วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2564

DTI และกองทัพบกไทยลงนามข้อตกลงการวิจัยและพัฒนาอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง D-eyes 04



Defence Technology Institute (DTI) and Army Aviation Center (AAC), Royal Thai Army (RTA) signed Memorandum of Agreement (MoA) for Research and Development (R&D) on Medium Tactical Unmanned Aircraft System (UAS) in 22 June 2021.

DTI D-eyes 04 Medium Tactical UAS is based-on Chinese BEIHANG UAS CY-9 Medium Unmanned Aerial Vehicle (UAV).

สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (สทป.) ร่วมกับ กองทัพบก  ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง สำหรับกองทัพบก 
โดยมี พล.อ.พอพล  มณีรินทร์ ประธานกรรมการ สทป. เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOA) ดังกล่าว และมี พล.อ.อ.ดร.ปรีชา ประดับมุข ผอ.สทป เป็นผู้แทน สทป. ร่วมลงนามกับ พล.ต.วรุตม์  นนทวงษ์ ผบ.ศบบ. ผู้แทนกองทัพบก 
พร้อมด้วยคณะที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่จากทั้ง สทป., ศบบ., สวพ.ทบ ร่วมเป็นสักขีพยาน ณ ห้องสยามปฐพีพิทักษ์ ชั้น 10 สทป. เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 64 

สำหรับความร่วมมือในครั้งนี้ เป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทหารของทั้งสองหน่วยงาน ด้วยการร่วมมือวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง (Medium Unmanned Aircraft System) 
ซึ่งเป็นไปตาม Roadmap มิติที่ 2 ด้านการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางเพื่อตอบสนองความต้องการของเหล่าทัพ ของ สทป. 
ซึ่งระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางที่เกิดจากความร่วมมือวิจัยและพัฒนาจากทั้งสองฝ่าย จะเป็นต้นแบบยุทโธปกรณ์ทางทหารสำหรับกองทัพบก เพื่อส่งมอบให้แก่ กองทัพบก 
โดยศูนย์การบินทหารบกจะเป็นหน่วยผู้ใข้นำไปทดสอบการใช้งานและเข้าสู่กระบวนการพิจารณารับรองต้นแบบผลงานวิจัย สำหรับนำมาใช้ในกองทัพบกต่อไป



พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ(MOA: Memorandum of Agreement) ระหว่างสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ สทป. DTI กับกองทัพบกไทยด้านการวิจัยและพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง สำหรับศูนย์การบินทหารบก ศบบ.เมื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔(2021)
เป็นความคืบหน้าล่าสุดของโครงการนับตั้งแต่ที่ DTI และกองทัพบกไทยลงนามบันทึกความเข้าใจ(MOU: Memorandum of Understanding) ด้านการวิจัยและพัฒนาระบบยานไร้คนขับและต่อต้านระบบยานไร้คนขับ เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓(2020)
โดยในการส่วนระบบต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ(C-UAS: Counter-Unmanned Aerial System) นั้นได้มีการทดสอบไปแล้วในเดือนพฤษภาคม ๒๕๖๔(https://aagth1.blogspot.com/2021/05/dti-cuas-x-madis.html, https://aagth1.blogspot.com/2021/01/blog-post.html)

ระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดกลาง DTI D-eyes 04 ที่จะพัฒนา มีพื้นฐานมาจากอากาศยานไร้คนขับขนาดกลางแบบ CY-9 ของบริษัท Beihang UAS Technology Co.,LTD สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งตัวระบบอากาศยานเป็นอากาศยานปีกตรึงใช้ทางวิ่งในการวิ่งขึ้นและลงจอด
คุณสมบัติมีความกว้างปีก 14m, น้ำหนักรวมติดตั้ง payload 150kg, ระยะเวลาปฏิบัติการ ๑๒-๒๐ชั่วโมง, พิสัยการปฏิบัติการมากกว่า 200km ติดตั้งกล้อง EO/IR(Electro-Optical/Infra-Red) ทำงานได้ทั้งกลางวัน-กลางคืน พร้อมระบบกันสั่น โดยใช้เจ้าหน้าที่ปฏิบัติการจำนวน ๓นาย
เป็นที่เข้าใจว่า D-eyes 04 UAS จะถูกจัดหาสำหรับ กองร้อยทหารปืนใหญ่ค้นหาเป้าหมาย กองพลทหารปืนใหญ่ กองทัพบกไทย ทดแทนระบบเก่าเช่น Searcher II UAV อิสราเอล ซึ่งในการลงนามล่าสุดนี้ ศูนย์การบินทหารบก ถูกระบุว่าเป็นหน่วยที่จะรับมอบไปทดลองใช้งาน

ก่อนหน้านี้ DTI ไทยได้มีการส่งมอบระบบอากาศยานไร้คนขับขนาดเล็ก D-eyes 02 Mini UAV แก่หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน(RTMC: Royal Thai Marine Corps) เพื่อทดลองใช้งานเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓(https://aagth1.blogspot.com/2020/12/dti-d-eyes-02-mini-uav.html)
การพัฒนาระบบอากาศยานไร้คนขับในตระกูล DTI D-eyes ในรุ่นต่างๆของ DTI เป็นการแสดงถึงความสำเร็จในการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาด้านอุตสาหกรรมความมั่นคงภายในประเทศ โดยที่หน่วยงานราชการได้มีการนำไปทดลองใช้งานและจัดหาเข้าประจำการจริง
แต่มีข้อสังเกตถึงแผ่นป้ายที่เป็นพื้นหลังในพิธีว่า มีการนำภาพเงา(silhouette) ของเฮลิคอปเตอร์โจมตี Boeing AH-64 Apache ติด Longbow radar มาประกอบด้วย ซึ่งไม่ทราบว่าเกี่ยวข้องกับโครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์โจมตี ระยะที่๑ แบบรัฐต่อรัฐ FMS ไทย-สหรัฐฯ ที่ถูกเลื่อนออกไปหรือไม่ครับ(https://aagth1.blogspot.com/2021/06/ah-64e-ah-1z.html)