วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2565

Defense & Security 2022: กองทัพเรือไทยศึกษาการติดอาวุธนำวิถีกับอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง MARCUS-B






Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy (RTN) to studied how to equipped guided munition Thales FFLMM (Freefall Lightweight Multirole Missiles) on its domestic MARCUS-B (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System-Type B) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle), seen at the Defense & Security 2022 show in Bangkok. (My Own Photos, Sompong Nondhasa)



ความก้าวหน้าของ MARCUS-B เริ่มศึกษาการติดตั้งอาวุธแล้ว.... 
MARCUS-B ผลงานของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ ได้เสร็จสิ้นการทดสอบขั้นสุดท้ายในการเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนจากมอเตอร์ไฟฟ้าเป็นเครื่องยนต์น้ำมันเชื้อเพลิง (โดยใช้โครงสร้างเดิม) 
ทำให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการขั้นต่ำของกองทัพเรือได้ คือการมีระยะเวลาบินปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง โดยถึงแม้อาจจะดูว่าบินได้ไม่นานนักหากนำไปเทียบกับ UAV โดยทั่วๆไปในระดับขนาดใกล้เคียงกัน 
แต่จุดเด่นของ MARCUS-B แลกมาด้วยความสามารถในการเป็น UAV แบบปีกนิ่งที่สามารถขึ้นลงทางดิ่งจากทุกสถานที่ด้วยความแม่นยำ มีความเร็วในการบินปฏิบัติการประมาณ 100 กม./ชม. ทนต่อแรงลมตามแนวชายฝั่งและในทะเล
ภายในปี งป. 66 จะได้รับการสนับสนุนให้ผลิตเข้าทดลองใช้งานก่อนอย่างน้อย 1 ระบบเพื่อเก็บข้อมูลผลการใช้งานก่อนการผลิตระบบต่อไป โดย MARCUS-B รุ่นที่จะผลิตจริงนั้น จะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 30 ล้านบาทเศษ ซึ่งนับว่ามีราคาถูกมาก 
ประกอบไปด้วยตัวอากาศยาน 2 ลำ และชุดควบคุมภาคพื้นสำหรับควคุมจากฝั่ง 1 ชุด ควบคุมจากเรือ 1 ชุด โดยจะมีคุณลักษณะเบื้องต้นคือ เป็นอากาศยานไร้คนขับแบบปีกนิ่งขึ้นลงทางดิ่งจากพื้นที่จำกัดด้วยความแม่นยำ 
ใช้ระบบพลังงานแบบผสมผสาน (Hybrid) ระหว่างไฟฟ้าและน้ำมันเชื้อเพลิง มีระยะเวลาบินปฏิบัติการไม่ต่ำกว่า 3 ชั่วโมงที่ความเร็วบินเดินทางประมาณ 100 กม./ชม. (ระยะบินปฏิบัติการ 300 กม.) มีน้ำหนักขึ้นบินสูงสุดเกือบ 65 กก. 
ในปัจจุบันจึงได้มีการเริ่มศึกษาความเป็นไปได้ในการติดสัมภาระอื่นแล้ว เช่นการติดตั้งอาวุธปล่อยแบบนำวิถีขนาดเล็ก (Light Weight Guided Missile) เพื่อเป็น UAV ติดอาวุธในอนาคต...

ในงาน Defense & Security 2022 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้มาเยี่ยมชม MARCUS-B ผลงานของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ โดยมี นาวาเอก ภาณุพงศ์ ขุมสิน ให้การต้อนรับและอธิบายรายละเอียดข้อมูล เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2565

MARCUS-B ผลงานที่น่าภูมิใจของทหารเรือไทย คิดเองพัฒนาเอง สร้างเอง ในราคาที่ถูกมาก ถูกกว่าซื้อจากต่างประเทศหลายเท่า และยังมีคุณภาพทัดเทียมกับ UAV ชั้นนำที่มีขายในตลาดโลกด้วย ดำเนินโครงการโดย สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ

เจ้าหน้าที่ขณะทำการจำลองการติดตั้งอาวุธนำวิถีขนาดเล็กให้กับ MARCUS-B

นาวาเอก ภาณุพงศ์ ขุมสิน (ในชุดทหารเรือ) ผอ.กผค.สวพ.ทร. ผู้บุกเบิกและพัฒนา MARCUS-B จนประสบความสำเร็จในที่สุด และกำลังเริ่มศึกษาในการติดตั้งอาวุธนำวิถีขนาดเล็กให้กับ MARCUS-B

อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลแบบที่๒ MARCUS-B VTOL UAV แบบขึ้นลงทางดิ่ง ที่ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. พัฒนาร่วมกับภาคเอกชนไทยคือ บริษัท SDT Composites ไทย และบริษัท Pims Technologies ไทย
ได้ถูกนำมาจัดแสดง ณ งานนิทรรศการอุปกรณ์ป้องกันประเทศ Defense & Security 2022 ที่อาคาร Challenger Hall 1-2 ศูนย์จัดแสดงสินค้า Impact เมืองทองธานี กรุงเทพฯ ประเทศไทย ระหว่างวันที่ ๒๙ สิงหาคม-๑ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๕(2022) ที่ผ่านมา

การทดสอบอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง MARCUS-B ได้มีมาอย่างต่อเนื่องจนถึงล่าสุดเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๕ ก่อนนำมาจัดแสดงในงาน Defense & Security 2022(https://aagth1.blogspot.com/2022/03/marcus-b-rq-21-blackjack-uav.html)
เมื่อเปรียบเทียบกับระบบที่มีขนาดใกล้เคียงกันที่มีประจำการใน ฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑(Squadron 104, Wing 1) กองการบินทหารเรือ กบร.(RTNAD: Royal Thai Naval Air Division) กองเรือยุทธการ กร.(RTF: Royal Thai Fleet) กองทัพเรือไทย(RTN: Royal Thai Navy)

คืออากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ชี้เป้าแบบที่๑ บร.ตช.๑ Aeronautics Orbiter 3B และอากาศยานไร้คนขับตรวจการณ์ชี้เป้าแบบที่๒ บร.ตช.๒ Boeing Insitu RQ-21A Blackjack(https://aagth1.blogspot.com/2022/08/rq-21a-blackjack.html) ซึ่งส่งขึ้นบินด้วยรางดีดรับกลับด้วยการกางร่มลงพื้น และตะขอเกี่ยว ตามลำดับ
MARCUS-B สามารถขึ้นลงทางดิ่งด้วยตนเองจากเรือที่มีดาดฟ้าบินและเก็บในโรงเก็บอากาศยานทุกลำของกองทัพเรือไทยเช่น เรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ ร.ล.จักรีนฤเบศร, เรืออู่ยกพลขึ้นบก ร.ล.อ่างทอง, เรือฟริเกต ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช และชุด ร.ล.นเรศวร และเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.ปัตตานี 

จากการพูดคุยกับนายทหารกองทัพเรือไทยในโครงการอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง MARCUS-B มีวัตถุประสงค์ที่จะเปิดสายการผลิตส่งมอบให้กองทัพเรือได้ในปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๖(2023) โดย ๑ระบบประกอบด้วยอากาศยาน ๒เครื่อง และชุดควบคุมภาคพื้นดินและบนเรือ
MARCUS-B มีความยาวปีก 4.3m ขับเคลื่อนด้วย Battery และ motor ไฟฟ้า ระยะเวลาปฏิบัติการในอากาศ ๒-๓ชั่วโมง ขึ้นลงทางดิ่งน้ำหนักบินขึ้นปกติ 45kg น้ำหนักบินขึ้นสูงสุด 55kg ความเร็วเดินทางปกติ 80km/h ความเร็วสูงสุด 110km/h ระยะปฏิบัติการโดยการกำหนด waypoint 200km ระยะปฏิบัติการที่สามารถควบคุมและส่งข้อมูล 30-50km

แม้ว่าจะออกแบบเพื่อปฏิบัติภารกิจการลาดตระเวนทางทะเลเป็นหลัก แต่นายทหารโครงการกล่าวว่าอากาศยานไร้คนขับ MARCUS-B ยังสามารถทำน้ำหนักขึ้นลงทางดิ่งได้สูงสุดที่ 70kg จากที่ทดสอบในตอนนี้ที่ 55kg ดังนั้นจึงมีน้ำหนักให้สามารถบรรทุกได้เพิ่มเติมอีกราว 15kg
จึงมีการศึกษาความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มความสามารถการติดตั้งอาวุธปล่อยแบบนำวิถีขนาดเล็ก ตามที่บริษัท Thales ยุโรปเสนออาวุธปล่อยนำวิถี Freefall Lightweight Multirole Missiles(FFLMM) ของตน ซึ่งได้นำแบบจำลองมาจัดแสดงและสำรวจความเป็นได้ในงาน Defense & Security 2022

อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น FFLMM น้ำหนักน้อยกว่า 6kg มีความยาวเพียง 700mm นำวิถีด้วย INS และดาวเทียม GPS ระหว่างบินโคจร และ Semi-Active Laser(SAL) ในการเข้าหาเป้าหมาย มีหัวรบหนักเพียง 2kg มีระยะยิงที่มากกว่า 4km เมื่อทำการยิงจากเพดานบินสูง 10,000feet
MARCUS-B สามารถติดตั้ง FFLMM ได้ ๒นัด เช่นเดียวกับอากาศยานไร้นักบินทางยุทธวิธีขนาดกลางติดอาวุธ RTAF U1-M(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/f-5th-super-tigris-rtaf-u1-m-singapore.html) กองทัพอากาศไทย(RTAF: Royal Thai Air Force) ที่มีการทดสอบไปแล้วครับ