วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๕๙-๑๑



Carvalry Center Royal Thai Army demonstraed Fire Power include Upgraded M60A3 Main Battle Tank by Elbit Systems


กองทัพบกไทยได้รับมอบรถถัง M60 A3 ชุดแรกจำนวน 5 คัน หลังจากผ่านการรับรองและตรวจรับมอบ โดยทำการการปรับปรุงเครื่องควบคุมการยิงใหม่ จากระบบอะนาลอกมาเป็นระบบคอมพิวเตอร์และระบบขับเคลื่อนป้อมปืนใหม่  เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการยิงปืนใหญ่ขนาด 105 มม. ให้แม่นยำและรวดเร็วขึ้น การปรับปรุงรถถัง M60 A3 ดำเนินการปรับปรุงเมื่อปีที่แล้วโดยบริษัท Elbit Systems ประเทศอิสราเอล ได้ทำการปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพรถถัง M60 A3 แบบเบ็ดเสร็จ เพื่อให้รถถัง M60 A3 มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการทั้งกลางวันและกลางคืน  โดยการเปลี่ยนแปลงระบบหลักสองระบบของรถถัง M60 A3 ได้แก่ ระบบควบคุมการยิงแบบเทอร์มอล (TIFCS) และระบบขับเคลื่อนรักษาระดับปืนและป้อมปืนด้วยไฟฟ้า (EGTDS) บนหลังคาป้อมปืนติดตั้งระบบ HMA (Head Mirror Assembly)  ซึ่งระบบเครื่องควบคุมการยิงเหล่านี้อิสราเอลได้นำไปใช้ติดตั้งในรถถังรุ่นใหม่ Merkava Mk IV  นอกจากนี้ยังมีระบบ Index Loader สำหรับการบรรจุกระสุน ทำให้พลบรรจุทำการบรรจุกระสุนได้ง่ายสะดวกรวดเร็วกว่าเดิม ในส่วนของปืนใหญ่ M68 105 มม. ได้มีการเปลี่ยนปลอกควบคุมอุณหภูมิแบบใหม่ด้วย  ซึ่ง 5 คันแรกเป็นของม.พัน 17 และกำลังดำเนินการอีก 5 คันจากม.พัน 5 https://www.youtube.com/user/MKT137

ตามข้อมูลล่าสุดนั้นกองทัพบกไทยได้รับมอบรถถังหลัก M60A3 ซึ่งได้รับการปรับปรุงโดยบริษัท Elbit Systems อิสราเอลชุดแรกจำนวน ๕คันซึ่งเป็นรถที่ประจำการใน กองพันทหารม้าที่๑๗ รักษาพระองค์ กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์แล้ว
ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรายละเอียดการปรับปรุงนั้น ถ.หลัก M60A3 ของไทยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงระบบอาวุธประจำรถใหม่แต่อย่าง โดยปืนใหญ่รถถัง M68 ขนาด 105mm ยังคงเป็นกระบอกเดิมแต่เปลี่ยนปลอกควบคุมอุณหภูมิแบบใหม่แทน

การปรับปรุงหลักจะเป็นระบบภายในตัวรถ เช่น ระบบควบคุมการยิงสร้างภาพความร้อน TIFCS(Thermal Imaging Fire Control System), ระบบขับเคลื่อนปืนและป้อมปืนด้วยไฟฟ้า EGTDS(Electric Gun and Turret Drive System),
กล้อง HMA(Head Mirror Assembly) ซึ่งประกอบได้ด้วย Laser วัดระยะ และกล้องสร้างภาพความร้อนพร้อมระบบรักษาการทรงตัวกระจก แทนกล้องเล็งเดิมบนหลังคาป้อมปืน รวมกับจอภาพแสดงผลสำหรับผู้บังคับการรถและพลยิง
รวมถึงระบบช่วยบรรจุกระสุน Index Loader ซึ่งจะปรับท้ายปืนใหญ่รถถังมาที่ตำแหน่ง ๓องศาตลอดทุกมุมหลังการยิง เพื่อทำให้พลบรรจุทำการบรรจุกระสุนใหม่ได้รวดเร็วและง่ายขึ้น
ระบบทั้งหมดที่ปรับปรุงโดย Elbit Systems นั้นเป็นมาตรฐานล่าสุดที่ใช้ในรถถังหลัก Merkava Mk.IV กองทัพบกอิสราเอล
ทำให้ M60A3 ที่ได้รับการปรับปรุงสามารถทำการรบได้ทั้งกลางวันและกลางคืน และมีความแม่นยำในการยิงถูกเป้าหมายในนัดแรกสูงมากขึ้น ทั้งเป้าประจำที่ เป้าเคลื่อนที่ หรือเป้าผ่านที่กำบัง

แผนของกองทัพบกไทยจะมีการปรับปรุงรถถังหลัก M60A3 ที่มีประจำการใน กองพันทหารม้าที่๑๗ รักษาพระองค์ และ กองพันทหารม้าที่๕ รักษาพระองค์ กองพลทหารม้าที่๒ รักษาพระองค์ เท่านั้น
โดย ม.พัน.๑๗ รอ.นั้นได้รับ ถ.หลัก M60A3 ชุดแรก ๕คันแล้ว และ M60A3 ของ ม.พัน.๕ รอ.กำลังดำเนินการปรับปรุงอยู่ ๕คัน ทั้งนี้จะปรับปรุงได้มากเท่าไรขึ้นอยู่กับงบประมาณที่จะได้รับครับ



