Royal Thai Air Force's 2 of 6 new Airbus Helicopters H135 trainers was spotted
during thier flying at Ingolstadt Manching airport, Germany in 20 November
2020.
Air Chief Marshal Airbull Suttiwan Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force
was visited Wing 2 RTAF base in 14 December 2020. At 201st Sqaudron Royal
Guard, Wing 2 RTAFB's Hangar was Sikorsky S-92A in foreground and new Sikorsky
S-70i in background.
กองบิน ๒ ให้การต้อนรับผู้บัญชาการทหารอากาศ และคณะตรวจเยี่ยม
พลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ ผู้บัญชาการทหารอากาศ
พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรรณระพี สุทธิวรรณ นายกสมาคมแม่บ้านทหารอากาศ
และคณะเดินทางมาตรวจเยี่ยมกองบิน ๒
โดยมี นาวาอากาศเอก ชวภณ ยิ้มพงษ์ ผู้บังคับการกองบิน ๒ นำข้าราชการ ลูกจ้าง
พนักงานราชการ ทหารกองประจำการ และสมาชิกชมรมแม่บ้านทหารอากาศกองบิน ๒
ให้การต้อนรับ ณ ศูนย์บริการการบิน กองบิน ๒ เมื่อ ๑๔ ธันวาคม ๒๕๖๓
วันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓(2020) เฮลิคอปเตอร์ Airbus Helicopters H135
สองเครื่องสีเทาขาวมีตัวอักษรภาษาไทย 'กองทัพอากาศไทย' ทะเบียน D-HECC และ D-HCBO
ได้ทำการบินทดสอบ ณ ท่าอากาศยาน Ingolstadt Manching ในเยอรมนี
นี่น่าจะเป็นเครื่องหมายที่แสดงถึงว่าการทำการบินครั้งแรกของเฮลิคอปเตอร์ฝึก H135
๒เครื่องแรกจาก ๖ เครื่องที่กองทัพอากาศไทยได้การลงนามสัญญาจัดหาในวงเงิน
๑,๓๒๗,๗๙๑,๑๐๐บาท($43,353,707)(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/h135.html)
คาดว่า H135 จะถูกส่งมอบเข้าประจำการ ณ ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ โคกกระเทียม
จังหวัดลพบุรี ได้ในปี พ.ศ.๒๕๖๔(2021) โดยน่าจะกำหนดแบบเป็นเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๓
ฮ.๑๓ ตามที่เฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๒ ฮ.๑๒ Sikorsky S-70i ที่น่าจะเข้าประจำการใน
ฝูงบิน๒๐๑ รักษาพระองค์ฯ แล้วครับ
Photo of Schiebel Camcopter S-100 Unmanned Aerial System with marking of Royal
Thai Navy on its tail was spotted on helicopter flight deck of RTN's ships.
(unknow photo source)
The RTN has selected the Schiebel Camcopter S-100 UAS to provide unmanned
ISR capabilities over land and sea that have been tested in many countries.
(Schiebel)
ภาพที่เผยแพร่ในช่วงต้นเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓
ได้เปิดเผยถึงส่วนหางของอากาศยานไร้คนขับปีกหมุน(rotary-wing UAV: Unmanned
Aerial Vehicle) แบบ Schiebel Camcopter S-100 ๑เครื่อง
พร้อมเครื่องหมายธงราชนาวีและตัวอักษรภาษาอังกกฤษ 'Royal Thai Navy'
กำลังจอดอยู่บนดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ท้ายเรือลำหนึ่งของกองทัพเรือไทย
เป็นการแสดงถึงว่ากองทัพเรือไทยน่าจะได้รับมอบอากาศยานไร้คนขับ Camcopter S-100
UAV ที่สั่งจัดหา ๑ระบบ วงเงิน ๒๖๖,๖๐๒,๔๙๐บาท($8,726,832.61) ในปี
พ.ศ.๒๕๖๒(2019) แล้ว
หมายเลขเครื่อง 1425 ที่พบนั้นแสดงว่า Camcopter S-100 UAV ถูกนำเข้าประจำการใน
ฝูงบิน๑๐๔ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ ร่วมกับระบบอากาศยานไร้คนขับ Aeronautics
Defense Systems Orbiter 3B อิสราเอลครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/05/orbiter-3b-uav.html)
Thailand's Defence Technology Institute (DTI) hand-over D-Eyes 02 Mini
UAV(Unmanned Aerial Vehicle) DUF-004 prototype to Royal Thai Marine Corps
(RTMC), Royal Thai Navy (RTN) for trial use in 9 December 2020.
