วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2564

Hyundai Rotem เกาหลีใต้ตั้งเป้าเปิดตัวรถถังหลัก K1 รุ่นไร้คนขับระบบทดสอบในปี 2024

Hyundai Rotem aims to roll out unmanned K1 MBT testbed by 2024




A K1A1 main battle tank seen during a mobility and fire power demonstration. South Korean defence prime Hyundai Rotem has been contracted to develop technologies that will enable the K1 platform to be remotely or autonomously operated. (Janes/Kelvin Wong)



บริษัท Hyundai Rotem สาธารณรัฐเกาหลีได้ถูกเลือกเป็นผู้รับสัญญาหลักเพื่อจะพัฒนาวิทยาการทำให้กองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี(RoKA: Republic of Korea Army) สามารถเปลี่ยนยานเกราะที่ตนมีอยู่
อย่างเช่นรถถังหลัก(MBT: Main Battle Tank) และปืนใหญ่อัตตาจร(SPH: Self-Propelled Howitzer) ไปสู่ยานยนต์ไร้คนขับ(UGV: Unmanned Ground Vehicle) ได้(https://aagth1.blogspot.com/2020/08/k1-k9.html)

บริษัท Hyundai Rotem ประกาศเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2020 ว่าดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนา(R&D: Research and Development) แยกจากกันสองโครงการเป็นวงเงินประมาณ 15.2 billion Korean Won($13.98 million)
ภายใต้สัญญาที่ประกาศโดยศูนย์เทคโนโลยีอุตสาหกรรมกลาโหม(Defense Industry Technology Center) ของสำนักงานการพัฒนาทางกลาโหม(ADD: Agency for Defense Development) สาธารณรัฐเกาหลี

การมอบหมายงานวิจัยและพัฒนาแรกมองที่จะพัฒนานาวิทยาการระบบปฏิบัติการและขับเคลื่อนระยะไกลร่วมที่จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับตลอดทั้งกองกำลังรถรบในประจำการกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลี
ความพยายามที่สองจะสร้างขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้รับเพื่อพัฒนาระบบที่ต้องการสำหรับรถถังหลัก K1 ทั้งสองความต้องการคาดว่าจะเสร็จสิ้นภายในปี 2024

รถถังหลัก K1 มากกว่า 1,000คันถูกผลิตขึ้นระหว่างปี 1984 ถึงกลางปี 1990s และได้ถูกใช้งานโดยกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลีและนาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลี(RoKMC: Republic of Korea Marine Corps)
เทียบเคียงได้กับปืนใหญ่อัตตาจรสายพาน K9 ที่ถูกผลิตขึ้นเป็นจำนวนมากระหว่างปี 1999-2019 และถูกนำไปวางกำลังโดยกองทัพบกสาธารณรัฐเกาหลีและนาวิกโยธินสาธารณรัฐเกาหลีเช่นกัน

Janes รายงานก่อนหน้านี้ว่าภาคส่วนการวิจัยสำคัญรวมถึงสถาปัตยกรรมการควบคุมจากระยะไกลและการขับเคลื่อนจากระยะไกลร่วม เช่นเดียวกับวิทยาการการนำร่องอัตโนมัติ
สำนักงานการพัฒนาทางกลาโหมสาธารณรัฐเกาหลีจะยังสำรวจระบบภารกิจเฉพาะที่ตรงตามคุณลักษณะเฉพาะของการปฏิบัติการทั้งรถถังหลักและปืนใหญ่อัตตาจร 

อย่างเช่นวิทยาการเล็งและติดตามเป้าหมายเคลื่อนที่ระยะไกลสำหรับระบบอัตโนมัติที่ใช้งานมาก่อนเดิมก่อนหน้า, ระบบกระจายความร้อนอัตโนมัติ และระบบเตรียมการยิงอัตโนมัติสำหรับปืนใหญ่อัตตาจร K9
การศึกษาแนวคิดก่อนหน้าได้ถูกเผยแพร่โดยสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทหารและเทคโนโลยีเกาหลี(KIMST: Korea Institute of Military Science and Technology) ในปี 2016 ที่ได้เสนอรูปแบบความเป็นไปได้ของรถถังหลัก K1 รุ่นไร้คนขับครับ