Royal Thai Army Oplot-T Main Battle Tank 
https://www.facebook.com/Moo.pheromones

Oplot-T Main Battle Tanks shipping from Cargo Ship that arrived Thailand's Port, November 2016


Oplot-M Tank's Hull No.34 and Turret No.29 in manufacturing at Malyshev Plant, Kharkiv Ukraine 

สำหรับความคืบหน้าของโครงการจัดหารถถังหลัก Oplot-T ของกองทัพบกไทยนั้น ล่าสุดเมื่อช่วงวันที่ ๑๐ พฤศจิกายนที่ผ่านมามีรายงานภาพว่ายูเครนได้จัดส่งรถถังหลัก Oplot ชุดใหม่อีก ๕คันทางเรือมาถึงไทยแล้ว
ซึ่งถ้ารวมกับการจัดส่ง ถ.หลัก Oplot ชุดที่๓ ๕คันในปีนี้ซึ่งรับมอบไปในช่วงเดือนกันยายนนั้น จะนับเป็นชุดที่๔ ทำให้ล่าสุด กองพันทหารม้าที่๒ กองพลทหารราบที่๒ รักษาพระองค์ฯ มีรถถังหลัก Oplot จำนวนรวม ๒๐คัน
ทั้งนี้ภาพล่าสุดจากสายการผลิตที่โรงงาน Malyshev ที่ยูเครนนั้นมีการผลิตชิ้นส่วนรถแคร่ฐานรถถังหลัก Oplot ถึงคันที่๓๔ ชิ้นส่วนป้อมปืนป้อมที่๒๙ แล้ว แต่ส่วนตัวคิดว่าน่าจะประกอบเสร็จสมบูรณ์ทั้งคันส่งมอบให้ไทยไม่ทันภายในปีนี้(2016)
แต่ก็หวังว่าทางยูเครนจะจัดส่งมาอีก ๒๙คัน ให้ครบตามจำนวนที่ลงนามจัดหาภายในเดือนมีนาคมปีหน้า(2017) ตามสัญหาที่เอกอัครราชทูตยูเครนและ Ukroboronprom รัฐวิสาหกิจด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงของรัฐบาลยูเครนให้ไว้เสียที
เพราะในส่วนของรถหุ้มเกราะล้อยาง BTR-3E1 ที่กองทัพบกลงนามสัญญาจัดหาจากยูเครนชุดแรกในปี พ.ศ.๒๕๕๑(2008) ๙๖คัน และชุดที่สองในปี พ.ศ.๒๕๕๔(2011) ๑๒๑คัน นั้นกว่าจะได้รับมอบรถทุกแบบครบทั้งหมดตามสัญญา(๒๑๗คัน) ก็เป็นใน พ.ศ.๒๕๕๙(2016) นี้เอง
ซึ่งถัดไปในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) จีนน่าจะส่งมอบรถถังหลัก VT4(MBT-3000) ชุดแรกจากที่ลงนามจัดหา ๒๘คันวงเงิน ๔,๙๘๔ล้านบาท ให้กองทัพบกไทยด้วยครับ

41st Aviation Battalion Aviation Regiment(former General Support Aviation Battalion)


ฮท.๑๗ Mi-17V5 กองพันบินที่๔๑  ศูนย์การบินทหารบก

ฮท.๖๐ UH-60L กองพันบินที่๙ ศูนย์การบินทหารบก
การฝึกการเคลื่อนย้ายหน่วยสุนัขทหารด้วยอากาศยาน
เมื่อวันที่ 24 - 25 พฤศจิกายน 2559 กองพันสุนัขทหาร จัดชุดปฏิบัติการสุนัขทหาร ทำการฝึกการเคลื่อนย้ายหน่วยสุนัขทหารด้วยอากาศยาน ร่วมกับ กองพันบินที่ 9 ศูนย์การบินทหารบก ณ กองพันสุนัขทหาร อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
เราทำได้เหนือความคาดหมาย https://www.facebook.com/GeneralSupportAviationBattalion/photos/a.403267329750684.96366.403256659751751/1140559069354836/
https://www.facebook.com/nutcopter015/posts/1130228143757362
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1436658853018845.1073741949.295090937175648
https://www.facebook.com/GeneralSupportAviationBattalion
https://www.facebook.com/nutcopter015
https://www.facebook.com/กองพันสุนัขทหาร-295090937175648/

ตามที่เคยเสนอข้อมูลไปก่อนนั้น ตอนนี้การปรับโครงสร้างอัตราจัดของหน่วยงานอากาศยานของกองทัพบกไทยแบบใหม่เริ่มมีผลออกมาเป็นรูปธรรมแล้ว
ตัวอย่างเช่น ศูนย์การบินทหารบก มีการจัดตั้ง "กรมบิน"(Regiment) ขึ้นมามีหน่วยขึ้นตรงเป็น "กองพันบิน"(Aviation Battalion) จำนวน ๔กองพัน เช่น
กองบินสนับสนุนทั่วไป ศูนย์การบินทหารบก เปลี่ยนนามหน่วยเป็น "กองพันบินที่๔๑", กองบินปีกหมุนที่๒ ศูนย์การบินทหารบก เปลี่ยนนามหน่วยเป็น "กองพันบินที่๒๑", และ กองบินปีกหมุนที่๙(ผสม) ศูนย์การบินทหารบก เปลี่ยนนามหน่วยเป็น "กองพันบินที่๙" เป็นต้นครับ