การส่งมอบระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก D-Eyes 02 Mini UAV เครื่องต้นแบบรหัส
DUF-004 ที่พัฒนาโดยสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI
แก่หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน เพื่อทดลองใช้งานเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓
ได้แสดงให้เห็นถึงว่ากองทัพเรือไทยไม่ได้แค่ดำเนินการจัดหาระบบอากาศยานไร้คนขับจากต่างประเทศเท่านั้น
แต่ยังสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนาภายในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชนมาตลอดด้วย ซึ่ง
สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร. ก็มีโครงการ UAV
เป็นจำนวนมาก
เช่น อากาศยานปีกหมุนสี่แกนใบพัดแบบ Narai 3.0
ได้เข้าสู่สายการผลิตเป็นจำนวนมากและถูกนำใช้งานจริงไปแล้ว
รวมถึงอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง Falcon-V FUVEC
และอากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง MARCUS VTOL UAV
ที่ร่วมกับภาคเอกชนด้วยครับ
Thailand's Defence Technology Institute (DTI) and Royal Thai Army (RTA)
signed memorandum of understanding (MOU) for research and development
Unmanned Aircraft System (UAS) and Anti-Drone systems in 7 December 2020.
สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) และ กองทัพบก
ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ (MOU)
ด้านการวิจัยและพัฒนาระบบยานไร้คนขับและต่อต้านระบบยานไร้คนขับ
โดยมี พลอากาศเอก ดร.ปรีชา ประดับมุข ผอ.สทป. และ พลตรี สมบุญ เกตุอินทร์
ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหาร กองทัพบก
ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลง ณ สโมสรทหารบก (วิภาวดี) เมื่อวันที่ 7
ธ.ค.63
การลงนามบันทึกความเข้าใจครั้งนี้
เป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้สถาบันเทคโนโลยีป้องกันเทศมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบยานไร้คนขับร่วมกับกองทัพบกให้เป็นไปตามนโยบายของกองทัพบกที่จะพัฒนาไปสู่การเป็น
Smart Soldier Strong Army
โดยมุ่งเน้นการพัฒนายุทโธปกรณ์และกำลังพลของกองทัพบกให้ทันสมัย
มีความแข็งแกร่งทั้งร่างกาย จิตใจ
พร้อมที่จะปฏิบัติหน้าที่ในสนามรบได้อย่างสมบูรณ์
เสริมสร้างขีดความสามารถการร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาต้นแบบยุทโธปกรณ์
ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับ(UAV: Unmanned Aerial
Vehicle) ของของ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI คือการลงนาม MOU
กับกองทัพบกไทยด้านการวิจัยพัฒระบบ UAV และระบบ Anti-UAV
ต่อเนื่องจากที่ศูนย์ฝึกอบรมระบบอากาศยานไร้คนขับของ DTI
ที่จัดตั้งขึ้นได้รับการรับรองจากสถาบันฝึกอบรมด้านการบิน Approved Training
Organization(ATO) ตามข้อบังคับของสํานักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(CAAT)
คาดว่าจะเริ่มทำการฝึกนักบินได้ในราวต้นปี พ.ศ.๒๕๖๔(2020)
รวมถึงระบบ UAV ขนาดกลางของบริษัท Beihang UAS Technology Co.,LTD
สาธารณรัฐประชาชนจีนที่ DTI มีส่วนร่วมในการพัฒนานั้น จะถูกจัดหาโดย
กองร้อยทหารปืนใหญ่ค้นหาเป้าหมาย กองพลทหารปืนใหญ่ กองทัพบกไทย
ทดแทนระบบเก่าเช่น Searcher II UAV อิสราเอลครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/06/hermes-450-uav.html)
Thailand acquires 7 of aunav.NEXT UGV EOD/CBRN) robots for
counter-terrorism unit in Thailand.
