วันจันทร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564

ความคืบหน้าโครงการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยในปี ๒๕๖๔-๒

Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy (RTN) and Defence Technology Institute (DTI) was concluded Research and Development (R&D) on prototype of Amphibious Armored Personnel Carrier (AAPC) 8x8 wheeled amphibious armored vehicle for Royal Thai Marine Corps (RTMC) at meeting in 15 February 2021.



ตอนที่ 2 เทคโนโลยียานรบและระบบอาวุธ
1 ใน 5 เทคโนโลยีเป้าหมายของ สทป. มุ่งพัฒนารถยานเกราะ เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานในภารกิจต่างๆ ของเหล่าทัพ เนื่องจากเป็นยุทโธปกรณ์สำคัญ ทั้งในการรบภาคพื้นดิน การลำเลียงพล และต่อสู้กับข้าศึก ด้วยอำนาจการยิง จากระบบอาวุธที่ติดตั้งบนรถ 
บวกกับความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ทำให้สามารถดำเนินกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว  เป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับประเทศไทยในอนาคต

ยานเกราะล้อยาง 8x8 ลำเลียงพล APC 
ยานเกราะล้อยาง 8x8 สะเทินน้ำสะเทินบก AAPC 
ยานเกราะล้อยาง 8x8 ที่บังคับการ แบบ BTR-3CS (Command Staff)   

“เทคโนโลยียานรบและระบบอาวุธ คือ 1 ใน 5 เทคโนโลยีเป้าหมายของ สทป. ที่มุ่งพัฒนารถยานเกราะเพื่อตอบสนองความต้องการและทำหน้าที่ใช้งานในภารกิจต่างๆ 
ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดทัดเทียมกับยานเกาะล้อยางของนานาประเทศและมีความเหมาะสมกับการใช้งานและความต้องการของกองทัพไทย.....”

การประชุมเพื่อปิดโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมยานเกราะล้อยางลำเลียงพลสะเทินน้ำสะเทินบกต้นแบบ 8x8 Amphibious Armored Personnel Carrier(AAPC) สำหรับปฏิบัติภารกิจของหน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน นย. เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔ เป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนสำคัญ
ที่จะนำไปสู่การรับรองมาตรฐานของคณะกรรมการกำหนดมาตรฐานยุทโธปกรณ์กองทัพเรือ กมย.ทร. ต่อไปในเดือนมีนาคม ๒๕๖๔ จากนั้นยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก AAPC 8x8 ก็น่าจะเข้าสู่สายการผลิตระดับต่ำเพื่อเข้าประจำการใน กองร้อยยานเกราะ กองพันรถถัง กองพลนาวิกโยธินได้
AAPC 8x8 เป็นความร่วมมือระหว่าง สทป. DTI และ สวพ.ทร. อีกหนึ่งโครงการซึ่งดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) เป็นหนึ่งในวิทยาการเป้าหมายด้านยานรบและระบบอาวุธของ DTI ร่วมกับยานเกราะล้อยางลำเลียงพล APC(Armoured Personnel Carrier) 8x8 สำหรับกองทัพบกไทยครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/07/dti-black-widow-spider-stryker.html)

Model of DTI's D11A Multi-Purpose Rocket and Missile Launcher base-on Elbit Systems Land PULS (Precise & Universal Launching System) at Defense & Security 2019.

During conference between Naval Research & Development Office (NRDO), Royal Thai Navy (RTN) and Defence Technology Institute (DTI) in 8 February 2021, 
the presentation was show details of Multi-Purpose Rocket and Missile Launcher's mobile platform vehicle for RTN's requirement.  