Model of HTMS Trang Royal Thai Navy second Krabi class Offshore Patrol Vessel
https://www.youtube.com/user/ThaiPBS

เกี่ยวกับความคืบหน้าโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ ของกองทัพเรือไทยนั้น จากคำให้สัมภาษณ์ของ พลเรือตรี วิทยา ละออจันทร์ ผู้อำนวยการอู่ราชนาวีมหิดลอดุยเดช กรมอู่ทหารเรือ ในรายการ แสงจากพ่อ สถานีโทรทัศน์ Thai PBS กล่าวว่า
เรือตรวจการณ์ไกลฝั่งลำที่สองที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่นี้ได้รับพระราชทานนามว่า 'เรือหลวงตรัง' โดยขณะนี้ดำเนินการก่อสร้างในส่วน Block เรือไปแล้วสองถึงสามส่วน
จากแบบจำลองของเรือ ตกก.ลำที่๒ ที่แสดงในรายการจะเห็นว่าปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62 นั้นเป็นทรง Stealth และลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือหลังแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Harpoon นั้นมี ฮ.ปด.๑ SH-60B จอดอยู่ครับ

Model of C13B Corvette of China Shipbuilding & offshore International at Ship Tech III 2016(My Own Photo)

จากที่เคยได้พูดคุยกับตัวแทนของบริษัทอู่กรุงเทพฯในงาน Ship Tech III งานแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีเรือในทศวรรษหน้าครั้งที่๓ 
เรื่องการเลือกแบบเรือใหม่ในโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งเพิ่มอีก ๒ลำถัดจากโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ลำที่๒คือ ร.ล.ตรัง ที่กำลังดำเนินการสร้างอยู่นั้น 
มีกระแสข่าวออกมาล่าสุดตอนนี้ว่าแบบเรือที่เป็นไปได้ว่าอาจจะมีการเลือกคือเรือคอร์เวตชั้น Type 056 จากสาธารณรัฐประชาชนจีน 

People's Liberation Army Navy Type 056 Corvette 584 Meizhou 

เรือคอร์เวตชั้น Type 056 ของจีนนั้นมีตัวเรือยาว 90m ระวางขับน้ำ 1,500tons อาวุธประจำเรือมี ปืนใหญ่เรือ H/PJ-26 76mm(มีพื้นฐานจาก AK-176 รัสเซีย), ปืนใหญ่กล H/PJ-17 30mm ๒กระบอก, แท่นยิง Torpedo เบาปราบเรือดำน้ำ Yu-7 324mm แฝดสาม ๒แท่นยิง, อาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ YJ-83 ๔นัด และแท่นยิงอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยใกล้ HQ-10(FL-3000N) ๘ท่อยิง มีลานจอดเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือรองรับ ฮ.Z-9C แต่ไม่มีโรงเก็บในตัวเรือ 
ซึ่งเรือคอร์เวตชั้น Type 056A แบบล่าสุดได้ปรับปรุงเพิ่มระบบ Sonar ลากท้าย นอกจาก Sonar หัวเรือที่ติดตั้งในชั้น Type 056 เพื่อให้มีประสิทธิภาพในการปราบเรือดำน้ำเพิ่มขึ้นด้วย
โดยนอกจากกองทัพเรือปลดปล่อยประชาชนจีนที่ตอนนี้สร้างเรือคอร์เวตชั้น Type 056 และ Type 056A หรือที่ NATO กำหนดรหัสว่าชั้น Jiangdao เพื่อเข้าประจำการแล้วไม่ต่ำกว่า ๔๐ลำ 
จีนก็ได้สร้างเรือชั้นนี้สำหรับส่งออกต่างประเทศแล้วสองแบบเรือคือ เรือคอร์เวตแบบ C13B กองทัพเรือบังคลาเทศ ๒ลำซึ่งกำลังสั่งต่อเพิ่ม ๒ลำ โดยมีแผนจะจัดหารวมทั้งหมด ๘ลำ และเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งแบบ P18N กองทัพเรือไนจีเรีย ๒ลำ ซึ่งเรือส่งออกทั้งหมดต่อที่อู่ Wuchang

BAE Systems 99m Corvette Model at Defense & Security 2015(My Own Photo)

