Japan, Thailand eyeing arms deal
Japanese Maritime Self-Defense Force's P-1 patrol aircraft (Courtesy of Defense Ministry)
http://asia.nikkei.com/Politics-Economy/International-Relations/Japan-Thailand-eyeing-arms-deal
ญี่ปุ่นและไทยกำลังมองหาข้อตกลงร่วมซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการสร้างความเป็นหุ้นส่วนด้านความมั่นคงอย่างมีขอบเขตจำกัดร่วมกันของทั้งสองประเทศ
รัฐบาลโตเกียวญี่ปุ่นกำลังพิจารณาถึงสัญญาในการอนุมัติการส่งมอบยุทโธปกรณ์ด้านความมั่นคงให้กับไทย และข้อเรียกร้องในความร่วมมือทางวิทยาการ Technology ร่วมกันของทั้งสองประเทศ
ซึ่งไทยให้ความสนใจในอากาศยานสองแบบของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่นคือ เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-1 และเครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบกกู้ภัยทางทะเล US-2
ShinMaywa US-2(wikipedia.org)
รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการจะให้ข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกันของไทยและญี่ปุ่นนี้เข้าไปแทรกกลางระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนที่เข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นจากสถานการณ์ภายในของไทยและท่าทีของรัฐบาลสหรัฐฯและสหภาพยุโรปต่อไทย
โดยเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคมที่ผ่านมา รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่น Gen Nakatani ได้เข้าพบ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมที่กรุงเทพฯ เพื่อหารือข้อตกลงด้านการจัดหายุทโธปกรณ์ร่วมกัน
ในสัญญานั้นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการส่งออกยุทโธปกรณ์จากญี่ปุ่นคือทางไทยจะต้องให้ญี่ปุ่นยินยอมก่อนที่จะส่งมอบหรือจัดส่งอุปกรณ์หรือ Technology ใดๆที่เกี่ยวข้องเพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากที่ได้มีการระบุไว้ในไว้ในสัญญาครั้งแรก
รองนายกรัฐมนตรี พล.อ. ประวิตร วงษ์สุวรรณ ได้เคยเข้าชมงานแสดงอาวุธยุทโธปกรณ์ Defense & Security 2015 เมือเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว ซึ่งมีบริษัทด้านความมั่นคงจากญี่ปุ่นเช่น Kawasaki Heavy Industries และ NEC มาร่วมจัดแสดงในงาน
เครื่องบินตรวจการณ์ทางทะเล P-1 สร้างโดย Kawasaki ถูกออกแบบมาเป็นเพื่อภารกิจค้นหาเรือดำน้ำและเรือผิวน้ำต่างๆ โดยติดตั้งระบบตรวจจับเสียงของ NEC และเครื่องยนต์ไอพ่นสมรรถนะสูงของ IHI
เครื่องบินสะเทินน้ำสะเทินบก US-2 สร้างโดย ShinMaywa Industries เป็นเครื่องบินที่สามารถบินขึ้นลงในทะเลที่มีความก้าวหน้าสูง มีความเร็วต่ำและมีพิสัยการบินไกล โดยญี่ปุ่นกำลังอยู่ระหว่างการหารือข้อตกลงในการส่งออก US-2 ให้อินเดีย
(เข้าใจว่าถ้าเป็นความสนใจในการจัดหาในส่วนของ กองการบินทหารเรือ กองทัพเรือ Kawasaki P-1 น่าจะมาแทน บ.ตผ.๒ก./ข. P-3T/UP-3T ที่ปลดประจำการไปแล้ว และ ShinMaywa US-2 น่าจะมาแทน บ.ธก.๑ CL-215 ที่มีอายุการใช้งานมานาน)
ญี่ปุ่นได้รับสัญญาการจัดหายุทโธปกรณ์จากประเทศในเอชียตะวันออกเฉียงใต้คือ ฟิลิปปินส์ที่ทำสัญญาเช่าเครื่องบินฝึกใบพัด TC-90(Beechcraft King Air Model 90) ของกองกำลังป้องกันตนเองทางทะเลญี่ปุ่น คาดว่าจะนำมาใช้ในภารกิจค้นหาและกู้ภัยในกรณีภัยพิบัติ, การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม, การตรวจการณ์และแจ้งเตือน ซึ่งญี่ปุ่นกำลังเจรจาข้อตกลงลักษณะเดียวกันกับมาเลเซียและอินโดนีเซีย
หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้แก้ไขกฎหมายในเดือนเมษายน 2014 เพื่อทำให้ญี่ปุ่นสามารถพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์เพื่อส่งออกและเพิ่มความร่วมมือด้านความมั่นคงในการพัฒนาอาวุธยุทโธปกรณ์กับมิตรประเทศได้มากขึ้นนั้น ญี่ปุ่นก็ได้เริ่มหาแนวทางในการประชาสัมพันธ์และส่งออกยุทโธปกรณ์ของตนกับต่างประเทศมากขึ้น
อย่างไรก็ตามในโครงการจัดหาเรือดำน้ำ SEA 1000 ของกองทัพเรือออสเตรเลีย ที่เรือดำน้ำชั้น Soryu ญี่ปุ่นพ่ายแพ้ให้กับเรือดำน้ำ Shortfin Barracuda Block 1A ของ DCNS ฝรั่งเศสนั้น
เจ้าหน้าระดับสูงในกระทรวงกลาโหมญี่ปุ่นให้ความเห็นว่า "ความพ่ายแพ้นั้นเปิดเผยถึงการขาดประสบการณ์ทางการตลาดของเรา" ครับ