ชุดภาพการประชุมร่วมกันระหว่าง สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ สวพ.ทร.(NRDO: Naval Research & Development Office) กองทัพเรือไทย และ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป.(DTI: Defence Technology Institute) เมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔
ได้เผยถึงโครงการวิจัยและพัฒนาต้นแบบรถฐานยิงจรวดหลายลำกล้องอเนกประสงค์ Multi-Purpose Rocket and Missile Launcher สำหรับความต้องการของกองทัพเรือไทยที่น่าจะเป็นของหน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง สอรฝ.(ACDC: Naval Air and Coastal Defence Command)
กรมทหารปืนใหญ่ กองพลนาวิกโยธิน ได้จัดหาปืนใหญ่อัตตาจรล้อยาง ATMG ๖ระบบที่สร้างในไทยซึ่ง ป.อัตตาจรแบบแรกเข้าประจำการในปี พ.ศ.๒๕๖๓ ซึ่ง นย.ก็มีความต้องการระบบ คจลก.ของตน ส่วน สอ.รฝ.ก็มีความต้องระบบป้องกันฝั่งแบบใหม่เพื่อเสริมและทดแทนปืนใหญ่ลากจูงที่มีใช้ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2018/10/blog-post_29.html)


CHAISERI First Win II Multi Purpose Vehicle (MPV) 4x4 was registered as Thai Innovation Account for Defense Materials in January 2021.

รถเกราะล้อยางอเนกประสงค์ CHAISERI First Win II 4x4 ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนในรายการนวัตกรรมไทยด้านยุทโธกรณ์ความมั่นคง เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.๒๕๖๔ นับเป็นยานยนต์แบบแรกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนนวัตกรรมไทยในกลุ่มนี้
เมื่อรวมกับการผ่านการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์โดย คณะกรรมการรับรองมาตรฐานยุทโธปกรณ์กระทรวงกลาโหม กมย.กห. นั่นทำให้รถเกราะล้อยางตระกูล First Win มีความน่าเชื่อถือทั้งที่ได้รับการจัดหาโดยกองทัพและหน่วยงานความมั่นคงของไทยและการส่งออกต่างประเทศ
อย่างไรก็ตามด้วยราคาต่อคันของรถเกราะล้อยาง First Win II 4x4 ที่ ๑๘,๐๐๐,๐๐๐บาท($601,695) ตามที่ชิ้นส่วนหลักทั้งเครื่องยนต์และเครื่องเปลี่ยนความเร็ว Transmission ที่ยังต้องจัดหาจากต่างประเทศทำให้รถมีราคาแพงกว่ารถนำเข้า ก็ต้องมีการปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆเพื่อการแข่งขันครับ


Defence Technology Institute (DTI) and Counter Terrorist Operations Center (CTOC), Royal Thai Armed Forces Headquarters (RTARF HQ) signed Memorandum of Agreement (MoA) for Research and Development (R&D) on Armored Wheel Vehicle 4x4 (MRAP: Mine-Resistant Ambush Protected), Fighting Vehicle 4x4 and 4x2 (Reconnaissance) in 10 February 2021.

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงการวิจัยและพัฒนาร่วมต้นแบบยานเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี 4x4 ,ยานรบลาดตระเวน 4x4 และยานรบลาดตระเวน 4x2 ระหว่าง DTI และ ศูนย์ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้ายสากล ศตก. กองบัญชาการกองทัพไทย บก.ทท. เมื่อ ๑๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
มีข้อสังเกตจากภาพประกอบที่เป็นรถหุ้มเกราะล้อยาง Paramount Group Mbombe 4 4x4 แอฟริกาใต้ และรถลาดตระเวน Chaborz M6 4x4 และ Chaborz M3 4x2 รัสเซียว่านี่เป็นเพียงภาพแสดงถึงรูปแบบรถที่ DTI จะพัฒนาหรือมีความร่วมมือกับเอกชนไทยในการจัดซื้อสิทธิบัตรการผลิตหรือไม่
ก่อนหน้านี้ CTOC เคยมีการสาธิตการปฏิบัติการร่วมกับรถหุ้มเกราะล้อยาง Chaiseri First Win II 4x4 ไทยในการประชุม ADMM-Plus 2019 มาแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2019/09/chaiseri-first-win-admm-plus-2019.html) แต่เข้าใจว่าสมรรถนะรถน่าจะไม่ตรงความต้องการครับ




Royal Thai Army's Norinco VN1 8x8 and V-150 4x4 Commando wheeled armoured vehicle of 7th Cavalry Battalion, 2nd Cavalry Regiment, 1st Cavalry Division at open ceremony for units training Fiscal Year 2021 in 3 February 2021.