ดูเหมือนว่ากองทัพเรือจะต้องการเรือรบลักษณะเรือคอร์เวตติดอาวุธมากกว่าเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง ทดแทนเรือฟริเกตชุด ร.ล.ตาปี ทั้ง ๒ลำคือ ร.ล.ตาปี และ ร.ล.คีรีรัฐ ที่มีกำหนดจะปลดประจำในอีกราว ๒ปีข้างหน้า 
รวมถึงเรือคอร์เวตชุด ร.ล.รัตนโกสินทร์(ร.ล.รัตนโกสินทร์ และร.ล.สุโขทัย) ๒ลำ และเรือเร็วโจมตีติดอาวุธปล่อยนำวิถีชุด ร.ล.ปราบปรปักษ์(ร.ล.ปราบปักษ์, ร.ล.หาญหักศัตรู และ ร.ล.สู้ไพรินทร์) และชุด ร.ล.ราชฤทธิ์(ร.ล.ราชฤทธิ์, ร.ล.วิทยาคม และ ร.ล.อุดมเดช) รวม ๖ลำในอนาคตอันใกล้ด้วย
เพราะทางบริษัท BAE Systems ที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรแบบเรือ 90m Offshore Patrol Vessel ที่เป็นแบบเรือของเรือ ตกก.ชุด ร.ล.กระบี่ทั้ง ๒ลำ ที่เสนอแบบเรือ 99m Corvette แบบเดียวกับเรือคอร์เวตชั้น Khareef กองทัพเรือโอมาน ให้บริษัทอู่กรุงเทพเป็นหนึ่งในหลายแบบตัวเลือก
ตรงนี้ก็จึงมีความเข้าใจในเบื้องต้นว่าถ้ามีการเลือกแบบเรือจากจีนจริงก็น่าจะมีพื้นฐานจากเรือคอร์เวต Type 056 ที่เป็นเรือรบหลักในสงครามตามแบบเหมือน C13B บังคลาเทศ มากกว่าเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งอย่าง P18N ไนจีเรีย
ซึ่งแบบเรือ BAE Systems 90m OPV ที่มีกาารพัฒนาให้ติดอาวุธหนักใน ร.ล.ตรัง ที่กำลังสร้างนั้นดูจะมีข้อจำกัดในตัวแบบเรืออยู่สำหรับการใช้ในสงครามตามแบบมากกว่าภารกิจยามสงบ จึงเสนอแบบเรือ 99m Corvette ที่รองรับสงครามตามแบบโดยตรงและมีโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ในตัวเรือ
และการที่เรียกชื่อแบบเรือโครงการใหม่ว่าเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งต่อเนื่องจาก ชุด ร.ล.กระบี่ ทั้งสองลำ ทั้งที่เรือ Type 056 และ BAE System 99mm Corvette ต่างเป็นเรือคอร์เวตหรือเรือฟริเกตเบา ก็คงเพื่อต้องการให้เป็นเรือรบที่ฟังดูเบาลงไม่หนักมาก 

ตามแผนพัฒนากองทัพเรือเดิมเมื่อราวปี พ.ศ.๒๕๔๔(2001) ช่วงที่มีการจัดหาเรือชุด ร.ล.ปัตตานีนั้น กองทัพเรือต้องการตรวจการณ์ไกลฝั่งรวมทั้งหมด ๖ลำแทนเรือรบรุ่นเก่าสมัยสงครามโลกครั้งที่๒
(เช่น ร.ล.แม่กลอง ร.ล.ท่าจีน ร.ล.ประแส ร.ล.โพสามต้น ที่ปลดประจำการไปแล้ว และ ร.ล.ปิ่นเกล้า ที่ไม่ได้เป็นเรือรบทางยุทธการของกองทัพเรือแล้ว)
ซึ่งปัจจุบันนี้จัดหาเข้าประจำการแล้ว ๓ลำ และกำลังสร้างอีก ๑ลำ(ชุด ร.ล.ปัตตานี คือ ร.ล.ปัตตานี และ ร.ล.นราธิวาส กับชุด ร.ล.กระบี่ คือ ร.ล.กระบี่ และ ร.ล.ตรัง) 
ในอนาคตเมื่อมีการปลดประจำการเรือฟริเกตชุด ร.ล.ตาปีทั้ง ๒ลำ(ร.ล.ตาปี และ ร.ล.คีรีรัฐ) ก็จะทำให้ กองเรือฟริเกตที่๑ ขาดกำลังทางเรือไป 
อย่างไรก็ตามเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่สังกัด กองเรือตรวจอ่าวทั้ง ๒ชุดนั้นเป็นเรือที่ไม่มีขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำ(Anti-Submarine Warfare)แต่อย่างใด
ถ้าเรือคอร์เวต Type 056 จากจีนทั้ง ๒ลำนั้นจะเป็นเรือคอร์เวตสำหรับสงครามตามแบบสามมิติทดแทนชุด ร.ล.ตาปี ก็ควรจะนำเข้าประจำการใน กฟก.๑ ไม่ใช่ กตอ. 
แต่ถ้าจัดการมาในรูปแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งในยามสงบที่ไม่มีความสามารถในการปราบเรือดำน้ำ ก็คงจะเข้าประจำการใน กตอ.เช่นเดิม

