป็นโครงการเล็กที่ใช้งบประมาณไม่มาก แต่แผนที่จะทดแทนเช่นเครื่องบินลำเลียง C-130J Super Hercules รุ่นใหม่นั้นจะต้องมีการประเมินความจำเป็นในอนาคตต่อไปครับ(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/c-130h-covid-19.html)