วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2564

กองทัพอากาศไทยทำพิธีปลดประจำการเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ L-39ZA/ART




Air Chief Marshal Airbull Suttiwan Commander-in-Chief of Royal Thai Air Force (RTAF) was attended to formal decommissioning ceremony for Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros of 411th Squadron, Wing 41 Chiang Mai in 31 March 2021.








Today Air Chief Marshal Airbull Suttiwan attended the decommission ceremony of L-39ZA/ART after 27 years of service with Royal Thai Air Force at Wing 41, Chiang Mai Airport.








In the ceremony, two L-39ZA/ART had performed the flyby before came to land at the ceremony. Pioneer pilots of Royal Thai Air Force L-39 had also attended the ceremony.

ตลอดระยะเวลา ๒๗ ปี ที่เครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ 1 หรือ L-39ZA/ART ได้รับใช้กองทัพอากาศมาอย่างยาวนาน และปฏิบัติภารกิจของกองทัพอากาศ อย่างต่อเนื่อง

วันนี้ (วันพุธที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2564) พลอากาศเอก แอร์บูล สุทธิวรรณ ผู้บังคับบัญชาการกองทัพอากาศ เป็นประธานในพิธีปลดประจำการเครื่องบินแบบ บ.ขฝ.๑ หรือ L-39ZA/ART Albratross 
โดยมี นาวาอากาศเอก ภูศิษฐ์ ทิมเกิด ผู้บังคับการกองบิน 41 และข้าราชการกองบิน 41 ให้การต้อนรับ ณ ท่าอากาศยานทหารกองบิน 41

ภายในพิธีปลดประจําการเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ 1 (L-39ZA/ART) ได้จัดให้มีการแสดงทางภาคอากาศ (Fly by) และได้เรียนเชิญนักบิน Pioneer ได้แก่ พลอากาศเอก สุรศักดิ์ ทุ่งทอง ,พลอากาศ เอก วันชัย นุชเกษม และพลอากาศตรี สําราญ ชมโท 
ซึ่งเป็นนักบินรุ่นแรกที่เดินทางไปรับเครื่องบินขับไล่และ ฝึกแบบที่ 1 (L-39ZA/ART) ของกองทัพอากาศ ณ สาธารณรัฐเชคในสมัยนั้น มาร่วมพิธีปลดประจําการ เครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่ 1 (L-39ZA/ART) ในครั้งนี้ด้วย

ภาพ
กนิษฐ์ ชาติกานนท์
ณัฐนนท์ ถาวรธรรมฤทธิ์

เครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๑ บ.ขฝ.๑ Aero Vodochody L-39ZA/ART Albatros ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ กองทัพอากาศไทย จำนวน ๒เครื่อง หมายเลข 41111 และ 41120 ได้ทำการบินครั้งสุดท้ายของตนในพิธีปลดประจำการเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
หลังจากที่ลงจอดและได้รับการสลุตด้วยเครื่องฉีดน้ำดับเพลิง บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART หมายเลข 41111 และ 41120 ได้ถูกนำมาจอดแสดงร่วมกับ L-39ZA/ART หมายเลข 41122, 41125 และ 41130 ซึ่งทั้งหมดเป็น ๕เครื่องสุดท้ายที่ประจำการในฝูงบิน๔๑๑ 

กองทัพอากาศไทยได้จัดหา บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART จากสาธารณรัฐเช็กจำนวน ๓๖เครื่องที่ได้รับการปรับปรุงระบบอาวุธและ Avionnic ให้เป็นมาตรฐาน NATO โดยบริษัท Elbit อิสราเอล เข้าประจำการตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๗(1994) ต่อมาจัดหาเพิ่มอีก ๔เครื่องรวมทั้งสิ้น ๔๐เครื่อง
โดยช่วงแรกถูกนำเข้าประจำการในฝูงบิน๑๐๑ และฝูงบิน๑๐๒ กองบิน และฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ รวมสามฝูงบิน ซึ่งเดิมกองทัพอากาศไทยมีความต้องการ L-39ZA/ART ถึง ๕๐-๖๐เครื่องเพื่อเข้าประจำการใน ๕ฝูงบิน แต่ได้ถูกตัดลดจำนวนลงเนื่องจากความเหมาะสมทางด้านภาวะเศรษฐกิจ

L-39ZA/ART ที่ประจำการในฝูงบิน๑๐๑, ฝูงบิน๑๐๒ และฝูงบิน๔๐๑ ได้มีโอนย้ายเครื่องจากการสูญเสียและการปรับโครงสร้างกำลัง ปัจจุบันฝูงบิน๑๐๑ ไม่มีอากาศยานประจำการ และฝูงบิน๑๐๒ ได้รับมอบเครื่องบินขับไล่แบบที่๑๙/ก บ.ข.๑๙/ก F-16A/B Block 15 ADF ในปี พ.ศ.๒๕๔๕(2002)
ต่อมาเมื่อเครื่องบินโจมตีแบบที่๕ บ.จ.๕ Rockwell OV-10C Bronco ที่เป็นเครื่องบินโจมตีเครื่องยนต์ใบพัดแบบสุดท้ายได้ปลดประจำการจากฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ ในปี พ.ศ.๒๕๔๗(2007) ฝูงบิน๔๑๑ จึงได้รับมอบ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART เข้าประจำการแทนในภารกิจฝูงบินโจมตี

ฝูงบิน๔๐๑ กองบิน๔ ตาคลีได้รับมอบเครื่องบินขับไล่และฝึกแบบที่๒ บ.ขฝ.๒ Korea Aerospace Industries(KAI) T-50TH Golden Eagle สาธารณรัฐเกาหลี เข้าประจำการแทนในปี พ.ศ.๒๕๖๑(2018) ในภารกิจฝูงบินฝึกนักบินขับไล่(https://aagth1.blogspot.com/2018/04/t-50th.html)
โดยตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ฝูงบิน๔๑๑ กองบิน๔๑ เชียงใหม่ ได้รับมอบ บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART จากฝูงบิน๔๐๑ เดิมมาร่วมเป็นฝูงเดียวเป็นฝูงสุดท้ายจำนวน ๒๔เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2017/10/kai-t-50th.html) และใช้งานมาจนถึงพิธีปลดประจำการล่าสุด

ตามแผนสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ฝูงบิน๔๑๑ จะรับมอบเครื่องบินโจมตีเบาใบพัด Beechcraft AT-6E Wolverine ทดแทน บ.ขฝ.๑ L-39ZA/ART(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/at-6e-wolverine.html)
โดยถูกกำหนดแบบในชื่อเครื่องบินโจมตี A-6TH เป็นการจัดหาภายใต้นโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and Development และ Common Fleet ของกองทัพอากาศไทยเพื่อพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการบินของไทยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/t-6c.html)