การจัดหายานยนต์ไร้คนขับ(UGV: Unmanned Ground Vehicle) แบบ aunav.NEXT
EOD/CRBN จำนวน ๗ระบบ พร้อมรถที่บังคับการและควบคุม(C2: Command and
Control) แบบ aunav.VAN จำนวน ๗คัน
สำหรับหน่วยต่อต้านการก่อการร้ายของไทยในเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓ นั้น
แม้ว่าจะไม่ได้เป็นข่าวในกระแสหลักแต่การจัดหาระบบ UGV
จากบริษัทสเปนก็ยังคงมีเสียงตำหนิจากผู้ที่ไม่เข้าใจอยู่เช่นเดิมว่าหน่วยงานความมั่นคงของไทยไม่สนับสนุนผลงานประดิษฐ์หุ่นยนต์กู้ระเบิดของไทยเอาแต่เงินภาษีประชาชนไปซื้อของต่างชาติ
ซึ่งไม่ได้ตรงกับข้อเท็จจริงเลยว่า
หน่วยงานความมั่นคงของไทยเลิกที่จะเอาบุคลากรของตนไปเสี่ยงกับระบบหุ่นยนต์ที่ไม่มีมาตรฐานสร้างจากอุปกรณ์ที่หาได้ทั่วไป(off-the-shelf)
ที่แม้สถาบันการศึกษาจะมอบให้เปล่าแต่พอพังขึ้นมาก็หาคนซ่อมไม่ได้เพราะเรียนจบไปไหนต่อไหนกันหมดเแล้ว
จึงเลือกซื้อระบบที่น่าเชื่อถือแทนครับ
Royal Thai Air Force have advanced to procure 8 of A-6TH Thailand's
variant of Beechcraft AT-6E Wolverine light attack aircraft for USD143
million.
Royal Thai Air Force orders 12 of T-6TH Thailand's variant of Beechcraft
T-6C Texan II trainer aircraft for USD162 million.
กองทัพอากาศไทยมีความคืบหน้าในโครงการจัดหาเครื่องบินโจมตีเบา
ตามที่ผู้บัญชาการทหารอากาศ พลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ
ได้มีพิธีลงนามข้อตกลงคุณธรรม (Integrity Pact) เมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม
พ.ศ.๒๕๖๓ ที่ผ่านมา
โดยการจัดหาเครื่องบินฝึกใบพัด Beechcraft T-6C Texan II จำนวน ๑๒เครื่อง
ที่จะถูกกำหนดแบบเป็นเครื่องบินฝึก T-6TH และเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด
Beechcraft AT-6E Wolverine จะถูกกำหนดแบบเป็นเครื่องบินโจมตี A-6TH
เมื่อเข้าในประจำการกองทัพอากาศไทย
ทั้งสองโครงการนี้เป็นไปตามนโยบาย จัดหาและพัฒนา Purchase and Development
ระยะ ๑๐ปี และนโยบาย Common Fleet ของกองทัพอากาศไทย
ในการจัดหาระบบที่มีพื้นฐานร่วมกัน
และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคอุตสาหกรรมอากาศยานของไทยและต่างประเทศครับ
Royal Thai Air Force was commissioning ceremony for one Airbus ACJ320ceo
transport aircraft and 8 of Diamond DA40 NG Diamond Star trainer
aircraft at Wing 6 Don Mueang RTAFB in 21 December 2020.