มีข้อมูลว่าทางกองทัพเรือตั้งการจะเริ่มโครงการสร้างเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำที่๒ ภายในไทย ซึ่งเข้าใจว่าน่าจะยังเป็นแบบเรือ DSME DW3000H ของบริษัท Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering สาธารณรัฐเกาหลีเหมือนเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำแรกอยู่ 
โดยจะสร้างทั้งลำในอู่ของไทย หรือการใช้โดยการต่อเป็นชิ้นส่วน Block เรือที่สร้างมาก่อนจากเกาหลีใต้แล้วบางส่วนมาประกอบในไทย ซึ่งวิธีหลังจะทำให้การสร้างเรือมีความรวดเร็วกว่าการสร้าง ร.ล.กระบี่ ที่ผ่านมา และ ร.ล.ตรังที่กำลังดำเนินการสร้างตอนนี้ด้วย
ทั้งนี้เพื่อทำให้กลุ่มอุตสาหกรรมทางเรือและกองทัพไทยมีประสบการณ์ในการต่อเรือรบสำหรับสงครามตามแบบที่มีสมรรถนะสูงกว่าเรือ ตกก.ชุด ร.ล.กระบี่โดยเร็วหลังเสร็จสิ้นโครงการสร้าง ร.ล.ตรัง 
จึงเป็นไปได้มากว่าเพื่อความรวดเร็วการจัดหาเรือคอร์เวต Type 056 ใหม่ทั้ง ๒ลำตัวเรือหลักอาจจะดำเนินสร้างในจีนไม่ใช่ในไทย ก็ขึ้นอยู่กับว่าโครงการเรือใหม่ ๒ลำนี้ยังเป็นในส่วนของอู่กรุงเทพกับกรมทหารเรืออยู่ หรือเป็นผู้รับสัญญารายอื่น
แต่ระบบอาวุธและอุปกรณ์ของเรือสำหรับกองทัพเรือไทยนั้นยังบอกไม่ได้ว่าจะใช้อุปกรณ์และอาวุธจีนล้วน หรือเป็นระบบตะวันตกแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.ปัตตานี คงต้องมาติดตามกันต่อไปในอนาคตถ้ามีข้อมูลมากกว่านี้
ก็ขึ้นอยู่กับว่าโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งใหม่เพิ่มอีกสองลำนี้เพราะว่าถ้าจะต่อในจีนทั้งสองลำเหมือนไนจีเรียกับบังคลาเทศก็เป็นไปได้มากกว่าจะติดระบบอาวุธอุปกรณ์จีนล้วน หรือไม่ก็ต่อเฉพาะตัวเรือที่จีนแล้วมาติดตั้งอาวุธและอุปกรณ์ให้ครบในไทยเหมือนชุด ร.ล.ปัตตานีครับ

Royal Thai Navy new Frigate to be named HTMS Tachin in construction at Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering(DSME) Okpo-Dong shipyard, Geoje, South Gyeongsang, Republic of Korea (DW3000H based on KDX-I Gwanggaeto the Great class destroyers)

ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงระยะที่๑ ลำแรกที่กำลังต่อที่อู่ต่อเรือบริษัท DSME ที่ Okpo Dong สาธารณรัฐเกาหลีนั้น ก็เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ครับว่ามีกำหนดจะทำพิธีปล่อยเรือลงน้ำในวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๖๐(2017) 
ซึ่งนับว่าการก่อสร้างตัวเรือค่อนข้างเร็วตั้งแต่ทำพิธีกระดูงูเรือเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมีเพิ่มเติมคือเรือจะเริ่มติดตั้งระบบอาวุธและอุปกรณ์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐(2017) และมีกำหนดส่งมอบให้กองทัพเรือไทยในเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๑(2018)
ตรงนี้ก็เข้าใจว่าเรือฟริเกตสมรรถนะสูงลำใหม่นี้ได้มีการพระราชทานนามชื่อเรือแล้ว เห็นว่าจะชื่อ 'เรือหลวงท่าจีน' ครับ โดยเรือฟริเกต ร.ล.ท่าจีน ลำใหม่นี้นับเรือลำที่๓ ของราชนาวีไทยแล้วที่ได้รับพระราชทานนามนี้

ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๑) นั้นเป็นเรือสลุปชุดเดียวกับ ร.ล.แม่กลอง ซึ่งต่อที่อู่ต่อเรือ Uraga ญี่ปุ่นที่เข้าประจำการเมื่อปี พ.ศ.๒๕๘๐(1937) 
ต่อมาในช่วงสงครามโลกครั้งที่๒ ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๑) ถูกเครื่องบินฝ่ายสัมพันธมิตโจมตีทางอากาศจนท้องเรือทะลุ ต่อมาสำรวจตรวจสอบสภาพเรือแล้วว่าไม่สามารถจะซ่อมแซมเพื่อนำกลับเข้าประจำการได้จึงต้องปลดประจำการไป
เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๔๙๔(1951) กองทัพเรือไทยได้รับมอบ ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๒) ซึ่งเดิมคือเรือฟริเกตตรวจการณ์ชั้น Tacoma PF-36 USS Glendale กองทัพเรือสหรัฐฯ ซึ่งรับมอบพร้อมกับ ร.ล.ประแส(ลำที่๒) คือ PF-47 USS Gallup ที่ฐานทัพเรือ Yokosuka 
ซึ่งสหรัฐฯส่งมอบเรือเป็นการช่วยเหลือทางทหารแก่กองทัพเรือไทยที้่สูญเสีย ร.ล.ประแส(ลำที่๑) ที่เดิมเป็นเรือคอร์เวตชั้น Flower กองทัพเรืออังกฤษชื่อ HMS Betony ซึ่งรับมอบพร้อม ร.ล.บางประกง(ลำที่๑) ที่เดิมคือ HMS Burnet เมื่อ ๑๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๐(1947)  
ในสงครามเกาหลีกองทัพเรือไทยได้สูญเสีย ร.ล.ประแส(ลำที่๑) ในเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๙๔(1951) จากการเกยตื้นและถูกข้าศึกล้อมระดมยิงใส่ระหว่างภารกิจยิงสนับสนุนชายฝั่งในพายุหิมะ จนต้องมีคำสั่งสละเรือใหญ่และให้เรือพิฆาตสหรัฐฯยิงทำลายเรือทิ้งเพื่อไม่ให้ตกในมือข้าศึก
ร.ล.ท่าจีน(ลำที่๒) และ ร.ล.ประแส(ลำที่๒) นั้นได้ประจำการมาจนปลดประจำการวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๔๓(2000) ปัจจุบัน ร.ล.ท่าจีน นำไปจัดแสดงเป็นเรือพิพิธภัณฑ์ที่โรงเรียนเตรียมทหาร และ ร.ล.ประแส ที่ปากน้ำประแส จังหวัดระยอง

