Philippine Navy's lead SSV sails towards home
The first SSV, Tarlac, during a visit by IHS Jane's to PT PAL in March 2016. Source: IHS/Ridzwan Rahmat
http://www.janes.com/article/60139/philippine-navy-s-lead-ssv-sails-towards-home
บริษัท PT PAL รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรืออินโดนีเซียได้ประกาศตั้งแต่วันที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า
เรือลำเลียงส่งกำลังบำรุงทางยุทธศาสตร์ (SSV: Strategic Sealift Vessel) ลำแรกของกองทัพเรือฟิลิปปินส์ได้ออกเดินทางจาก Surabaya อินโดนีเซียไปยัง Manila ฟิลิปปินส์แล้ว
โดยมีรองประธานาธิบดีอินโดนีเซีย Jusuf Kalla และตัวแทนจากรัฐบาลฟิลิปปินส์เข้าร่วมพิธีส่งเรือ
เรือลำเลียงส่งกำลังบำรุงทางยุทธศาสตร์ SSV ลำแรกหรือในอนาคตจะเข้าประจำการในกองทัพเรือฟิลิปปินส์ในชื่อ LD-601 BRP Tarlac นั้น
เป็นเรืออู่ยกพลขึ้นบก(LPD: Landing Platform Dock) ที่มีพื้นฐานจากเรืออู่ยกพลขึ้นบกชั้น Makassar ของกองทัพเรืออินโดนีเซีย
ซึ่งอู่ PT PAL ได้สิทธิบัตรแบบเรือ LPD ชั้น Makassar เพื่อต่อในประเทศจากบริษัท Daewoo Shipbuilding and Marine Engineering สาธารณรัฐเกาหลี
รัฐบาลฟิลิปินส์ได้ลงนามกับ PT PAL อินโดนีเซีย วงเงิน $92 million เมื่อเดือนมิถุนายน 2014 สำหรับการสร้างเรือ SSV 2ลำ
โดย BRP Tarlac ซึ่งเป็นเรือลำแรกของชั้นนั้นถูกปล่อยลงน้ำเมื่อเดือนมกราคม 2016 และออกเดินเรือทดสอบในทะเลครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา
ตามข้อมูลของ PT PAL เรือ SSV ชั้น Tarlac ของกองทัพเรือฟิลิปปินส์มีความยาวตัวเรือ 123m, ความกว้างสุดของตัวเรือ 21.8m, กินน้ำลึก 5m ระวางขับน้ำสูงสุด 11,600tons
ลูกเรือ 126นาย รองรับทหารได้ 500นาย รองรับเรือระบายพลขนาดใหญ่(LCU Landing Craft Utility) ขนาด 23m 2ลำ ในอู่ลอย
PT PAL อินโดนีเซียได้ให้ข้อมูลกับ Jane's ว่าเรือ Tarlac จะส่งมอบให้ให้กองทัพเรือฟิลิปปินส์โดยไม่มีการติดตั้งอาวุธใดๆ
อย่างไรก็ตามเรือถูกออกแบบให้ติดตั้งปืนใหญ่เรือ 76mm หนึ่งกระบอกที่ดาดฟ้าตอนหน้าเรือ และปืนใหญ่กล 25mm สองกระบอกที่ท้ายเรือ
โดยตามข้อมูลล่าสุดฟิลิปปินส์จะมีพิธีต้อนรับการรับมอบเรืออย่างเป็นทางการที่ Manila ในวันที่ 16 พฤษภาคมนี้ครับ
GRSE to Export Light Frigates to Philippines
http://www.defensenews.com/story/defense/international/asia-pacific/2016/05/12/grse-export-light-frigates-philippines/84280572/
บริษัท Garden Reach Shipbuilders & Engineers Ltd.(GRSE) รัฐวิสาหกิจอู่ต่อเรือของรัฐบาลอินเดีย เป็นผู้ชนะในโครงการจัดหาเรือฟริเกตเบา 2ลำของกองทัพเรือฟิลิปินส์
ซึ่ง GRSE อินเดียเป็นผู้เสนอราคาต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับผู้เข้าแข่งขันรายอื่นๆคือ Hyundai Heavy Industries และ Daewoo Shipbuilding & Marine Engineering สาธารณรัฐเกาหลี กับ Navantia สเปน
คาดว่าฟิลิปปินส์จะลงนามสัญญาจัดหาวงเงินราว $321 million กับ GRSE อินเดียในอีกสองเดือนข้างหน้า
Garden Reach Shipbuilders & Engineers Ltd.(GRSE) Stealth Corvette Model in Defense & Security 2015(My Own Photo)
GRSE เป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้การควบคุมของกระทรวงกลาโหมอินเดีย ซึ่งมีประสบการณ์ต่อเรือรบมาแล้ว 95ลำ ทั้งเรือฟริเกต เรือคอร์เวต และเรือเร็วโจมตี ตั้งแต่ปี 1960
โดยเรือฟริเกตเบาของ GRSE สำหรับกองทัพเรือฟิลิปปินส์นั้จะมีพื้นฐานมาจากเรือคอร์เวตปราบเรือดำน้ำชั้น Kamorta ของกองทัพเรืออินเดียซึ่งทนคลื่นลมในทะเลได้ระดับ Sea State 7(ความสูงคลื่น 9m)
มีความยาวตัวเรือ 95m ระวางขับน้ำ 2,000tons ระบบขับเคลื่อนเครื่องยนต์ดีเซล CODAD(Combined Diesel and Diesel) รองรับการปฏิบัติการในสภาวะสงครามนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี
มีระบบสื่อสารวิทยุและ data link ทางยุทธวิธี ติดปืนใหญ่เรือ 76mm พร้อม Radar ควบคุมการยิง, ระบบตรวจจับ electro-optical และระบบอำนวยการรบ
ทั้งนี้อู่ต่อเรือ Goa ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลอินเดียกำลังต่อเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง 2ลำให้กองทัพเรือศรีลังกาตามข้อตกลงแลกเปลี่ยนรัฐต่อรัฐระหว่างอินเดียและศรีลังกา
โดยเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งของศรีลังกาลำแรกจะส่งมอบได้ภายในสิ้นปีนี้ และลำที่สองภายในกลางปีหน้าครับ