สำหรับพิธีบรรจุประจำการเครื่องบินฝึกแบบที่๒๑ บ.ฝ.๒๑ Diamond DA40 NG
Diamond Star จำนวน ๘เครื่อง ณ ฝูงบิน๖๐๔ กองบิน๖ ดอนเมือง เมื่อวันที่ ๒๑
ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓ เพื่อทดแทนเครื่องบินฝึกแบบที่๑๖ บ.ฝ.๑๖ CT-4A ไปนั้น(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/ct-4a.html)
เป็นการจัดหาในระยะที่๑ ซึ่งตามแผนสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020
จะมีการจัดหา บ.ฝ.๒๑ DA40 NG เพิ่มเติมอีก ๖เครื่องเข้าประจำการในฝูงบิน๖๐๔
ปีงบประมาณ ๒๕๖๘-๒๕๖๙(2025-2026) ทดแทนในส่วน บ.ฝ.๑๖/ก CT-4B(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html)
อย่างไรก็ตามในส่วนการทดแทนเครื่องบินฝึก บ.ฝ.๑๖/ก CT-4E
ที่จะปลดประจำการใน พ.ศ.๒๕๗๔(2031) สำหรับฝูงฝึกบินขั้นต้น
โรงเรียนการบินกำแพงแสน จำนวน ๒๔เครื่อง บ.ฝ.๒๑ DA40 NG
ยังมีข้อจำกัดด้านสมรรถนะที่ไม่เหมาะจะใช้ในการฝึกบินผาดแผลงและการบินหมู่ครับ
Royal Thai Air Force's Lockheed Martin C-130H Hercules 601st Squadron,
Wing 6 Don Mueang demonstrated cargo air drop mission in opening
ceremony of Air Tactical Operations Competition 2021 at Chandy Range,
Lopburi, Thailand, 24 December 2020.
Lockheed Martin was displayed model of its F-16V Block 70/72 Fighting
Falcon (Viper) 102nd Fighter Interceptor Squadron, Wing 1 Korat and
C-130J Super Hercules tactical transport aircarft for Royal Thai Air
Force at Defense and Security 2019.(My Own Photos)
การแสดงการสาธิตการใช้กำลังทางอากาศในพิธีเปิดการแข่งขันการปฏิบัติการทางอากาศยุทธวิธีประจำปี
๒๕๖๔ กองทัพอากาศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓ ที่ผ่านมา(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/blog-post_25.html) อาจจะถูกผู้ไม่หวังดีต่อ ทอ.มองว่าไม่มีอะไรใหม่
อย่างไรก็ตามในช่วงเปลี่ยนผ่านกำลังอากาศยานตามแผนสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย
2020 ผู้บัญชาการทหารอากาศไทย พลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ
ได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อถึงแนวทางการพิจารณาจัดหาเครื่องบินลำเลียงใหม่ทดแทน
บ.ล.๘ C-130H ฝูงบิน๖๐๑ กองบิน๖ ดอนเมือง
ตามที่เครื่องบินลำเลียงใหม่ ๑๒เครื่อง จะเริ่มระยะที่๑ จำนวน
๔เครื่องในปีงบประมาณ ๒๕๖๕-๒๕๖๘(2022-2025)
เครื่องที่ถูกพิจารณาตามหลักการ Common Fleet
ทำให้มีความเป็นไปได้ที่เครื่องบินลำเลียง Lockheed Martin C-130J Super
Hurcules จะเป็นหนึ่งในตัวเลือกอันดับแรกครับ
24 December 2020, Dornier Do 228 serial 1112 and 1114 of 101 Naval
Air Squadron, Naval Air Wing 1, Royal Thai Naval Air Division, Royal
Thai Navy were arrived for overhaul at Oberpfaffenhofen airport in
Bavaria, Germany.
