วันอังคารที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

กองทัพเรือไทยเลือกเครื่องยนต์ดีเซล MAN เยอรมนีสำหรับโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่สอง

Thailand selects MAN engines for second modified River-class OPV
http://www.janes.com/article/60824/thailand-selects-man-engines-for-second-modified-river-class-opv

Second Krabi class Offshore Patrol Vessels model (My Own Photo) 

กองทัพเรือไทยได้เลือกระบบเครื่องยนต์ขับเคลื่อนสำหรับโครงการสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ คือเครื่องยนต์ดีเซลแบบ MAN 16V28/33D sequential turbocharging (STC) สองเครื่องจากเยอรมนี
โดยเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ นี้ เป็นแบบเรือที่บริษัทอู่กรุงเทพได้ซื้อสิทธิบัตรจากแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 90m OPV(Offshore Patrol Vessel) ของบริษัท BAE Systems สหราชอาณาจักร เช่นเดียวกับ เรือตรวจการไกลฝั่งชั้น River ของกองทัพเรืออังกฤษ
แต่แบบเรือของไทยที่มีการปรับปรุงล่านั้นติดอาวุธหนักที่สุดถ้าเทียบกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้นอื่นๆที่ใช้แบบเรือเดียวกัน คือติดปืนใหญ่เรือ OTO Melara 76/62, ปืนใหญ่กล MSI DS30MR 30mm และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ RGM-84 Harpoon เป็นต้น

ตามแถลงการณ์ของบริษัท MAN เยอรมนีในโครงการนี้ เครื่องยนต์ดีเซลแบบ 16V28/33D STC เป็นเครื่องยนต์ที่มีระบบการใช้เชื้อเพลิงอย่างมีประสิทธิภาพ
และเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับติดตั้งในเรืออย่างแบบเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชุด ร.ล.กระบี่ ลำที่๒ ที่ปรับปรุงใหม่นี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติการแบบภาระบรรทุกระดับกลางและระดับต่ำ(intermediate and low-load operations)
ซึ่งเครื่องยนต์ดีเซลในรุ่นเดียวกันกันนี้ได้ถูกนำไปติดตั้งเป็นเครื่องยนต์ของเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งชั้น Holland ของกองทัพเรือเนเธอร์แลนด์มาแล้วครับ