ทั้งนี้ก็จึงมีความเป็นไปได้สูงว่าโครงการจัดหาเรือฟริเกตสมรรถนะสูงระยะที่๒ ที่จะดำเนินการสร้างในไทยโดยกรมอู่ทหารเรือที่ได้รับการถ่ายทอด Technology และการปรับปรุงอู่ราชนาวีมหิดลอดุยเดช จากบริษัท DSME เกาหลีใต้นั้น
ส่วนตัวคิดว่าคงน่าจะได้รับพระราชทานนามชื่อเรือว่า 'เรือหลวงแม่กลอง' เป็น ร.ล.แม่กลอง ลำที่๒ คู่กับ ร.ล.ท่าจีนลำใหม่ครับ


Airbus Helicopters H145M Royal Thai Navy commissioning ceremony and Search and Rescue(SAR) demonstration, 10 November 2016


Model of Airbus Helicopter H145M Royal Thai Navy show Heavy Machine Gun pod and Rocket Pod

Airbus Helicopter H145M Royal Thai Navy Side Door Machine Gun Turret 

ตามที่ได้เสนอพิธีการรับมอบเฮลิคอปเตอร์ลำเลียง ฮ.ลล.๖ H145M(EC645 T2) ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือไทย ซึ่งมีการสาธิตการค้นหาและกู้ภัยทางอากาศด้วยนั้น 
ฮ.ลำเลียงใหม่นี้จะมาทำภารกิจทดแทน ฮ.ลล.๒ Bell 212 ที่ประจำการมานานหลายสิบปีและใกล้จะปลดประจำการทั้งภารกิจสนับสนุนกำลังทางเรือร่วมกับเรือผิวน้ำที่มาลานจอดเฮลิคอปเตอร์ จนถึงการค้นหากู้ภัยทางทะเลและบนบก ตลอดจนการส่งกลับทางสายแพทย์
สนับสนุนกำลังนาวิกโยธินและหน่วยสงครามพิเศษทางเรือทั้งการลำเลียงกำลังพลและติดอาวุธได้ตั้งแต่ แท่นยิงปืนกล FN MAG 58F ข้างประตูเครื่อง และคานอาวุธเอนกประสงค์สำหรับกระเปาะปืนกลหนัก FN HMP400 .50cal และกระเปาะจรวด FZ220 หรือ FZ223 70mm ความจุ ๗นัด

โดยในวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙ ก็ได้มีการทดสอบการปฏิบัติการในทะเลของ ฮ.H145M กับเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ร.ล.อ่างทอง ที่มีลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ขนาดใหญ่
และในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙ ก็ได้มีการทดสอบการลงจอดปฏิบัติการกับ ร.ล.ตากสิน ซึ่งเป็นเรือฟริเกตชุด ร.ล.นเรศวร ที่มีลาดจอดลานจอดและโรงเก็บเฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็ก
แต่ก็น่าเสียใจที่ว่ายังมีกระแสสังคมทางด้านลบที่มองว่ากองทัพเรือจัดหา ฮ.ราคาแพงที่จะต้องเกิดอุบัติเหตุแน่นอนในอนาคตไม่คุ้มค่าต่อการใช้งานและไม่เป็นประโยชน์กับประชาชน ซึ่งไม่เป็นธรรมกับกองทัพเรือมากๆครับ

พล.ร.ต. บุญเรือง หอมขจร ผอ.สวพ.ทร. เป็นประธานในการประชุม คณะทำงานโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมระบบจรวดหลายลำกล้องนำวิถีแบบ ติดตามเป้าหมายสำหรับภารกิจต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ระหว่าง ทร. กับ สทป. เมื่อ ๒๑ พ.ย. ๕๙ ณ ห้องประชุม สวพ.ทร. ชั้น ๕
http://www.nrdo.navy.mi.th/Main/Activities/60/Rocket60/Rocket60.html

Royal Thai Army DTI-1G 302mm Guided Multiple Launch Rocket System
https://www.facebook.com/dtithailand/photos/a.367102006783139.1073741830.364043297089010/541562566003748/
https://www.facebook.com/dtithailand