การพบชุดภาพการขนส่งเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลแบบที่๑ บ.ลว.๑ Dornier
Do 228 ฝูงบิน๑๐๑ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ
กองทัพเรือไทย จำนวน ๒เครื่องไปยังท่าอากาศยาน Oberpfaffenhofen
ในแคว้น Bavaria เยอรมนีเมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓
เป็นที่เข้าใจว่า บ.ลว.๑ Do 228
ทั้งสองเครื่องจะถูกนำไปยกเครื่องใหม่(overhaul)
โดยโรงงานอากาศยานของบริษัท Dornier Luftfahrt GmbH ที่สนามบิน
Oberpfaffenhofen ซึ่งเดิมเป็นของบริษัท RUAG Aviation สวิตเซอร์แลนด์
แต่ขายกิจการให้บริษัท General Atomics สหรัฐฯแล้ว
ก่อนหน้าในปี 2017 RUAG พยายามเสนอแบบแผนการปรับปรุงความทันสมัยมาตรฐาน
Do 228NG แก่กองทัพเรือไทย ต่อมาปี 2018 สหรัฐฯได้เสนอแผนการปรับปรุง
บ.ลว.๑ Do 228 ภายใต้เงินทุนสนับสนุนจากรัฐบาลสหรัฐฯด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/do-228.html)
31th years of 'Operation Green pit viper' 27 June 1989, Marine
Assault Amphibious Vehicle Battalion, Royal Thai Marine Corps
Division was demonstrated amphibious operation of nine AAV7A1 in 3
December 2020.
เทิดไว้เหนือเกล้าผองเราเหล่านาวี งูเขียวหางไหม้
เมื่อวันที่ ๓ ธ.ค.๖๓ พลเรือโท รณรงค์ สิทธินันทน์
ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน นำกำลังพล จำนวน ๒,๙๙๙ นาย
จัดกิจกรรมรำลึกเพลงพระราชทาน “มาร์ชราชนาวิกโยธิน”
เผยแพร่ประวัติบทเพลง และการบรรเลงเพลง
เพื่อระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นของพระองค์ที่มีต่อหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
กองทัพเรือ ณ บริเวณอนุสาวรีย์ทหารนาวิกโยธิน
วันที่ 3 ธันวาคม 2563 เวลา 16.00น. พลเรือโท รณรงค์
สิทธินันทน์ ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน
เป็นประธานจัดกิจกรรม “เทิดไว้เหนือเกล้าผองเราเหล่าราชนาวี”
ในกิจกรรมย่อย "งูเขียวหางไหม้" และ "เวคาข้ามอ่าว"
เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ที่ทรงมีต่อกองทัพเรือ ณ
อ่าวเตยงาม หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี
... สำหรับกิจกรรมย่อย "งูเขียวหางไหม้" ย้อนไปเมื่อ วันที่
27 มิถุนายน 2532
หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินได้ถวายการสาธิตการยกพลขึ้นบกให้
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร
ทอดพระเนตรการปฏิบัติการในทะเล ของกำลังทางเรือและกำลังรบยกพลขึ้นบก
ของนาวิกโยธิน ในชื่อ “ยุทธการงูเขียวหางไหม้”
โดยทำการยกพลข้ามอ่าว จากอำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี มายังอำเภอหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
ด้วยกำลังพล 432 นาย และรถสะเทินน้ำสะเทินบกจำนวน 22 คัน
…ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
อันล้นพ้นที่ทรงมีต่อหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน กองทัพเรือจึงได้
จัดให้มีกิจกรรมย่อย ปฏิบัติการยกพลขึ้นบก "งูเขียวหางไหม้"
ในกิจกรรม "เทิดไว้เหนือเกล้าผองเราเหล่าราชนาวี"
เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระองค์ 5 ธันวาคม
2563 ประกอบด้วย กำลังพล จำนวน 2,999 นาย รถสะเทินน้ำสะเทินบก
จำนวน 9 คัน
รวมทั้งมีการบรรเลงเพลงพระราชนิพนธ์"มาร์ชราชนาวิกโยธิน"
ซึ่งเป็นบทเพลงที่พระองค์พระราชทานโน๊ตเพลงพระราชนิพนธ์ให้เหล่าทหารนาวิกโยธินเมื่อวันที่
28 มิถุนายน 2502 หน่วยบัญชาการนาวิกโยธินจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็น
"วันทหารนาวิกโยธิน" ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา
…กองประชาสัมพันธ์ กองทัพเรือ
การสาธิตการปฏิบัติการยกพลขึ้นบกของรถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1
กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพลนาวิกโยธิน พัน.รนบ. พล.นย.