Clip: " ไทยนี้รักสงบ แต่ถึงรบไม่ขลาด "
วันที่ 27 ก.พ. 64 ม.2 พัน.7 ดำเนินการตรวจสภาพความพร้อมรบ การฝึกและตรวจสอบการฝึกเป็นหน่วยกองร้อย ประจำปี 2564 และทำการเคลื่อนย้ายกำลังพลและยุทโธปกรณ์ เข้าพื้นที่เขาใหญ่ ต.ป่าคาย อ.ทองแสนขัน จ.อุตรดิตถ์ เพื่อทำการฝึกเป็นหน่วยกองร้อย ห้วงวันที่ 27 ก.พ. - 5 มี.ค. 64 

การเปรียบเทียมรถเกราะล้อยางที่พัฒนาสร้างในไทยอย่าง First Win 4x4 ยานเกราะล้อยางลำเลียงพล DTI APC 8x8 หรือยานเกราะล้อยางสะเทินน้ำสะเทินบก DTI AAPC 8x8 กับรถที่จัดหาจากประเทศเช่นยานเกราะล้อยาง VN1 8x8 หรือยานเกราะล้อยาง Stryker RTA ICV 8x8 นั้น
มักจะถูกผู้ไม่หวังดีต่อชาตินำมาโจมตีด้วยข้อมูลที่ไม่ถูกต้องบ่อยครั้ง ทั้งการเปลี่ยบเทียบรถเกราะล้อยางป้องกันทุ่นระเบิดและซุ่มโจมตี MRAP 4x4 กับยานเกราะล้อยาง 8x8 ซึ่งเป็นรถรบคนละแบบใช้งานต่างกันไม่สามารถเอามาทดแทนในหน้าที่เดียวกันได้ทั้งหมด
หรือกล่าวว่าราคารถที่จัดหาจากต่างประเทศแพงเพราะกองทัพทุจริตด้วย "เงินทอน" ซ้ำๆเหมือนหุ่นยนต์ ทั้งที่ความจริงแล้วรถเกราะที่ผลิตในไทยมีราคาต่อคันที่แพงกว่าเพราะอุปกรณ์สำคัญที่ต้องนำเข้าเกือบทั้งหมด รวมถึงที่การจัดซื้อจัดจ้างในประเทศมีช่องทางเอื้อต่อการทุจริตมากกว่าด้วยครับ

RUAG MRO International announced on 5 February that it is modernising two of the seven Dornier 228 maritime surveillance aircraft operated by the Royal Thai Navy. (RUAG MRO International)

Royal Thai Navy's Dornier 228 maritime surveillance aircraft undergo upgrade

RUAG MRO International ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานใน Oberpfaffenhofen เยอรมนีได้ประกาศการปรับปรุงเครื่องบินลาดตระเวนทางทะเลแบบที่๑ บ.ลว.๑ Dornier Do 228 ฝูงบิน๑๐๑ กองบิน๑ กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ กองทัพเรือไทยเมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
หลังวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020) ที่เครื่องบินลาดตระเวนทางทะเล บ.ลว.๑ Do 228 สองเครื่องหมายเลข 1112 และ 1114 ถูกขนส่งโดยเครื่องบินลำเลียง An-124 มายังท่าอากาศยาน Oberpfaffenhofen แคว้น Bavaria เยอรมนี(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/do-228.html)
เป็นได้ว่ากองทัพเรือไทยจะทยอยปรับปรุงความทันสมัยของ บ.ลว.๑ Do 228 ที่มีทั้ง ๗เครื่องเป็นมาตรฐาน Dornier 228 NG ใหม่ล่าสุด ภายใต้การสนับสนุนจากสหรัฐฯวงเงิน $40.2 million ซึ่งจะทำให้เครื่องที่มีอายุการใช้งานเฉลี่ย ๒๕ปี สามารถประจำการต่อไปได้อีกถึง ๑๕-๒๐ปีครับ




NRDO, RTN with Thailand companies SDT Composites and Pims Technologies was demonstrated MARCUS (Maritime Aerial Reconnaissance Craft Unmanned System) Vertical Take-Off and Landing (VTOL) UAV (Unmanned Aerial Vehicle) in 18 February 2021.

โครงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเล MARCUS โดย สวพ.ทร. ร่วมกับภาคเอกชนไทยคือ บริษัท SDT Composites ผู้ออกแบบและผลิตโครงสร้างอากาศ และบริษัท Pims Technologies ผู้พัฒนาระบบควบคุมการบินและการสื่อสาร
เป็นโครงการพัฒนาอากาศยานไร้คนขับแบบล่าสุดของกองทัพเรือไทย ต่อจากโครงการ UAV แบบต่างๆก่อนหน้าที่ถูกนำเข้าประจำการโดยมีสายผลิตจำนวนมากและถูกใช้งานหน่วยปฏิบัติการภาคสนามจริงมาแล้ว เช่น อากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง Narai 3.0, Ongkot และ TAREM
MARCUS ถูกพัฒนาขึ้นจากบทเรียนที่ได้รับจากการพัฒนาระบบที่มีรูปแบบคล้ายกันก่อนหน้าคืออากาศยานไร้คนขับขึ้นลงทางดิ่ง Falcon-V FUVEC(Fixed wing Unmanned aerial vehicle with Vertical takeoff and landing Enabled Capability) และถูกผลิตเพื่อเข้าประจำการจริงต่อไปครับ




Directorate of Aeronautical Engineering, Royal Thai Air Force announced contract to the Swedish Defence Materiel Administration (FMV) for upgrade 11 of Gripen C/D with MS20 standard in 13 January 2021.
DAE, RTAF also announced contract to Thai Aviation Industries (TAI) for support services to 14 of F-5E/F Super Tigris, 14 of Alpha Jet and 14 of AU-23A modernization programmes in 12 January 2021.

ตามที่ กรมช่างอากาศ กองทัพอากาศไทย เผยแพร่เอกสารโครงการพัฒนาขีดความสามารถการส่งกำลังบำรุงเครื่องบินขับไล่อเนกประสงค์ บ.ข.๒๐/ก Saab Gripen 39 C/D เมื่อวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๔ ใน Website ประกาศการจัดซื้อจัดจ้างของกรมช่างอากาศในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๔
ก่อหน้านั้นมีการประกาศการจ้างบริการสนับสนุนโครงการปรับปรุงขีดความสามารถเครื่องบินขับไล่ บ.ข.๑๘ ข/ค Northrop F-5E/F Super Tigris, เครื่องบินโจมตี บ.จ.๗ Dornier Alpha Jet A, และเครื่องบินโจมตีและธุรการ บ.จธ.๒ Fairchild AU-23A Peacemaker เมื่อ ๑๒ มกราคม ๒๕๖๔
โครงการเหล่านี้เป็นไปตามแผนในสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) ที่สนับสนุนนโยบายจัดหาและพัฒนา Purchase and Developmen ในการเพิ่มขีดความสามารถอากาศยานกองทัพอากาศไทยพร้อมกับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยครับ


Royal Thai Air Force's Airbus Helicopters EC725(H225M) of Flying Unit 20307, 203rd Squadron, Wing 2 at Wing 7 Surat Thani.