เคยมีรายงานก่อนหน้านี้มาหลายปีแล้วว่ากองทัพเรือไทยมีความต้องการจัดหาระบบเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องสำหรับใช้งานใน หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน และหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
โดยในส่วนของสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) นั้นโครงการจรวดหลายลำกล้องนำวิถีที่พัฒนาเสร็จแล้วขณะนี้ก็มีเพียงเครื่องจรวดหลายลำกล้องนำวิถี DTI-1G ที่ส่งมอบให้กองทัพบกแล้ว ๓ระบบ
แต่ตรงนี้ก็ไม่แน่ใจว่ากองทัพเรือต้องการเครื่องยิงจรวดหลายลำกล้องทางยุทธวิธีขนาด 122mm แบบเดียวกับ SR4 และ DTI-2 ของกองทัพบกหรือไม่ หรืออาจจะเป็นระบบจรวดนำวิถีแบบอื่น
เพราะถ้าเป็นจรวดนำวิถี DTI-1G ขนาด 302mm ๔ท่อยิง มีระยะยิงที่ 150km และขนาดหัวรบจรวดหนักพอที่จะใช้แทนอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำฐานยิงชายฝั่งได้ ซึ่งมีรายงานว่ากองทัพเรือกำลังศึกษาความต้องการเพื่อทดแทนระบบปืนใหญ่สนามของ สอ.รฝ. อยู่

แต่ความต้องการโครงการจัดหาระบบอาวุธปล่อยนำวิธีพื้นสู่พื้นของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งเอง ก็ดูจะเป็นคนละส่วนกับโครงการวิจัยพัฒนาระบบจรวดหลายลำกล้องนำวิถีร่วมกับ DTI นี้
ทั้งนี้เองโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมระบบจรวดหลายลำกล้องนำวิถีก็ไม่ใช่โครงการร่วมระหว่างกองทัพเรือและ DTI เพียงโครงการเดียว ยังมีโครงการยานเกราะล้อยาง 8x8 สำหรับนาวิกโยธิน และโครงการอากาศยานไร้คนขับ UAV หลากหลายรูปแบบ และโครงการอื่นๆอีกด้วย
อีกทั้งยังมีข้อมูลว่าทาง กรมสรรพาวุธทหารเรือเอง ก็มีการศึกษาวิจัยวิศวกรรมย้อนกลับอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ C-801 มาได้สักระยะแล้ว ซึ่งก็ไม่ทราบจะถึงขั้นสร้างพัฒนาระบบขึ้นมาเองเหมือนอย่างอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Noor อิหร่านหรือไม่ครับ

นาวาอากาศเอก พุทธพงศ์ ผลชีวิน รองผู้บังคับการกองบิน ๗ (๒) เป็นประธานในพิธีเปิด โครงการอบรมอุปกรณ์กระเปาะชี้เป้า Litening Targeting Pod ตามโครงการศึกษาในประเทศของกองทัพอากาศประจำปี ๒๕๕๙ 
โดยมีหัวหน้าหน่วยขึ้นตรงกองบิน ๗ เข้าร่วมพิธีฯ ณ ห้องประชุมโรงซ้อม ฝูง ๗๐๑ เมื่อ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๙

ข่าวประชาสัมพันธ์นี้ก็เป็นการยืนยันล่าสุดว่าเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๒๐ Gripen C/D ฝูงบิน๗๐๑ กองบิน๗ กองทัพอากาศไทยนั้นได้มีการจัดหากระเปาะชี้เป้า Rafael LITENING III มาใช้งานแล้ว
ซึ่งทำให้ขณะนี้นอกจากเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๙ F-16AM/BM EMLU ฝูงบิน๔๐๓ กองบิน๔ ซึ่งมีกระเปาะชี้เป้า Lockheed Martin Sniper Advanced Targeting Pod แล้ว 
Gripen C/D จะเป็นเครื่องบินขับไล่อีกแบบของกองทัพอากาศไทยที่มีขีดความสามารถในการใช้อาวุธโจมตีความแม่นยำสูงสุดครับ

Fleet of C-130H Royal Thai Air Force

BT-67 Royal Thai Air Force Firefighter mission

ในส่วนของกำลังเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีของกองทัพอากาศไทยนั้นมีรายงานว่ามีการอนุมัติโครงการซ่อมโครงสร้างระดับโรงงานของ บ.ล.๘ C-130H ๑๒เครื่องวงเงินประมาณ ๕๔๐ล้านบาท และ บ.ล.๒ก BT-67 ๗เครื่องวงเงินประมาณ ๘๒ล้านบาท
ปัจจุบัน C-130H และ C-130H-30 ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ทั้ง ๑๒เครื่องนั้นเริ่มเข้าประจำการมาตั้งปี พ.ศ.๒๕๒๓(1980) เช่นเดียวกับ BT-67 ฝูงบิน๔๖๑ กองบิน๔๖ ซึ่งปรับปรุงจาก บ.ล.๒ C-47 รวม ๑๒เครื่อง ที่เริ่มเข้าประจำการมตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๑(1998)
สำหรับ บ.ล.๘ C-130H จะเข้าประจำการครบ ๔๐ปีในอีก ๔ปีข้างหน้าคือ พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ส่วน บ.ล.๒ก BT-67 นั้นจะมีอายุการใช้งานนับจากปรับปรุงอย่างน้อย ๒๕ปีคืออาจจะต้องปลดประจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๖(2023)
ดังนั้นก่อนที่จะมีการเริ่มโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียงทางยุทธวิธีใหม่ซึ่งคงจะอีกหลายปีข้างหน้ากองทัพอากาศก็จำเป็นต้องใช้งาน C-130H และ BT-67 ไปอีกนานหลายปีครับ