ในกิจกรรมย่อรำลึก ๓๑ปี ยุทธการงูเขียวหางไหม้ ๒๗ มิถุนายน
พ.ศ.๒๕๓๒(1989)
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมเทิดไว้เหนือเกล้าผองเราเหล่าราชนาวี
ในส่วนกิจกรรมรำลึกเพลงมาร์ชราชนาวิกโยธิน เพลงพระราชนิพนธ์ที่
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระราชทานให้แก่นาวิกโยธินกองทัพเรือไทย ที่จัดขึ้นในวันที่ ๓ ธันวาคม
พ.ศ.๒๕๖๓ ก่อนหน้าวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๓ นั้น
แสดงถึงความพร้อมของ AAV7A1 ที่ได้รับการปรับปรุงความทันสมัยโดย
Chaiseri ไทย(https://aagth1.blogspot.com/2019/11/defense-security-2019-chaiseri-first.html) รวมถึงการจัดหายานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN16 ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/vn16.html)
Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy's CVH-911 HTMS Chakri Naruebet
helicopter carrier, FFG-471 HTMS Bhumibol Adulyadej guided missile
frigate, FFG-442 HTMS Taksin; the Naresuan-class missile frigate,
FFG-456 HTMS Bangpakong; Chao Phraya-class frigate and AOR-871 HTMS
Similan Replenishment ship was conducted naval exercise for Fiscal year
2021 in 7-8 December 2020.
การฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองเรือ กองบิน และหน่วยสงครามพิเศษทางเรือ
ของกองเรือฝึกกองเรือยุทธการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ ที่พลเรือเอกชาติชาย
ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ ตรวจเยี่ยมการฝึกช่วงวันที่ ๗-๘ ธันวาคม
พ.ศ.๒๕๖๓ ที่ผ่านมานั้น
เป็นการฝึกผสมกำลังทางเรือและอากาศครั้งใหญ่ส่งท้ายปี ๒๕๖๓ นี้
ซึ่งเรือผิวน้ำขนาดใหญ่รวมถึงเรือบรรทุกเฮลิคอปเตอร์เรือหลวงจักรีนฤเบศร,
เรือฟริเกตสมรรถนะสูงเรือหลวงภูมิพลอดุลยเดช
และเรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่เรือหลวงสิมิลัน
เข้าร่วมซึ่งการฝึกช่วงปีนี้ติดขัดจากการระบาด Covid-19
การแสดงกำลังทางเรือและทางอากาศล่าสุดเป็นการหักล้างการโจมตีกองทัพเรือของกลุ่มผู้ไม่หวังดีต่อชาติด้วยโฆษณาชวนเชื่อในหลายๆรูปแบบต่อประชาชนตลอดมาว่าทั้ง
ร.ล.จักรีนฤเบศร, ร.ล.ภูมิพลอดุลยเดช และ ร.ล.สิมิลัน
จอดอยู่ที่ท่าตลอดไม่เคยออกทะเลสิ้นเปลืองภาษีประชาชนครับ
AAV7A1 of Marine Assault Amphibian Vehicle Battalion, Royal Thai
Marine Corps (RTMC) Division with Amphibious and Combat Support
Service Squadron, Royal Thai Fleet, Royal Thai Navy (RTN) conducted
Landing operation during Amphibious warfare exercise for Fiscal year
2021 in 22-25 December 2020.
