วันอาทิตย์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ภาพเปิดเผยจีนกำลังทดสอบอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศแบบใหม่

Images show PLAAF testing possible new air-to-air missile
A PLAAF SAC J-16 fighter carrying two AAMs not previously seen in open sources. Source: Chinese internet via Weibo.com
http://www.janes.com/article/65922/images-show-plaaf-testing-possible-new-air-to-air-missile

จากภาพที่ปรากฎในสื่อสังคม Online จีน กองทัพอากาศปลดปล่อยประชาชนจีน(PLAAF: People's Liberation Army Air Force) ได้ทำการบินทดสอบระบบที่น่าจะเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยไกลแบบใหม่
โดยภาพที่เผยแพร่ใน Website Weibo จีนนั้นแสดงถึงเครื่องบินขับไล่ J-16 ที่พัฒนาโดย Shenyang Aircraft Corporation(SAC) ติดตั้งอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ 2นัดที่ไม่เคยพบในแหล่งข้อมูลเปิดมาก่อน
ซึ่ง J-16 เป็นเครื่องขับไล่โจมตีทางลึกสองที่นั่งที่พัฒนาจาก J-11BS รุ่นสองที่นั่งซึ่งพัฒนามาจาก J-11B รุ่นที่นั่งเดี่ยวโดยใช้ระบบของจีน ซึ่งเป็นการดัดแปลงจาก Su-27SK ที่จีนได้สิทธิบัตรการผลิตจากรัสเซียในชื่อ J-11 โดยเชื่อว่า J-16 มีคุณสมบัติเทียบเท่า Su-30MK ที่รัสเซียส่งออกให้จีน
อย่างไรก็ตามภาพต้นฉบับดังกล่าวนี้ถูกลบออกไปจาก Web ภายหลังที่มีการเผยแพร่(แต่ก็อย่างที่ทราบว่าอะไรที่ใส่ลงไปใน Internet แล้วจะกลับมาเอาคืนไม่ได้)

การวิเคราะห์โดย Henri Kenhmann ผู้มีประสบการณ์ในการติดตามการพัฒนาทางทหารของจีนตั้งข้อสังเกตว่าอาวุธปล่อยนำวิถีใหม่นี้อาจจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้ทำลายเป้าหมายทางอากาศที่มีคุณค่าสูง
เช่น เครื่องบินแจ้งเตือนและควบคุมทางอากาศ(AEW&C: Airborne Early Warning and Control) หรือเครื่องบินเติมเชื้อเพลิงทางอากาศ
ขนาดของอาวุธปล่อยนำวิถีมีข้อบงชี้สำคัญโดยประมาณว่ามีความยาว 5.8m เส้นผ่าศูนย์กลาง 300mm ซึ่งไม่เห็นช่องรับอากาศเข้าในภาพ เป็นไปได้ว่าจะใช้ระบบขับเคลื่อนแบบเชื้อเพลิงแข็ง
นอกจากนี้ยังเป็นที่สังเกตว่าพื้นผิวการควบคุมอาวุธมีเพียงครีบหางเท่านั้น ซึ่งคล้ายคลึงกับอาวุธปล่อยนำวิถี Joint Dual-Role Air Dominance Missile หรือ Next-Generation Missile ของสหรัฐฯที่ยกเลิกโครงการไปแล้ว

ส่วนหัวของอาวุธปล่อยนำวิถี(Radome)มีปลายแหลมคาดว่าจะเป็นที่ติดตั้งระบบค้นหา Active Radar ทั้งยังเห็นว่าในส่วนพื้นผิวด้านบนและส่วนท้ายของหัวจรวดเป็นวัตถุที่น่าจะเป็นหน้าต่างสำหรับอุปกรณ์จับ Infrared แต่ก็ไม่สามารถยืนยันได้เนื่องจากภาพมีความละเอียดต่ำ
หลังส่วนหัวจรวดเป็นส่วนทรงกระบอกที่มีขนาดยาวกว่าส่วนหัวเล็กน้อยซึ่งน่าจะเป็นส่วนติดตั้งระบบนำวิถี, ชนวนเฉียดระเบิด(proximity fuzing) และระบบพลังงาน
ใกล้กันด้านท้ายที่แบ่งพื้นที่เท่ากันเป็นสี่ส่วนน่าจะเป็นส่วนติดตั้งสายอากาศของระบบชนวนเฉียดระเบิดความถี่วิทยุ
ด้านหลังของส่วนทรงกระบอกสั้นๆน่าจะเป็นส่วนติดตั้งหัวรบโดยชนิดและขนาดยังไม่เป็นที่ชัดเจน ส่วนที่ยาวที่สุดของจรวดน่าจะเป็นระบบ Motor ขับเคลื่อนทรงกระบอกครับ