Royal Thai Air Force AIM-9P Sidewinder Air to Air Missile

มีข้อมูลออกมาว่ากองทัพอากาศมีโครงการปรับปรุงอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยใกล้นำวิถีความร้อน Infrared แบบ Sidewinder รุ่น AIM-9P3 และ AIM-9P4 ให้เป็นมาตรฐาน AIM-9P5
ซึ่งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศตระกูล Sidewinder ที่มีใช้งานในกองทัพอากาศไทยปัจจุบันนั้นเท่าที่ทราบจะมีสองรุ่นหลักคือ
AIM-9P Sidewinder ซึ่งเป็นรุ่นที่พื้นที่ต่อตีด้วยอาวุธ(WEZ: Weapon Engagement Zone) มีย่านจับความร้อนจากเป้าหมายเฉพาะด้านท้าย(Rear Aspect) เช่นท่อเครื่องยนต์ไอพ่นท้ายเครื่อง
และ AIM-9M Sidewinder ซึ่งเป็นรุ่นที่มีพื้นที่ WEZ ย่านตรวจจับความร้อนได้รอบเป้าหมาย(All Aspect) ทำให้มีความคล่องตัวในการเข้าต่อตีเป้าหมายสูงกว่า
ยกตัวอย่างเช่นกรณีสงคราม Falklands ปี 1982 ที่เครื่องบินขับไล่ Sea Harrier FRS.1 กองทัพเรืออังกฤษที่ความเร็วเร็วต่ำกว่าเสียงใช้ AIM-9L ซึ่งเป็น All Aspect Sidewinder รุ่นแรก
ยิงเครื่องบินขับไล่อาเจนตินาที่มีความเร็วเหนือเสียงอย่าง Mirage III และ Dagger ตกเป็นจำนวนมากโดยที่อังกฤษไม่เสีย Harrier จากการรบทางอากาศแม้แต่เครื่องเดียว
ซึ่ง AIM-9P4 และ AIM-9P5 นั้นต่างจาก AIM-9P3 คือมีการปรับปรุงระบบจุดชนวนใหม่และระบบตรวจจับความร้อน Infrared ให้เป็นแบบ All Aspect ครับ

EC725 Royal Thai Air Force at Airbus Helicopters Factory
คณะกรรมการตรวจรับเฮลิคอปเตอร์แบบ EC725 เครื่องที่ ๕ และ เครื่องที่ ๖
พลอากาศตรี อภิรุม จันทรกุล เสนาธิการกรมช่างอากาศ ในฐานะประธานกรรมการตรวจรับทางเทคนิคและพลอากาศตรี ยุทธชัย วัชรสิงห์ เสนาธิการกรมสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ทหารอากาศ/กรรมการตรวจรับพัสดุ 
ของโครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ (ระยะที่ ๒) และคณะกรรมการฯ ร่วมเดินทางไปตรวจรับเทคนิคเฮลิคอปเตอร์แบบ EC725 เครื่องที่ ๕ และ เครื่องที่ ๖ 
ซึ่งผลิตโดยบริษัท Airbus Helicopters ระหว่างวันที่ ๑๓ - ๒๐ พฤศจิกายน ๒๕๕๙ ณ สาธารณรัฐฝรั่งเศส
โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบ มีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางค้นหาและช่วยชีวิต 
ทดแทนเฮลิคอปเตอร์ปฏิบัติภารกิจค้นหาและช่วยชีวิตในปัจจุบันเพื่อให้กองทัพอากาศดำรงศักยภาพและขีดความสามารถในการค้นหาและช่วยชีวิตในภาพรวมทั้งทางทหารและพลเรือน ในฐานะเป็นหน่วยหลักด้านกำลังทางอากาศของประเทศทั้งนี้ 
โครงการจัดหาเฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางฯ (ระยะที่ ๒) เป็นการจัดหา เฮลิคอปเตอร์แบบ EC725 จำนวน ๒ เครื่อง ซึ่งกำหนดส่งมอบทั้ง ๒ เครื่องให้กองทัพอากาศภายในเดือนธันวาคม ๒๕๕๙
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10211396411004099&set=a.1536942381618.78377.1176621495

ตามโครงการจัดหาฮลิคอปเตอร์ขนาดกลางสำหรับค้นหาและช่วยชีวิตในพื้นที่การรบระยะที่๒ ฮ.๑๑ EC725 จำนวน๒เครื่อง คือเครื่องที่ ๕ และเครื่องที่๖ ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๗(2014) นั้นก็จะได้รับมอบในเดือนธันวาคม ปีพ.ศ.๒๕๕๙(2016)นี้
ซึ่งเมื่อรวมกับ ฮ.๑๑ EC725 ในโครงการระยะที่๑ จำนวน ๔เครื่อง ที่ลงนามจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๕(2012) ได้รับมอบแล้วในปี พ.ศ.๒๕๕๘(2015) กองทัพอากาศไทยก็จะมี EC725 รวมทั้งหมด ๖เครื่อง
และตามที่ได้รายงานไปว่าปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) นี้ก็ได้มีการลงนามจัดหา EC725 ในโครงการระยะที่๓ อีก ๒เครื่อง ซึ่งจะได้รับมอบในปี พ.ศ.๒๕๖๒(2019) รวมเป็น ๘เครื่องในอนาคตครับ