การฝึกภาคทะเล ในการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธี
กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กยพ. ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ ธันวาคม
พ.ศ.๒๕๖๓ เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธีกองทัพเรือ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๖๔ ที่ได้มีการประกอบกำลังจากหลายส่วน
ทั้งกำลังทางเรือเช่น เรืออู่ยกพลขึ้นบกเรือหลวงอ่างทอง,
เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงสุรินทร์คือ ร.ล.สุรินทร์
และเรือหลวงสีชัง และเรือระบายพลขนาดใหญ่ชุดเรือหลวงทองแก้วคือ
เรือหลวงทองหลาง, รถสะเทินน้ำสะเทินบก AAV7A1 กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก
กองพลนาวิกโยธิน
และรถยนต์บรรทุกที่บังคับการของ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง
สอ.รฝ.
เป็นการแดงให้เห็นถึงความพร้อมในการปฏิบัติการของกองทัพเรือไทยที่มีการฝึกประจำปี
แม้ว่าที่ผ่านมาตลอดทั้งช่วงปี พ.ศ.๒๕๖๓
การฝึกต่างๆจะติดปัญหาจากการระบาดของ coronavirus Covid-19 ครับ
Earlier this year, Rafael Advanced Defense Systems supplied the Royal Thai Army (RTA) a supply of SPIKE MR - medium range - missiles for its 6th Infantry Division.
การยืนยันการส่งมอบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังขนาดกลาง SPIKE MR แก่กองทัพบกไทยโดย บริษัท Rafael Advanced Defense Systems อิสราเอล ที่เข้าประจำการใน กองพลทหารราบที่๖ ที่มีที่ตั้งกองบัญชาการ ณ ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จังหวัดร้อยเอ็ด นั้น
น่าจะไม่ได้เป็นระบบอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังใหม่แบบเดียวที่กองทัพบกไทยจะจัดหามาทดแทนระบบเก่าที่ใช้งานมานานและล้าสมัยเช่น อาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถัง M47 Dragon ที่หมดอายุไปนานแล้ว และปืนไร้แรงสะท้อน M40A1 ขนาด 106mm สหรัฐฯที่กำลังจะไม่มีอะไหล่และกระสุนผลิตใหม่
แผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ของ กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก ยังได้ให้ข้อมูลถึงอาวุธปล่อยนำวิถีต่อสู้รถถังแบบพกพา FGM-148 Javelin สหรัฐฯ และอาวุธปล่อยนำวิถีอากาศสู่พื้น AGM-114 Hellfire ที่น่าจะติดกับเฮลิคอปเตอร์ลาดตระเวนติดอาวุธ ฮ.ลว./อว.๖ Boeing AH-6i Little Bird ด้วยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/ah-6i.html)
Nexter LG1 Mark II 105mm towed howitzer of 19th Artillery Battalion, 9th Artillery Regiment, 9th Infantry Division, 1st Area Army, Royal Thai Army (RTA).
โครงการซื้อปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้งแบบลากจูง ขนาด 105mm แบบที่๑ จำนวน ๒รายการ วงเงิน ๘๓๔,๔๐๐,๐๐๐บาท($26,722,194 or 22,677,763 Euros) ของกองทัพบกที่ประกาศเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๓(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/lg1-mk-iii-105mm.html)
เป็นที่เข้าใจว่าคือการจัดหาปืนใหญ่เบาลากจูงแบบ Nexter LG1 Mk III ขนาด 105mm ฝรั่งเศส จำนวน ๑๒กระบอก สำหรับทดแทนปืนใหญ่เบาขนาด 105mm เก่าที่ใช้งานมานานเช่น ปืนใหญ่เบากระสุนวิถีโค้ง ปบค.๒๙ M56 Pack Howitzer เป็นปืนใหญ่ภูเขาที่เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๒๙(1986)
หรือ ปบค.๙๕ M101A1 จำนวน ๒๘๕กระบอก ที่ได้รับการปรับปรุงโดย ศอว.ศอพท. เข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๔๙๕(1952) และ ปบค.M425 จำนวน ๑๒กระบอก และ ปบค.M618A2 จำนวน ๓๒กระบอก ที่ ศอว.ศอพท.สร้างเองในไทยทั้งกระบอก ที่ยังคงมีประจำการในบางกองพันทหารปืนใหญ่ครับ