Indonesia reveals USD125 billion military modernisation plan
The F-16 fighter aircrafts of Indonesian Air Force. (TNI-AU)
Indonesia has stated a requirement for funding worth USD125 billion in
military investment through to the mid-2040s. The country’s modernisation
requirements are thought to include Lockheed Martin F-16V fighter aircraft.
(Lockheed Martin)
ร่างแนวทางปฏิบัติจากสำนักงานประธานาธิบดีอินโดนีเซียได้ร่างเค้าโครงความต้องการสำหรับการลงทุนวงเงินงบประมาณ
$125 billion ในการปรับปรุงความทันสมัยกองทัพไปตลอดจนถึงกลางปี 2040s
ข้อเสนองบประมาณเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงความต้องการของกองทัพอินโดนีเซียและความกังวลที่เติบโตขึ้นเกี่ยวกับความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ร่างแนวทางปฏิบัติที่มีชื่อหัวเรื่องว่า
'การบรรลุเป้าหมายความจำเป็นด้านยุทโธปกรณ์กลาโหมและความมั่นคงของกระทรวงกลาโหมอินโดนีเซียและกองทัพอินโดนีเซีย(Indonesian
Armed Forces, TNI: Tentara Nasional Indonesia) 2020-2024'
ที่ออกมาล่าสุดแต่จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติอีกหลายครั้งในหลายๆประเด็นหัวข้อจากสภาผู้แทนราษฎรอินโดนีเซียก่อนที่จะมีการประกาศการบังคับใช้
แผนการลงทุนวงเงินงบประมาณสำหรับการปรับปรุงกองทัพยังมุ่งเน้นที่ขึ้นอยู่กับการพึ่งพาสินเชื่อเงินกู้จากต่างประเทศอย่างต่อเนื่องของอินโดนีเซีย(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/dsme.html,
https://aagth1.blogspot.com/2021/05/ffm.html)
แนวทางปฏิบัติที่เสนอมีรายละเอียดความต้องการงบประมาณวงเงิน $124.9 billion
เพื่อการปรับปรุงความทันสมัยของกองทัพอินโดนีเซียตลอดช่วงเวลา ห้า
'แผนยุทธศาสตร์' ที่แต่ละแผนจะมีระยะเวลาห้าปี
แผนยุทธศาสตร์แรกมีระยะเวลาดำเนินการช่วงปี 2020-2024
และสอดคล้องกับระยะสุดท้ายของโครงการปรับปรุงความทันสมัยกำลังรบจำเป็นขั้นต่ำ(MEF:
Minimum Essential Force) ของกองทัพอินโดนีเซียที่ช่วงสุดท้ายจะอยู่ในปี
2040-2044
เอกสารเสนอขอวงเงิน $79 billion สำหรับยุทโธปกรณ์กลาโหมระหว่างช่วง 25ปีนี้,
$32.5 billion สำหรับการดำรงสภาพ และที่เหลืออีก $13.4 billion
สำหรับการจ่ายดอกเบี้ยแก่เงินกู้ต่างประเทศ
แนวทางปฏิบัติให้ความสำคัญแหล่งที่มาความต้องการการปรับปรุงความทันสมัยกองทัพอินโดนีเซียจากภาคอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศ(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/antasena-tank-boat.html,
https://aagth1.blogspot.com/2021/05/allison-harimau.html)
อย่างไรก็ตามมีการระบุว่า "ในกรณีที่ไม่สามารถ(จัดหา)ผลิตภัณฑ์ในประเทศ
ก็สามารถใช้(การจัดหา)ผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศได้"(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/rafale.html,
https://aagth1.blogspot.com/2021/04/pt-pal-iver-huitfeldt.html)
เมื่อยุทโธปกรณ์กลาโหมเป็นการนำเข้า
แนวทางปฏิบัติได้ระบุความต้องการที่จะบังคับให้มี
"การถ่ายทอดวิทยาการและข้อตกลงชดเชย"
เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างของภาคอุตสาหกรรมภายในประเทศ
ยุทธศาสตร์ด้านอุตสาหกรรมนี้ยังรวมถึงบทบัญญัติของการค้าต่างตอบแทนซึ่งอินโดนีเซียมองที่จะส่งออกสินค้าท้องถิ่นของตนในฐานะส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ครับ