Sarakadee magazine issue 430 January 2021 "70th Anniversary of Royal Thai Armed Forces in Korean War"
นิตยสารสารคดีฉบับที่ ๔๓๐ เดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021) "เจ็ดทศวรรษทหารไทยในสงครามเกาหลี" เป็นฉบับที่บทความพิเศษประจำฉบับรายงานเรื่องทหารไทยในสงครามเกาหลี(Korean War) ในมุมมองใหม่ๆ
จากการค้นคว้าหลักฐานจากหลายๆแหล่ง เช่นหลักฐานชั้นต้นจากปากคำทหารผ่านศึกสงครามเกาหลีที่ยังมีชีวิตอยู่ หอจดหมายเหตุแห่งชาติสหรัฐฯ(US National Archives) และหลักฐานชั้นรองจากหนังสือต่างๆเกี่ยวกับสงครามเกาหลี
บทความพิเศษที่นำเสนอยังมีบางส่วนที่กล่าวถึงประเด็นการเมืองภายในไทยและต่างประเทศในแง่การวิเคราะห์เชิงประวัติศาสตร์ ซึ่งดูจะลดการพาดพิงตัวบุคคลที่เกี่ยวข้องร่วมสมัยทั้งที่มีชีวิตอยู่และเสียชีวิตแล้วลงถ้าเทียบกับฉบับ๔๑๒ มิถุนายน ๒๕๖๒ "ทหารไทยในสมรภูมิเวียดนาม" ก่อนหน้า
แต่อย่างไรก็ตามปัญหาสำคัญเกี่ยวกับบทความเกี่ยวประวัติศาสตร์สงครามของสารคดีที่มีมาตั้งแต่อดีตที่ผู้เขียนติดตามมาตั้งแต่ฉบับพิเศษ "หน่วยรบพิเศษไทย" เมื่อเกือบ๓๐กว่าปีก่อน ก็คือเรื่องข้อบกพร่องด้านศัพท์เฉพาะทางการทหาร ชื่อหน่วยรบ และชื่ออาวุธยุทโธปกรณ์
ข้อผิดพลาดที่สำคัญอาทิ "ปืนเล็กยาวแบบ .๗๗ มม. และ ปืนเล็กยาวขนาด .๘๘ มม." ที่น่าจะคลาดเคลื่อนมาจาก ปืนเล็กยาวแบบ๖๖ ปลย.๖๖ Siamese Mauser M1923 ขนาด 8x52mmR และปืนเล็กยาวบรรจุเองแบบ๘๘ ปลยบ.๘๘ M1 Garand ขนาด .30-06caliber(7.62x63mm) ตามลำดับ
รูปอาวุธประกอบที่พิมพ์คำบรรยายผิดพลาดทั้ง ปืนเล็กสั้นบรรจุเองแบบ๘๗ ปสบ.๘๗ M1 Carbine ขนาด .30Carbine(7.62x33mm) พิมพ์เป็น ปลย.๘๘, ปืนเล็กยาว SKS ขนาด 7.62x39mm พิมพ์เป็น ปสบ.๘๗ และปืนไร้แรงสะท้อนแบบ M18 ขนาด 57mm ไม่มีการพิมพ์ชื่อชนิดอาวุธ เป็นต้น
อีกทั้งการให้รายละเอียดประวัติศาสตร์การรบนั้นแทบไม่มีการกล่าวถึงกองทัพเรือไทยเช่นวีรกรรมเรือหลวงประแส(ลำที่๑) กองทัพอากาศไทยเช่นวีรกรรมเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒ C-47 และสุภาพสตรีอาสาสมัครพยาบาลในแนวหลังที่ญี่ปุ่นและในเกาหลี ทำให้มีความไม่สมบูรณ์ในหลายๆเรื่องราว
บางเรื่องก็เป็นเรื่องที่ตอนเด็กๆเคยได้ยินจากทหารเก่าที่ไปรบที่เสียชีวิตไปแล้วเช่น "ฉันจำไม่ค่อยได้ว่าไปรบที่ไหนบ้าง มันย้ายเราไปเรื่อย" หรือ "กูทิ้งลูกทิ้งเมียที่อยู่เกาหลี!" ซึ่งผู้เขียนขอตำหนิตรงๆเรื่องที่ไม่มีการตรวจทานความถูกต้องของข้อมูลเบื้องต้น ในยุคนี้ที่ cross-check ทำได้ง่ายขึ้นครับ