การลงนามข้อตกลงระหว่างบริษัท Airbus Helicopters ยุโรปและ บริษัทอุตสาหกรรมการบิน(TAI: Thai Aviation Industries) ไทยที่ทำให้ TAI ไทยเป็นผู้ให้บริการการขายและการสนับสนุน ในฐานะตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เมื่อวันที่ ๑๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔
นับเป็นการเสริมสร้างความแข็งแกร่งและแสดงถึงศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมการบินของไทย ตามที่กองทัพไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หน่วยงานราชการไทย และภาคเอกชนของไทย ได้จัดหาเฮลิคอปเตอร์จาก Airbus Helicopters หลายแบบมาใช้งานเป็นจำนวนมากตลอดหลายปีมานี้
เฉพาะของกองทัพอากาศไทยก็มีเฮลิคอปเตอร์ ฮ.๑๑ Airbus Helicopters EC725(H225M) ฝูงบิน๒๐๓ กองบิน๒ จำนวน ๑๒เครื่อง และเฮลิคอปเตอร์แบบที่๑๓ ฮ.๑๓ Airbus Helicopters H135 ฝูงบิน๒๐๒ กองบิน๒ จำนวน ๖เครื่องครับ(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/h135.html)


The first (serial 16150) and second (serail 16160) Airbus Defence and Space C295W transport aircrafts of 21st Aviation Battalion, Aviation Regiment, Army Aviation Center, Royal Thai Army (RTA).


พิราบคาบข่าว "ทบ.ยกเลิกซื้อเครื่องบิน VIP เปลี่ยนเป็นเครื่องบินลำเลียง บ.ล.295 เพื่อช่วยเหลือประชาชน"

เอกสารของ กรมการขนส่งทหารบก ขส.ทบ.(Department of Army Transportation) กองทัพบกไทย เมื่อวันที่ ๑๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔ ประการถึงโครงการจัดซื้อเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางแบบที่๒ จำนวน ๑เครื่อง พร้อมชิ้นส่วนบริภัณฑ์ภาคพื้น
น่าจะชัดเจนว่าคือโครงการจัดหาเครื่องบินลำเลียง บ.ล.๒๙๕ Airbus Defence and Space C295W ระยะที่๓ เป็นเครื่องที่สาม ตามที่กองทัพบกไทยได้จัดหามาแล้วในระยะที่๑ และระยะที่๒ รวม ๒เครื่องเข้าประจำการที่ กองพันบินที่๒๑ กรมบิน ศูนย์การบินทหารบก
เป็นที่เข้าใจว่ากองทัพบกไทยมีความต้องการเครื่องบินลำเลียงขนาดกลางรวมทั้งหมด ๔เครื่อง เมื่อรวมกับที่มีประจำการแล้ว ๒เครื่อง และจะจัดหา ๑เครื่องในเดือนมีนาคม ๒๕๖๔ ทำคาดว่ายังจะมีการจัดหาเครื่อง๔ ในอนาคตถ้าได้รับการอนุมัติงบประมาณครับ



KS-1CM Surface to Air Missiles of Royal Thai Air Force (RTAF) Security Force was displayed at Wing 4 Takhli RTAF Base in 17 February 2021.

การพบภาพระบบอาวุธต่อสู้อากาศยานระยะปานกลาง KS-1C ถูกนำมาวางกำลังในกองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน๔ ตาคลี เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๔ น่าจะเป็นหน่วยล่าสุดที่ได้มอบระบบหลังจากที่กองทัพอากาศไทยมีการจัดหาในปี พ.ศ.๒๕๕๙(2016) 
KS-1C ได้ถูกนำเข้าประจำการในกองพันทหารอากาศโยธิน กองบิน๗ สุราษฎร์ธานี เป็นหน่วยแรกตามที่พบในภาพงานวันเด็กปี พ.ศ.๒๕๖๐(2017) ด้วยระยะยิง 70km นับเป็นอาวุธปล่อยนำวิถีพื้นสู่อากาศแบบแรกของกองทัพอากาศไทยที่มีขีดความสามารถการป้องกันภัยทางอากาศระยะปานกลาง
ตามแผนในสมุดปกขาวกองทัพอากาศไทย 2020(https://aagth1.blogspot.com/2020/02/2020.html) อากาศโยธิน กองทัพอากาศไทยมีความจำเป็นในอนาคตที่จะต้องจัดหาระบบอาวุธต่อสู้อากาศยานระยะปานกลาง(MEDRAD: Medium Range Air Defence) เพื่อทดแทนระบบเก่าต่างๆครับ