http://www.reuters.com/article/japan-thailand-radar-idINKBN14B0YY
Radar site, JASDF 18th watch unit at Wakkanai city.(wikipedia.org)
J/FPS-3 ground-based Active Electronically Scanned Array(AESA) Air Defense Radar Japan Air Self Defense Force(www.clearing.mod.go.jp)
ตามแหล่งข่าวในรัฐบาลญี่ปุ่นสี่รายและในภาคอุตสาหกรรมญี่ปุ่นหนึ่งราย ญี่ปุ่นต้องการหาทางเป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาระบบ Radar ป้องกันภัยทางอากาศของกองทัพไทยซึ่งสร้างโดย บริษัท Mitsubishi Electric Corporation
เพื่อเป็นการเปิดตลาดยุทโธปกรณ์ของญี่ปุ่นในกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คานอำนาจกับจีน ที่ในช่วงที่รัฐบาลชุดปัจจุบันของไทยซึ่งมีอำนาจมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๕๗(2014) กองทัพไทยได้มีการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์จากจีนหลายรายการ
เช่น รถถังหลัก VT4(MBT-3000) ๒๘คันในส่วนของกองทัพบกไทย, เรือดำน้ำโจมตีดีเซล-ไฟฟ้าแบบ S26T ๓ลำของกองทัพเรือไทย และระบบอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศพิสัยกลาง KS-1C ๑ระบบของกองทัพอากาศไทยเป็นต้น
ญี่ปุ่นคาดว่าทางไทยจะเปิดโครงการจัดหาระบบ Radar ใหม่ได้ในปีหน้า(2017) โดยนอกจาก Radar ญี่ปุ่นน่าจะมี Radar จากสหรัฐฯ และยุโรปเข้าร่วมการแข่งขันด้วย
โดยการตั้งงบประมาณและคุณสมบัติของระบบในโครงการจัดหายังไม่มีการเปิดเผย แต่คาดว่าระบบ Radar ของบริษัท Mitsubishi Electric ญี่ปุ่นน่าจะมีราคาหลัก $100 million ขึ้นไปขึ้นอยู่กับความซับซ้อนและความครอบคลุมการตรวจจับ
ทั้งนี้แหล่งข่าวให้ข้อมูลว่าญี่ปุ่นอาจจเสนอระบบ Radar ป้องกันภัยทางอากาศของตนในราคาถูกเพื่อให้เหมาะสมกับวงเงินงบประมาณกลาโหมที่มีอย่างจำกัดของไทย
reuters ระบุว่าระบบ Radar ป้องกันภัยทางอากาศที่ญี่ปุ่นจะเสนอให้ไทยพิจารณาคือ Radar แบบสถานีประจำที่ J/FPS-3 ซึ่งเป็นระบบรุ่นเก่าที่มีประจำการในกองกำลังป้องกันตนเองทางอากาศญี่ปุ่น(Japan's Air Self Defense Force) เพื่อตรวจจับภัยคุกคามทางอากาศ
อย่างไรก็ตามทั้งทางรัฐบาลญี่ปุ่น บริษัท Mitsubishi Electric กองทัพไทย กองทัพบกไทย กองทัพเรือไทย และกองทัพอากาศไทย ยังไม่ได้ให้ความเห็นใดๆอย่างเป็นทางการในกรณีนี้
โดยโฆษกกองทัพอากาศไทย พลอากาศตรี พงษ์ศักดิ์ เสมาชัย ยืนยันว่ากองทัพอากาศยังไม่ได้ตัดสินใจเรื่องการจัดซื้อ Radar จากญี่ปุ่น เพียงแต่มีตัวแทนบริษัทมานำเสนออย่างไม่เป็นทางการเนื่องจากทราบว่าระบบที่ใช้อยู่กำลังจะหมดอายุ ซึ่งการจัดหาต้องมีการเตรียมการอีกหลายขั้นตอน
ตั้งแต่ปี 2015 เป็นต้นมาญี่ปุ่นได้การแก้ไขกฎหมายเพื่อผ่อนปรนข้อกำหนดของรัฐธรรมนูญให้สามารถส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของตนขายให้แก่ต่างประเทศได้
ซึ่งประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็เป็นตลาดหนึ่งที่ญี่ปุ่นต้องการจะส่งออกอาวุธยุทโธปกรณ์ของตน เช่น เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล Kawasaki P-1 และเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกกู้ภัยทางทะเล ShinMaywa US-2 เป็นต้น
แต่อย่างไรก็ตามญี่ปุ่นยังเป็นผู้เล่นรายใหม่ในตลาดการค้าอาวุธระดับนานาชาติที่จะต้องแข่งขันกับกลุ่มประเทศที่อยู่ในตลาดมาก่อนนานแล้วทั้งสหรัฐฯ รัสเซีย จีน และยุโรปครับ