Croatia selects the Rafale
Croatia has selected the Rafale for its Air Force, following an international
call for tenders as part of its Multi Role Fighter Aircraft (MRFA) program.
โครเอเชียได้เลือกเครื่องบินขับไล่ Dassault Rafale
ฝรั่งเศสสำหรับสำหรับกองทัพอากาศโครเอเชีย(CAF: Croatian Air Force, HRZ:
Hrvatsko ratno zrakoplovstvo) ในวงเงินราว 999 million Euros
ตามที่ได้รับข้อเสนอสุดท้ายจากผู้เข้าแข่งขันโครงการเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ(MRFA:
Multi Role Fighter Aircraft) เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ MiG-21(NATO กำหนดรหัส
'Fishbed') ยุคอดีตยูโกสลาเวีย(https://aagth1.blogspot.com/2020/11/mig-21.html)
สัญญาจากตัวแทนของฝรั่งเศสและโครเอเชียจะครอบคลุมการจัดหาเครื่องบินขับไล่ Rafale
F3-R จำนวน 12เครื่องที่เคยประจำการในกองทัพอากาศและอวกาศฝรั่งเศส(French Air and
Space Force, Armée de l'Air et de l'Espace) เช่นเดียวกับการฝึกและการสนับสนุน
บริษัท Dassault Aviation
ฝรั่งเศสและหุ้นส่วนของตนมีความยินดีกับการเลือกของโครเอเชียในฐานะผู้ใช้งานครั้งแรกของ
"อากาศยาน Dassault" และเป็นลูกค้าส่งออกรายที่ห้าของเครื่องบินขับไล่ Rafale
ฝรั่งเศสและขอบคุณตัวแทนโครเอเชียสำหรับความมั่นใจของพวกเขา
พวกเขายกย่องงานที่สำเร็จโดยทีม "ฝรั่งเศส"
ในกรอบของการเรียกสำหรับผู้เข้าแข่งขันและการสนับสนุนตัวแทนของฝรั่งเศสอย่างแข็งขันในบรรลุผลการลงนามสัญญานี้
นี่เป็นความสำเร็จล่าสุดในการแข่งขันระหว่างเครื่องบินขับไล่ยุโรปและสหรัฐฯ
ยืนยันความเหนือกว่าทางวิทยาการและการปฏิบัติการของเครื่องบินขับไล่พหุภารกิจ
Rafale รุ่นล่าสุดที่ได้รับการพิสูจน์การรบแล้ว(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/rafale-f4.html)
สัญญานี้ยังเสริมความแข็งแกร่งของตำแหน่งของเครื่องบินขับไล่ Rafale
ในกองทัพอากาศชาติยุโรป
สร้างการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขันต่ออธิปไตยทางกลาโหมของชาติยุโรป
เป็นผู้ชนะเหนือคู่แข่งขันสามรายคือ
สหรัฐฯสำหรับเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin F-16V Block 70/72 Fighting
Falcon, อิสราเอลสำหรับเครื่องบินขับไล่ F-16C/D Block 30
ส่วนเกินที่เคยประจำการในกองทัพอากาศอิสราเอล(IAF: Israeli Air Force)
และสวีเดนสำหรับเครื่องบินขับไล่ Saab Gripen C/D สร้างใหม่
เครื่องบินขับไล่ Rafale ฝรั่งเศสได้รับการส่งออกให้แก่ อียิปต์จำนวน
54เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/rafale-30.html), กาตาร์จำนวน 36เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2019/06/rafale.html)
อินเดียจำนวน 36เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2020/09/rafale.html) และกรีซจำนวน 12เครื่อง(https://aagth1.blogspot.com/2021/02/rafale-12.html,
https://aagth1.blogspot.com/2021/01/rafale.html)
กองทัพอากาศโครเอเชียมีความต้องการจัดหาเครื่องบินขับไล่ใหม่จำนวน 12เครื่อง
เพื่อทดแทนเครื่องบินขับไล่ MiG-21 ที่มีอายุการใช้งานมานานของตน
บนพื้นฐานการทดแทนแบบหนึ่งต่อหนึ่ง
(MiG-21 เหล่านี้จาก 12เครื่องมีเพียงระหว่าง 3เครื่องถึง
6เครื่องเท่านั้นที่เข้าใจว่ายังคงปฏิบัติการได้ แม้ว่าจะมี MiG-21
ที่ได้รับการซ่อมยกเครื่องในโรมาเนียช่วงปี 2003-2004
และได้รับการปรับปรุงส่วนน้อยในยูเครนระหว่างปี 2013-2015 แล้วก็ตาม)
ก่อนหน้านี้โครเอเชียได้เคยเลือกที่จะจัดหาเครื่องบินขับไล่ Lockheed Martin
F-16C/D Block 30 'Barak'(ภาษาฮีบรูแปลว่า 'ฟ้าแลบ')
ส่วนเกินที่เคยประจำในกองทัพอากาศอิสราเอล(https://aagth1.blogspot.com/2019/01/f-16.html)
แต่แผนนี้ได้ถูกยกเลิกในเดือนมกราคม 2019
ตามที่รัฐบาลสหรัฐปฏิเสธที่จะอนุมัติการร้องขออนุญาตส่งมอบแก่บุคคลที่สาม(TPT:
Third Party Transfer)
จากข้อกังวลเกี่ยวกับอุปกรณ์พิเศษเฉพาะที่ได้รับการติดตั้งกับเครื่องของอิสราเอลครับ