Greece signs for Rafale combat aircraft
The HAF is to receive 18 Rafale fighters from France, comprising 12 surplus
and six new-build airframes under a deal signed on 25 January. (Dassault)
กรีซและฝรั่งเศสได้บรรลุข้อตกลงสำหรับเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale จำนวน
18เครื่องสำหรับกองทัพอากาศกรีซ(HAF: Hellenic Air Force) มูลค่าที่วงเงินประมาณ
1.92 billion Euros($2.35 billion)
Theodoros Lagios ผู้อำนวยการทั่วไปกองยุทโธปกรณ์และการลงทุนกระทรวงกลาโหมกรีซ
และ Éric Trappier ประธานและผู้อำนวยการบริหารบริษัท Dassault Aviation
ฝรั่งเศสได้ลงนามสัญญาในนครหลวง Athens เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2021
การลงนามข้อตกลงสอดคล้องกับที่รัฐสภากรีซอนุมัติความเห็นชอบการจัดหาเครื่องบินขับไล่
Rafale ในเดือนธันวาคม 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/rafale.html) สัญญาเพิ่มเติมสำหรับการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงยังได้รับการลงนามด้วย
"กรีซเป็นหุ้นส่วนชั้นนำของยุโรป, สมาชิกหลักของ NATO
และหุ้นส่วนพิเศษของฝรั่งเศส โดยที่ Dassault Aviation
ได้รับการยืนยัน...โดย(ผ่านการจัดหาเครื่องบินขับไล่ก่อนหน้า) เป็นเวลามากว่า
45ปี" Trappier กล่าว
เครื่องบินขับไล่ Rafale สำหรับกองทัพอากาศกรีซ
18เครื่องประกอบด้วยเครื่องบินขับไล่ Rafale ส่วนเกิน
12เครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศส(French Air and Space
Force, Armée de l'Air et de l'Espace)
แบ่งเป็นเครื่องบินขับไล่ที่นั่งเดียว Rafale C จำนวน 10เครื่อง
และเครื่องบินขับไล่สองที่นั่ง Rafale B จำนวน 2เครื่อง และเครื่องบินขับไล่
Rafale จำนวน 6เครื่องที่ จะสร้างใหม่จากโรงงานของ Dassault ในฝรั่งเศส
เพื่อให้ตรงกับความจำเป็นเร่งด่วนของตัวแทนผู้รับมอบกรีซ
การส่งมอบเครื่องบินขับไล่ Rafale จะเริ่มต้นในฤดูร้อนของปี 2021
และถูกแบ่งเป็นระยะไปเป็นเวลาอีก 2ปี
สัญญาการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงเพิ่มเติมจะสนับสนุนกิจกรรมทางอากาศของเครื่องบินขับไล่
Rafale ของกองทัพอากาศกรีซเป็นเวลาอีก 4ปี 6เดือน(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/rafale-18.html)
ตามที่ Janes ได้รายงานก่อนหน้านี้วงเงินอีก 400 million Euros
จะถูกใช้เพื่อจะจัดซื้ออาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศพิสัยยิงนอกระยะสายตา(BVRAAM:
Beyond Visual Range Air-to-Air Missile) แบบ Meteor
และเพื่อปรับปรุงอาวุธปล่อยวิถีแบบต่างๆที่มีในคลังแสงของกองทัพอากาศกรีซอยู่ก่อนแล้ว
เช่น อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่อากาศ MICA, อาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้นร่อน
Scalp และอาวุธปล่อยนำวิถีต่อต้านเรือผิวน้ำ Exocet)
สำหรับใช้ติดตั้งกับเครื่องบินขับไล่ Rafale
กรีซจะเป็นผู้ใช้งานเครื่องบินขับไล่ Rafale
ฝรั่งเศสรายล่าสุดต่อจากอียิปต์ที่เป็นลูกค้าส่งออกต่างประเทศรายแรกของเครื่องบินขับไล่
Rafale ที่สั่งจัดหาจำนวน 24เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2015/07/rafale.html),
กาตาร์ที่สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 36เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/rafale.html) และอินเดียที่สั่งจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale จำนวน 36เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/rafale.html)