วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2564

กองทัพเรือเกาหลีใต้เปิดเผยการปรับการออกแบบแนวคิดเรือบรรทุกเครื่องบินเบา LPX-II

RoKN unveils revised conceptual design for future light aircraft carrier


The RoKN unveiled on 3 January a revised conceptual design for its future light aircraft carrier featuring a twin-island arrangement. (RoKN)



กองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลี(RoKN: Republic of Korea Navy) เปิดเผยเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2020 ถึงการปรับเปลี่ยนการออกแบบแนวคิดสำหรับเรือบรรทุกเครื่องบินเบายุคอนาคตในอนาคตของตน(https://aagth1.blogspot.com/2020/10/lpx-ii.html)
การออกแบบล่าสุดซึ่งยืนยันว่าเรือบรรทุกเครื่องบินเบาในอนาคตของกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีจะไม่มีคุณสมบัติติดตั้งทางวิ่งขึ้นแบบ ski-jump และมีการจัดแต่งรูปแบบหอเรือคู่(twin-island)

ภาพวาดสามมิติที่สร้างโดย computer(CGI: Computer-Generated Imagery) ที่ปรากฎยังได้ยืนยันว่ากองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีมีแผนที่จะปฏิบัติการ
เครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-35B Lightning II Joint Strike Fighter รุ่นบินขึ้นระยะสั้นลงจอดทางดิ่ง STOVL(Short Take-Off Vertical Landing) บนเรือบรรทุกเครื่องบินเบา

ภาพ CGI ยังปรากฎสิ่งที่คล้ายกับเฮลิคอปเตอร์ใช้งานทางทะเล Sikorsky/Lockheed Martin MH-60R Seahawk บนเรือบรรทุกเครื่องบินเบาด้วย(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/mh-60r.html)
อย่างไรก็ตามกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลีชี้ให้เห็นว่า การออกแบบแนวคิดล่าสุดสามารถจะถูกปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมระหว่างการขั้นการออกแบบพื้นฐานและรายละเอียดได้

ภาพที่สองที่เผยแพร่โดยกองทัพเรือสาธารณรัฐเกาหลียังแสดงถึงเรือบรรทุกเครื่องบินเบาที่ได้รับการจัดหาภายใต้โครงการเรือยกพลขึ้นบกบรรทุกเฮลิคอปเตอร์ LPX-II(Landing Platform eXperimental-II) ปฏิบัติการในฐานะกลุ่มเรือบรรทุกเครื่องบินร่วมกับหมู่เรือที่น่าจะเป็น
เรือดำน้ำ KSS-III(https://aagth1.blogspot.com/2018/09/kss-iii-ss-083-dosan-ahn-chang-ho.html) เช่นเดียวกับเรือพิฆาต KDX-2, เรือพิฆาต KDX-3 Batch II, เรือพิฆาต KDDX และเรือสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงชั้น Soyang(AOE-II)

การพัฒนาล่าสุดนี้มีขึ้นตามมาหลังจากเจ้าหน้าที่และนักวิจัยกลาโหมของสาธารณรัฐเกาหลีได้จัดการประชุมครั้งแรกของตนในปลายเดือนตุลาคม 2020 เพื่อหารือการพัฒนา "วิทยาการหลัก" สำหรับเรือบรรทุกเครื่องบิน
สำนักงานโครงการจัดหากลาโหม(DAPA: Defense Acquisition Program Administration) สาธารณรัฐเกาหลีประกาศ ณ เวลานั้นว่ามีสถาบันและบริษัทรวมทั้งหมด 7รายที่เข้าร่วมการประชุม

สถาบันและบริษัทดังกล่าวรวมถึง สำนักงานการพัฒนาทางกลาโหม(ADD: Agency for Defense Development) สาธารณรัฐเกาหลี, มหาวิทยาลัยแห่งชาติ Pusan และบริษัท LIG Nex 1 สาธารณรัฐเกาหลี จะเข้ามามีส่วนในขั้นตอนการพัฒนาซึ่งคาดว่าจะเสร็จสิ้นในปี 2024
ในฐานะตัวอย่างของวิทยาการหลัก DAPA เกาหลีใต้อ้างอิงถึงแผนการพัฒนาวัสดุเคลือบพื้นผิวเพื่อป้องกันดาดฟ้าบินของเรือบรรทุกเครื่องบินเบาขนาดระวางขับน้ำ 40,000-tonne ตามที่เครื่องบินขับไล่ F-35B จะทำการลงจอดบนเรือแบบทางดิ่งครับ